นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังจากร่วมพิธีเปิดงาน Kunming Fair ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมนานาชาติ มณฑลยูนนาน จัดระหว่างวันที่ 5-10
มิถุนายน 2547 ว่า ภายหลังจากรัฐบาลไทยและจีนลงนามในข้อตกลงร่วมทางด้านการค้าการลงทุนระหว่างกันเมื่อปีที่ผ่านมา ปัจจุบันการค้าการลงทุนมีความรุดหน้าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดประตูการค้าระหว่างกัน เพื่อระบายสินค้าไปสู่ภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน
ทั้งนี้ มณฑลยูนานไทยมีความได้เปรียบของที่ตั้งภูมิศาสตร์อย่างยิ่ง เนื่องจากมีความสะดวกในการขนส่งทั้งทางรถยนต์ ทางน้ำ และทางอากาศ ทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศ การค้าชายแดนผ่านแม่น้ำโขง ซึ่งจะเกิดความเชื่อมโยงและความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมและการค้าในสินค้าต่างๆ
มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยว ถ้าร่วมมือสร้างเครือข่ายระหว่างกัน จะช่วยให้เป็นศูนย์กลาง
การท่องเที่ยวของภูมิภาค และจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องตามมาเช่น โรงแรม ร้านอาหาร ธุรกิจบริการอื่นๆ
นอกจากนี้การเติบโตของอุตสาหกรรมของไทยและการลงทุนของไทยในยูนาน จากสำนักงานส่งเสริมการลงทุนยูนาน (Yunan Foreign Trade & Economic) CCPIT ระบุว่าปัจจุบันมีบริษัท คนไทยลงทุนในยูนานทั้งสิ้น 126 บริษัทเป็นเงินลงทุนรวม 160 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 30% ตั้งอยู่ในนครคุนหมิง
ส่วนใหญ่ลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร และยูนานยังมีศักยภาพที่จะรองรับการลงทุนจากไทยในด้านระบบสาธารณูปโภค ร้านอาหาร ศูนย์สุขภาพ ศูนย์กระจายสินค้า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่นสวนสนุก
"คาดว่าในปีหน้าหากมีความร่วมมือเปิดเส้นทางการบินสายใหม่ อาทิ กรุงเทพ-หนานหนิง และเมืองธุรกิจหัวเมืองทุกเมือง และบรรลุข้อตกลงการค้าที่เอื้อต่อกันทำให้เกิดความการร่วมมือการลงทุนสะดวกยิ่งขึ้น
ในปี 2548 มูลค่าการลงทุนน่าจะเกินกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งจะเพิ่มรายได้จากยอดนักท่องเที่ยวที่มายูนนาน และไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 12 ล้านคนต่อปีและยูนนาน 1 ล้านคน" นายพินิจกล่าว
อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีนโยบายพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน จะได้รับสิทธิประโยชน์ของ BOI ไทยได้เปิดกว้างที่สุดในบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไม่มีเงื่อนไขด้านการส่งออก ไม่มีการจำกัดด้านสัดส่วนผู้ถือหุ้นของชาวต่างชาติในกิจการด้านการผลิต ไม่มีข้อจำกัดด้านการใช้วัตถุดิบในประเทศ รวมทั้งไม่มีข้อห้ามด้านที่ตั้งโรงงาน ยกเว้นกิจการที่ต้องควบคุมปัญหาด้านมลภาวะ ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ BOI ให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ คือการลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ โดยเฉพาะโรงงานที่ตั้งในเขต 3 จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด และหากเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องการวิจัย การพัฒนาทักษะ การพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมจะได้สิทธิประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมขึ้นอีก
สำหรับการลงทุนของยูนนานที่ลงทุนในไทยคือ China Southwest Airline และ China
Yunnan Arilines โดยทั้งสองบริษัทเป็นธุรกิจด้านการบินและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ซึ่งอุตสาหกรรมเชียงแสนซึ่งเป็นนิคมในประเทศไทยสำหรับชาวจีนโดยเฉพาะและจะดำเนินการก่อสร้างภายในสิ้นปี 2547 จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ได้อย่างดีว่าในอนาคตจะมีบริษัทชาวจีนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
นายศิวะกร วรวุฒ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้า บ.มณีต้าหมิง จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยได้สิทธิพิเศษจากทางการจีนอย่างมาก โดยทางการจีนให้ไทยเช่าอาคารพาณิชย์ พื้นที่ 6 พันตารางเมตร เพื่อทำศูนย์กระจายสินค้า เชื่อมต่อระหว่างจีนและภูมิภาคอาเซียน โดยจะเป็นศูนย์กลางเพื่อให้นักธุรกิจไทย นำสินค้ามาแสดงและติดต่อกับลูกค้าโดยตรง คิดค่าบริการให้เช่าตารางเมตรละ 180 บาท และจะเปิดให้บริการได้ทันที ในหนึ่งเดือนข้างหน้า
ด้าน Mr.Niu Shaoyao Vice Chaiman รองประธานสภาประชาชนมณฑลยูนนาน
กล่าวเสริมว่า ไทยเป็นคู่ค้าที่สำคัญกับจีน และมีการลงทุนในปี 2003 ยอดการค้าระหว่างไทยกับยูนนาน ประมาณ 87 ล้านสหรัฐอเมริกา โครงการลงทุนของนักลงทุนไทยในยูนนาน123 โครงการ มูลค่า 127 ล้านเหรียญการสร้างเขตเสรีการค้าจีนกับอาเซียนจะการพัฒนา ยูนนานให้มีบทบาทพิเศษในการสร้างเขตการค้าเสรีระหว่างจีนกับอาเซียน มีเงื่อนไขที่จะเปิดประเทศในการพัฒนาภาคตะวันตกของจีน ได้ตั้งยุทธศาตร์มณฑลยูนนานเป็นเศรษฐกิจสีเขียว จะเชื่อม ใบยาสูบ แร่ธาตุ ท่องเที่ยว ไฟฟ้า เทคโนโลยีชีวภาพ พลังงานใหม่
เชื่อมั่นว่าการพัฒนาภาคตะวันตกและการสร้างการค้าเสรีอาเซียน จะพัฒนาเร็วขึ้น เพราะยินดีต้อนรับนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในยูนนาน
มณฑลยูนนานได้เปิดประตูไปสู่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 4 ประเทศ โดยใช้แม่น้ำโขงเปิดท่าเรือจิ่งหง เพื่อลำเลียงขนส่งทางน้ำไปยังไทย พม่า ลาว นี่คือความสำเร็จ การเปิดเส้นทางบกจากคุนหมิงไปพม่า คุนหมิง-เชียงรุ้ง ไปรัฐฉาน และไปถึงเชียงราย ทำให้ประสบความสำเร็จในการขนส่งไปถึงมะละกา สิงคโปร์ ย้อนกลับลาว นี่คือความสำเร็จของความร่วมมือ ซึ่งในอนาคตจะเกิดเส้นทางการค้าและท่องเทียว
และจะทำให้เกิดเส้นทางต่อประเทศต่อประเทศ
มิถุนายน 2547 ว่า ภายหลังจากรัฐบาลไทยและจีนลงนามในข้อตกลงร่วมทางด้านการค้าการลงทุนระหว่างกันเมื่อปีที่ผ่านมา ปัจจุบันการค้าการลงทุนมีความรุดหน้าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดประตูการค้าระหว่างกัน เพื่อระบายสินค้าไปสู่ภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน
ทั้งนี้ มณฑลยูนานไทยมีความได้เปรียบของที่ตั้งภูมิศาสตร์อย่างยิ่ง เนื่องจากมีความสะดวกในการขนส่งทั้งทางรถยนต์ ทางน้ำ และทางอากาศ ทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศ การค้าชายแดนผ่านแม่น้ำโขง ซึ่งจะเกิดความเชื่อมโยงและความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมและการค้าในสินค้าต่างๆ
มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยว ถ้าร่วมมือสร้างเครือข่ายระหว่างกัน จะช่วยให้เป็นศูนย์กลาง
การท่องเที่ยวของภูมิภาค และจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องตามมาเช่น โรงแรม ร้านอาหาร ธุรกิจบริการอื่นๆ
นอกจากนี้การเติบโตของอุตสาหกรรมของไทยและการลงทุนของไทยในยูนาน จากสำนักงานส่งเสริมการลงทุนยูนาน (Yunan Foreign Trade & Economic) CCPIT ระบุว่าปัจจุบันมีบริษัท คนไทยลงทุนในยูนานทั้งสิ้น 126 บริษัทเป็นเงินลงทุนรวม 160 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 30% ตั้งอยู่ในนครคุนหมิง
ส่วนใหญ่ลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร และยูนานยังมีศักยภาพที่จะรองรับการลงทุนจากไทยในด้านระบบสาธารณูปโภค ร้านอาหาร ศูนย์สุขภาพ ศูนย์กระจายสินค้า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่นสวนสนุก
"คาดว่าในปีหน้าหากมีความร่วมมือเปิดเส้นทางการบินสายใหม่ อาทิ กรุงเทพ-หนานหนิง และเมืองธุรกิจหัวเมืองทุกเมือง และบรรลุข้อตกลงการค้าที่เอื้อต่อกันทำให้เกิดความการร่วมมือการลงทุนสะดวกยิ่งขึ้น
ในปี 2548 มูลค่าการลงทุนน่าจะเกินกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งจะเพิ่มรายได้จากยอดนักท่องเที่ยวที่มายูนนาน และไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 12 ล้านคนต่อปีและยูนนาน 1 ล้านคน" นายพินิจกล่าว
อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีนโยบายพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน จะได้รับสิทธิประโยชน์ของ BOI ไทยได้เปิดกว้างที่สุดในบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไม่มีเงื่อนไขด้านการส่งออก ไม่มีการจำกัดด้านสัดส่วนผู้ถือหุ้นของชาวต่างชาติในกิจการด้านการผลิต ไม่มีข้อจำกัดด้านการใช้วัตถุดิบในประเทศ รวมทั้งไม่มีข้อห้ามด้านที่ตั้งโรงงาน ยกเว้นกิจการที่ต้องควบคุมปัญหาด้านมลภาวะ ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ BOI ให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ คือการลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ โดยเฉพาะโรงงานที่ตั้งในเขต 3 จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด และหากเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องการวิจัย การพัฒนาทักษะ การพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมจะได้สิทธิประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมขึ้นอีก
สำหรับการลงทุนของยูนนานที่ลงทุนในไทยคือ China Southwest Airline และ China
Yunnan Arilines โดยทั้งสองบริษัทเป็นธุรกิจด้านการบินและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ซึ่งอุตสาหกรรมเชียงแสนซึ่งเป็นนิคมในประเทศไทยสำหรับชาวจีนโดยเฉพาะและจะดำเนินการก่อสร้างภายในสิ้นปี 2547 จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ได้อย่างดีว่าในอนาคตจะมีบริษัทชาวจีนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
นายศิวะกร วรวุฒ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้า บ.มณีต้าหมิง จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยได้สิทธิพิเศษจากทางการจีนอย่างมาก โดยทางการจีนให้ไทยเช่าอาคารพาณิชย์ พื้นที่ 6 พันตารางเมตร เพื่อทำศูนย์กระจายสินค้า เชื่อมต่อระหว่างจีนและภูมิภาคอาเซียน โดยจะเป็นศูนย์กลางเพื่อให้นักธุรกิจไทย นำสินค้ามาแสดงและติดต่อกับลูกค้าโดยตรง คิดค่าบริการให้เช่าตารางเมตรละ 180 บาท และจะเปิดให้บริการได้ทันที ในหนึ่งเดือนข้างหน้า
ด้าน Mr.Niu Shaoyao Vice Chaiman รองประธานสภาประชาชนมณฑลยูนนาน
กล่าวเสริมว่า ไทยเป็นคู่ค้าที่สำคัญกับจีน และมีการลงทุนในปี 2003 ยอดการค้าระหว่างไทยกับยูนนาน ประมาณ 87 ล้านสหรัฐอเมริกา โครงการลงทุนของนักลงทุนไทยในยูนนาน123 โครงการ มูลค่า 127 ล้านเหรียญการสร้างเขตเสรีการค้าจีนกับอาเซียนจะการพัฒนา ยูนนานให้มีบทบาทพิเศษในการสร้างเขตการค้าเสรีระหว่างจีนกับอาเซียน มีเงื่อนไขที่จะเปิดประเทศในการพัฒนาภาคตะวันตกของจีน ได้ตั้งยุทธศาตร์มณฑลยูนนานเป็นเศรษฐกิจสีเขียว จะเชื่อม ใบยาสูบ แร่ธาตุ ท่องเที่ยว ไฟฟ้า เทคโนโลยีชีวภาพ พลังงานใหม่
เชื่อมั่นว่าการพัฒนาภาคตะวันตกและการสร้างการค้าเสรีอาเซียน จะพัฒนาเร็วขึ้น เพราะยินดีต้อนรับนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในยูนนาน
มณฑลยูนนานได้เปิดประตูไปสู่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 4 ประเทศ โดยใช้แม่น้ำโขงเปิดท่าเรือจิ่งหง เพื่อลำเลียงขนส่งทางน้ำไปยังไทย พม่า ลาว นี่คือความสำเร็จ การเปิดเส้นทางบกจากคุนหมิงไปพม่า คุนหมิง-เชียงรุ้ง ไปรัฐฉาน และไปถึงเชียงราย ทำให้ประสบความสำเร็จในการขนส่งไปถึงมะละกา สิงคโปร์ ย้อนกลับลาว นี่คือความสำเร็จของความร่วมมือ ซึ่งในอนาคตจะเกิดเส้นทางการค้าและท่องเทียว
และจะทำให้เกิดเส้นทางต่อประเทศต่อประเทศ