สู่ยุคผูกขาดธุรกิจโรงหนัง เมเจอร์ซีเนเพล็กซ์เข้าควบรวมกิจการกับอีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 70% เผย ใช้สูตร 2.27 อีจีวี ต่อ 1 เมเจอร์ และ 11.44 วอร์แรนต์อีจีวีต่อ 1 หุ้นเมเจอร์ ผู้บริหารชี้ส่งผลให้มีมาร์เก็ตแคป 1.4 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้ามีโรงภาพยนตร์รวมกัน 350 โรงภายในปีหน้า วางแผนเตรียมรุกธุรกิจโรงภาพยนตร์ในเวียดนาม ส่วนพันธมิตรทางธุรกิจด้านฟิตเนส โบว์ลิ่งรอหารือว่าจะเข้าควบรวมหรือไม่ ด้านโบรกเกอร์ชี้หลังควบรวมอำนาจต่อรองมากขึ้น1
การควบรวมกิจการโรงหนังมัลติเพล็กซ์ระหว่าง เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์กับอีจีวี กลายเป็น ดีลที่ยิ่งใหญ่และสร้างความประหลาดใจให้กับวงการธุรกิจไม่น้อย เมื่อคู่แข่งที่เป็นสายเลือดตระกูลเดียวกันกลับต้องหันหน้ามาจับมือร่วมธุรกิจกัน
มาร์เกตแคป1.5หมื่นล.ยึดตลาด70%
นายวิชัย พูลวรลักษณ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทอีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า การควบรวมระหว่างบริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์กับบริษัทอีจีวีเอ็นเตอร์เทนเมนท์นั้นจะทำให้มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม(มาร์เก็ตแคป)อยู่ในระดับ 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ และช่วยทำให้ลดรายจ่ายที่ซ้ำซ้อนลง
ทั้งนี้การควบรวมดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบกับผู้บริโภคโดยเฉพาะราคาตั๋วหนัง ซึ่งจะไม่มีการปรับ
ราคาเพิ่มขึ้นรวมถึงยังเป็นโอกาสที่จะขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศซึ่งมีแผนที่จะเปิดโรงภาพยนตร์ที่ประเทศ
เวียดนาม ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงมากโดยเลือกทำเลที่เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะทำให้สามารถนำเงินตราเข้ามาในประเทศได้มากยิ่งขึ้น
"ปัจจุบันนี้มีธุรกิจที่เป็นของคนไทย 100% มีเพียง 2 ประเภทเท่านั้นคือธุรกิจบันเทิงและอสังหาริมทรัพย์ส่วนธุรกิจอื่นๆนั้นจะมีต่างประเทศเข้ามาถือหุ้นและมีบทบาทอย่างมากดังนั้นจุดนี้จึงถือเป็นโอกาสที่คนไทยจะสร้างจุดแข็งของธุรกิจ และด้วยประสบการการทำงานของทั้ง2 ฝ่ายทำให้เมื่อรวมกันแล้วมองว่าตลาดในเมืองไทยมีขนาดเล็กลงไปแล้วดังนั้นจึงต้องยกระดับไปสู่ตลาดต่างประเทศ"นายวิชัยกล่าว
เมื่อบริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์กับอีจีวีเอ็นเตอร์เทนเมนท์ รวมกันจะมีโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 250 โรง
ซึ่งจะครอบคลุมทุกจุดในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ สำหรับในส่วนของพนักงานนั้นเมื่อมีการควบรวมกันแล้วจะมีการย้ายพนักงานที่ซ้ำซ้อนไปสู่ในส่วนงานที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยทำให้ต้นทุนไม่ได้เพิ่มซึ่งจะไม่มีการลดพนักงานแต่อย่างใด ในส่วนของธุรกิจพันธมิตร เช่น ฟิตเนส และโบว์ลิ่งนั้นในช่วงแรกยังดำเนินการเหมือนเดิมแต่ต่อไปจะต้องไปหารือกับพันธมิตรดังกล่าวว่าสนใจจะเข้าควบกับพันธมิตรทางธุรกิจของเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ปหรือไม่
นายวิชัยกล่าวว่า ส่วนแผนที่จะเสนอขายหุ้นให้กับนักลงทุนเฉพาะเจาะจง(PP)115 ล้านหุ้นนั้น จะมีการขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นขอยกเลิกซึ่งจะมีการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 14 มิถุนายนนี้
นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การควบรวมในครั้งนี้จะช่วยเกื้อหนุนธุรกิจซึ่งกันและกันเพราะบางธุรกิจอีจีวีมีแต่เมเจอร์ไม่มีเช่น ธุรกิจอีจีวีดีไซน์ ก็สามารถเกื้อหนุนได้ และคาดว่าภายในปี 2548 จะมีโรงภาพยนตร์รวมกันประมาณ 350 โรงโดยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในระดับ 70% จากปัจจุบันเมเจอร์ฯมีประมาณ 43% อีจีวีมีประมาณ 27%
สำหรับในส่วนของพันธมิตรทางธุรกิจเช่นบริษัทแคลิเฟอร์เนีย ฟิตเนสนั้น ก็ยังมีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เหมือนเดิม
"เมื่อบริษัททั้ง 2 มีมติควบรวมกิจการกันแล้วนั้นในช่วงแรกการบริหารงานก็ยังเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงรวมถึงยังคงให้บริการโรงภาพยนตร์ภายใต้ชื่อเมเจอร์และอีจีวีเหมือนเดิม เมื่อมีการแลกหุ้นแล้วจะทำให้มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นเบื้องต้นเมเจอร์ซีเนเพล็กซ์ถือหุ้น65% และอีจีวีถือหุ้น 35%"นายวิชากล่าว
การควบรวมกันจะทำให้ขนาดของบริษัทมีโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้นรวมทั้งยังเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของบริษัทได้มากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้การควบรวมของทั้ง 2 บริษัทไม่ถือว่าเป็นการผูกขาดในเรื่องของการแข่งขันทางธุรกิจโดยเฉพาะเรื่องของการปรับขึ้นของราคาตั๋วแต่กลับเป็นการขยายขอบเขตในการทำการให้มีศักยภาพให้มีการแข่งแกร่งมากขึ้น ซึ่งราคาตั๋วนั้นตลาดจะเป็นตัวกำหนดอยู่แล้ว
ทั้งนี้ยอมรับว่าจากเดิมอีจีวีเป็นพันธมิตรกับต่างชาติดังนั้นการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจค่อนข้างที่จะเป็นไปได้ยากแต่เมื่อมีการควบรวมกับเมเจอร์การเจรจาในข้อตกลงทางธุรกิจก็เป็นไปได้ง่ายขึ้น
"หลังการรวมกิจการแล้วจะไม่ผูกขาดตลาดโรงภาพยนตร์โดยจะไม่ขึ้นค่าตั๋วหนัง แต่จะเพิ่มคุณภาพ และบริการให้ผู้บริโภคมากขึ้นส่วนความร่วมมือในการทำธุรกิจภาพยนตร์จะมีอะไรบ้างนั้นจะต้องใช้เวลาในการหารือกันอีกระยะหนึ่ง"นายวิชากล่าว
ส่วนเรื่องการรับรู้รายได้ของบริษัทหลังจากการควบรวมเชื่อว่าจะสามารถรับรู้รายได้ในช่วงไตรมาสที่1/2548ซึ่งคาดการณ์เชื่อว่าสัดส่วนรายได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 4-5 พันล้านบาท โดยปีที่แล้วเมเจอร์ฯมีรายได้ 2,462 ล้านบาท กำไร 422 ล้านบาท ส่วนอีจีวีมีรายได้ 1,089 ล้านบาท และกำไร 60 ล้านบาท ขณะที่งวด 3 เดือนแรกปีนี้ เมเจอร์ฯมีรายได้ 604 ล้านบาท กำไร 108 ล้านบาท ด้านอีจีวีมีรายได้ 314 ล้านบาท กำไร 19 ล้านบาท สำหรับในส่วนมาร์เก็ตแชร์นั้น หลังจากควบรวมจะมีมาร์เก็ตแชร์เพิ่มขึ้นเป็น 70% ทั้งนี้นอกจากสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว บริษัทจะมีแผนที่จะขยายโรงหนังในปี 2548 ให้ได้กว่า 350 โรงให้ได้
นอกจากนั้น การรวมกิจการกันดังกล่าวจะทำให้ตามราคาตลาดของอีจีวี และ เมเจอร์ เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 -1.5 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่มูลค่าตามราคาตลาดของอีจีวีอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท ส่วนมูลค่าตามราคาตลาดของเมเจอร์อยู่ที่ 8,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามก่อนหน้าที่จะมีการควบรวมกันเมเจอร์ได้ประมาณการรายได้ปีนี้จะโตประมาณ 34% จากปี 2546 ที่มีรายได้ 3,000 ล้านบาท
นอกจากนี้นายวิชา ยังได้กล่าวถึงหนี้สิ้นของอีวีจีที่มีอยู่ประมาณ 1.2 พันล้านบาทนั้น ทางเมเจอร์จะเป็นผู้ที่ดูแลหนี้สินของอีจีวีทั้งหมด โดยจะล้างหนี้ให้แต่จะเป็นเมื่อไรนั้นในขณะนี้ยังไม่สามารถที่จะระบุได้อย่างชัดเจนแต่คาดว่าจะให้ระยะเวลาไม่นาน ในขณะนี้อีจีวีมีหนี้สิ้นต่อทุน 0.7ต่อ 1 ในขณะที่เมเจอร์มีหนี้สิ้นต่อทุน 0.02 ต่อ 1
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด(มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินเปิดเผยว่า ขั้นตอนการดำเนินการควบรวมกิจการนั้นจะมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัทเพื่อขอมติจากผู้ถือหุ้น ขณะเดียวกันก็ดำเนินการสำรวจสินทรัพย์และแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้ความคิดเห็น หลังจากนั้นจะส่งหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ภายในเดือนกรกฎาคมและคาดว่าจะสามารถทำคำเสนอซื้อได้ภายในต้นเดือนกันยายนซึ่งดำเนินการประมาณ 25 วัน คาดว่าจะสิ้นสุดการทำคำเสนอซื้อภายในวันที่ 7 ตุลาคม และคาดว่าหุ้นบริษัทอีจีวีจะสามารถเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ได้ภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้
"การเจรจาในครั้งนี้ใช้เวลารวดเร็วมากเพียงไม่ถึงสัปดาห์ก็สามารถหาข้อสรุปได้ซึ่งเมื่อมีกระแสข่าวลือออกมาทางบริษัทก็ต้องพยายามที่จะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้นจึงได้แจ้งให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเช้าเพื่อขอให้หยุดพักการซื้อขายเป็นการชั่วคราวก่อน"นายก้องเกียรติกล่าว
สัดส่วนหุ้นเมเจอร์1-อีจีวี2.2
นายวีรวัฒน์ องค์วาสิฏฐ์ กรรมการบริหาร บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) แจ้งมติคณะกรรมการ ครั้งที่ 5/2547 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2547 ว่า ได้อนุมัติให้ทำการควบรวมกิจการของบริษัทฯ เข้ากับ บมจ.อีจีวี เอนเตอร์เทนเมนท์ (EGV) โดยการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัทฯ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินการทางธุรกิจ
บริษัทฯ จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของอีจีวี ซึ่งได้แก่หุ้น จำนวน 260,000,000 หุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน 65,000,000 หน่วย โดยการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ อีจีวี ดังกล่าวจะกระทำโดยที่บริษัทฯ ออกหุ้นสามัญใหม่แทนการชำระราคาค่าหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิของ อีจีวี ที่บริษัทฯ จะซื้อจากผู้ถือหุ้นและผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิของอีจีวี โดยอัตราส่วนการแลกเปลี่ยนหุ้นจะอยู่ที่ 1 หุ้นใหม่ของบริษัทฯ ต่อ 2.27426 หุ้นของอีจีวี และ 1 หุ้นใหม่ของบริษัทฯ ต่อ 11.44905 หน่วยของใบสำคัญแสดงสิทธิของอีจีวี ทั้งนี้คาดว่าการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการทำการเสนอซื้อหุ้นอีจีวีจะสำเร็จลงในเวลาประมาณ 6 เดือน
นายวีรวัฒน์ กล่าวว่า เนื่องจากการทำคำเสนอซื้อหุ้นโดยวิธีการแลกเปลี่ยนหุ้น คณะกรรมการจึงได้มีมติแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทฯ เพื่อร่วมจัดทำแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัทฯ และเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ต่อไปและแต่งตั้งบริษัท มินเตอร์ เอลิสัน (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ ในการดำเนินการดังกล่าว
คณะกรรมการยังได้อนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จากเดิม 772,000,000 บาท เป็น 897,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 125,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยหุ้นจำนวน 120,000,000 หุ้น จัดสรรไว้ให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิของบริษัท อีจีวี เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) แทนการชำระราคาเสนอซื้อภายใต้คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทฯ และหุ้นจำนวน 5,000,000 หุ้น ให้จัดสรรไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิของผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิของบริษัทฯเพิ่มเติม ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ ได้กำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2547 ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2547 เวลา 10.30 น. ณ อาคารเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยได้กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น เพื่อสิทธิกำหนดของผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2547 ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2547 เวลา 12.00 น. จนกว่าการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะแล้วเสร็จ
ด้าน บล.ไซรัส ออกบทวิเคราะห์กรณีควบรวมกิจการระหว่างเมเจอร์และอีจีวี ระบุว่า การควบรวมกิจการดังกล่าวจะเป็นผลดีกับกลุ่มจากจำนวนโรงภาพยนตร์ที่เพิ่มขึ้น อำนาจการต่อรองกับผู้ผลิตภาพยนตร์มีมากขึ้น ต้นทุนต่างๆ ที่ซ้ำซ้อนกันจะสามารถประหยัดไปได้ อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ดังกล่าวยังไม่น่าจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนในปีนี้ เพราะการรวมกิจการน่าจะเสร็จสิ้นประมาณไตรมาส 4/47 แต่เราเชื่อว่ารายได้และกำไรของ MAJOR ในปี 2548 จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด
สำหรับการประเมินมูลค่าหุ้น เนื่องจาก EPS ของ MAJOR ในปี 2547 จะถูก dilute อย่างเต็มที่เพราะหุ้นที่เข้ามาทั้งหมด แต่เรามองว่ากำไรที่ขยายตัวสูงในปี 2548 จะช่วยลดผลกระทบจาก Dilution Effect ได้ ดังนั้น หากอิง PE เป้าหมายที่ 22 เท่าในปี 2548 และ discount 10% จะทำให้ได้เป้าหมายประมาณ 16 – 18 บาท (จากการประมาณการเบื้องต้น) ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาหุ้นปัจจุบัน มี upside เพียง 4% - 16% จึงแนะนำ “ถือต่อได้” สำหรับ MAJOR แต่สำหรับ EGV เรามองว่าราคาที่ซื้อไม่ควรเกิน 7.00 บาท เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการแลกหุ้นตามสัดส่วนดังกล่าว
เอสเอฟทำใจดีสู้เสือ
นายสุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์ ประธานกรรมการ เอสเอฟซีเนม่าซิตี้ กล่าวกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า การรวมตัวกันของเมเจอร์กับอีจีวี คงไม่มีผลกระทบอะไรกับเราเท่าใด เพราะทุกวันนี้ตลาดแยกกันชัดเจน ส่วนการปรับแผนงานของเอสเอฟนั้นไม่มีอะไรมาก เพราะทุกอย่างมีการวางแผน เพียงแต่บางอย่างอาจจะเร่งมือขึ้นมาเร็วกว่าเดิม ซึ่งเอสเอฟมีเป้าหมายทางธุรกิจอยู่แล้วโดยเฉพาะการเป็นโรงหนังที่มีอัตราการเติบโตเร็วมาก โดยเมื่อเปิดสาขาแรกที่เอ็มบีเคเซ็นเตอร์เมื่อ 5 ปีที่แล้วมีแชร์แค่ 3% แต่ปัจจุบันมีแชร์เกือบ 30% แล้ว
นายสุวิทย์ ทองร่มโพธิ์ กรรมการผู้จัดการ เอสเอฟซีเนม่าซิตี้ กล่าวเสริมว่า สิ่งที่ทั้งสองรายนั้นรวมตัวกันเป็นเรื่องของธุรกิจที่เขามีความผูกพันกันอยู่แล้วในแง่ของความเป็นครอบครัว ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องทางเกมธุรกิจมากกว่า ซึ่งไม่ส่งผลกระทบกับเอสเอฟแน่นอน เพราะก่อนรวมหรือหลังรวมก็ยังคงเป็นคู่แข่งเหมือนเดิม แม้ว่าจะมีมาร์เกตแชร์รวมกันมากขึ้น แต่ในแง่ของกลุ่มลูกค้าไม่มีผลกระทบ เนื่องจากทุกวันนี้คนดูหนังจะเลือกที่โลเคชั่นเป็นหลัก โดยเฉพาะเอสเอฟมีจุดแข็งตรงที่ทุกสาขาล้วนแต่เป็น Location Strategic โดยเฉพาะสาขาที่เอ็มบีเคยังคงเป็นสาขาที่มีอัตราการเข้าชมเฉลี่ย 40% สูงที่สุดในตลาดเมืองไทย นอกจากนั้นแม้ว่าจะเป็นรายใหญ่มีส่วนแบ่งมากที่สุด แต่ก็ยังคงต้องดำเนินธุรกิจภายใต้กฎกติกาที่มีอยู่ คงไม่ถึงกับจะไปกำหนดอะไรได้ทุกอย่าง หรือแม้แต่การมีอำนาจต่อรองกับค่ายเจ้าของหนัง เพราะว่าทุกคนล้วนมีต้นทุนทั้งนั้น
สำหรับแผนการลงทุนของเอสเอฟมีต่อเนื่อง ซึ่งในปีหน้ามีโครงการใหญ่ที่เตรียมลงทุนหลายแห่ง รวมทั้งการเร่งนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น ปีที่แล้วเอสเอฟมีรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท มีแชร์ประมาณ 26-28% คาดว่าปีนี้จะเติบโต 20%
การควบรวมกิจการโรงหนังมัลติเพล็กซ์ระหว่าง เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์กับอีจีวี กลายเป็น ดีลที่ยิ่งใหญ่และสร้างความประหลาดใจให้กับวงการธุรกิจไม่น้อย เมื่อคู่แข่งที่เป็นสายเลือดตระกูลเดียวกันกลับต้องหันหน้ามาจับมือร่วมธุรกิจกัน
มาร์เกตแคป1.5หมื่นล.ยึดตลาด70%
นายวิชัย พูลวรลักษณ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทอีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า การควบรวมระหว่างบริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์กับบริษัทอีจีวีเอ็นเตอร์เทนเมนท์นั้นจะทำให้มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม(มาร์เก็ตแคป)อยู่ในระดับ 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ และช่วยทำให้ลดรายจ่ายที่ซ้ำซ้อนลง
ทั้งนี้การควบรวมดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบกับผู้บริโภคโดยเฉพาะราคาตั๋วหนัง ซึ่งจะไม่มีการปรับ
ราคาเพิ่มขึ้นรวมถึงยังเป็นโอกาสที่จะขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศซึ่งมีแผนที่จะเปิดโรงภาพยนตร์ที่ประเทศ
เวียดนาม ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงมากโดยเลือกทำเลที่เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะทำให้สามารถนำเงินตราเข้ามาในประเทศได้มากยิ่งขึ้น
"ปัจจุบันนี้มีธุรกิจที่เป็นของคนไทย 100% มีเพียง 2 ประเภทเท่านั้นคือธุรกิจบันเทิงและอสังหาริมทรัพย์ส่วนธุรกิจอื่นๆนั้นจะมีต่างประเทศเข้ามาถือหุ้นและมีบทบาทอย่างมากดังนั้นจุดนี้จึงถือเป็นโอกาสที่คนไทยจะสร้างจุดแข็งของธุรกิจ และด้วยประสบการการทำงานของทั้ง2 ฝ่ายทำให้เมื่อรวมกันแล้วมองว่าตลาดในเมืองไทยมีขนาดเล็กลงไปแล้วดังนั้นจึงต้องยกระดับไปสู่ตลาดต่างประเทศ"นายวิชัยกล่าว
เมื่อบริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์กับอีจีวีเอ็นเตอร์เทนเมนท์ รวมกันจะมีโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 250 โรง
ซึ่งจะครอบคลุมทุกจุดในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ สำหรับในส่วนของพนักงานนั้นเมื่อมีการควบรวมกันแล้วจะมีการย้ายพนักงานที่ซ้ำซ้อนไปสู่ในส่วนงานที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยทำให้ต้นทุนไม่ได้เพิ่มซึ่งจะไม่มีการลดพนักงานแต่อย่างใด ในส่วนของธุรกิจพันธมิตร เช่น ฟิตเนส และโบว์ลิ่งนั้นในช่วงแรกยังดำเนินการเหมือนเดิมแต่ต่อไปจะต้องไปหารือกับพันธมิตรดังกล่าวว่าสนใจจะเข้าควบกับพันธมิตรทางธุรกิจของเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ปหรือไม่
นายวิชัยกล่าวว่า ส่วนแผนที่จะเสนอขายหุ้นให้กับนักลงทุนเฉพาะเจาะจง(PP)115 ล้านหุ้นนั้น จะมีการขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นขอยกเลิกซึ่งจะมีการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 14 มิถุนายนนี้
นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การควบรวมในครั้งนี้จะช่วยเกื้อหนุนธุรกิจซึ่งกันและกันเพราะบางธุรกิจอีจีวีมีแต่เมเจอร์ไม่มีเช่น ธุรกิจอีจีวีดีไซน์ ก็สามารถเกื้อหนุนได้ และคาดว่าภายในปี 2548 จะมีโรงภาพยนตร์รวมกันประมาณ 350 โรงโดยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในระดับ 70% จากปัจจุบันเมเจอร์ฯมีประมาณ 43% อีจีวีมีประมาณ 27%
สำหรับในส่วนของพันธมิตรทางธุรกิจเช่นบริษัทแคลิเฟอร์เนีย ฟิตเนสนั้น ก็ยังมีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เหมือนเดิม
"เมื่อบริษัททั้ง 2 มีมติควบรวมกิจการกันแล้วนั้นในช่วงแรกการบริหารงานก็ยังเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงรวมถึงยังคงให้บริการโรงภาพยนตร์ภายใต้ชื่อเมเจอร์และอีจีวีเหมือนเดิม เมื่อมีการแลกหุ้นแล้วจะทำให้มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นเบื้องต้นเมเจอร์ซีเนเพล็กซ์ถือหุ้น65% และอีจีวีถือหุ้น 35%"นายวิชากล่าว
การควบรวมกันจะทำให้ขนาดของบริษัทมีโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้นรวมทั้งยังเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของบริษัทได้มากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้การควบรวมของทั้ง 2 บริษัทไม่ถือว่าเป็นการผูกขาดในเรื่องของการแข่งขันทางธุรกิจโดยเฉพาะเรื่องของการปรับขึ้นของราคาตั๋วแต่กลับเป็นการขยายขอบเขตในการทำการให้มีศักยภาพให้มีการแข่งแกร่งมากขึ้น ซึ่งราคาตั๋วนั้นตลาดจะเป็นตัวกำหนดอยู่แล้ว
ทั้งนี้ยอมรับว่าจากเดิมอีจีวีเป็นพันธมิตรกับต่างชาติดังนั้นการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจค่อนข้างที่จะเป็นไปได้ยากแต่เมื่อมีการควบรวมกับเมเจอร์การเจรจาในข้อตกลงทางธุรกิจก็เป็นไปได้ง่ายขึ้น
"หลังการรวมกิจการแล้วจะไม่ผูกขาดตลาดโรงภาพยนตร์โดยจะไม่ขึ้นค่าตั๋วหนัง แต่จะเพิ่มคุณภาพ และบริการให้ผู้บริโภคมากขึ้นส่วนความร่วมมือในการทำธุรกิจภาพยนตร์จะมีอะไรบ้างนั้นจะต้องใช้เวลาในการหารือกันอีกระยะหนึ่ง"นายวิชากล่าว
ส่วนเรื่องการรับรู้รายได้ของบริษัทหลังจากการควบรวมเชื่อว่าจะสามารถรับรู้รายได้ในช่วงไตรมาสที่1/2548ซึ่งคาดการณ์เชื่อว่าสัดส่วนรายได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 4-5 พันล้านบาท โดยปีที่แล้วเมเจอร์ฯมีรายได้ 2,462 ล้านบาท กำไร 422 ล้านบาท ส่วนอีจีวีมีรายได้ 1,089 ล้านบาท และกำไร 60 ล้านบาท ขณะที่งวด 3 เดือนแรกปีนี้ เมเจอร์ฯมีรายได้ 604 ล้านบาท กำไร 108 ล้านบาท ด้านอีจีวีมีรายได้ 314 ล้านบาท กำไร 19 ล้านบาท สำหรับในส่วนมาร์เก็ตแชร์นั้น หลังจากควบรวมจะมีมาร์เก็ตแชร์เพิ่มขึ้นเป็น 70% ทั้งนี้นอกจากสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว บริษัทจะมีแผนที่จะขยายโรงหนังในปี 2548 ให้ได้กว่า 350 โรงให้ได้
นอกจากนั้น การรวมกิจการกันดังกล่าวจะทำให้ตามราคาตลาดของอีจีวี และ เมเจอร์ เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 -1.5 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่มูลค่าตามราคาตลาดของอีจีวีอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท ส่วนมูลค่าตามราคาตลาดของเมเจอร์อยู่ที่ 8,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามก่อนหน้าที่จะมีการควบรวมกันเมเจอร์ได้ประมาณการรายได้ปีนี้จะโตประมาณ 34% จากปี 2546 ที่มีรายได้ 3,000 ล้านบาท
นอกจากนี้นายวิชา ยังได้กล่าวถึงหนี้สิ้นของอีวีจีที่มีอยู่ประมาณ 1.2 พันล้านบาทนั้น ทางเมเจอร์จะเป็นผู้ที่ดูแลหนี้สินของอีจีวีทั้งหมด โดยจะล้างหนี้ให้แต่จะเป็นเมื่อไรนั้นในขณะนี้ยังไม่สามารถที่จะระบุได้อย่างชัดเจนแต่คาดว่าจะให้ระยะเวลาไม่นาน ในขณะนี้อีจีวีมีหนี้สิ้นต่อทุน 0.7ต่อ 1 ในขณะที่เมเจอร์มีหนี้สิ้นต่อทุน 0.02 ต่อ 1
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด(มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินเปิดเผยว่า ขั้นตอนการดำเนินการควบรวมกิจการนั้นจะมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัทเพื่อขอมติจากผู้ถือหุ้น ขณะเดียวกันก็ดำเนินการสำรวจสินทรัพย์และแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้ความคิดเห็น หลังจากนั้นจะส่งหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ภายในเดือนกรกฎาคมและคาดว่าจะสามารถทำคำเสนอซื้อได้ภายในต้นเดือนกันยายนซึ่งดำเนินการประมาณ 25 วัน คาดว่าจะสิ้นสุดการทำคำเสนอซื้อภายในวันที่ 7 ตุลาคม และคาดว่าหุ้นบริษัทอีจีวีจะสามารถเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ได้ภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้
"การเจรจาในครั้งนี้ใช้เวลารวดเร็วมากเพียงไม่ถึงสัปดาห์ก็สามารถหาข้อสรุปได้ซึ่งเมื่อมีกระแสข่าวลือออกมาทางบริษัทก็ต้องพยายามที่จะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้นจึงได้แจ้งให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเช้าเพื่อขอให้หยุดพักการซื้อขายเป็นการชั่วคราวก่อน"นายก้องเกียรติกล่าว
สัดส่วนหุ้นเมเจอร์1-อีจีวี2.2
นายวีรวัฒน์ องค์วาสิฏฐ์ กรรมการบริหาร บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) แจ้งมติคณะกรรมการ ครั้งที่ 5/2547 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2547 ว่า ได้อนุมัติให้ทำการควบรวมกิจการของบริษัทฯ เข้ากับ บมจ.อีจีวี เอนเตอร์เทนเมนท์ (EGV) โดยการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัทฯ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินการทางธุรกิจ
บริษัทฯ จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของอีจีวี ซึ่งได้แก่หุ้น จำนวน 260,000,000 หุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน 65,000,000 หน่วย โดยการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ อีจีวี ดังกล่าวจะกระทำโดยที่บริษัทฯ ออกหุ้นสามัญใหม่แทนการชำระราคาค่าหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิของ อีจีวี ที่บริษัทฯ จะซื้อจากผู้ถือหุ้นและผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิของอีจีวี โดยอัตราส่วนการแลกเปลี่ยนหุ้นจะอยู่ที่ 1 หุ้นใหม่ของบริษัทฯ ต่อ 2.27426 หุ้นของอีจีวี และ 1 หุ้นใหม่ของบริษัทฯ ต่อ 11.44905 หน่วยของใบสำคัญแสดงสิทธิของอีจีวี ทั้งนี้คาดว่าการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการทำการเสนอซื้อหุ้นอีจีวีจะสำเร็จลงในเวลาประมาณ 6 เดือน
นายวีรวัฒน์ กล่าวว่า เนื่องจากการทำคำเสนอซื้อหุ้นโดยวิธีการแลกเปลี่ยนหุ้น คณะกรรมการจึงได้มีมติแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทฯ เพื่อร่วมจัดทำแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัทฯ และเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ต่อไปและแต่งตั้งบริษัท มินเตอร์ เอลิสัน (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ ในการดำเนินการดังกล่าว
คณะกรรมการยังได้อนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จากเดิม 772,000,000 บาท เป็น 897,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 125,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยหุ้นจำนวน 120,000,000 หุ้น จัดสรรไว้ให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิของบริษัท อีจีวี เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) แทนการชำระราคาเสนอซื้อภายใต้คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทฯ และหุ้นจำนวน 5,000,000 หุ้น ให้จัดสรรไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิของผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิของบริษัทฯเพิ่มเติม ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ ได้กำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2547 ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2547 เวลา 10.30 น. ณ อาคารเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยได้กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น เพื่อสิทธิกำหนดของผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2547 ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2547 เวลา 12.00 น. จนกว่าการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะแล้วเสร็จ
ด้าน บล.ไซรัส ออกบทวิเคราะห์กรณีควบรวมกิจการระหว่างเมเจอร์และอีจีวี ระบุว่า การควบรวมกิจการดังกล่าวจะเป็นผลดีกับกลุ่มจากจำนวนโรงภาพยนตร์ที่เพิ่มขึ้น อำนาจการต่อรองกับผู้ผลิตภาพยนตร์มีมากขึ้น ต้นทุนต่างๆ ที่ซ้ำซ้อนกันจะสามารถประหยัดไปได้ อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ดังกล่าวยังไม่น่าจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนในปีนี้ เพราะการรวมกิจการน่าจะเสร็จสิ้นประมาณไตรมาส 4/47 แต่เราเชื่อว่ารายได้และกำไรของ MAJOR ในปี 2548 จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด
สำหรับการประเมินมูลค่าหุ้น เนื่องจาก EPS ของ MAJOR ในปี 2547 จะถูก dilute อย่างเต็มที่เพราะหุ้นที่เข้ามาทั้งหมด แต่เรามองว่ากำไรที่ขยายตัวสูงในปี 2548 จะช่วยลดผลกระทบจาก Dilution Effect ได้ ดังนั้น หากอิง PE เป้าหมายที่ 22 เท่าในปี 2548 และ discount 10% จะทำให้ได้เป้าหมายประมาณ 16 – 18 บาท (จากการประมาณการเบื้องต้น) ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาหุ้นปัจจุบัน มี upside เพียง 4% - 16% จึงแนะนำ “ถือต่อได้” สำหรับ MAJOR แต่สำหรับ EGV เรามองว่าราคาที่ซื้อไม่ควรเกิน 7.00 บาท เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการแลกหุ้นตามสัดส่วนดังกล่าว
เอสเอฟทำใจดีสู้เสือ
นายสุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์ ประธานกรรมการ เอสเอฟซีเนม่าซิตี้ กล่าวกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า การรวมตัวกันของเมเจอร์กับอีจีวี คงไม่มีผลกระทบอะไรกับเราเท่าใด เพราะทุกวันนี้ตลาดแยกกันชัดเจน ส่วนการปรับแผนงานของเอสเอฟนั้นไม่มีอะไรมาก เพราะทุกอย่างมีการวางแผน เพียงแต่บางอย่างอาจจะเร่งมือขึ้นมาเร็วกว่าเดิม ซึ่งเอสเอฟมีเป้าหมายทางธุรกิจอยู่แล้วโดยเฉพาะการเป็นโรงหนังที่มีอัตราการเติบโตเร็วมาก โดยเมื่อเปิดสาขาแรกที่เอ็มบีเคเซ็นเตอร์เมื่อ 5 ปีที่แล้วมีแชร์แค่ 3% แต่ปัจจุบันมีแชร์เกือบ 30% แล้ว
นายสุวิทย์ ทองร่มโพธิ์ กรรมการผู้จัดการ เอสเอฟซีเนม่าซิตี้ กล่าวเสริมว่า สิ่งที่ทั้งสองรายนั้นรวมตัวกันเป็นเรื่องของธุรกิจที่เขามีความผูกพันกันอยู่แล้วในแง่ของความเป็นครอบครัว ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องทางเกมธุรกิจมากกว่า ซึ่งไม่ส่งผลกระทบกับเอสเอฟแน่นอน เพราะก่อนรวมหรือหลังรวมก็ยังคงเป็นคู่แข่งเหมือนเดิม แม้ว่าจะมีมาร์เกตแชร์รวมกันมากขึ้น แต่ในแง่ของกลุ่มลูกค้าไม่มีผลกระทบ เนื่องจากทุกวันนี้คนดูหนังจะเลือกที่โลเคชั่นเป็นหลัก โดยเฉพาะเอสเอฟมีจุดแข็งตรงที่ทุกสาขาล้วนแต่เป็น Location Strategic โดยเฉพาะสาขาที่เอ็มบีเคยังคงเป็นสาขาที่มีอัตราการเข้าชมเฉลี่ย 40% สูงที่สุดในตลาดเมืองไทย นอกจากนั้นแม้ว่าจะเป็นรายใหญ่มีส่วนแบ่งมากที่สุด แต่ก็ยังคงต้องดำเนินธุรกิจภายใต้กฎกติกาที่มีอยู่ คงไม่ถึงกับจะไปกำหนดอะไรได้ทุกอย่าง หรือแม้แต่การมีอำนาจต่อรองกับค่ายเจ้าของหนัง เพราะว่าทุกคนล้วนมีต้นทุนทั้งนั้น
สำหรับแผนการลงทุนของเอสเอฟมีต่อเนื่อง ซึ่งในปีหน้ามีโครงการใหญ่ที่เตรียมลงทุนหลายแห่ง รวมทั้งการเร่งนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น ปีที่แล้วเอสเอฟมีรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท มีแชร์ประมาณ 26-28% คาดว่าปีนี้จะเติบโต 20%