รอยเตอร์ / เอเอฟพี - รายงานล่าสุดระบุ ชาวญี่ปุ่นอายุยืนเกินร้อยปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นเท่าตัว ขณะที่ประชากรแดนปลาดิบอีกเกือบ 1 ใน 5 มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยตัวเลขดังกล่าวอาจพุ่งเป็นร้อยละ 25 ในอีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้า
สำนักคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นเปิดเผยรายงานวานนี้ (8) ระบุว่า จากการสำรวจจำนวนประชากรถึงต้นเดือนตุลาคมปีก่อน พบว่า พลเมืองแดนปลาดิบ 24.31 ล้านคน หรือร้อยละ 19 จากประชากรทั้งหมด 127.62 ล้านคน มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ในจำนวนนี้ เป็นเพศชายถึง 10.26 ล้านคน ซึ่งนับเป็นการเพิ่มเกินหลัก 10 ล้านเป็นครั้งแรก
รายงานดังกล่าวเตือนว่า ตัวเลขชาวญี่ปุ่นที่มีอายุเกิน 65 ปี จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ อาจสูงถึงร้อยละ 26 ในปี 2015 และร้อยละ 35.7 ในปี 2050
นอกจากนี้ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 1998 ชาวญี่ปุ่นที่อายุยืนเกินร้อยปียังมีเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว โดยตัวเลขดังกล่าวเพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 20,561 คน ในจำนวนนี้เป็นเพศหญิง 85 เปอร์เซ็นต์ หรือ 17,402 คน
สำหรับปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนประชากรแดนปลาดิบมีอายุยืนมากขึ้นคือ การพัฒนาด้านโภชนาการและการให้บริการทางการแพทย์ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่มีประชากรอายุยืนที่สุดในโลก โดยอายุเฉลี่ยของเพศชายอยู่ที่ 78.07 ปี ส่วนเพศหญิงอยู่ที่ 84.93 ปี
อย่างไรก็ดี จากจำนวนผู้สูงอายุที่ผกผันกับอัตราเด็กเกิดใหม่ซึ่งลดลง ทำให้บางคนคาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 ตัวเลขชาวญี่ปุ่นอายุ 65 ปีขึ้นไป เมื่อเทียบกับประชากรวัยทำงานจะอยู่ที่ 1 ต่อ 2 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สูงกว่าชาติอุตสาหกรรมอื่นๆทั่วโลก
และนั่น อาจเพิ่มความหวาดวิตกให้กับวัยรุ่นที่ต้องจ่ายเงินเข้าสู่ระบบเบี้ยบำนาญของรัฐ เนื่องจากพวกเขาอาจได้รับผลประโยชน์ที่ลดลงมากเมื่อถึงวัยปลดเกษียณ
ทั้งนี้ นโยบายเบี้ยบำนาญยังอาจกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคมนี้ หลังจากเมื่อวันเสาร์ (5) รัฐสภาญี่ปุ่นเพิ่งประกาศใช้กฎหมายปฎิรูปเบี้ยบำนาญ ที่ระบุให้มีการจ่ายเงินเข้ากองทุนของรัฐเพิ่มขึ้น แต่ปรับลดผลประโยชน์ที่ให้กับประชาชน ท่ามกลางการประท้วงจากฝ่ายค้านที่ต้องการให้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวมากกว่าในปัจจุบัน
สำนักคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นเปิดเผยรายงานวานนี้ (8) ระบุว่า จากการสำรวจจำนวนประชากรถึงต้นเดือนตุลาคมปีก่อน พบว่า พลเมืองแดนปลาดิบ 24.31 ล้านคน หรือร้อยละ 19 จากประชากรทั้งหมด 127.62 ล้านคน มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ในจำนวนนี้ เป็นเพศชายถึง 10.26 ล้านคน ซึ่งนับเป็นการเพิ่มเกินหลัก 10 ล้านเป็นครั้งแรก
รายงานดังกล่าวเตือนว่า ตัวเลขชาวญี่ปุ่นที่มีอายุเกิน 65 ปี จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ อาจสูงถึงร้อยละ 26 ในปี 2015 และร้อยละ 35.7 ในปี 2050
นอกจากนี้ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 1998 ชาวญี่ปุ่นที่อายุยืนเกินร้อยปียังมีเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว โดยตัวเลขดังกล่าวเพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 20,561 คน ในจำนวนนี้เป็นเพศหญิง 85 เปอร์เซ็นต์ หรือ 17,402 คน
สำหรับปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนประชากรแดนปลาดิบมีอายุยืนมากขึ้นคือ การพัฒนาด้านโภชนาการและการให้บริการทางการแพทย์ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่มีประชากรอายุยืนที่สุดในโลก โดยอายุเฉลี่ยของเพศชายอยู่ที่ 78.07 ปี ส่วนเพศหญิงอยู่ที่ 84.93 ปี
อย่างไรก็ดี จากจำนวนผู้สูงอายุที่ผกผันกับอัตราเด็กเกิดใหม่ซึ่งลดลง ทำให้บางคนคาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 ตัวเลขชาวญี่ปุ่นอายุ 65 ปีขึ้นไป เมื่อเทียบกับประชากรวัยทำงานจะอยู่ที่ 1 ต่อ 2 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สูงกว่าชาติอุตสาหกรรมอื่นๆทั่วโลก
และนั่น อาจเพิ่มความหวาดวิตกให้กับวัยรุ่นที่ต้องจ่ายเงินเข้าสู่ระบบเบี้ยบำนาญของรัฐ เนื่องจากพวกเขาอาจได้รับผลประโยชน์ที่ลดลงมากเมื่อถึงวัยปลดเกษียณ
ทั้งนี้ นโยบายเบี้ยบำนาญยังอาจกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคมนี้ หลังจากเมื่อวันเสาร์ (5) รัฐสภาญี่ปุ่นเพิ่งประกาศใช้กฎหมายปฎิรูปเบี้ยบำนาญ ที่ระบุให้มีการจ่ายเงินเข้ากองทุนของรัฐเพิ่มขึ้น แต่ปรับลดผลประโยชน์ที่ให้กับประชาชน ท่ามกลางการประท้วงจากฝ่ายค้านที่ต้องการให้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวมากกว่าในปัจจุบัน