ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นหัวข้อที่มีการพูดถึงกันบ่อยครั้งในวงวิชาการ ในการบริหารราชการแผ่นดิน และในวงธุรกิจ การสัมมนาก่อนจะมีการประชุม Asian Cooperation Dialogue ที่เมืองชิงเต่า มณฑลชานตง สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเร็วๆ นี้ ก็ได้มีการพูดถึงหัวข้อดังกล่าว
แต่มีข้อสังเกตว่าส่วนใหญ่การอภิปรายจะจำกัดวงอยู่ที่ผลในทางบวกของความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของฝ่ายรัฐหรือรัฐบาลที่มีส่วนเสริมการประกอบธุรกิจของเอกชน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวม
ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนที่อาจถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดก็คือสถานการณ์ในประเทศญี่ปุ่น การเจรจาธุรกิจ เช่นการลงทุนของญี่ปุ่นในต่างประเทศมักจะมีเอกอัครราชทูตหรือเจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นมาช่วยเหลือในการเจรจา และรับรู้กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศนั้นๆ ของบริษัทญี่ปุ่น นโยบายหลายอย่างของรัฐที่ออกมาก็เพื่อประโยชน์ของนักธุรกิจญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น จนมีการกล่าวว่าญี่ปุ่นทั้งประเทศคือบรรษัทญี่ปุ่น กล่าวคือ
ประเทศญี่ปุ่นทั้งประเทศเปรียบเสมือนบริษัทใหญ่โดยแบ่งส่วนกันทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชน แต่ผลที่สุดเป้าหมายสูงสุดก็คือผลประโยชน์ของประเทศญี่ปุ่นและชาวญี่ปุ่นโดยรวม
เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนนั้นที่เห็นได้ชัดก็คือ การที่ภาครัฐพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนนหนทาง โรงไฟฟ้า การคมนาคมและการขนส่ง การสื่อสาร ฯลฯ เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมต่างๆ ในกรณีที่เศรษฐกิจทรุดหนักก็จะมีนโยบายภาษี การเข้าไปอุ้มธุรกิจเอกชนให้สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ ที่เห็นเด่นชัดก็คือการใช้นโยบายการเงินการคลังด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การใช้จ่ายของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจที่กำลังทรุดตัวฟื้นตัวขึ้นมาได้ การใช้จ่ายภาครัฐจะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจโดยนำไปสู่ตัวคูณ กล่าวคือ เมื่อมีการใช้จ่ายสร้างถนนหนทางก็จะมีการว่าจ้างแรงงานซึ่งจะนำไปสู่การมีรายได้ ทำให้มีอำนาจซื้อเพื่อจับจ่ายใช้สอยอันจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและการว่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นต่อกันเป็นลูกโซ่ จนเศรษฐกิจฟื้นตัวและเกิดพลวัตในด้านธุรกิจการค้า
แต่ขณะเดียวกันก็มีปรัชญาที่ว่า "รัฐบาลที่ดีที่สุดคือรัฐบาลที่ปกครองน้อยที่สุด" หมายความว่า
ควรปล่อยให้ภาคเอกชนดำเนินไปตามกลไกของตลาดด้วยอุปสงค์อุปทานโดยรัฐไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง หลักการที่ยกมาเบื้องต้นเป็นปรัชญาของสหรัฐอเมริกา แต่ข้อน่าสังเกตก็คือ สหรัฐอเมริกาเองซึ่งเชื่อในเศรษฐกิจเสรีอย่างเต็มที่ก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงบทบาทของภาครัฐได้ เริ่มต้นจากประธานาธิบดีแจ็คสันซึ่งขยายอำนาจของตนเองในการบัญชาการทหารในการรบ และเข้าไปแทรกแซงเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ มาในปัจจุบันก็เป็นที่ทราบกันดีว่านักลงทุนอุตสาหกรรมและนโยบายการป้องกันประเทศซึ่งได้แก่องค์กรทหารมีบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศและนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ที่เรียกกันว่า military-industrial complex ในความเป็นจริงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกานั้นถูกกำหนดโดย Council for
Foreign Relations ซึ่งประกอบด้วยนักธุรกิจ นักวิชาการ และนักการทหาร รวมกันเป็นชมรมซึ่งมีบทบาทอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐบาลอเมริกัน และมีอิทธิพลต่อประธานาธิบดีอเมริกันโดยตรง
ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ในขณะที่มีการพูดถึงการค้าเสรี ความเป็นประชาธิปไตย องค์กรการค้าโลก และอื่นๆ แต่ก็มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน เช่นการช่วยเกื้อหนุนอุ้มชูราคาผลผลิตทางการเกษตรเช่นกรณีของฟาร์มแอกต์ของสหรัฐอเมริกา หรือการป้องกันการทุ่มตลาดของเหล็กกล้าจากต่างประเทศ ที่สำคัญก็คือ
การตั้งกำแพงภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่กำแพงภาษีนานาชนิดเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการภายในประเทศ ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้เป็นเรื่องการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติและของประเทศ บนความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างภาครัฐและเอกชนซึ่งขัดแย้งกับหลักการค้าเสรีอันเป็นหลักสากล โดยประเทศผู้ประกาศหลักการดังกล่าวมักจะเป็นผู้ละเมิดหลักการนั้นเสียเอง
ในแง่การเมืองนั้นสิ่งที่ต้องกล่าวถึงก็คือ เมื่อใดก็ตามที่เกิดความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นหว่างภาครัฐและเอกชนอาจนำไปสู่การผูกขาดอำนาจโดยคนสองกลุ่ม ซึ่งได้แก่ ผู้กุมอำนาจรัฐอันได้แก่นักการเมือง และผู้ประกอบการในภาคธุรกิจ ตัวอย่างคือ รัฐบาลที่เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองในเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น จนนำไปสู่ระบบการเมืองแบบฟาสซิสต์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการนำไปสู่นโยบายสงครามเพื่อผลประโยชน์ในการผลิตสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมหนัก เช่นอาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นต้น ที่ต้องระวังยิ่งกว่านั้นก็คือเมื่อใดก็ตามที่ผู้กุมอำนาจรัฐมีอำนาจทางธุรกิจด้วย ก็ยิ่งจะทำให้เกิดการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จยิ่งขึ้น ซึ่งก็มีการกล่าวถึงโดยนักวิชาการที่สนใจในประเด็นดังกล่าวในเวทีเสวนาต่างๆ
ระบบที่อำนาจรัฐอยู่ในมือของกลุ่มซึ่งกุมอำนาจการเมืองและธุรกิจก็คือผลกระทบในทางลบที่จะเกิดขึ้นกับคนยากจน เช่น จะไม่มีการผ่านกฎหมายภาษีมรดกหรือภาษีทรัพย์สิน นโยบายใดก็ตามที่จะกระทบต่อผลประโยชน์ของคนที่จัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นสูงในสังคมก็จะชะลอตัวลง จะมีข้อยกเว้นก็คือในกรณีที่ผู้กุมอำนาจมีปรัชญาเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากไร้ ผู้นำดังกล่าวต้องมีอุดมการณ์และจิตสำนึกที่จะต้องรับใช้มวลชนและพร้อมที่จะเสียสละ ขณะเดียวกันภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนโยบายในแนวดังกล่าวก็อาจมีเพื่อผลในการเลือกตั้งและความนิยมชมชอบในทางการเมือง
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าภาครัฐไม่ให้การสนับสนุนภาคเอกชนก็จะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมาย เป็นต้นว่า ถ้าภาคเอกชนจะต้องสร้างโรงผลิตไฟฟ้า น้ำประปา ถนนเสียเอง ก็คงไม่สามารถจะลงทุนได้โดยมีผลกำไรเพราะค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าจะสูงจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ขณะเดียวกันการพึ่งภาครัฐในทุกด้านก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้เนื่องจากทรัพยากรจำกัด ส่วนการสนับสนุนจากภาครัฐที่ไม่มีผลอย่างจริงจังเนื่องจากไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่นั้นก็จะไม่เกิดผลในทางบวกตามที่ได้มุ่งหมาย แต่ข้อที่พึงระวังก็คือการสนับสนุนจากภาครัฐก็มีข้อจำกัด เช่น การให้เงินสนับสนุนแก่ธุรกิจเอกชนอาจจะขัดกับข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวเนื่องกับการค้าเสรี แม้ความหละหลวมในการบังคับกฎหมาย เช่น ไม่สนใจการบำบัดน้ำเสียซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยตัดทอนรายจ่ายของภาคเอกชน ก็จะถือว่าเป็นการสนับสนุนภาคเอกชนโดยทางอ้อมซึ่งทำให้การแข่งขันในตลาดโลกเกิดความไม่ยุติธรรมเนื่องจากสินค้าจากประเทศอื่นต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เพราะค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งต้องนำไปรักษาสภาพแวดล้อมเช่นการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
โดยสรุป ผลในทางบวกและความจำเป็นที่ภาคสาธารณะหรือภาครัฐมีต่อภาคเอกชนเป็นสิ่งซึ่งปฏิเสธไม่ได้ และความสัมพันธ์ระหว่างสองภาคนี้คงมีอยู่ในทุกประเทศ ข้อที่พึงระมัดระวังก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสองภาคถ้าเกิดขึ้นแน่นแฟ้นเกินกว่าเหตุก็อาจจะนำไปสู่ระบบการปกครองที่มีภาครัฐและเอกชนเข้มแข็งจนมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั่วๆ ไปได้ ที่สำคัญก็คือ อาจจะนำไปสู่ผลกระทบต่อความยุติธรรมทางสังคม ความเสมอภาค และการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ในส่วนของต่างประเทศนั้นนอกจากจะเป็นเรื่องขัดต่อหลักการค้าเสรีแล้ว ยังอาจส่งผลต่อสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะนักลงทุนอุตสาหกรรมใหญ่ๆ อาจมีส่วนในการเสนอนโยบายเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและธุรกิจจากสภาวะสงคราม และเป็นที่ทราบกันดีว่าในอดีตนั้นสงครามเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็เนื่องจากเศรษฐกิจสงคราม
กล่าวคือ เมื่อเกิดสงครามขึ้นธุรกิจบางประเภทจะเพิ่มผลผลิตอย่างมากมาย มีการกล่าวกันว่าเหตุผลข้อหนึ่งที่สงครามเวียดนามยุติช้ากว่าปกตินอกเหนือจากเหตุผลทางการเมืองแล้ว ก็คือเหตุผลจากนักลงทุนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมีและอาวุธที่ต้องการให้สงครามดำเนินต่อไปเพื่อผลประโยชน์ของการประกอบธุรกิจและการค้ากำไรบนชีวิต เลือดเนื้อ น้ำตา และความทุกข์ระทมของเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก
แต่มีข้อสังเกตว่าส่วนใหญ่การอภิปรายจะจำกัดวงอยู่ที่ผลในทางบวกของความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของฝ่ายรัฐหรือรัฐบาลที่มีส่วนเสริมการประกอบธุรกิจของเอกชน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวม
ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนที่อาจถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดก็คือสถานการณ์ในประเทศญี่ปุ่น การเจรจาธุรกิจ เช่นการลงทุนของญี่ปุ่นในต่างประเทศมักจะมีเอกอัครราชทูตหรือเจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นมาช่วยเหลือในการเจรจา และรับรู้กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศนั้นๆ ของบริษัทญี่ปุ่น นโยบายหลายอย่างของรัฐที่ออกมาก็เพื่อประโยชน์ของนักธุรกิจญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น จนมีการกล่าวว่าญี่ปุ่นทั้งประเทศคือบรรษัทญี่ปุ่น กล่าวคือ
ประเทศญี่ปุ่นทั้งประเทศเปรียบเสมือนบริษัทใหญ่โดยแบ่งส่วนกันทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชน แต่ผลที่สุดเป้าหมายสูงสุดก็คือผลประโยชน์ของประเทศญี่ปุ่นและชาวญี่ปุ่นโดยรวม
เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนนั้นที่เห็นได้ชัดก็คือ การที่ภาครัฐพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนนหนทาง โรงไฟฟ้า การคมนาคมและการขนส่ง การสื่อสาร ฯลฯ เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมต่างๆ ในกรณีที่เศรษฐกิจทรุดหนักก็จะมีนโยบายภาษี การเข้าไปอุ้มธุรกิจเอกชนให้สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ ที่เห็นเด่นชัดก็คือการใช้นโยบายการเงินการคลังด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การใช้จ่ายของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจที่กำลังทรุดตัวฟื้นตัวขึ้นมาได้ การใช้จ่ายภาครัฐจะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจโดยนำไปสู่ตัวคูณ กล่าวคือ เมื่อมีการใช้จ่ายสร้างถนนหนทางก็จะมีการว่าจ้างแรงงานซึ่งจะนำไปสู่การมีรายได้ ทำให้มีอำนาจซื้อเพื่อจับจ่ายใช้สอยอันจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและการว่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นต่อกันเป็นลูกโซ่ จนเศรษฐกิจฟื้นตัวและเกิดพลวัตในด้านธุรกิจการค้า
แต่ขณะเดียวกันก็มีปรัชญาที่ว่า "รัฐบาลที่ดีที่สุดคือรัฐบาลที่ปกครองน้อยที่สุด" หมายความว่า
ควรปล่อยให้ภาคเอกชนดำเนินไปตามกลไกของตลาดด้วยอุปสงค์อุปทานโดยรัฐไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง หลักการที่ยกมาเบื้องต้นเป็นปรัชญาของสหรัฐอเมริกา แต่ข้อน่าสังเกตก็คือ สหรัฐอเมริกาเองซึ่งเชื่อในเศรษฐกิจเสรีอย่างเต็มที่ก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงบทบาทของภาครัฐได้ เริ่มต้นจากประธานาธิบดีแจ็คสันซึ่งขยายอำนาจของตนเองในการบัญชาการทหารในการรบ และเข้าไปแทรกแซงเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ มาในปัจจุบันก็เป็นที่ทราบกันดีว่านักลงทุนอุตสาหกรรมและนโยบายการป้องกันประเทศซึ่งได้แก่องค์กรทหารมีบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศและนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ที่เรียกกันว่า military-industrial complex ในความเป็นจริงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกานั้นถูกกำหนดโดย Council for
Foreign Relations ซึ่งประกอบด้วยนักธุรกิจ นักวิชาการ และนักการทหาร รวมกันเป็นชมรมซึ่งมีบทบาทอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐบาลอเมริกัน และมีอิทธิพลต่อประธานาธิบดีอเมริกันโดยตรง
ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ในขณะที่มีการพูดถึงการค้าเสรี ความเป็นประชาธิปไตย องค์กรการค้าโลก และอื่นๆ แต่ก็มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน เช่นการช่วยเกื้อหนุนอุ้มชูราคาผลผลิตทางการเกษตรเช่นกรณีของฟาร์มแอกต์ของสหรัฐอเมริกา หรือการป้องกันการทุ่มตลาดของเหล็กกล้าจากต่างประเทศ ที่สำคัญก็คือ
การตั้งกำแพงภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่กำแพงภาษีนานาชนิดเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการภายในประเทศ ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้เป็นเรื่องการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติและของประเทศ บนความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างภาครัฐและเอกชนซึ่งขัดแย้งกับหลักการค้าเสรีอันเป็นหลักสากล โดยประเทศผู้ประกาศหลักการดังกล่าวมักจะเป็นผู้ละเมิดหลักการนั้นเสียเอง
ในแง่การเมืองนั้นสิ่งที่ต้องกล่าวถึงก็คือ เมื่อใดก็ตามที่เกิดความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นหว่างภาครัฐและเอกชนอาจนำไปสู่การผูกขาดอำนาจโดยคนสองกลุ่ม ซึ่งได้แก่ ผู้กุมอำนาจรัฐอันได้แก่นักการเมือง และผู้ประกอบการในภาคธุรกิจ ตัวอย่างคือ รัฐบาลที่เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองในเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น จนนำไปสู่ระบบการเมืองแบบฟาสซิสต์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการนำไปสู่นโยบายสงครามเพื่อผลประโยชน์ในการผลิตสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมหนัก เช่นอาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นต้น ที่ต้องระวังยิ่งกว่านั้นก็คือเมื่อใดก็ตามที่ผู้กุมอำนาจรัฐมีอำนาจทางธุรกิจด้วย ก็ยิ่งจะทำให้เกิดการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จยิ่งขึ้น ซึ่งก็มีการกล่าวถึงโดยนักวิชาการที่สนใจในประเด็นดังกล่าวในเวทีเสวนาต่างๆ
ระบบที่อำนาจรัฐอยู่ในมือของกลุ่มซึ่งกุมอำนาจการเมืองและธุรกิจก็คือผลกระทบในทางลบที่จะเกิดขึ้นกับคนยากจน เช่น จะไม่มีการผ่านกฎหมายภาษีมรดกหรือภาษีทรัพย์สิน นโยบายใดก็ตามที่จะกระทบต่อผลประโยชน์ของคนที่จัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นสูงในสังคมก็จะชะลอตัวลง จะมีข้อยกเว้นก็คือในกรณีที่ผู้กุมอำนาจมีปรัชญาเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากไร้ ผู้นำดังกล่าวต้องมีอุดมการณ์และจิตสำนึกที่จะต้องรับใช้มวลชนและพร้อมที่จะเสียสละ ขณะเดียวกันภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนโยบายในแนวดังกล่าวก็อาจมีเพื่อผลในการเลือกตั้งและความนิยมชมชอบในทางการเมือง
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าภาครัฐไม่ให้การสนับสนุนภาคเอกชนก็จะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมาย เป็นต้นว่า ถ้าภาคเอกชนจะต้องสร้างโรงผลิตไฟฟ้า น้ำประปา ถนนเสียเอง ก็คงไม่สามารถจะลงทุนได้โดยมีผลกำไรเพราะค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าจะสูงจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ขณะเดียวกันการพึ่งภาครัฐในทุกด้านก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้เนื่องจากทรัพยากรจำกัด ส่วนการสนับสนุนจากภาครัฐที่ไม่มีผลอย่างจริงจังเนื่องจากไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่นั้นก็จะไม่เกิดผลในทางบวกตามที่ได้มุ่งหมาย แต่ข้อที่พึงระวังก็คือการสนับสนุนจากภาครัฐก็มีข้อจำกัด เช่น การให้เงินสนับสนุนแก่ธุรกิจเอกชนอาจจะขัดกับข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวเนื่องกับการค้าเสรี แม้ความหละหลวมในการบังคับกฎหมาย เช่น ไม่สนใจการบำบัดน้ำเสียซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยตัดทอนรายจ่ายของภาคเอกชน ก็จะถือว่าเป็นการสนับสนุนภาคเอกชนโดยทางอ้อมซึ่งทำให้การแข่งขันในตลาดโลกเกิดความไม่ยุติธรรมเนื่องจากสินค้าจากประเทศอื่นต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เพราะค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งต้องนำไปรักษาสภาพแวดล้อมเช่นการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
โดยสรุป ผลในทางบวกและความจำเป็นที่ภาคสาธารณะหรือภาครัฐมีต่อภาคเอกชนเป็นสิ่งซึ่งปฏิเสธไม่ได้ และความสัมพันธ์ระหว่างสองภาคนี้คงมีอยู่ในทุกประเทศ ข้อที่พึงระมัดระวังก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสองภาคถ้าเกิดขึ้นแน่นแฟ้นเกินกว่าเหตุก็อาจจะนำไปสู่ระบบการปกครองที่มีภาครัฐและเอกชนเข้มแข็งจนมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั่วๆ ไปได้ ที่สำคัญก็คือ อาจจะนำไปสู่ผลกระทบต่อความยุติธรรมทางสังคม ความเสมอภาค และการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ในส่วนของต่างประเทศนั้นนอกจากจะเป็นเรื่องขัดต่อหลักการค้าเสรีแล้ว ยังอาจส่งผลต่อสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะนักลงทุนอุตสาหกรรมใหญ่ๆ อาจมีส่วนในการเสนอนโยบายเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและธุรกิจจากสภาวะสงคราม และเป็นที่ทราบกันดีว่าในอดีตนั้นสงครามเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็เนื่องจากเศรษฐกิจสงคราม
กล่าวคือ เมื่อเกิดสงครามขึ้นธุรกิจบางประเภทจะเพิ่มผลผลิตอย่างมากมาย มีการกล่าวกันว่าเหตุผลข้อหนึ่งที่สงครามเวียดนามยุติช้ากว่าปกตินอกเหนือจากเหตุผลทางการเมืองแล้ว ก็คือเหตุผลจากนักลงทุนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมีและอาวุธที่ต้องการให้สงครามดำเนินต่อไปเพื่อผลประโยชน์ของการประกอบธุรกิจและการค้ากำไรบนชีวิต เลือดเนื้อ น้ำตา และความทุกข์ระทมของเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก