มีคนไม่บ้าแต่ถูกทำให้บ้า มีคนไม่บ้าแต่แกล้งบ้า และมีคนที่ใครๆ ยอมรับว่าดีแต่ที่แท้บ้าและทำให้ใครๆ บ้าอีกต่างหาก โลกทั้งโลกก็เป็นเช่นนี้ ทำให้คนเป็นบ้า บ้าตามโลก โลกาผีบ้า
นี่คือภาพยนตร์เรื่อง One Flew over the Cuckoo’s Nest (1975) (ชื่อไทยว่า “บ้าก็บ้าวะ”) ที่กะเทาะความเป็นจริงในสังคม (บ้าและดี) ได้อย่างหมดเปลือก ไม่ว่าเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว หรือวันนี้ที่โลกเปลี่ยนไป และคนก็บ้ามากยิ่งขึ้น บางสถิติบอกว่า คนไทยประมาณ 5 ล้านคนวันนี้มีปัญหาทางจิตตั้งแต่ระดับต้นๆ ไปจนถึงระดับต้องนำส่ง “ศรีธัญญา”
R.P. McMurphy (Jack Nicholson) เป็นผู้ต้องขังที่ถูกส่งไปโรงพยาบาลโรคจิตเพื่อตรวจสอบเป็นเวลาสามเดือนว่าเขาบ้าจริงหรือแกล้งบ้าเพราะไม่อยากทำงานในฟาร์ม ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งของการลงโทษผู้ต้องขังบางประเภท
แมคเมอร์ฟีติดคุกด้วยข้อหาทำร้ายผู้อื่นหลายกระทง เป็นคนกล้าพูดกล้าแสดงออก ชอบสนุกสนาน ไม่ชอบระเบียบกฎเกณฑ์ นิสัยที่ท้าทายอำนาจของ “สถาบัน” ซึ่งมี Ratched (Louise Fletcher) หัวหน้าพยาบาลเป็นตัวแทนองค์กรอันเป็น “รังนกดุเหว่า” (cuckoo’s nest) ที่เขาพยายามบินให้พ้น
เขาถูกส่งไปอยู่ในแผนกที่ผู้ป่วยอาการไม่หนักหนาสาหัสเท่าไร ส่วนใหญ่ยังพอพูดคุยกันรู้เรื่อง ยังทำกลุ่มบำบัดได้ (group therapy) เล่นไพ่เล่นเกมต่างๆ ได้พอสมควร
พยาบาลรัตเชดเป็นพยาบาลที่ยิ้มหัวไม่เป็น ไม่เล่นกับคนไข้ เคร่งครัดกฎระเบียบแบบไม่ยอมยืดหยุ่น ยอมหักไม่ยอมงอ เธอมั่นคงในหลักการและมีคำอธิบายเสมอ ซึ่งว่าไปก็ไม่ผิด แต่เธอลืมไปว่ากฎมีไว้สำหรับคน ไม่ใช่คนสำหรับกฎ เธอเคร่งครัดกฎเพียงเพื่อควบคุมคนไข้และทำทุกอย่างแม้กระทั่งเอาข้อมูลส่วนตัวของคนไข้มาใช้เพื่อให้พวกเขาอยู่ใต้อาณัติ
ด้วยวิธีการเช่นนี้ แทนที่จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตของคนไข้ในการบำบัดหมู่ซึ่งเธอเป็น “วิทยากรกระบวนการ” (facilitator) กลับทำให้เครียดหนักขึ้นไปอีก ดูแค่บุคลิกก็ไม่น่าจะให้มาทำหน้าที่สำคัญขนาดนั้น ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นการกดดันแบบทำให้บ้ามากขึ้นหลายๆ ฉาก อย่างฉากหนุ่มอายุน้อยที่สุดที่พูดติดอ่าง เมื่อเขาได้ปลดปล่อยความใคร่ในตอนท้ายกับหญิงบริการคนหนึ่ง เขาพูดคล่องเหมือนคนปกติ แต่พยาบาลรัตเชดขู่ว่าจะเอาเรื่องของเขาไปฟ้องแม่ ทำให้เขากลัวและกลับไปพูดติดอ่างอีก
แมคเมอร์ฟีสังเกตว่า เพื่อนๆ ของเขาส่วนใหญ่ไม่ได้บ้าจริง แต่มีปัญหาทางอารมณ์และมีทุกข์ที่แก้ไม่ได้บางอย่าง พวกเขาปฏิเสธที่จะ “พูด” ในการทำกลุ่มบำบัดเพราะรู้ว่าพูดไปก็ไม่ได้อะไร ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ของใครดีขึ้นจริง ทั้งของเพื่อนและของตนเอง อยู่ไปวันๆ แบบไม่รู้ไม่ชี้ดีกว่า
คนที่คิดได้เช่นนี้เห็นจะไม่มีใครเกินคนที่ใครๆ เรียกกันว่า “หัวหน้า” (Chief) เป็นอินเดียนแดงหรือ “Native-American” ร่างสูงใหญ่เฉียดสองเมตรซึ่งใครๆ คิดว่าเป็นใบ้หูหนวก แมคเมอร์ฟีได้พบว่าเขาแกล้งใบ้และทำเป็นไม่ได้ยินเพราะไม่อยากยุ่งกับใคร เพื่อจะได้อยู่ในโลกของตนเอง ไม่อยากอยู่ในโลกที่คนอื่นสร้างให้ ซึ่งอาจจะทำให้เขาบ้าขึ้นมาจริงๆ เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับพ่อของเขา เขาเล่าให้แมคเมอร์ฟีฟังว่า พ่อเป็นคนแข็งแรงและมีชีวิตชีวา แต่ค่อยๆ ถูกระบบทำลายจนไม่เหลือ
แมคเมอร์ฟีกลายเป็น “ผู้นำ” กลุ่มในเวลาอันรวดเร็วเพราะเขาท้าทายอำนาจของสถาบันแห่งนี้ที่ไม่มีใครกล้าหือมาก่อน เป็นการต่อสู้ทางอำนาจ (power struggle) ที่ค่อยๆ ทวีความเข้มข้นจนกลายเป็นความรุนแรงในตอนท้ายอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด
พยาบาลรัตเชดควบคุมวอร์ดของเธออย่างเบ็ดเสร็จ มีการ์ดทำหน้าที่เหมือนคนคุมผู้ต้องขังในเรือนจำ ความจริง คนเหล่านี้เองที่เปิดเผยในตอนท้ายว่า ที่นี่ไม่ใช่แค่โรงพยาบาลบ้า แต่เป็นคุกคุมขังคน “ไม่ปกติ” จึงต้องมีรั้วรอบขอบชิดติดลวดหนามกันคนหนี
เธอทำหน้าที่ของตนเองอย่างเคร่งครัดและบังคับให้ทุกคนทำเช่นเดียวกัน ให้คนไข้ทุกคนกินยา (ระงับประสาท) เปิดดนตรีดัง (อ้างว่าคนไข้หลายคนหูตึง) และทำการบำบัดกลุ่ม (แบบฟื้นฝอยหาตะเข็บซ้ำซาก) และพอใจกับการที่คนไข้ทะเลาะกันเอง เธอจะได้แสดงอำนาจควบคุมสถานการณ์
นี่เป็นวิถีประจำวันที่ไม่เปลี่ยนตารางเวลา ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออกหรือมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเธอไม่สนใจ ไม่ว่าจะมีการแข่งขันเบสบอลชิงแชมป์ กีฬาที่ชาวอเมริกันคลั่งไคล้และไม่พลาดชมการถ่ายทอดสด เธอก็ไม่ยอมให้คนไข้ได้ชมตามคำเรียกร้องของแมคเมอร์ฟีและคนไข้ส่วนใหญ่ ซึ่งครั้งแรกไม่ยอมยกมือให้แมคเมอร์ฟีเพราะกลัวพยาบาล ต่อมาก็รวบรวมความกล้าอยู่ข้างแมคเมอร์ฟี แต่พยาบาลรัตเชดก็ยังไม่ยอมอยู่ดี เหมือนกับเผด็จการทั้งหลายที่หาคำอธิบายและเหตุผลได้เสมอ
เมื่อคณะผู้บริหารโรงพยาบาลจะส่งตัวแมคเมอร์ฟีกลับ พยาบาลรัตเชดเป็นคนคัดค้าน เธอต้องการเอาชนะเขาให้ได้ และชนะที่วอร์ดของเธอ เพื่อจะได้คนไข้อื่นๆ กลับคืนมาอยู่ใต้อำนาจ ถ้าปล่อยเขาไปวันนี้ พวกที่เหลืออยู่อาจกระด้างกระเดื่องโดยยังมีเขาเป็นฮีโร่ในดวงใจ
แมคเมอร์ฟีกลายเป็นผู้นำของการขบถต่อสถาบัน เขารู้สึกว่าเพื่อนๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้บ้า แต่ถูกทำให้คิดว่าตัวเองบ้า ไม่มีความเชื่อมั่นหรือเคารพตัวเองเหลืออยู่เลย แมคเมอร์ฟีถึงได้บอกพวกเขาว่า พวกเขาไม่ได้บ้าไปกว่าพวกเฮงซวยหรือใครๆ ที่เดินตามถนนข้างนอกทั้งหลายหรอก
เขาพาเพื่อนๆ “แหกคุก” โบยบินไปสู่เสรี ชื่นชมธรรมชาติและชีวิตอิสระโดยการโดดขึ้นขับรถบัสพาพรรคพวกไปในเมืองผ่านที่ต่างๆ ไปที่ท่าเรือ ล่องเรือออกสู่ทะเลลึกเพื่อตกปลา โดยไม่ลืมแวะรับหญิงบริการคู่ขาไปด้วย เป็นฉากที่สวยงาม เป็นภาษาสัญลักษณ์ที่บอกถึงความฝันและจินตนาการอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่ไม่มีอะไรปิดกั้นให้อยู่ในโลกแคบๆ ที่ใครบางคนเป็นผู้กำหนด
เมื่อคนดูแลท่าเรือมาถามว่าพวกเขาเป็นใคร แมคเมอร์ฟีตอบว่า เป็นหมอมาจากสถาบันสุขภาพจิต จะไปพักผ่อนตกปลากัน พร้อมกับแนะนำเพื่อนแต่ละคนโดยมีคำว่า “ด็อกเตอร์” นำหน้า รวมทั้ง ดร. แมคเมอร์ฟีด้วย และดูเหมือนว่าทุกคนพร้อมใจกันทำตัวเหมือนหมอจริงๆ เสียด้วย
Milos Forman ผู้กำกับชาวเช็คเก่งกาจในการใช้ภาษาสัญลักษณ์ที่ว่านี้เป็นอย่างยิ่ง เขาหนีจากบ้านเกิดไปอยู่สหรัฐอเมริกาหลังจากที่กองทัพโซเวียตบุกกรุงปรากในปี 1968 เขาทำหนังเรื่องนี้ได้ดีเพราะรู้ซึ้งในประสบการณ์ของการถูกจำกัดเสรีภาพ การอยู่ในที่คุมขัง “หลังม่านเหล็ก”
เขาปลดปล่อยตัวละครในโรงพยาบาลบ้าให้ได้สัมผัสกับชีวิตจริงๆ ไม่ใช่กินยา บำบัดหมู่ กิน นอนอยู่ในคุกอย่างนั้น เขาทำให้เราได้เห็นสภาพโรงพยาบาลบ้าจากสายตาของแมคเมอร์ฟี ซึ่งไม่ได้บ้า แต่ค่อยๆ ถูกทำให้บ้าและถูกทำลายโดยระบบและสถาบัน
นอกจากฉากหนีไปเที่ยว ล่องเรือตกปลากลางทะเลแล้ว ยังมีฉากที่แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ช่วยบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยด้านจิตประสาทที่ดีคือการใช้ชีวิตเหมือนผู้คนธรรมดา ได้ดูรายการทีวีดีๆ ที่ตนชอบ ได้ออกกำลังกาย เล่นบาสเกตบอล ซึ่งเป็นฉากที่สนุกสนานเมื่อทีมคนไข้แข่งกับทีมผู้คุม แมคเมอร์ฟีสอนให้อินเดียนแดงร่างโย่งไปยืนรอใต้แป้นคอยรับลูกหย่อนลงห่วง และให้วิ่งกลับไปอีกด้านเพื่อป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายชู้ตลง โดยดันลูกที่กำลังจะลงห่วงให้ขึ้นไป สนุกจนลืมความเจ็บป่วยและกลับไปอยู่ในโลก “ปกติ” ได้ระยะหนึ่ง
แล้วก็เลยเถิดไปไกลในท้ายที่สุด เมื่อแมคเมอร์ฟีวางแผนการปลดปล่อยครั้งใหญ่ให้เพื่อนๆ เรียกหญิงบริการสองคนและบอกให้ขนเหล้ามาด้วย เป็นการฉลอง “อิสรภาพ” ปลดปล่อยวิญญาณเสรีที่ต้องการ “ชีวิตอิสระ” ไม่ใช่อะไรที่ “สำเร็จรูป” พร้อมกับกฎเกณฑ์และที่คุมขัง
ในโศกนาฎกรรมสุดท้าย พระเอกเหมือนกับพ่ายแพ้และเป็นเหยื่อ แต่นั่นคือหนังและการใช้ภาษาสัญลักษณ์ที่ยอดเยี่ยม แสดงให้เห็นว่า เขาได้ขบถ ได้ต่อสู้และสังเวยชีวิตเพื่อเสรีภาพ ช่วยให้อินเดียนแดงเพื่อนซี้หนีออกจากกรอบและกรงที่กักขังมนุษย์ ทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเองกลับคืนมา และกล้าออกไปเผชิญชีวิตเหมือนนกที่ออกจากรัง โบยบินไปในโลกกว้างอย่างเสรี
หนังจบด้วยภาพของการปลดปล่อยที่ “หัวหน้า” (Chief) ยกเสาคอนกรีตที่ตั้งก๊อกน้ำทุ่มหน้าต่างติดลูกกรงเหล็กจนพังทลาย แล้ววิ่งหนีไปในยามตะวันกำลังโพล้เพล้ รุ่งอรุณแห่งเสรีภาพ
หนังเรื่องนี้สร้างจากหนังสือเบสท์ เซลเลอร์ ของ Ken Kesey (1962) ได้รางวัลออสการ์สำคัญทั้ง 5 ตัว ภาพยนตร์ ผู้กำกับ ผู้แสดงนำชาย หญิง และบทยอดเยี่ยม สร้างในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมในตะวันตก ฤดูใบไม้ผลิที่ยุโรป (1968) วูดสต๊อคที่อเมริกา (1969) และ 14 ตุลาที่บางกอก (1973)
ที่ปลดปล่อยผู้คนจากพันธนาการทางประวัติศาสตร์ กฎระเบียบ จากระบบคุณค่าแบบเก่า จากความกดดันและความกลัว สู่โลกใหม่ที่ผู้คนกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง
นี่คือภาพยนตร์เรื่อง One Flew over the Cuckoo’s Nest (1975) (ชื่อไทยว่า “บ้าก็บ้าวะ”) ที่กะเทาะความเป็นจริงในสังคม (บ้าและดี) ได้อย่างหมดเปลือก ไม่ว่าเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว หรือวันนี้ที่โลกเปลี่ยนไป และคนก็บ้ามากยิ่งขึ้น บางสถิติบอกว่า คนไทยประมาณ 5 ล้านคนวันนี้มีปัญหาทางจิตตั้งแต่ระดับต้นๆ ไปจนถึงระดับต้องนำส่ง “ศรีธัญญา”
R.P. McMurphy (Jack Nicholson) เป็นผู้ต้องขังที่ถูกส่งไปโรงพยาบาลโรคจิตเพื่อตรวจสอบเป็นเวลาสามเดือนว่าเขาบ้าจริงหรือแกล้งบ้าเพราะไม่อยากทำงานในฟาร์ม ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งของการลงโทษผู้ต้องขังบางประเภท
แมคเมอร์ฟีติดคุกด้วยข้อหาทำร้ายผู้อื่นหลายกระทง เป็นคนกล้าพูดกล้าแสดงออก ชอบสนุกสนาน ไม่ชอบระเบียบกฎเกณฑ์ นิสัยที่ท้าทายอำนาจของ “สถาบัน” ซึ่งมี Ratched (Louise Fletcher) หัวหน้าพยาบาลเป็นตัวแทนองค์กรอันเป็น “รังนกดุเหว่า” (cuckoo’s nest) ที่เขาพยายามบินให้พ้น
เขาถูกส่งไปอยู่ในแผนกที่ผู้ป่วยอาการไม่หนักหนาสาหัสเท่าไร ส่วนใหญ่ยังพอพูดคุยกันรู้เรื่อง ยังทำกลุ่มบำบัดได้ (group therapy) เล่นไพ่เล่นเกมต่างๆ ได้พอสมควร
พยาบาลรัตเชดเป็นพยาบาลที่ยิ้มหัวไม่เป็น ไม่เล่นกับคนไข้ เคร่งครัดกฎระเบียบแบบไม่ยอมยืดหยุ่น ยอมหักไม่ยอมงอ เธอมั่นคงในหลักการและมีคำอธิบายเสมอ ซึ่งว่าไปก็ไม่ผิด แต่เธอลืมไปว่ากฎมีไว้สำหรับคน ไม่ใช่คนสำหรับกฎ เธอเคร่งครัดกฎเพียงเพื่อควบคุมคนไข้และทำทุกอย่างแม้กระทั่งเอาข้อมูลส่วนตัวของคนไข้มาใช้เพื่อให้พวกเขาอยู่ใต้อาณัติ
ด้วยวิธีการเช่นนี้ แทนที่จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตของคนไข้ในการบำบัดหมู่ซึ่งเธอเป็น “วิทยากรกระบวนการ” (facilitator) กลับทำให้เครียดหนักขึ้นไปอีก ดูแค่บุคลิกก็ไม่น่าจะให้มาทำหน้าที่สำคัญขนาดนั้น ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นการกดดันแบบทำให้บ้ามากขึ้นหลายๆ ฉาก อย่างฉากหนุ่มอายุน้อยที่สุดที่พูดติดอ่าง เมื่อเขาได้ปลดปล่อยความใคร่ในตอนท้ายกับหญิงบริการคนหนึ่ง เขาพูดคล่องเหมือนคนปกติ แต่พยาบาลรัตเชดขู่ว่าจะเอาเรื่องของเขาไปฟ้องแม่ ทำให้เขากลัวและกลับไปพูดติดอ่างอีก
แมคเมอร์ฟีสังเกตว่า เพื่อนๆ ของเขาส่วนใหญ่ไม่ได้บ้าจริง แต่มีปัญหาทางอารมณ์และมีทุกข์ที่แก้ไม่ได้บางอย่าง พวกเขาปฏิเสธที่จะ “พูด” ในการทำกลุ่มบำบัดเพราะรู้ว่าพูดไปก็ไม่ได้อะไร ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ของใครดีขึ้นจริง ทั้งของเพื่อนและของตนเอง อยู่ไปวันๆ แบบไม่รู้ไม่ชี้ดีกว่า
คนที่คิดได้เช่นนี้เห็นจะไม่มีใครเกินคนที่ใครๆ เรียกกันว่า “หัวหน้า” (Chief) เป็นอินเดียนแดงหรือ “Native-American” ร่างสูงใหญ่เฉียดสองเมตรซึ่งใครๆ คิดว่าเป็นใบ้หูหนวก แมคเมอร์ฟีได้พบว่าเขาแกล้งใบ้และทำเป็นไม่ได้ยินเพราะไม่อยากยุ่งกับใคร เพื่อจะได้อยู่ในโลกของตนเอง ไม่อยากอยู่ในโลกที่คนอื่นสร้างให้ ซึ่งอาจจะทำให้เขาบ้าขึ้นมาจริงๆ เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับพ่อของเขา เขาเล่าให้แมคเมอร์ฟีฟังว่า พ่อเป็นคนแข็งแรงและมีชีวิตชีวา แต่ค่อยๆ ถูกระบบทำลายจนไม่เหลือ
แมคเมอร์ฟีกลายเป็น “ผู้นำ” กลุ่มในเวลาอันรวดเร็วเพราะเขาท้าทายอำนาจของสถาบันแห่งนี้ที่ไม่มีใครกล้าหือมาก่อน เป็นการต่อสู้ทางอำนาจ (power struggle) ที่ค่อยๆ ทวีความเข้มข้นจนกลายเป็นความรุนแรงในตอนท้ายอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด
พยาบาลรัตเชดควบคุมวอร์ดของเธออย่างเบ็ดเสร็จ มีการ์ดทำหน้าที่เหมือนคนคุมผู้ต้องขังในเรือนจำ ความจริง คนเหล่านี้เองที่เปิดเผยในตอนท้ายว่า ที่นี่ไม่ใช่แค่โรงพยาบาลบ้า แต่เป็นคุกคุมขังคน “ไม่ปกติ” จึงต้องมีรั้วรอบขอบชิดติดลวดหนามกันคนหนี
เธอทำหน้าที่ของตนเองอย่างเคร่งครัดและบังคับให้ทุกคนทำเช่นเดียวกัน ให้คนไข้ทุกคนกินยา (ระงับประสาท) เปิดดนตรีดัง (อ้างว่าคนไข้หลายคนหูตึง) และทำการบำบัดกลุ่ม (แบบฟื้นฝอยหาตะเข็บซ้ำซาก) และพอใจกับการที่คนไข้ทะเลาะกันเอง เธอจะได้แสดงอำนาจควบคุมสถานการณ์
นี่เป็นวิถีประจำวันที่ไม่เปลี่ยนตารางเวลา ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออกหรือมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเธอไม่สนใจ ไม่ว่าจะมีการแข่งขันเบสบอลชิงแชมป์ กีฬาที่ชาวอเมริกันคลั่งไคล้และไม่พลาดชมการถ่ายทอดสด เธอก็ไม่ยอมให้คนไข้ได้ชมตามคำเรียกร้องของแมคเมอร์ฟีและคนไข้ส่วนใหญ่ ซึ่งครั้งแรกไม่ยอมยกมือให้แมคเมอร์ฟีเพราะกลัวพยาบาล ต่อมาก็รวบรวมความกล้าอยู่ข้างแมคเมอร์ฟี แต่พยาบาลรัตเชดก็ยังไม่ยอมอยู่ดี เหมือนกับเผด็จการทั้งหลายที่หาคำอธิบายและเหตุผลได้เสมอ
เมื่อคณะผู้บริหารโรงพยาบาลจะส่งตัวแมคเมอร์ฟีกลับ พยาบาลรัตเชดเป็นคนคัดค้าน เธอต้องการเอาชนะเขาให้ได้ และชนะที่วอร์ดของเธอ เพื่อจะได้คนไข้อื่นๆ กลับคืนมาอยู่ใต้อำนาจ ถ้าปล่อยเขาไปวันนี้ พวกที่เหลืออยู่อาจกระด้างกระเดื่องโดยยังมีเขาเป็นฮีโร่ในดวงใจ
แมคเมอร์ฟีกลายเป็นผู้นำของการขบถต่อสถาบัน เขารู้สึกว่าเพื่อนๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้บ้า แต่ถูกทำให้คิดว่าตัวเองบ้า ไม่มีความเชื่อมั่นหรือเคารพตัวเองเหลืออยู่เลย แมคเมอร์ฟีถึงได้บอกพวกเขาว่า พวกเขาไม่ได้บ้าไปกว่าพวกเฮงซวยหรือใครๆ ที่เดินตามถนนข้างนอกทั้งหลายหรอก
เขาพาเพื่อนๆ “แหกคุก” โบยบินไปสู่เสรี ชื่นชมธรรมชาติและชีวิตอิสระโดยการโดดขึ้นขับรถบัสพาพรรคพวกไปในเมืองผ่านที่ต่างๆ ไปที่ท่าเรือ ล่องเรือออกสู่ทะเลลึกเพื่อตกปลา โดยไม่ลืมแวะรับหญิงบริการคู่ขาไปด้วย เป็นฉากที่สวยงาม เป็นภาษาสัญลักษณ์ที่บอกถึงความฝันและจินตนาการอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่ไม่มีอะไรปิดกั้นให้อยู่ในโลกแคบๆ ที่ใครบางคนเป็นผู้กำหนด
เมื่อคนดูแลท่าเรือมาถามว่าพวกเขาเป็นใคร แมคเมอร์ฟีตอบว่า เป็นหมอมาจากสถาบันสุขภาพจิต จะไปพักผ่อนตกปลากัน พร้อมกับแนะนำเพื่อนแต่ละคนโดยมีคำว่า “ด็อกเตอร์” นำหน้า รวมทั้ง ดร. แมคเมอร์ฟีด้วย และดูเหมือนว่าทุกคนพร้อมใจกันทำตัวเหมือนหมอจริงๆ เสียด้วย
Milos Forman ผู้กำกับชาวเช็คเก่งกาจในการใช้ภาษาสัญลักษณ์ที่ว่านี้เป็นอย่างยิ่ง เขาหนีจากบ้านเกิดไปอยู่สหรัฐอเมริกาหลังจากที่กองทัพโซเวียตบุกกรุงปรากในปี 1968 เขาทำหนังเรื่องนี้ได้ดีเพราะรู้ซึ้งในประสบการณ์ของการถูกจำกัดเสรีภาพ การอยู่ในที่คุมขัง “หลังม่านเหล็ก”
เขาปลดปล่อยตัวละครในโรงพยาบาลบ้าให้ได้สัมผัสกับชีวิตจริงๆ ไม่ใช่กินยา บำบัดหมู่ กิน นอนอยู่ในคุกอย่างนั้น เขาทำให้เราได้เห็นสภาพโรงพยาบาลบ้าจากสายตาของแมคเมอร์ฟี ซึ่งไม่ได้บ้า แต่ค่อยๆ ถูกทำให้บ้าและถูกทำลายโดยระบบและสถาบัน
นอกจากฉากหนีไปเที่ยว ล่องเรือตกปลากลางทะเลแล้ว ยังมีฉากที่แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ช่วยบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยด้านจิตประสาทที่ดีคือการใช้ชีวิตเหมือนผู้คนธรรมดา ได้ดูรายการทีวีดีๆ ที่ตนชอบ ได้ออกกำลังกาย เล่นบาสเกตบอล ซึ่งเป็นฉากที่สนุกสนานเมื่อทีมคนไข้แข่งกับทีมผู้คุม แมคเมอร์ฟีสอนให้อินเดียนแดงร่างโย่งไปยืนรอใต้แป้นคอยรับลูกหย่อนลงห่วง และให้วิ่งกลับไปอีกด้านเพื่อป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายชู้ตลง โดยดันลูกที่กำลังจะลงห่วงให้ขึ้นไป สนุกจนลืมความเจ็บป่วยและกลับไปอยู่ในโลก “ปกติ” ได้ระยะหนึ่ง
แล้วก็เลยเถิดไปไกลในท้ายที่สุด เมื่อแมคเมอร์ฟีวางแผนการปลดปล่อยครั้งใหญ่ให้เพื่อนๆ เรียกหญิงบริการสองคนและบอกให้ขนเหล้ามาด้วย เป็นการฉลอง “อิสรภาพ” ปลดปล่อยวิญญาณเสรีที่ต้องการ “ชีวิตอิสระ” ไม่ใช่อะไรที่ “สำเร็จรูป” พร้อมกับกฎเกณฑ์และที่คุมขัง
ในโศกนาฎกรรมสุดท้าย พระเอกเหมือนกับพ่ายแพ้และเป็นเหยื่อ แต่นั่นคือหนังและการใช้ภาษาสัญลักษณ์ที่ยอดเยี่ยม แสดงให้เห็นว่า เขาได้ขบถ ได้ต่อสู้และสังเวยชีวิตเพื่อเสรีภาพ ช่วยให้อินเดียนแดงเพื่อนซี้หนีออกจากกรอบและกรงที่กักขังมนุษย์ ทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเองกลับคืนมา และกล้าออกไปเผชิญชีวิตเหมือนนกที่ออกจากรัง โบยบินไปในโลกกว้างอย่างเสรี
หนังจบด้วยภาพของการปลดปล่อยที่ “หัวหน้า” (Chief) ยกเสาคอนกรีตที่ตั้งก๊อกน้ำทุ่มหน้าต่างติดลูกกรงเหล็กจนพังทลาย แล้ววิ่งหนีไปในยามตะวันกำลังโพล้เพล้ รุ่งอรุณแห่งเสรีภาพ
หนังเรื่องนี้สร้างจากหนังสือเบสท์ เซลเลอร์ ของ Ken Kesey (1962) ได้รางวัลออสการ์สำคัญทั้ง 5 ตัว ภาพยนตร์ ผู้กำกับ ผู้แสดงนำชาย หญิง และบทยอดเยี่ยม สร้างในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมในตะวันตก ฤดูใบไม้ผลิที่ยุโรป (1968) วูดสต๊อคที่อเมริกา (1969) และ 14 ตุลาที่บางกอก (1973)
ที่ปลดปล่อยผู้คนจากพันธนาการทางประวัติศาสตร์ กฎระเบียบ จากระบบคุณค่าแบบเก่า จากความกดดันและความกลัว สู่โลกใหม่ที่ผู้คนกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง