วานนี้(16 มิ.ย.)กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดโครงการสัมมนาระดมความคิด เรื่อง การแก้ไขปัญหาวิกฤติการนำเสนอความรุนแรงทางวัฒนธรรม โดยมีผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานรัฐ เอกชนและประชาชน ตลอดจนเครือข่ายทางวัฒนธรรมเข้าร่วมการสัมมนาประมาณ 1,000 คน
แฉ 5 สื่อลามกสุดอันตราย
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ปัจจุบันสิ่งที่ปรากฏผ่านสื่อต่างๆ นั้น นับว่าน่ากลัวมากและมีสิ่งที่ต้องเข้าไปควบคุมดูแลกำจัดไม่ให้มีอยู่ในเมืองไทยอยู่ 5 ประเภท คือ 1.การเสนอขายสินค้าเกี่ยวกับเรื่องเซ็กซ์ อาทิ
ยาปลุกเซ็กซ์ที่ระบาดอย่างหนัก โดยการส่งแคตตาลอกไปให้กับประชาชนทั่วไปหรือเสนอขายผ่านเว็บไซต์ให้สั่งสินค้าได้โดยตรงและทำได้อย่างง่ายดาย
ทั้งนี้ หากนำยาปลุกเซ็กซ์ไปใช้ด้วยความคึกคะนองของวัยรุ่น ก็อาจทำให้เกิดปัญหารุมโทรม ข่มขืนตามมาได้เพราะผู้ที่กินยานี้เข้าไปจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ นอกจากนั้น ก็ยังไม่ทราบว่ามีผลข้างเคียงต่อร่างกายในระยะยาวหรือไม่
"แม้แต่ผมเองก็ยังได้รับแคตตาลอกสั่งสินค้าทางไปรษณีย์ด้วย ซึ่งผมก็ได้สั่งซื้อแมลงวันสเปนและทิงเจอร์ขาว ที่เป็นยาปลุกเซ็กซ์ประเภทหนึ่ง ส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วิเคราะห์ว่ามีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่"
สำหรับภัยร้ายที่ 2 ก็คือ เว็บไซต์ นิตยสารและเกมที่เสนอเรื่องราวและภาพการข่มขืน รุมโทรม โดยมีการระบุหัวข้อในเว็บให้เลือกเข้าไปดูได้ตามรสนิยมอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็น
พ่อข่มขืนลูกสาว พี่ข่มขืนน้อง ซึ่งปัจจุบันมีเว็บลักษณะดังกล่าวมากถึง 250,000 เว็บ
ที่น่ากลัวก็คือ ที่ผ่านมาพบว่าเป็นเว็บจากเมืองนอก แต่ปัจจุบันพบว่ามีภาพที่ทำในเมืองไทยขึ้นเผยแพร่แล้ว
"ไม่เพียงแต่มีเว็บเสนอการข่มขืนเท่านั้น เกมก็เป็นอีกประเภทที่มีอันตรายอย่างยิ่ง เพราะมีเกมที่ให้เล่นเป็นคนโรคจิตคอยหาจังหวะที่จะลวนลามหรือข่มขืนผู้หญิงในสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า บนรถเมล์ โดยบางเกมเป็นเกมออนไลน์ทั่วโลก แข่งขันกันว่าใครจะข่มขืนผู้หญิงได้ก่อนกัน สิ่งเหล่านี้น่ากลัวเพราะผู้เล่นจะคิดอยู่ตลอดเวลาว่า สถานการณ์ไหนจะข่มขืนผู้หญิงได้ และจะข่มขืนอย่างไร"
นอกจากการนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ผ่านเว็บแล้ว หนังสือการ์ตูนที่เด็กๆ นิยมอ่านก็มีประเภทที่นำเสนอภาพการมีเพศสัมพันธ์ ข่มขืนรุมโทรมอย่างโจ๋งครึ่ม ซึ่งเด็กจะรับและฝังอยู่ในความรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้สามารถกระทำได้ โดยความเข้าใจผิดๆ เหล่านี้ เด็กได้มาด้วยการเสียเงินซื้อการ์ตูนเล่มละ 35 บาทเท่านั้น
นายวีระศักดิ์กล่าวอีกว่า ประเภทที่ 3 คือ หนังลามกเกี่ยวกับเด็ก ซึ่งมีตัวอย่างหนังให้เลือกสั่งซื้อได้ โดยให้เลือกว่าจะเป็นเด็กอายุเท่าไหร่ ตั้งแต่เด็กเล็กไล่ขึ้นไปเป็น 8,13,14 ขวบ
ส่วนประเภทที่ 4 คือเซ็กซ์ในครอบครัว ซึ่งจะนำเสนอการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพ่อกับลูก แม่กับลูก หรือพี่กับน้อง ซึ่งล้วนแต่ขัดกับศีลธรรมของสังคมไทยทั้งสิ้น และ ประเภทสุดท้ายที่ต้องกำจัดได้แก่ หลังลามกประเภทแอบถ่ายตามสถานที่ต่างๆ
"เหตุที่ทำให้ที่ผ่านมาไม่สามารถกำจัดสื่อลามกเหล่านี้ได้ก็เพราะ 1.ไม่มีเจ้าภาพในการรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวโดยตรง ซึ่ง วธ.เองก็ไม่มีอำนาจอะไรที่จะเข้าไปจัดการ ทำได้แต่เพียงระดมความคิดและเป็นแกนหลักในการแก้ปัญหา 2.ขาดแคลนเครือข่ายและเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปจับกุม 3.เมื่อจับได้แล้วกระบวนการทางกฎหมายก็ไม่สามารถลงโทษได้ครบ 4.โทษสำหรับผู้กระทำผิดมีเพียงเล็กน้อย 5.ความจริงใจในระดับนโยบายที่จะแก้ปัญหาและ 6.ความระมัดระวังของสังคมในการมองผลกระทบที่มีต่อสังคม"
ผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ
นายวีระศักดิ์กล่าวด้วยว่า การแก้ปัญหาให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จนั้น จำเป็นที่จะต้องขอแรงสนับสนุนเชิงนโยบาย ดังนั้น การสัมมนาครั้งนี้ถือเป็นตัวชี้ชัดกลับไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าหน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลปัญหานี้ยังไม่มีเจ้าภาพ ขณะนี้เป็นการดำเนินการของผู้บริหารบางกลุ่ม รวมถึงงบประมาณและทรัพยากรบุคคลด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีนโยบายระดับสูงชี้ชัดลงมา
อย่างไรก็ ตามคาดว่าภายใน 1 - 2 อาทิตย์นี้จะมีการรายงานผลต่อที่ประชุม ครม.เพื่อกำหนดเป็นวาระแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ปัญหาการเผยแพร่สื่อลามกและสื่อที่ขัดต่อวัฒนธรรมไทยต่อไป เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยวางเฉยได้อีกต่อไป
"การพูดถึงเรื่องเพศและความรุนแรงในสังคมนั้นยังมีน้อย ดังนั้น จึงควรมีการฝึกและโต้ตอบสนทนาเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น ทั้งนี้หากยังไม่สามารถกำจัดสิ่ง 5 อย่างนี้ให้หมดไปได้ ก็ป่วยการที่จะหยิบยกประเด็นอื่น เพราะทุกคนก็เห็นด้วยว่าไม่ควรมีอยู่ ขณะนี้ติดเพียงกระบวนการจัดการเท่านั้นว่าจะทำอย่างไร"
"ขณะเดียวกันก็ยังไม่อยากให้ฝากไปกับกฎหมายใหม่ เพราะ 5 สิ่งนั้นก็ถือว่าผิดกฎหมายอยู่แล้ว เพียงแต่ขาดกระบวนการจัดการเท่านั้น ถามว่าควรจะมีองค์กรขึ้นมาทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะหรือ ผมต้องบอกว่า เรื่องนี้ถือเป็นอำนาจการตัดสินใจของฝ่ายนโยบาย แต่ข้อเสนอของเรานั้นอย่างน้อยที่สุดน่าจะมีองค์ของคณะกรรมการที่มีตัวตนจริงๆ ที่หน่วยนโยบายเจ้าของอำนาจกฎหมายต่างๆ เห็นชอบด้วย ไม่ใช่แค่เป็นเพียงหน่วยงานระดับหนึ่งในกระทรวงเท่านั้น"
ด้านผู้แทนจากกองปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) กล่าวว่า ในบางครั้งการตรวจจับสื่อลามกเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีการสืบจับ เพราะสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องถนน หรือแม้แต่ตลาดนัดอยู่แล้ว และสื่อที่นำเสนอในสิ่งเหล่านี้มีอยู่ถึงประมาณ 80% ซึ่งเป็นสิ่งที่ลงไปถึงระดับเด็กและเยาวชนได้ง่าย อย่างเช่น รั้วมหาวิทยาลัยก็หาซื้อวีซีดีลามกได้แล้ว แต่จุดที่น่าสนใจก็คือ กิจกรรมที่ตามต่อจากการได้สื่อไปแล้วคืออะไร
ขณะเดียวกันเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจลงไปจัดการ ซึ่งปกติแล้วตำรวจก็ตกเป็นจำเลยของสังคม โดยมักจะถูกมองว่าถ้าแหล่งใดที่ตำรวจออกไปจับก็เพราะไม่ได้สินบน เป็นต้น ดังนั้น จึงควรมีหน่วยงานหลักที่ขึ้นมารับผิดชอบโดยตรง
ห่วงแฟชั่น"นมหก"
ขณะที่นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า วธ.ต้องการให้ทุกภาคเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องสื่อลามก จึงจัดการสัมมนาดังกล่าวขึ้น โดยมีประเด็นเรื่องสื่อลามกอนาจาร ที่บางครั้งกฎหมายเอื้อมไม่ถึงเป็นประเด็นสำคัญ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เคยขอให้ วธ.รับเอากฎหมายดังกล่าวมาดูแล ซึ่งทางนโยบายผู้บริหารระดับสูงไม่ขัดข้องที่จะดูแล แต่ก็ต้องดูว่ากฎหมายที่มีอยู่จะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง
ส่วนประเด็นที่ 2 คือสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่เป็นสื่อที่ไม่เหมาะสม ขัดต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ และส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา
"กรณีของสื่อเองก็อาจจะยังไม่เข้าใจว่าอะไรที่กระทบวัฒนธรรม ก็ต้องคุยกันว่าอะไรที่เหมาะสม แต่เจ้าภาพอยู่ที่ วธ. ซึ่งมองเป็นกรณีไป อย่ามองว่าตรงนี้ผิด ตรงนี้ถูก สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงไปทุกวันๆ เช่น เรื่องแฟชั่นนมหก ถามตำรวจก็บอกไม่ผิดกฎหมายแต่ทุกคนมองก็บอกว่าไม่เหมาะสมกับสังคมไทย ซึ่งก็ต้องคุยกันว่าจะทำอย่างไร ต้องระดมความคิดว่าอะไรเหมาะควร"นายอนุรักษ์กล่าว
แฉ 5 สื่อลามกสุดอันตราย
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ปัจจุบันสิ่งที่ปรากฏผ่านสื่อต่างๆ นั้น นับว่าน่ากลัวมากและมีสิ่งที่ต้องเข้าไปควบคุมดูแลกำจัดไม่ให้มีอยู่ในเมืองไทยอยู่ 5 ประเภท คือ 1.การเสนอขายสินค้าเกี่ยวกับเรื่องเซ็กซ์ อาทิ
ยาปลุกเซ็กซ์ที่ระบาดอย่างหนัก โดยการส่งแคตตาลอกไปให้กับประชาชนทั่วไปหรือเสนอขายผ่านเว็บไซต์ให้สั่งสินค้าได้โดยตรงและทำได้อย่างง่ายดาย
ทั้งนี้ หากนำยาปลุกเซ็กซ์ไปใช้ด้วยความคึกคะนองของวัยรุ่น ก็อาจทำให้เกิดปัญหารุมโทรม ข่มขืนตามมาได้เพราะผู้ที่กินยานี้เข้าไปจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ นอกจากนั้น ก็ยังไม่ทราบว่ามีผลข้างเคียงต่อร่างกายในระยะยาวหรือไม่
"แม้แต่ผมเองก็ยังได้รับแคตตาลอกสั่งสินค้าทางไปรษณีย์ด้วย ซึ่งผมก็ได้สั่งซื้อแมลงวันสเปนและทิงเจอร์ขาว ที่เป็นยาปลุกเซ็กซ์ประเภทหนึ่ง ส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วิเคราะห์ว่ามีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่"
สำหรับภัยร้ายที่ 2 ก็คือ เว็บไซต์ นิตยสารและเกมที่เสนอเรื่องราวและภาพการข่มขืน รุมโทรม โดยมีการระบุหัวข้อในเว็บให้เลือกเข้าไปดูได้ตามรสนิยมอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็น
พ่อข่มขืนลูกสาว พี่ข่มขืนน้อง ซึ่งปัจจุบันมีเว็บลักษณะดังกล่าวมากถึง 250,000 เว็บ
ที่น่ากลัวก็คือ ที่ผ่านมาพบว่าเป็นเว็บจากเมืองนอก แต่ปัจจุบันพบว่ามีภาพที่ทำในเมืองไทยขึ้นเผยแพร่แล้ว
"ไม่เพียงแต่มีเว็บเสนอการข่มขืนเท่านั้น เกมก็เป็นอีกประเภทที่มีอันตรายอย่างยิ่ง เพราะมีเกมที่ให้เล่นเป็นคนโรคจิตคอยหาจังหวะที่จะลวนลามหรือข่มขืนผู้หญิงในสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า บนรถเมล์ โดยบางเกมเป็นเกมออนไลน์ทั่วโลก แข่งขันกันว่าใครจะข่มขืนผู้หญิงได้ก่อนกัน สิ่งเหล่านี้น่ากลัวเพราะผู้เล่นจะคิดอยู่ตลอดเวลาว่า สถานการณ์ไหนจะข่มขืนผู้หญิงได้ และจะข่มขืนอย่างไร"
นอกจากการนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ผ่านเว็บแล้ว หนังสือการ์ตูนที่เด็กๆ นิยมอ่านก็มีประเภทที่นำเสนอภาพการมีเพศสัมพันธ์ ข่มขืนรุมโทรมอย่างโจ๋งครึ่ม ซึ่งเด็กจะรับและฝังอยู่ในความรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้สามารถกระทำได้ โดยความเข้าใจผิดๆ เหล่านี้ เด็กได้มาด้วยการเสียเงินซื้อการ์ตูนเล่มละ 35 บาทเท่านั้น
นายวีระศักดิ์กล่าวอีกว่า ประเภทที่ 3 คือ หนังลามกเกี่ยวกับเด็ก ซึ่งมีตัวอย่างหนังให้เลือกสั่งซื้อได้ โดยให้เลือกว่าจะเป็นเด็กอายุเท่าไหร่ ตั้งแต่เด็กเล็กไล่ขึ้นไปเป็น 8,13,14 ขวบ
ส่วนประเภทที่ 4 คือเซ็กซ์ในครอบครัว ซึ่งจะนำเสนอการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพ่อกับลูก แม่กับลูก หรือพี่กับน้อง ซึ่งล้วนแต่ขัดกับศีลธรรมของสังคมไทยทั้งสิ้น และ ประเภทสุดท้ายที่ต้องกำจัดได้แก่ หลังลามกประเภทแอบถ่ายตามสถานที่ต่างๆ
"เหตุที่ทำให้ที่ผ่านมาไม่สามารถกำจัดสื่อลามกเหล่านี้ได้ก็เพราะ 1.ไม่มีเจ้าภาพในการรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวโดยตรง ซึ่ง วธ.เองก็ไม่มีอำนาจอะไรที่จะเข้าไปจัดการ ทำได้แต่เพียงระดมความคิดและเป็นแกนหลักในการแก้ปัญหา 2.ขาดแคลนเครือข่ายและเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปจับกุม 3.เมื่อจับได้แล้วกระบวนการทางกฎหมายก็ไม่สามารถลงโทษได้ครบ 4.โทษสำหรับผู้กระทำผิดมีเพียงเล็กน้อย 5.ความจริงใจในระดับนโยบายที่จะแก้ปัญหาและ 6.ความระมัดระวังของสังคมในการมองผลกระทบที่มีต่อสังคม"
ผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ
นายวีระศักดิ์กล่าวด้วยว่า การแก้ปัญหาให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จนั้น จำเป็นที่จะต้องขอแรงสนับสนุนเชิงนโยบาย ดังนั้น การสัมมนาครั้งนี้ถือเป็นตัวชี้ชัดกลับไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าหน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลปัญหานี้ยังไม่มีเจ้าภาพ ขณะนี้เป็นการดำเนินการของผู้บริหารบางกลุ่ม รวมถึงงบประมาณและทรัพยากรบุคคลด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีนโยบายระดับสูงชี้ชัดลงมา
อย่างไรก็ ตามคาดว่าภายใน 1 - 2 อาทิตย์นี้จะมีการรายงานผลต่อที่ประชุม ครม.เพื่อกำหนดเป็นวาระแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ปัญหาการเผยแพร่สื่อลามกและสื่อที่ขัดต่อวัฒนธรรมไทยต่อไป เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยวางเฉยได้อีกต่อไป
"การพูดถึงเรื่องเพศและความรุนแรงในสังคมนั้นยังมีน้อย ดังนั้น จึงควรมีการฝึกและโต้ตอบสนทนาเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น ทั้งนี้หากยังไม่สามารถกำจัดสิ่ง 5 อย่างนี้ให้หมดไปได้ ก็ป่วยการที่จะหยิบยกประเด็นอื่น เพราะทุกคนก็เห็นด้วยว่าไม่ควรมีอยู่ ขณะนี้ติดเพียงกระบวนการจัดการเท่านั้นว่าจะทำอย่างไร"
"ขณะเดียวกันก็ยังไม่อยากให้ฝากไปกับกฎหมายใหม่ เพราะ 5 สิ่งนั้นก็ถือว่าผิดกฎหมายอยู่แล้ว เพียงแต่ขาดกระบวนการจัดการเท่านั้น ถามว่าควรจะมีองค์กรขึ้นมาทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะหรือ ผมต้องบอกว่า เรื่องนี้ถือเป็นอำนาจการตัดสินใจของฝ่ายนโยบาย แต่ข้อเสนอของเรานั้นอย่างน้อยที่สุดน่าจะมีองค์ของคณะกรรมการที่มีตัวตนจริงๆ ที่หน่วยนโยบายเจ้าของอำนาจกฎหมายต่างๆ เห็นชอบด้วย ไม่ใช่แค่เป็นเพียงหน่วยงานระดับหนึ่งในกระทรวงเท่านั้น"
ด้านผู้แทนจากกองปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) กล่าวว่า ในบางครั้งการตรวจจับสื่อลามกเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีการสืบจับ เพราะสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องถนน หรือแม้แต่ตลาดนัดอยู่แล้ว และสื่อที่นำเสนอในสิ่งเหล่านี้มีอยู่ถึงประมาณ 80% ซึ่งเป็นสิ่งที่ลงไปถึงระดับเด็กและเยาวชนได้ง่าย อย่างเช่น รั้วมหาวิทยาลัยก็หาซื้อวีซีดีลามกได้แล้ว แต่จุดที่น่าสนใจก็คือ กิจกรรมที่ตามต่อจากการได้สื่อไปแล้วคืออะไร
ขณะเดียวกันเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจลงไปจัดการ ซึ่งปกติแล้วตำรวจก็ตกเป็นจำเลยของสังคม โดยมักจะถูกมองว่าถ้าแหล่งใดที่ตำรวจออกไปจับก็เพราะไม่ได้สินบน เป็นต้น ดังนั้น จึงควรมีหน่วยงานหลักที่ขึ้นมารับผิดชอบโดยตรง
ห่วงแฟชั่น"นมหก"
ขณะที่นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า วธ.ต้องการให้ทุกภาคเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องสื่อลามก จึงจัดการสัมมนาดังกล่าวขึ้น โดยมีประเด็นเรื่องสื่อลามกอนาจาร ที่บางครั้งกฎหมายเอื้อมไม่ถึงเป็นประเด็นสำคัญ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เคยขอให้ วธ.รับเอากฎหมายดังกล่าวมาดูแล ซึ่งทางนโยบายผู้บริหารระดับสูงไม่ขัดข้องที่จะดูแล แต่ก็ต้องดูว่ากฎหมายที่มีอยู่จะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง
ส่วนประเด็นที่ 2 คือสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่เป็นสื่อที่ไม่เหมาะสม ขัดต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ และส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา
"กรณีของสื่อเองก็อาจจะยังไม่เข้าใจว่าอะไรที่กระทบวัฒนธรรม ก็ต้องคุยกันว่าอะไรที่เหมาะสม แต่เจ้าภาพอยู่ที่ วธ. ซึ่งมองเป็นกรณีไป อย่ามองว่าตรงนี้ผิด ตรงนี้ถูก สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงไปทุกวันๆ เช่น เรื่องแฟชั่นนมหก ถามตำรวจก็บอกไม่ผิดกฎหมายแต่ทุกคนมองก็บอกว่าไม่เหมาะสมกับสังคมไทย ซึ่งก็ต้องคุยกันว่าจะทำอย่างไร ต้องระดมความคิดว่าอะไรเหมาะควร"นายอนุรักษ์กล่าว