สภาพทั่วไปบ้านเมืองกำลังลุกเป็นไฟ เข้าใกล้มิคสัญญีกลียุคเข้าไปทุกที ศีลธรรมได้หดหายสิ้นไปจากใจของประชาชนโดยเฉพาะผู้นำทางการเมือง ที่ยังมืดบอด มองไม่เห็นภัยอันร้ายแรงกำลังแผ่ครอบงำทุกส่วนในแผ่นดิน จึงได้เสนอสภาวะ หรือความเป็นไปของกฎปฏิจจสมุปบาท อย่างง่ายที่สุด ให้แก่ผู้นำทางการเมืองจะได้หูตาสว่าง และได้นำธรรมะมาปกครองแผ่นดิน (ปฏิจจะ แปลว่า อาศัย สมุปบาท แปลว่า เกิดขึ้นครบถ้วน)
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทฯ"
"ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ...เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้" (16/3/2)
และในพระสูตร (20/52/9) พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริงฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิตฯ" เมื่อกิเลสจรมา เพราะความไม่รู้ในอริยสัจ 4 ไม่รู้ขันธ์ 5 จึงให้เกิดการปรุงแต่งทางจิต เป็นโลภ โกรธ หลง ดีใจเสียใจ เป็นนรก สวรรค์ทางใจ การปรุงแต่งทางจิตเป็นของเห็นรู้ได้ยาก จึงเขียนสภาวะการปรุงแต่งทางจิต หรือปฏิจจสมุปบาทขึ้นด้วยภาพสี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย ไม่ยาก มนุษย์นี้จิตผุดผ่อง แทนด้วยสัญลักษณ์ O เมื่อกิเลสจรมาหรือเกิดการปรุงแต่งทางจิต คือการเกิดขึ้นของปฏิจจสมุปบาททางจิต ด้วยภาพสี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะ พิจารณาอย่างเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง (Dynamic)
T คือช่วงเวลาของภวหรือภพ, ชาติ, มรณะ, ทุกข์ หนึ่งๆ ทางใจใน 31 ภาวะเป็นขณะๆ 10-20 นาที เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด คือกระบวนปฏิจจสมุปบาท
บางครั้งเป็นพรหม (เมตตา บางอารมณ์เป็นอสุรกาย (กลัว) บางครั้งกลายเป็นเปรต (โลภ) บางเหตุเป็นสัตว์นรก (โกรธ) คิดไม่ตก (หลง) เป็นสัตว์เดรัจฉาน ทำบุญกุศลให้ทาน ก็เป็นมนุษย์ เทวดา พรหม (ถ้าโง่ก็เวียนว่าย ตาย เกิดเช่นนี้เรื่อยไป) หรือฟูๆ แฟบๆ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เมื่อเกิดแล้วต้องดับไปตามกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) แสดงให้เห็นถึงความไม่มีแก่นสารแห่งสังขารทั้งปวง ไม่มีตัวตนที่จะให้ยึดมั่นถือมั่น ใครยึดมั่นถือมั่นก็จะเป็นทุกข์
สภาวะหรือกฎปฏิจจสมุปบาท เป็นกฎจำเพาะ ของใครของมัน แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนมีกิเลสมากการเกิดกิเลสก็ยาวนาน บางคนมีกิเลสน้อยการเกิดกิเลสก็สั้น ส่วนผู้สิ้นกิเลสสี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะก็จะไม่เกิดขึ้นในใจ ปฏิจจฯ คือ จิตตสังขาร อันเนื่องจากปุถุชนคนธรรมดาไม่รู้ เรียกว่ามี อวิชชา ไม่รู้อริยสัจ 4 คือ
ความไม่รู้ในทุกข์ (ทุกข์) ทุกขสภาวะ, ทุกขเวทนา, ทุกขอุปาทาน
ทุกขสภาวะ คือสังขารทั้งปวงทั้งนามธรรมและรูปธรรม ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้
ทุกขเวทนา คือความทุกข์ทางกาย เช่น ป่วย, หิว, ปวดเบา, ปวดหนัก, มีดบาด โดนทำร้าย เป็นต้น ทุกข์แก้ไขได้ชั่วคราวด้วยการเสพ
ทุกขอุปาทาน คือความทุกข์ที่เกิดจากความยึดมั่น ถือมั่นในความเป็นตัวตน หรือความเป็นอัตตาตัวตน ทุกข์ชนิดนี้สามารถแก้ไขให้หมดไปได้เด็ดขาด เช่น พระอรหันต์ จะไม่อาจพ้นทุกขสภาวะไปได้ ก็คือท่านต้องละสังขาร เหมือนคนทั่วไป ท่านเดินสะดุดรากไม้ ท่านก็เจ็บปวด คนบาปเอาดาบมาฟันคอท่าน ท่านก็ได้รับทุกขเวทนา แต่ท่านไม่รู้สึกโกรธ เพราะท่านได้หมดอุปาทาน ท่านจึงไม่เป็นทุกข์จากอุปาทาน ทุกข์จึงเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ ว่าโดยย่อก็เป็นดังนี้ รายละเอียดก็ยังมีอีกมาก
ความไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) คืออวิชชา ความไม่รู้ในอริยสัจ 4, จึงก่อให้เกิดตัณหา 3 กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา
กามตัณหา คือความทะเยอทะยานอยากในกามคุณทั้ง 5 ได้แก่ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส เสพอย่างยึดมั่นเพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริงว่ากามคุณ 5 ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ กามคุณ 5 นี้พระอรหันต์ก็เสพเหมือนกัน แต่เสพอย่างสำรวมระวัง ไม่ติดยึด และรู้เท่าทัน เพราะรู้แจ้งตามความเป็นจริง จึงเสพกามคุณ 5 อย่างอิสระ ดุจน้ำบนใบบัว
ภวตัณหา คือความทะยานอยาก อยากเป็นโน่น เป็นนี่สารพัดอย่าง โดยไม่รู้ว่าความสัมพันธ์ของเหตุ และผลเป็นอย่างไร เช่น อยากเป็นนายกฯ แต่สร้างเหตุปัจจัยไม่เพียงพอ ผลก็ไม่เกิดขึ้น ความอยากตรงนี้จึงก่อให้เกิดทุกข์ หรืออยากเป็นคนมั่งมี แต่ขี้เกียจ อยากได้เงิน แต่ไม่ทำงาน อย่างนี้ก็จะก่อให้เกิดทุกข์ทางใจ พระอรหันต์ ไม่ติดในภวตัณหา เพราะท่านเป็นผู้รู้กฎของเหตุและผล (กฎอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี) เมื่อทำอย่างนี้ก็จะรับผลอย่างนี้ ท่านจึงมีปัญญารู้ว่าเป็นธรรมดาของสังขาร เป็นเช่นนั้นเอง (ภว หรือ ภพ แปลว่า ความเป็นความมี)
วิภวตัณหา คือความทะยานอยากที่จะไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่สารพัดอย่าง ยกตัวอย่าง คนเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ก็อยากจะเสพอยู่ในตำแหน่งนี้นานๆ เมื่อมีเหตุปัจจัยให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่เขาไม่อยากพ้นจากตำแหน่ง เพราะไม่ต้องการไปเป็นอย่างอื่น อย่างนี้ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (วิภาวะ หรือ วิภพ แปลว่า ความไม่เป็น ความไม่มี)
ความเป็นหรือไม่เป็น ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย คิดเอาเองจิตปรุงแต่ง ไม่ตรงตามเป็นจริง ย่อมเป็นทุกข์
คนปุถุชน ไม่รู้เหตุปัจจัยดังกล่าว ก็จะเกิดทุกข์ พระอรหันต์ย่อมอยู่เหนือ, พ้นสภาวะกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหาเพราะท่านทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมไปตามเหตุปัจจัยสภาวะจิตอยู่เหนือความมีและความไม่มี อยู่เหนือความเป็นและความไม่เป็น ท่านดำรงอยู่ในทางสายกลางอย่างแท้จริง
ความไม่รู้ในความดับทุกข์ (นิโรธ) ความดับทุกข์ คือสภาวะอิสระ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง
ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ (มรรคมีองค์ 8) นับแต่สัมมาทิฏฐิเป็นต้นไป
ความไม่รู้ในอริยสัจ 4 นี้เรียกว่าอวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ...(สํ.นิ.วิภังคสูตร (ไทย) เล่ม 16 ข้อ 16-17)
สังขารในที่นี้เป็นจิตตสังขาร ความคิดปรุงแต่งทางจิตคืออาการที่เราเข้าไปยึด ขึ้นต่อ เกาะเกี่ยวกับรูป หรือวัตถุ และอุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา เป็นตัวกูของกู หรือความเป็นอัตตาตัวตน นี่เอง
สี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะยังปัญญาให้เรารู้แจ้งตามความเป็นจริงของสภาวธรรม (ยถาภูตธรรม) อันเนื่องด้วยสาวกผู้รู้แจ้งตามความเป็นจริง (ยถาภูตญาณ) จึงทำให้รู้ว่า
1. ปฏิจจสมุปบาท เป็นสังขาร (ความปรุงแต่ง) จึงตกอยู่ในเงื่อนไขของเวลา และอำนาจกฎไตรลักษณ์เกิดขึ้นในเบื้องต้น ขัดแย้งแปรปรวนในท่ามกลาง แล้วก็ดับไปในที่สุด) แสดงให้เห็นถึงความไม่มีแก่นสารของจิตตสังขาร ไม่มีอะไรจะให้ยึดถือเป็นตัวเป็นตนได้
2. ทำให้เห็นกฎแห่งกรรมได้ชัดเจน (กิเลส กรรม วิบาก) การเวียนว่าย ตาย เกิด ในสังสารวัฏ ตามกฎปฏิจจสมุปบาท ทั้งนรก สวรรค์ แบบปัจจุบันธรรม (ขณิกวาทะ) เป็นทุกข์วันนี้ และสามารถพ้นทุกข์วันนี้ได้ โดยไม่ต้องรอจนกระทั่งตายกายแตกดับ
3. ทำให้รู้เห็นแจ้งต่อสภาวะหรือกฎไตรลักษณ์ชัดเจน รู้สภาวะกฎปฏิจจสมุปบาทชัดเจน และย่อมทำให้รู้กฎอิทัปปัจจยตาถูกต้องชัดเจนด้วย
บางคนอาจเข้าใจถึงกฎอิทัปปัจจยตาได้ (กฎความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัย) แต่ไม่อาจพ้นทุกข์ได้ เพราะไม่รู้จักจิตของตัวเอง หรืออาจพูดได้ว่า รู้อิทัปฯ แต่ไม่รู้ ปฏิจจฯ แต่ถ้ารู้ปฏิจจฯ ย่อมรู้กฎอิทัปฯ อย่างเป็นไปเอง แยกแยะเพื่อทำการศึกษา เมื่อรู้แจ้งกฎ ปฏิจจฯ แล้วย่อมเป็นหนึ่งเดียวกับกฎอิทัปฯ
ที่กล่าวมานี้ให้ผู้ศึกษาได้พิจารณาว่า สิ่งไม่มีชีวิต เช่น ก้อนหิน ดิน ทราย โต๊ะ เก้าอี้ หรือสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นต้น ย่อมเป็นไปตามกฎอิทัปฯ และกฎไตรลักษณ์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎปฏิจจฯ อันนี้เป็นการแยกแยะให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสรู้แจ้งตรัสรู้ธรรมตามพระพุทธองค์ได้
4. รู้ความลับของธรรมชาติ เดินแนวทางตามวิถีธรรม เพื่อแก้ปัญหามนุษยชาติ ในทุกระดับ ตรงต่อพระธรรม หรือบรมธรรม เป็นผู้นำทางสัจจะ ผู้นำทางจิตใจ และวิญญาณ และเป็นผู้นำทางปัญญาในการแก้ปัญหาสำคัญๆ ตามยุคสมัยนั้นๆ ที่ปุถุชนไม่อาจจะแก้ไขได้
5. รู้จักตัวเอง เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระรัตนตรัยเต็มสมบูรณ์
6. เมื่อทำผิดกฎธรรมชาติ ก็ถูกพระธรรมลงโทษทันที (ได้รับทุกข์ทันที) ไม่ต้องรอวันพิพากษา หรือรอจนกระทั่งตาย สอนอย่างตรงไปตรงมาตามหลักธรรม (กฎอิทัปปัจจยตา)
7. ผู้รู้ใหม่ๆ ชั้นพระโสดาบันแล้ว สามารถควบคุมกฎปฏิจจฯ ได้ให้ลดน้อยถอยลงเป็นลำดับ จนกระทั่งควบคุมได้เด็ดขาด และพ้นจากกฎปฏิจจสมุปบาท ก็ย่อมก้าวล่วงสู่พระอรหันต์ อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของมนุษย์ ที่จะเข้าถึงได้ในชาตินี้
8. ผู้พ้นจากกฎปฏิจจสมุปบาทได้ ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้ว่าธรรมทั้งปวงเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่มีพระผู้สร้าง จึงปฏิเสธลัทธิพระผู้สร้าง
ถ้าผู้แสวงหา ความยุติธรรม มุ่งมั่น อุทิศตน แสวงหาสัจจะเพื่อรับใช้ปวงชนรับใช้แผ่นดินและมวลมนุษยชาติ รับรองได้ว่าเขาปฏิบัติวิปัสสนาจนสามารถเข้าถึงได้ จะเกิดความศรัทธา และรู้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นยิ่งใหญ่นัก หาใครเสมอเหมือนมิได้ พระองค์ทรงรู้แจ้ง เห็นจริง ทุกแง่ทุกมุมของสภาวธรรม ทรงเป็นสัพพัญญู ก็เพราะพระองค์ทรงรู้แจ้งความลับของสภาวะธรรมชาติที่อยู่ภายในใจมนุษย์และทรงบัญญัติสภาวธรรมนี้ว่า "ปฏิจจสมุปบาท" นั่นเอง สมดังพุทธพจน์ที่ว่า..."ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท" (12/346/243)
ผู้สนใจลองไปสนทนาธรรมเพื่อความรู้แจ้งได้ที่ท่านปริญญาโณภิกขุ วัดสันติธรรมาราม ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซอย 23 บุคคโล ธนบุรี กทม. 10600 โทร. 0-2878-2110 หรือ 09-443-7520
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทฯ"
"ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ...เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้" (16/3/2)
และในพระสูตร (20/52/9) พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริงฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิตฯ" เมื่อกิเลสจรมา เพราะความไม่รู้ในอริยสัจ 4 ไม่รู้ขันธ์ 5 จึงให้เกิดการปรุงแต่งทางจิต เป็นโลภ โกรธ หลง ดีใจเสียใจ เป็นนรก สวรรค์ทางใจ การปรุงแต่งทางจิตเป็นของเห็นรู้ได้ยาก จึงเขียนสภาวะการปรุงแต่งทางจิต หรือปฏิจจสมุปบาทขึ้นด้วยภาพสี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย ไม่ยาก มนุษย์นี้จิตผุดผ่อง แทนด้วยสัญลักษณ์ O เมื่อกิเลสจรมาหรือเกิดการปรุงแต่งทางจิต คือการเกิดขึ้นของปฏิจจสมุปบาททางจิต ด้วยภาพสี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะ พิจารณาอย่างเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง (Dynamic)
T คือช่วงเวลาของภวหรือภพ, ชาติ, มรณะ, ทุกข์ หนึ่งๆ ทางใจใน 31 ภาวะเป็นขณะๆ 10-20 นาที เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด คือกระบวนปฏิจจสมุปบาท
บางครั้งเป็นพรหม (เมตตา บางอารมณ์เป็นอสุรกาย (กลัว) บางครั้งกลายเป็นเปรต (โลภ) บางเหตุเป็นสัตว์นรก (โกรธ) คิดไม่ตก (หลง) เป็นสัตว์เดรัจฉาน ทำบุญกุศลให้ทาน ก็เป็นมนุษย์ เทวดา พรหม (ถ้าโง่ก็เวียนว่าย ตาย เกิดเช่นนี้เรื่อยไป) หรือฟูๆ แฟบๆ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เมื่อเกิดแล้วต้องดับไปตามกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) แสดงให้เห็นถึงความไม่มีแก่นสารแห่งสังขารทั้งปวง ไม่มีตัวตนที่จะให้ยึดมั่นถือมั่น ใครยึดมั่นถือมั่นก็จะเป็นทุกข์
สภาวะหรือกฎปฏิจจสมุปบาท เป็นกฎจำเพาะ ของใครของมัน แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนมีกิเลสมากการเกิดกิเลสก็ยาวนาน บางคนมีกิเลสน้อยการเกิดกิเลสก็สั้น ส่วนผู้สิ้นกิเลสสี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะก็จะไม่เกิดขึ้นในใจ ปฏิจจฯ คือ จิตตสังขาร อันเนื่องจากปุถุชนคนธรรมดาไม่รู้ เรียกว่ามี อวิชชา ไม่รู้อริยสัจ 4 คือ
ความไม่รู้ในทุกข์ (ทุกข์) ทุกขสภาวะ, ทุกขเวทนา, ทุกขอุปาทาน
ทุกขสภาวะ คือสังขารทั้งปวงทั้งนามธรรมและรูปธรรม ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้
ทุกขเวทนา คือความทุกข์ทางกาย เช่น ป่วย, หิว, ปวดเบา, ปวดหนัก, มีดบาด โดนทำร้าย เป็นต้น ทุกข์แก้ไขได้ชั่วคราวด้วยการเสพ
ทุกขอุปาทาน คือความทุกข์ที่เกิดจากความยึดมั่น ถือมั่นในความเป็นตัวตน หรือความเป็นอัตตาตัวตน ทุกข์ชนิดนี้สามารถแก้ไขให้หมดไปได้เด็ดขาด เช่น พระอรหันต์ จะไม่อาจพ้นทุกขสภาวะไปได้ ก็คือท่านต้องละสังขาร เหมือนคนทั่วไป ท่านเดินสะดุดรากไม้ ท่านก็เจ็บปวด คนบาปเอาดาบมาฟันคอท่าน ท่านก็ได้รับทุกขเวทนา แต่ท่านไม่รู้สึกโกรธ เพราะท่านได้หมดอุปาทาน ท่านจึงไม่เป็นทุกข์จากอุปาทาน ทุกข์จึงเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ ว่าโดยย่อก็เป็นดังนี้ รายละเอียดก็ยังมีอีกมาก
ความไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) คืออวิชชา ความไม่รู้ในอริยสัจ 4, จึงก่อให้เกิดตัณหา 3 กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา
กามตัณหา คือความทะเยอทะยานอยากในกามคุณทั้ง 5 ได้แก่ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส เสพอย่างยึดมั่นเพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริงว่ากามคุณ 5 ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ กามคุณ 5 นี้พระอรหันต์ก็เสพเหมือนกัน แต่เสพอย่างสำรวมระวัง ไม่ติดยึด และรู้เท่าทัน เพราะรู้แจ้งตามความเป็นจริง จึงเสพกามคุณ 5 อย่างอิสระ ดุจน้ำบนใบบัว
ภวตัณหา คือความทะยานอยาก อยากเป็นโน่น เป็นนี่สารพัดอย่าง โดยไม่รู้ว่าความสัมพันธ์ของเหตุ และผลเป็นอย่างไร เช่น อยากเป็นนายกฯ แต่สร้างเหตุปัจจัยไม่เพียงพอ ผลก็ไม่เกิดขึ้น ความอยากตรงนี้จึงก่อให้เกิดทุกข์ หรืออยากเป็นคนมั่งมี แต่ขี้เกียจ อยากได้เงิน แต่ไม่ทำงาน อย่างนี้ก็จะก่อให้เกิดทุกข์ทางใจ พระอรหันต์ ไม่ติดในภวตัณหา เพราะท่านเป็นผู้รู้กฎของเหตุและผล (กฎอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี) เมื่อทำอย่างนี้ก็จะรับผลอย่างนี้ ท่านจึงมีปัญญารู้ว่าเป็นธรรมดาของสังขาร เป็นเช่นนั้นเอง (ภว หรือ ภพ แปลว่า ความเป็นความมี)
วิภวตัณหา คือความทะยานอยากที่จะไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่สารพัดอย่าง ยกตัวอย่าง คนเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ก็อยากจะเสพอยู่ในตำแหน่งนี้นานๆ เมื่อมีเหตุปัจจัยให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่เขาไม่อยากพ้นจากตำแหน่ง เพราะไม่ต้องการไปเป็นอย่างอื่น อย่างนี้ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (วิภาวะ หรือ วิภพ แปลว่า ความไม่เป็น ความไม่มี)
ความเป็นหรือไม่เป็น ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย คิดเอาเองจิตปรุงแต่ง ไม่ตรงตามเป็นจริง ย่อมเป็นทุกข์
คนปุถุชน ไม่รู้เหตุปัจจัยดังกล่าว ก็จะเกิดทุกข์ พระอรหันต์ย่อมอยู่เหนือ, พ้นสภาวะกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหาเพราะท่านทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมไปตามเหตุปัจจัยสภาวะจิตอยู่เหนือความมีและความไม่มี อยู่เหนือความเป็นและความไม่เป็น ท่านดำรงอยู่ในทางสายกลางอย่างแท้จริง
ความไม่รู้ในความดับทุกข์ (นิโรธ) ความดับทุกข์ คือสภาวะอิสระ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง
ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ (มรรคมีองค์ 8) นับแต่สัมมาทิฏฐิเป็นต้นไป
ความไม่รู้ในอริยสัจ 4 นี้เรียกว่าอวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ...(สํ.นิ.วิภังคสูตร (ไทย) เล่ม 16 ข้อ 16-17)
สังขารในที่นี้เป็นจิตตสังขาร ความคิดปรุงแต่งทางจิตคืออาการที่เราเข้าไปยึด ขึ้นต่อ เกาะเกี่ยวกับรูป หรือวัตถุ และอุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา เป็นตัวกูของกู หรือความเป็นอัตตาตัวตน นี่เอง
สี่เหลี่ยมสัมพันธภาวะยังปัญญาให้เรารู้แจ้งตามความเป็นจริงของสภาวธรรม (ยถาภูตธรรม) อันเนื่องด้วยสาวกผู้รู้แจ้งตามความเป็นจริง (ยถาภูตญาณ) จึงทำให้รู้ว่า
1. ปฏิจจสมุปบาท เป็นสังขาร (ความปรุงแต่ง) จึงตกอยู่ในเงื่อนไขของเวลา และอำนาจกฎไตรลักษณ์เกิดขึ้นในเบื้องต้น ขัดแย้งแปรปรวนในท่ามกลาง แล้วก็ดับไปในที่สุด) แสดงให้เห็นถึงความไม่มีแก่นสารของจิตตสังขาร ไม่มีอะไรจะให้ยึดถือเป็นตัวเป็นตนได้
2. ทำให้เห็นกฎแห่งกรรมได้ชัดเจน (กิเลส กรรม วิบาก) การเวียนว่าย ตาย เกิด ในสังสารวัฏ ตามกฎปฏิจจสมุปบาท ทั้งนรก สวรรค์ แบบปัจจุบันธรรม (ขณิกวาทะ) เป็นทุกข์วันนี้ และสามารถพ้นทุกข์วันนี้ได้ โดยไม่ต้องรอจนกระทั่งตายกายแตกดับ
3. ทำให้รู้เห็นแจ้งต่อสภาวะหรือกฎไตรลักษณ์ชัดเจน รู้สภาวะกฎปฏิจจสมุปบาทชัดเจน และย่อมทำให้รู้กฎอิทัปปัจจยตาถูกต้องชัดเจนด้วย
บางคนอาจเข้าใจถึงกฎอิทัปปัจจยตาได้ (กฎความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัย) แต่ไม่อาจพ้นทุกข์ได้ เพราะไม่รู้จักจิตของตัวเอง หรืออาจพูดได้ว่า รู้อิทัปฯ แต่ไม่รู้ ปฏิจจฯ แต่ถ้ารู้ปฏิจจฯ ย่อมรู้กฎอิทัปฯ อย่างเป็นไปเอง แยกแยะเพื่อทำการศึกษา เมื่อรู้แจ้งกฎ ปฏิจจฯ แล้วย่อมเป็นหนึ่งเดียวกับกฎอิทัปฯ
ที่กล่าวมานี้ให้ผู้ศึกษาได้พิจารณาว่า สิ่งไม่มีชีวิต เช่น ก้อนหิน ดิน ทราย โต๊ะ เก้าอี้ หรือสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นต้น ย่อมเป็นไปตามกฎอิทัปฯ และกฎไตรลักษณ์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎปฏิจจฯ อันนี้เป็นการแยกแยะให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสรู้แจ้งตรัสรู้ธรรมตามพระพุทธองค์ได้
4. รู้ความลับของธรรมชาติ เดินแนวทางตามวิถีธรรม เพื่อแก้ปัญหามนุษยชาติ ในทุกระดับ ตรงต่อพระธรรม หรือบรมธรรม เป็นผู้นำทางสัจจะ ผู้นำทางจิตใจ และวิญญาณ และเป็นผู้นำทางปัญญาในการแก้ปัญหาสำคัญๆ ตามยุคสมัยนั้นๆ ที่ปุถุชนไม่อาจจะแก้ไขได้
5. รู้จักตัวเอง เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระรัตนตรัยเต็มสมบูรณ์
6. เมื่อทำผิดกฎธรรมชาติ ก็ถูกพระธรรมลงโทษทันที (ได้รับทุกข์ทันที) ไม่ต้องรอวันพิพากษา หรือรอจนกระทั่งตาย สอนอย่างตรงไปตรงมาตามหลักธรรม (กฎอิทัปปัจจยตา)
7. ผู้รู้ใหม่ๆ ชั้นพระโสดาบันแล้ว สามารถควบคุมกฎปฏิจจฯ ได้ให้ลดน้อยถอยลงเป็นลำดับ จนกระทั่งควบคุมได้เด็ดขาด และพ้นจากกฎปฏิจจสมุปบาท ก็ย่อมก้าวล่วงสู่พระอรหันต์ อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของมนุษย์ ที่จะเข้าถึงได้ในชาตินี้
8. ผู้พ้นจากกฎปฏิจจสมุปบาทได้ ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้ว่าธรรมทั้งปวงเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่มีพระผู้สร้าง จึงปฏิเสธลัทธิพระผู้สร้าง
ถ้าผู้แสวงหา ความยุติธรรม มุ่งมั่น อุทิศตน แสวงหาสัจจะเพื่อรับใช้ปวงชนรับใช้แผ่นดินและมวลมนุษยชาติ รับรองได้ว่าเขาปฏิบัติวิปัสสนาจนสามารถเข้าถึงได้ จะเกิดความศรัทธา และรู้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นยิ่งใหญ่นัก หาใครเสมอเหมือนมิได้ พระองค์ทรงรู้แจ้ง เห็นจริง ทุกแง่ทุกมุมของสภาวธรรม ทรงเป็นสัพพัญญู ก็เพราะพระองค์ทรงรู้แจ้งความลับของสภาวะธรรมชาติที่อยู่ภายในใจมนุษย์และทรงบัญญัติสภาวธรรมนี้ว่า "ปฏิจจสมุปบาท" นั่นเอง สมดังพุทธพจน์ที่ว่า..."ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท" (12/346/243)
ผู้สนใจลองไปสนทนาธรรมเพื่อความรู้แจ้งได้ที่ท่านปริญญาโณภิกขุ วัดสันติธรรมาราม ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซอย 23 บุคคโล ธนบุรี กทม. 10600 โทร. 0-2878-2110 หรือ 09-443-7520