นายชรินทร์ หาญสืบสาย โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ซึ่งประกอบด้วยนักธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่นได้เดินทางมาเยี่ยมคารวะนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และได้เสนอให้กระทรวงพาณิชย์แก้ไขกฎระเบียบภายใต้พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่น โดยเฉพาะเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการกำหนดอัตราส่วนเงินทุนต่อเงินกู้
โดยในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น ทางญี่ปุ่นเห็นว่าการกำหนดระเบียบให้บริษัทต่างด้าวที่เข้ามาลงทุนในไทยจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยให้มีการกรอบแบบฟอร์มรายละเอียดการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น เป็นข้อบังคับที่ยุ่งยากในทางปฏิบัติ และเห็นว่าไม่ควรจะบังคับใช้กับบริษัทต่างด้าวทั้งหมด เพราะบางบริษัทก็เป็นแค่สำนักงานตัวแทน โดยขอให้มีการแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากปกติบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในไทยก็มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอยู่แล้ว
ส่วนการกำหนดอัตราส่วนทุนต่อเงินกู้ตามมาตรา 18 ที่กำหนดให้บริษัทต่างด้าวต้องทำตามเงื่อนไขอัตราส่วนเงินทุนต่อเงินกู้ที่กำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกกฎกระทรวงเพื่อบังคับให้บริษัทต่างด้าวที่เข้ามาลงทุนในไทยจะต้องนำเงินเข้ามา 1 ส่วนถึงจะกู้เงินภายในประเทศได้ 3 ส่วน จากเดิมที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 (ปว.281) กำหนดไว้ในอัตรา 1 ต่อ 7 เพื่อให้บริษัทต่างด้าวนำเข้าทุนเข้ามาจริงๆ แทนที่จะลงทุนแต่ในนาม แต่ทางญี่ปุ่นเห็นว่าอัตราส่วนเงินทุนต่อเงินกู้ที่จะกำหนดขึ้นมาใหม่น้อยเกินไป จึงขอให้มีการแก้ไขในเรื่องนี้
"บริษัทญี่ปุ่นที่เรียกร้องในเรื่องนี้ ก็คือ โตโยต้า เพราะมีธุรกิจลิสซิ่งอยู่ ซึ่งหากกำหนดอัตราส่วนเงินทุนต่อเงินกู้ไว้น้อย ก็จะทำให้เขาทำธุรกิจได้ยาก เพราะต้องนำเงินเข้ามาก่อน ทั้งๆ ที่เขามีขีดความสามารถในการหาเงินภายในประเทศได้ ขณะที่ค่ายรถยนต์ต่างประเทศรายอื่นๆ ก็เรียกร้องมาเหมือนกัน ซึ่งเรื่องนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้รับที่จะไปพิจารณาให้"นายชรินทร์กล่าว
โดยในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น ทางญี่ปุ่นเห็นว่าการกำหนดระเบียบให้บริษัทต่างด้าวที่เข้ามาลงทุนในไทยจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยให้มีการกรอบแบบฟอร์มรายละเอียดการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น เป็นข้อบังคับที่ยุ่งยากในทางปฏิบัติ และเห็นว่าไม่ควรจะบังคับใช้กับบริษัทต่างด้าวทั้งหมด เพราะบางบริษัทก็เป็นแค่สำนักงานตัวแทน โดยขอให้มีการแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากปกติบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในไทยก็มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอยู่แล้ว
ส่วนการกำหนดอัตราส่วนทุนต่อเงินกู้ตามมาตรา 18 ที่กำหนดให้บริษัทต่างด้าวต้องทำตามเงื่อนไขอัตราส่วนเงินทุนต่อเงินกู้ที่กำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกกฎกระทรวงเพื่อบังคับให้บริษัทต่างด้าวที่เข้ามาลงทุนในไทยจะต้องนำเงินเข้ามา 1 ส่วนถึงจะกู้เงินภายในประเทศได้ 3 ส่วน จากเดิมที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 (ปว.281) กำหนดไว้ในอัตรา 1 ต่อ 7 เพื่อให้บริษัทต่างด้าวนำเข้าทุนเข้ามาจริงๆ แทนที่จะลงทุนแต่ในนาม แต่ทางญี่ปุ่นเห็นว่าอัตราส่วนเงินทุนต่อเงินกู้ที่จะกำหนดขึ้นมาใหม่น้อยเกินไป จึงขอให้มีการแก้ไขในเรื่องนี้
"บริษัทญี่ปุ่นที่เรียกร้องในเรื่องนี้ ก็คือ โตโยต้า เพราะมีธุรกิจลิสซิ่งอยู่ ซึ่งหากกำหนดอัตราส่วนเงินทุนต่อเงินกู้ไว้น้อย ก็จะทำให้เขาทำธุรกิจได้ยาก เพราะต้องนำเงินเข้ามาก่อน ทั้งๆ ที่เขามีขีดความสามารถในการหาเงินภายในประเทศได้ ขณะที่ค่ายรถยนต์ต่างประเทศรายอื่นๆ ก็เรียกร้องมาเหมือนกัน ซึ่งเรื่องนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้รับที่จะไปพิจารณาให้"นายชรินทร์กล่าว