ศูนย์ข่าวศรีราชา -ทรัพยากรธรรมชาติตราด เผยทะเลตราดในอนาคตอาจประสบปัญหาวิกฤตหนัก หากไม่ควบคุม ระบุสัตว์น้ำลดลง ปะการังถูกทำลาย คุณภาพน้ำแย่ พบพะยูนและโลมาจำนวนลดลง ชี้ผลเสียเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่ไม่มีจิตสำนึก มักง่ายทิ้งของเสียลงทะเล
นายอาทิตย์ ละเอียดดี หัวหน้าสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตราด เปิดเผยว่า จากการสำรวจของนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่าปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติในทะเลอ่าวไทยด้านจังหวัดตราดประสบปัญหาต่างๆ มากมาย เนื่องจากใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ถูกต้องและใช้โดยไม่ควบคุมดูแลจนส่งผลกระทบแก่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในทะเลจังหวัดตราดคือ จำนวนพื้นที่ป่าชายเลนของจังหวัดตราด ซึ่งอยู่เขตอำเภอเมืองอำเภอแหลมงอบ อำเภอเขาสมิง มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2518 จังหวัดมีป่าชายเลน 66,250 ไร่ปี 2536 เหลือ 51,926 ไร่ปี 2538 เหลือ 47,925 ไร่ สาเหตุการเสื่อมโทรมจากการทำไม้ พัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมชายฝั่ง ท่าเทียบเรือ พัฒนาแหล่งเพาะ เลี้ยงสัตว์ น้ำชายฝั่งโดยเฉพาะ การเลี้ยงกุ้งขณะที่ทรัพยากรประมงทางทะเลไทยด้านจังหวัดตราด ที่เคยอุดมสมบูรณ์กำลังเผชิญกับปัญหา พบว่าปลาหน้าดิน เริ่มมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว การใช้เครื่องมือ ทำการประมงอย่างไม่ถูกวิธี การทำลายแหล่งอาศัยและหากินของสัตว์น้ำ การจับปลาจำนวนมากกว่าที่ธรรมชาติผลิตได้ ปัญหาความเสื่อมโทรมและมลพิษทางน้ำ
นายอาทิตย์ กล่าวต่อว่าในปี 2545-2546 กรมควบคุมมลพิษได้ทำการตรวจวัด คุณภาพน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำตราดและปากคลองใหญ่ มีปริมาณของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม ซึ่งอยู่ในอุจจาระของคนมีปริมาณเกินกว่ามาตรฐาน ซึ่งอาจเกิดจากการถ่ายอุจจาระลงน้ำหรือบ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำไม่มีส้วมหรือมีแต่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจเกิดปัญหาท้องร่วงอย่างรุนแรง
ดังนั้นชุมชนบ้านและกลุ่มประมงที่อยู่ริมน้ำควรสร้างส้วมที่ถูกหลักให้ครบทุกหลังคาเรือน ขณะเดียวกันก็พบขยะลอยน้ำ คราบน้ำมันมากที่บริเวณชุมชนหนาแน่น ท่าเทียบเรือประมง หาดทราย ส่วนหนึ่งเกิดจากการเดินเรือ
ส่วนปลาพะยูนและโลมา สัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในทะเลจังหวัดตราด มีจำนวนลดลง สาเหตุเกิดจากการถูกล่าและฆ่าโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจในจังหวัดตราด ยังพบพะยูนและโลมา บริเวณตั้งแต่อำเภอเมืองไปจนถึงอำเภอคลองใหญ่ จากการสำรวจเมื่อเดือนมกราคม 2547 โดยใช้เครื่องบินพบพะยูนจำนวน 10 ตัว โลมา 30 ตัว บริเวณตำบลไม้รูด
ประการสำคัญที่สุดปะการังในทะเลตราดถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ซึ่งในจังหวัดตราดถือได้ว่ามีความสมบูรณ์ที่สุดในภาคตะวันออก ประมาณร้อยละ 50 อยู่บริเวณหมู่เกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก และเกาะกระดาด ประโยชน์ของแนวปะการังคือ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและเป็นแหล่งอาหาร สาเหตุที่ทำให้แนวปะการังถูกทำลายได้แก่การจับสัตว์น้ำในแนวปะการังอย่างผิดวิธี การใช้ระเบิดใช้สารเคมีและสารเบื่อเมา การเก็บปะการังนำไปขายให้นักท่องเที่ยว การทิ้งสมอเรือทำให้แนวปะการังเสียหาย จึงจำเป็นจะต้องมีการควบคุมดูแลให้มากที่สุดก่อนที่ทรัพยากรเหล่านี้จะถูกทำลายจากน้ำมือของผู้ประกอบการ ประชาชนและชาวประมง รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่ไม่มีจิตสำนึกในเรื่องนี้
นายอาทิตย์ ละเอียดดี หัวหน้าสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตราด เปิดเผยว่า จากการสำรวจของนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่าปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติในทะเลอ่าวไทยด้านจังหวัดตราดประสบปัญหาต่างๆ มากมาย เนื่องจากใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ถูกต้องและใช้โดยไม่ควบคุมดูแลจนส่งผลกระทบแก่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในทะเลจังหวัดตราดคือ จำนวนพื้นที่ป่าชายเลนของจังหวัดตราด ซึ่งอยู่เขตอำเภอเมืองอำเภอแหลมงอบ อำเภอเขาสมิง มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2518 จังหวัดมีป่าชายเลน 66,250 ไร่ปี 2536 เหลือ 51,926 ไร่ปี 2538 เหลือ 47,925 ไร่ สาเหตุการเสื่อมโทรมจากการทำไม้ พัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมชายฝั่ง ท่าเทียบเรือ พัฒนาแหล่งเพาะ เลี้ยงสัตว์ น้ำชายฝั่งโดยเฉพาะ การเลี้ยงกุ้งขณะที่ทรัพยากรประมงทางทะเลไทยด้านจังหวัดตราด ที่เคยอุดมสมบูรณ์กำลังเผชิญกับปัญหา พบว่าปลาหน้าดิน เริ่มมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว การใช้เครื่องมือ ทำการประมงอย่างไม่ถูกวิธี การทำลายแหล่งอาศัยและหากินของสัตว์น้ำ การจับปลาจำนวนมากกว่าที่ธรรมชาติผลิตได้ ปัญหาความเสื่อมโทรมและมลพิษทางน้ำ
นายอาทิตย์ กล่าวต่อว่าในปี 2545-2546 กรมควบคุมมลพิษได้ทำการตรวจวัด คุณภาพน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำตราดและปากคลองใหญ่ มีปริมาณของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม ซึ่งอยู่ในอุจจาระของคนมีปริมาณเกินกว่ามาตรฐาน ซึ่งอาจเกิดจากการถ่ายอุจจาระลงน้ำหรือบ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำไม่มีส้วมหรือมีแต่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจเกิดปัญหาท้องร่วงอย่างรุนแรง
ดังนั้นชุมชนบ้านและกลุ่มประมงที่อยู่ริมน้ำควรสร้างส้วมที่ถูกหลักให้ครบทุกหลังคาเรือน ขณะเดียวกันก็พบขยะลอยน้ำ คราบน้ำมันมากที่บริเวณชุมชนหนาแน่น ท่าเทียบเรือประมง หาดทราย ส่วนหนึ่งเกิดจากการเดินเรือ
ส่วนปลาพะยูนและโลมา สัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในทะเลจังหวัดตราด มีจำนวนลดลง สาเหตุเกิดจากการถูกล่าและฆ่าโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจในจังหวัดตราด ยังพบพะยูนและโลมา บริเวณตั้งแต่อำเภอเมืองไปจนถึงอำเภอคลองใหญ่ จากการสำรวจเมื่อเดือนมกราคม 2547 โดยใช้เครื่องบินพบพะยูนจำนวน 10 ตัว โลมา 30 ตัว บริเวณตำบลไม้รูด
ประการสำคัญที่สุดปะการังในทะเลตราดถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ซึ่งในจังหวัดตราดถือได้ว่ามีความสมบูรณ์ที่สุดในภาคตะวันออก ประมาณร้อยละ 50 อยู่บริเวณหมู่เกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก และเกาะกระดาด ประโยชน์ของแนวปะการังคือ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและเป็นแหล่งอาหาร สาเหตุที่ทำให้แนวปะการังถูกทำลายได้แก่การจับสัตว์น้ำในแนวปะการังอย่างผิดวิธี การใช้ระเบิดใช้สารเคมีและสารเบื่อเมา การเก็บปะการังนำไปขายให้นักท่องเที่ยว การทิ้งสมอเรือทำให้แนวปะการังเสียหาย จึงจำเป็นจะต้องมีการควบคุมดูแลให้มากที่สุดก่อนที่ทรัพยากรเหล่านี้จะถูกทำลายจากน้ำมือของผู้ประกอบการ ประชาชนและชาวประมง รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่ไม่มีจิตสำนึกในเรื่องนี้