เอเอฟพี – มาเลเซียเล็งสร้างเทอร์มินอลใหม่ เพื่อก้าวขึ้นเป็นฮับสายการบินต้นทุนต่ำแห่งภูมิภาค ตลอดจนถึงให้การสนับสนุนแอร์เอเชียที่เพิ่งผูกพันธมิตรด้านขนส่งสินค้าทางอากาศกับลุฟท์ฮันซามาสดๆ ร้อนๆ
เฉินกว่างไฉ รัฐมนตรีคมนาคมมาเลเซีย กล่าววานนี้ว่า ทางการกัวลาลัมเปอร์กำลังศึกษาข้อเสนอระหว่างการสร้างอาคารผู้โดยสารสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำในสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลไอเอ) หรือปรับปรุงอาคารเดิมในสนามบินซูบัง
เฉินเสริมว่า รัฐบาลจะตัดสินใจเรื่องดังกล่าวเร็วๆ นี้ และว่าทางการมาเลเซียตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่า จะผลักดันมาเลเซียสู่สถานะศูนย์กลางการบินต้นทุนต่ำแห่งภูมิภาค
รัฐมนตรีคมนาคมแดนเสือเหลืองยังกล่าวอีกว่า ค่าธรรมเนียมการลงจอดของสายการบินต้นทุนต่ำ จะถูกกว่าค่าธรรมเนียมปกติที่เก็บอยู่ขณะนี้ เพื่อรักษาศักยภาพการแข่งขัน
อนึ่ง การเสนอตั้งอาคารผู้โดยสารสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำของมาเลเซีย อาจถือเป็นการท้าทายโดยตรงต่อสนามบินชางงีของสิงคโปร์ ที่เป็นที่คาดหมายว่าจะเป็นที่ตั้งฐานการดำเนินงานของสายการบินต้นทุนต่ำใหม่ 3 แห่ง
การแถลงของเฉินยังมีขึ้นหลังร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามข้อตกลงบริหารธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศระยะเวลา 3 ปี ระหว่างแอร์เอเชีย สายการบินต้นทุนต่ำของมาเลเซีย กับคาร์โก เคาท์ บริษัทในเครือที่ลุฟท์ฮันซา สายการบินชั้นนำของเยอรมนี ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว
เฉินระบุว่า การร่วมเป็นพันธมิตรดังกล่าว ถือเป็นพัฒนาการสำคัญที่สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการผลักดันมาเลเซียก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการบินประจำภูมิภาค
ด้านจอร์จ มิดันสกี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่คาร์โก เคาท์ เสริมว่า ข้อตกลงซึ่งจะมีผลตั้งแต่เดือนกันยายนที่จะถึง ถือเป็นการเจาะตลาดเอเชียครั้งแรกผ่านทางเคแอลไอเอ และฮับของแอร์เอเชียที่สนามบินซีไนในรัฐยะโฮร์ ที่อยู่ติดกับสิงคโปร์
เขายังบอกว่า แผนการนี้จะไม่กระทบการดำเนินงานของลุฟท์ฮันซา คาร์โกในสิงคโปร์ เนื่องจากลุฟท์ฮันซาไม่มีแผนโอนย้ายปฏิบัติการขนส่งสินค้าจากสิงคโปร์ไปยังซีไน
ทางฝ่ายประธานบริหารแอร์เอเชีย โทนี่ เฟอร์นันเดซ กล่าวว่า การรุกสู่ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ ถือเป็นการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องบิน และเพิ่มรายได้ เพื่อที่ว่าบริษัทจะสามารถคงบริการราคาประหยัดไว้ได้ต่อไป ท่ามกลางภาวะน้ำมันแพง
เฟอร์นันเดซยังชื่นชมการตัดสินใจของรัฐบาลมาเลเซีย ในการตั้งอาคารผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต่ำ และบอกว่า แอร์เอเชียต้องการดำเนินการอยู่ในซูบังมากกว่า เนื่องจากสามารถประหยัดต้นทุนได้มากกว่า
ขณะที่ราชา โมฮัมหมัด อัซมี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของแอร์เอเชีย ยืนยันว่าไม่กังวลเรื่องการแข่งขันกับสายการบินต้นทุนต่ำอื่นๆ หลังจากอาคารผู้โดยสารที่ทางการกัวลาลัมเปอร์จะสร้างขึ้นใหม่เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากเริ่มต้นธุรกิจก่อนจึงถือว่าได้เปรียบคู่แข่ง
อัซมีเสริมว่า แอร์เอเชียมีแผนขยายเส้นทางบินไปยังจีนในปีนี้ หลังเปิดเที่ยวบินไปมาเก๊าสดๆ ร้อนๆ เดือนนี้ พร้อมคาดว่าจะสามารถให้บริการลูกค้าประมาณ 5 ล้านคนในปี 2004
ปัจจุบัน แอร์เอเชียที่เริ่มก่อตั้งเมื่อ 3 ปีก่อน เปิดบริการเส้นทางบินสู่อินโดนีเซีย ไทย บรูไน และสิงคโปร์ โดยมีแผนเพิ่มฝูงบินจาก 17 ลำ เป็น 36 ลำในปีหน้า โดยการระดมทุนผ่านการทำไอพีโอในเดือนกันยายนที่จะถึง
เฉินกว่างไฉ รัฐมนตรีคมนาคมมาเลเซีย กล่าววานนี้ว่า ทางการกัวลาลัมเปอร์กำลังศึกษาข้อเสนอระหว่างการสร้างอาคารผู้โดยสารสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำในสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลไอเอ) หรือปรับปรุงอาคารเดิมในสนามบินซูบัง
เฉินเสริมว่า รัฐบาลจะตัดสินใจเรื่องดังกล่าวเร็วๆ นี้ และว่าทางการมาเลเซียตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่า จะผลักดันมาเลเซียสู่สถานะศูนย์กลางการบินต้นทุนต่ำแห่งภูมิภาค
รัฐมนตรีคมนาคมแดนเสือเหลืองยังกล่าวอีกว่า ค่าธรรมเนียมการลงจอดของสายการบินต้นทุนต่ำ จะถูกกว่าค่าธรรมเนียมปกติที่เก็บอยู่ขณะนี้ เพื่อรักษาศักยภาพการแข่งขัน
อนึ่ง การเสนอตั้งอาคารผู้โดยสารสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำของมาเลเซีย อาจถือเป็นการท้าทายโดยตรงต่อสนามบินชางงีของสิงคโปร์ ที่เป็นที่คาดหมายว่าจะเป็นที่ตั้งฐานการดำเนินงานของสายการบินต้นทุนต่ำใหม่ 3 แห่ง
การแถลงของเฉินยังมีขึ้นหลังร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามข้อตกลงบริหารธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศระยะเวลา 3 ปี ระหว่างแอร์เอเชีย สายการบินต้นทุนต่ำของมาเลเซีย กับคาร์โก เคาท์ บริษัทในเครือที่ลุฟท์ฮันซา สายการบินชั้นนำของเยอรมนี ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว
เฉินระบุว่า การร่วมเป็นพันธมิตรดังกล่าว ถือเป็นพัฒนาการสำคัญที่สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการผลักดันมาเลเซียก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการบินประจำภูมิภาค
ด้านจอร์จ มิดันสกี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่คาร์โก เคาท์ เสริมว่า ข้อตกลงซึ่งจะมีผลตั้งแต่เดือนกันยายนที่จะถึง ถือเป็นการเจาะตลาดเอเชียครั้งแรกผ่านทางเคแอลไอเอ และฮับของแอร์เอเชียที่สนามบินซีไนในรัฐยะโฮร์ ที่อยู่ติดกับสิงคโปร์
เขายังบอกว่า แผนการนี้จะไม่กระทบการดำเนินงานของลุฟท์ฮันซา คาร์โกในสิงคโปร์ เนื่องจากลุฟท์ฮันซาไม่มีแผนโอนย้ายปฏิบัติการขนส่งสินค้าจากสิงคโปร์ไปยังซีไน
ทางฝ่ายประธานบริหารแอร์เอเชีย โทนี่ เฟอร์นันเดซ กล่าวว่า การรุกสู่ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ ถือเป็นการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องบิน และเพิ่มรายได้ เพื่อที่ว่าบริษัทจะสามารถคงบริการราคาประหยัดไว้ได้ต่อไป ท่ามกลางภาวะน้ำมันแพง
เฟอร์นันเดซยังชื่นชมการตัดสินใจของรัฐบาลมาเลเซีย ในการตั้งอาคารผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต่ำ และบอกว่า แอร์เอเชียต้องการดำเนินการอยู่ในซูบังมากกว่า เนื่องจากสามารถประหยัดต้นทุนได้มากกว่า
ขณะที่ราชา โมฮัมหมัด อัซมี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของแอร์เอเชีย ยืนยันว่าไม่กังวลเรื่องการแข่งขันกับสายการบินต้นทุนต่ำอื่นๆ หลังจากอาคารผู้โดยสารที่ทางการกัวลาลัมเปอร์จะสร้างขึ้นใหม่เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากเริ่มต้นธุรกิจก่อนจึงถือว่าได้เปรียบคู่แข่ง
อัซมีเสริมว่า แอร์เอเชียมีแผนขยายเส้นทางบินไปยังจีนในปีนี้ หลังเปิดเที่ยวบินไปมาเก๊าสดๆ ร้อนๆ เดือนนี้ พร้อมคาดว่าจะสามารถให้บริการลูกค้าประมาณ 5 ล้านคนในปี 2004
ปัจจุบัน แอร์เอเชียที่เริ่มก่อตั้งเมื่อ 3 ปีก่อน เปิดบริการเส้นทางบินสู่อินโดนีเซีย ไทย บรูไน และสิงคโปร์ โดยมีแผนเพิ่มฝูงบินจาก 17 ลำ เป็น 36 ลำในปีหน้า โดยการระดมทุนผ่านการทำไอพีโอในเดือนกันยายนที่จะถึง