ผู้จัดการรายวัน - แฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่น ไล่ฮุบหุ้น แฟมิลี่มาร์ทประเทศไทย หลังเพิ่มทุนเป็น 800 ล้านบาท ฝ่ายไทยถอยฉากทั้งสหพัฒน์ โรบินสัน ลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือเล็กน้อย ก่นจะขายหุ้นออกหมด เปิดทางญี่ปุ่นฟื้นชีพธุรกิจ บุกตลาดไทยใหม่ หลังจากที่ซบเซาและชะลอตัวไปนาน เน้นกลุ่มสินค้าอาหาร ยันรายได้ปีนี้โตมากกว่า 50% แม้ว่าจะยังขาดทุนสะสมก็ตาม
ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกในรอบปีครึ่งหลังจากที่เข้าบริหารแฟมิลี่มาร์ทเมื่อเดือนมีนาคมปี 2546ว่า บริษัทแม่ของแฟมิลี่มาร์ทที่ญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะขยายร้านแฟมิลี่มาร์ทไปทั่วเอเชียแฟซิฟิค ซึ่งเมื่อปลายปีที่แล้วได้ฉลองสาขาครบ 10,000 แห่งไปแล้ว ใน 4 ประเทศคือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และไทย และภายในเดือนหน้าจะเปิดสาขาที่ประเทศจีน และอยู่ระหว่างการศึกษาที่จะเปิดธุรกิจในแคลิฟอร์เนียที่อเมริกา
ญี่ปุนไล่ฮุบหุ้นหวังฟื้นชีพ
ดังนั้นเพื่อให้การทำงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทสยามแฟมิลี่มาร์ทในไทย และได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ เพื่อปรับแนวทางการดำเนินงานใหม่
อย่างไรก็ดีโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ยังคงเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม แต่มีการเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้นใหม่ หลังการเพิ่มทุนล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนจากทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาท เป็น 800 ล้านบาท โดยมีสยามแฟมิลี่มาร์ทโฮลดิ้ง ถือหุ้นเพิ่มเป็น 47% จากเดิมมี 31% แฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่น ลดลงเหลือ 42% จากเดิม 43% อิโตชู เพิ่มเป็น 7% จากเดิม 6% โรบินสันลดลงเหลือแค่ 3% จากเดิม 13% และหลังจากนี้ทางกลุ่มสหพัฒน์จะทยอยลดสัดส่วนการถือหุ้นลงทั้งหมด เพื่อเปิดทางให้กับกลุ่มญี่ปุ่นเข้ามาถือหุ้นแทน
ทั้งนี้ผลประกอบการของสยามแฟมิลี่มาร์ท ประเทศไทย เมื่อปี 2545 มีรายได้ประมาณ 2,441 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 196 ล้านบาท ขณะที่ปี 2546 มีรายได้ประมาณ 3,470 ล้านบาท ขาดทุน 180 ล้านบาท และคาดว่าภายในปี 2547 ที่มีการปรับแนวการทำงานและเพิ่มทุนแล้วจะมีรายได้ประมาณ 5,100 ล้านบาท
"ถือเป็นรายได้ที่สูงมาก แต่มั่นใจว่าจะทำได้ เพราะเรามีความพร้อมแล้ว แต่ยอมรับว่าทุกวันนี้ยังขาดทุนสะสมอยู่จำนวนหนึ่ง โดยเป้าหมายหลังจากนี้ไป คือการขยายสาขาให้มากที่สุด การเพิ่มยอดขายให้มากที่สุด" ผู้บริหารของแฟมิลี่มาร์ทกล่าว
แผนขยายเครือข่าย
สำหรับแผนการลงทุนในปีนี้คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น งบลงทุนเปิดสาขาใหม่ 535 ล้านบาท งบทำระบบพีโอเอส 120 ล้านบาท งบทางด้านไอที 49 ล้านบาท งบอื่นๆ 4 ล้านบาท ซึ่งบางส่วนก็เริ่มทยอยทำมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว
ด้านแผนการขยายสาขา กำหนดไว้แต่ละปีจะขยายประมาณ 200-300 สาขาจากนี้ ซึ่งในช่วง 2-3 ปีแรกนี้จะยังคงเน้นการลงทุนเปิดสาขาเองเป็นหลักก่อน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตัดสินใจและการกำหนดแผนงานต่างๆได้ โดยปัจจุบันมีสาขาประมาณ 406 สาขา แบ่งเป็นแฟรนไชส์ประมาณ 50 สาขาเท่านั้น ซึ่งในช่วงปีกว่าที่ผ่านมามีการขยายสาขาเพิ่มเป็นจำนวนมากเกือบ 200 สาขา หลังจากที่ได้ชะลอการขยายสาขาไปนาน และมีการปิดสาขาประมาณ 5 แห่งในช่วงที่ผ่านมาเกือบปี
ทั้งนี้ ปีนี้คาดว่าจะสามารถขยายสาขาให้ได้ครอบ 500 สาขา ภายในสิ้นปีนี้แน่นอน
ส่วนแผนการขายแฟรนไชส์คาดว่าอีกประมาณ 2-3 ปีหรือหลังจากที่บริษัทขยายสาขาเองเพียงพอแล้วก็จะพิจารณาเริ่มใหม่อีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการปรับเงื่อนไขแฟรนไชส์ใหม่แต่อย่างใด โดยเงื่อยน
อนไขอยู่ที่ ค่าแฟรนไชส์ฟี เก็บครั้งเดียว 150,000 บาท สัญญานาน 9 ปีจ่ายครั้งเดียว
ปรับคอนเซ็ปท์ เน้นอาหาร
แฟมิลี่มาร์ทเองก็เหมือนคอนวีเนียนสโตร์อื่นที่พยายามโฟกัสตัวเองมาเน้นหนักเรื่องอาหารมากขึ้น
โดยสัดส่วนสินค้าภายในร้านเวลานี้เป็นอาหาร 75-80% ที่เหลือเป็นอุปโภคที่ไม่ใช่อาหาร จากเดิมที่สัดส่วนสินค้าอาหารประมาณ 60% และไม่ใช่อาหาร 40% โดยเฉพาะการเพิ่มสินค้าเอ็กซ์คลูซีฟที่ร่วมพัฒนากับซัปพลายเออร์แล้วขายที่แฟมิลี่มาร์ทที่เดียวมีเพิ่มขึ้นมาก เช่น น้ำดื่ม มินาโมโตะ แต่อย่างไรก็ตามแฟมิลี่มาร์ทยังคงยืนยันว่าไม่มีนโยบายทำสินค้าเฮาส์แบรนด์ ขณะนี้สินค้าในร้านแฟมิลี่มาร์ทมีประมาณ 3,000 เอสเคยู
รวมไปถึงความพยายามที่จะปรับปรุงรูปโฉมร้านที่เปิดไปนานแล้วให้มีความทันสมัย
ในช่วง 1 ปีกว่าที่ศ.ดร.กนกบริหารงานนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับปรุงระบบไอทีและการทำงาน จากเดิมเป็นระบบ อีซีอาร์ เปลี่ยนมาเป็นระบบ พีโอเอส ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งได้ครบทุกสาขาภายในเดือนสิงหาคมนี้ ใช้งบประมาณกว่า 110 ล้านบาท ซึ่งระบบนี้จะสามารถเก็บข้อมูลการซื้อขายของสาขา ทำให้ทราบข้อมูลของลูกค้าและสินค้าได้อย่างดี
นอกจากนั้นยังได้ปรับปรุงอุปกรณ์การขาย โดยการเพิ่มตู้เย็นและตู้แช่เข้าร้านอีก จากเดิมมี 1 ตู้เพิ่มเป็น 3 ตู้ ทำให้มีพื้นที่ขายสินค้ามากขึ้น อีก 2 เท่า ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น และสร้างความหลากหลายของสินค้ามากขึ้น และการเพิ่มความสูงของชั้นวางสินค้าจาก 120 เซ็นติเมตร เป็น 135 เซนติเมตร
รวมไปถึงการร่วมมือกับรัฐบาลในการที่จะเป็นช่องทางการขายสินค้าโอทอปในภาคพื้นเอเชีย ซึ่งแฟมิลี่มาร์ทจะใช้เครือข่ายที่มีอยู่ในการเจาะตลาดสินค้าไอทอปให้ ซึ่งภายในกลางเดือนนี้มีตัวแทนจากแฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่นจะไปประชุมที่ไต้หวันเพื่อหารือเรื่องนี้ด้วย
ศ.ดร.กนกกล่าวต่อว่า ตลาดคอนวีเนียนสโตร์ในไทยมีการเติบโตมากที่สุดในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก และยังขยายตัวไอ้อีก แต่ว่าตลาดนี้ เป็นตลาดที่บริหารยากมาก เพราะว่าจะต้องบริหารจำนวนสาขาปริมาณมาก ระบบสนับสนุนการบริหารยากมาก ลูกค้าแต่ละท้องที่มีความแตกต่างกันอีก อย่างไรก็ตาม ปัญหาของธุรกิจนี้อยู่ที่1.ในตลาดนี้มีแบรนด์ลีดเดอร์เพียงรายเดียว ซึ่งได้เปรียบมาก มีอำนาจการตลาดค่อนข้างสูง จะส่งผลเสียต่อธุรกิจ ซัปพลายเออร์ ลูกค้า เพราะว่าการแข่งขันแบบกึ่งผูกขาด 2.เขตชุมชนเมือง สังคมไทยเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โครงสร้างพื้นฐานเปลี่ยนเร็วมาก โดยเฉพาะเรื่องการจราจร ซึ่งถ้าหากมีการเปลี่ยนจะส่งผลลบต่อธุรกิจทันที เช่น ปิดถนน วันเวย์ ซ่อมถนน เป็นต้น 3. ลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากจากอดีต ซึ่งก่อนหน้านี้คนไทยไ ม่ค่อยให้ความสนใจกับคอนวีเนียนสโตร์ แต่ว่าทุกวันนี้ธุรกิจร้านคอนวีเนียนสโตร์เกิดเต็มไปหมดเพราะตอบสนองความสะดวกของชีวิต
ปัญหาที่ผ่านมาพบว่า การแข่งขันในธุรกิจนี้มีความรุนแรงมาก โดยเฉพาะเจ้าตลาดเดิมที่มีอยู่ แต่จากการทำงานที่ผ่านมาในรอบปี พบว่าโอกาสของแฟมิลี่มาร์ทยังมีอีกมาก ยักษ์ใหญ่อื่นๆไม่สามารถปิดกั้นการเจริญเติบโตและการขยายตัวของร้านสะดวกซื้อได้
ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกในรอบปีครึ่งหลังจากที่เข้าบริหารแฟมิลี่มาร์ทเมื่อเดือนมีนาคมปี 2546ว่า บริษัทแม่ของแฟมิลี่มาร์ทที่ญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะขยายร้านแฟมิลี่มาร์ทไปทั่วเอเชียแฟซิฟิค ซึ่งเมื่อปลายปีที่แล้วได้ฉลองสาขาครบ 10,000 แห่งไปแล้ว ใน 4 ประเทศคือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และไทย และภายในเดือนหน้าจะเปิดสาขาที่ประเทศจีน และอยู่ระหว่างการศึกษาที่จะเปิดธุรกิจในแคลิฟอร์เนียที่อเมริกา
ญี่ปุนไล่ฮุบหุ้นหวังฟื้นชีพ
ดังนั้นเพื่อให้การทำงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทสยามแฟมิลี่มาร์ทในไทย และได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ เพื่อปรับแนวทางการดำเนินงานใหม่
อย่างไรก็ดีโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ยังคงเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม แต่มีการเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้นใหม่ หลังการเพิ่มทุนล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนจากทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาท เป็น 800 ล้านบาท โดยมีสยามแฟมิลี่มาร์ทโฮลดิ้ง ถือหุ้นเพิ่มเป็น 47% จากเดิมมี 31% แฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่น ลดลงเหลือ 42% จากเดิม 43% อิโตชู เพิ่มเป็น 7% จากเดิม 6% โรบินสันลดลงเหลือแค่ 3% จากเดิม 13% และหลังจากนี้ทางกลุ่มสหพัฒน์จะทยอยลดสัดส่วนการถือหุ้นลงทั้งหมด เพื่อเปิดทางให้กับกลุ่มญี่ปุ่นเข้ามาถือหุ้นแทน
ทั้งนี้ผลประกอบการของสยามแฟมิลี่มาร์ท ประเทศไทย เมื่อปี 2545 มีรายได้ประมาณ 2,441 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 196 ล้านบาท ขณะที่ปี 2546 มีรายได้ประมาณ 3,470 ล้านบาท ขาดทุน 180 ล้านบาท และคาดว่าภายในปี 2547 ที่มีการปรับแนวการทำงานและเพิ่มทุนแล้วจะมีรายได้ประมาณ 5,100 ล้านบาท
"ถือเป็นรายได้ที่สูงมาก แต่มั่นใจว่าจะทำได้ เพราะเรามีความพร้อมแล้ว แต่ยอมรับว่าทุกวันนี้ยังขาดทุนสะสมอยู่จำนวนหนึ่ง โดยเป้าหมายหลังจากนี้ไป คือการขยายสาขาให้มากที่สุด การเพิ่มยอดขายให้มากที่สุด" ผู้บริหารของแฟมิลี่มาร์ทกล่าว
แผนขยายเครือข่าย
สำหรับแผนการลงทุนในปีนี้คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น งบลงทุนเปิดสาขาใหม่ 535 ล้านบาท งบทำระบบพีโอเอส 120 ล้านบาท งบทางด้านไอที 49 ล้านบาท งบอื่นๆ 4 ล้านบาท ซึ่งบางส่วนก็เริ่มทยอยทำมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว
ด้านแผนการขยายสาขา กำหนดไว้แต่ละปีจะขยายประมาณ 200-300 สาขาจากนี้ ซึ่งในช่วง 2-3 ปีแรกนี้จะยังคงเน้นการลงทุนเปิดสาขาเองเป็นหลักก่อน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตัดสินใจและการกำหนดแผนงานต่างๆได้ โดยปัจจุบันมีสาขาประมาณ 406 สาขา แบ่งเป็นแฟรนไชส์ประมาณ 50 สาขาเท่านั้น ซึ่งในช่วงปีกว่าที่ผ่านมามีการขยายสาขาเพิ่มเป็นจำนวนมากเกือบ 200 สาขา หลังจากที่ได้ชะลอการขยายสาขาไปนาน และมีการปิดสาขาประมาณ 5 แห่งในช่วงที่ผ่านมาเกือบปี
ทั้งนี้ ปีนี้คาดว่าจะสามารถขยายสาขาให้ได้ครอบ 500 สาขา ภายในสิ้นปีนี้แน่นอน
ส่วนแผนการขายแฟรนไชส์คาดว่าอีกประมาณ 2-3 ปีหรือหลังจากที่บริษัทขยายสาขาเองเพียงพอแล้วก็จะพิจารณาเริ่มใหม่อีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการปรับเงื่อนไขแฟรนไชส์ใหม่แต่อย่างใด โดยเงื่อยน
อนไขอยู่ที่ ค่าแฟรนไชส์ฟี เก็บครั้งเดียว 150,000 บาท สัญญานาน 9 ปีจ่ายครั้งเดียว
ปรับคอนเซ็ปท์ เน้นอาหาร
แฟมิลี่มาร์ทเองก็เหมือนคอนวีเนียนสโตร์อื่นที่พยายามโฟกัสตัวเองมาเน้นหนักเรื่องอาหารมากขึ้น
โดยสัดส่วนสินค้าภายในร้านเวลานี้เป็นอาหาร 75-80% ที่เหลือเป็นอุปโภคที่ไม่ใช่อาหาร จากเดิมที่สัดส่วนสินค้าอาหารประมาณ 60% และไม่ใช่อาหาร 40% โดยเฉพาะการเพิ่มสินค้าเอ็กซ์คลูซีฟที่ร่วมพัฒนากับซัปพลายเออร์แล้วขายที่แฟมิลี่มาร์ทที่เดียวมีเพิ่มขึ้นมาก เช่น น้ำดื่ม มินาโมโตะ แต่อย่างไรก็ตามแฟมิลี่มาร์ทยังคงยืนยันว่าไม่มีนโยบายทำสินค้าเฮาส์แบรนด์ ขณะนี้สินค้าในร้านแฟมิลี่มาร์ทมีประมาณ 3,000 เอสเคยู
รวมไปถึงความพยายามที่จะปรับปรุงรูปโฉมร้านที่เปิดไปนานแล้วให้มีความทันสมัย
ในช่วง 1 ปีกว่าที่ศ.ดร.กนกบริหารงานนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับปรุงระบบไอทีและการทำงาน จากเดิมเป็นระบบ อีซีอาร์ เปลี่ยนมาเป็นระบบ พีโอเอส ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งได้ครบทุกสาขาภายในเดือนสิงหาคมนี้ ใช้งบประมาณกว่า 110 ล้านบาท ซึ่งระบบนี้จะสามารถเก็บข้อมูลการซื้อขายของสาขา ทำให้ทราบข้อมูลของลูกค้าและสินค้าได้อย่างดี
นอกจากนั้นยังได้ปรับปรุงอุปกรณ์การขาย โดยการเพิ่มตู้เย็นและตู้แช่เข้าร้านอีก จากเดิมมี 1 ตู้เพิ่มเป็น 3 ตู้ ทำให้มีพื้นที่ขายสินค้ามากขึ้น อีก 2 เท่า ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น และสร้างความหลากหลายของสินค้ามากขึ้น และการเพิ่มความสูงของชั้นวางสินค้าจาก 120 เซ็นติเมตร เป็น 135 เซนติเมตร
รวมไปถึงการร่วมมือกับรัฐบาลในการที่จะเป็นช่องทางการขายสินค้าโอทอปในภาคพื้นเอเชีย ซึ่งแฟมิลี่มาร์ทจะใช้เครือข่ายที่มีอยู่ในการเจาะตลาดสินค้าไอทอปให้ ซึ่งภายในกลางเดือนนี้มีตัวแทนจากแฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่นจะไปประชุมที่ไต้หวันเพื่อหารือเรื่องนี้ด้วย
ศ.ดร.กนกกล่าวต่อว่า ตลาดคอนวีเนียนสโตร์ในไทยมีการเติบโตมากที่สุดในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก และยังขยายตัวไอ้อีก แต่ว่าตลาดนี้ เป็นตลาดที่บริหารยากมาก เพราะว่าจะต้องบริหารจำนวนสาขาปริมาณมาก ระบบสนับสนุนการบริหารยากมาก ลูกค้าแต่ละท้องที่มีความแตกต่างกันอีก อย่างไรก็ตาม ปัญหาของธุรกิจนี้อยู่ที่1.ในตลาดนี้มีแบรนด์ลีดเดอร์เพียงรายเดียว ซึ่งได้เปรียบมาก มีอำนาจการตลาดค่อนข้างสูง จะส่งผลเสียต่อธุรกิจ ซัปพลายเออร์ ลูกค้า เพราะว่าการแข่งขันแบบกึ่งผูกขาด 2.เขตชุมชนเมือง สังคมไทยเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โครงสร้างพื้นฐานเปลี่ยนเร็วมาก โดยเฉพาะเรื่องการจราจร ซึ่งถ้าหากมีการเปลี่ยนจะส่งผลลบต่อธุรกิจทันที เช่น ปิดถนน วันเวย์ ซ่อมถนน เป็นต้น 3. ลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากจากอดีต ซึ่งก่อนหน้านี้คนไทยไ ม่ค่อยให้ความสนใจกับคอนวีเนียนสโตร์ แต่ว่าทุกวันนี้ธุรกิจร้านคอนวีเนียนสโตร์เกิดเต็มไปหมดเพราะตอบสนองความสะดวกของชีวิต
ปัญหาที่ผ่านมาพบว่า การแข่งขันในธุรกิจนี้มีความรุนแรงมาก โดยเฉพาะเจ้าตลาดเดิมที่มีอยู่ แต่จากการทำงานที่ผ่านมาในรอบปี พบว่าโอกาสของแฟมิลี่มาร์ทยังมีอีกมาก ยักษ์ใหญ่อื่นๆไม่สามารถปิดกั้นการเจริญเติบโตและการขยายตัวของร้านสะดวกซื้อได้