บทความนี้ออกก่อนวันวิสาขบูชาหนึ่งวัน วันวิสาขะปีนี้ตรงกับวันพุธที่2 เดือนนี้ เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็นวันที่พระบรมศาสดาประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
เป็นที่น่าเสียดายว่าพุทธประวัติที่เราเรียนรู้ถ่ายทอดกันมานั้น ไม่ได้เน้นในพระอัจฉริยะสำคัญด้านหนึ่งของพระพุทธองค์
แท้ที่จริงแล้วส่วนหนึ่งของพุทธประวัติเป็นเรื่องราวของการต่อสู้กับลัทธิพราหมณ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมของสังคมในชมพูทวีปยุคโบราณ
ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่แบ่งแยกชนชั้นในสังคมอย่างแน่นหนาและมั่นคง แบ่งออกเป็นสี่วรรณะ ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร ซึ่งแบ่งแยกอย่างขึงตึง
สี่วรรณะนี้แบ่งออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งเป็นวรรณะขาวคือชนชั้นปกครอง ได้แก่กษัตริย์และพราหมณ์ อีกพวกหนึ่งเป็นวรรณะดำ ซึ่งได้แก่พวกแพศย์ และศูทร
ตามพุทธประวัติที่เราเล่าเรียนกันมา สอนว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ พระชนมายุได้ 29 พรรษา ได้มีพระชายาและมีพระโอรสแล้ว พระราชบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ปลูกปราสาทให้ประทับสามหลังสำหรับสามฤดู เพื่อให้ได้ทรงเพลิดเพลินในกามสุข
ครั้งหนึ่งเสด็จออกนอกพระราชวัง เทวดามาเนรมิตให้เห็นภาพคนเกิด อีกครั้งหนึ่งก็เนรมิตให้เห็นภาพคนแก่ ครั้งที่สามเป็นภาพคนเจ็บ และครั้งสุดท้ายเทวดาเนรมิตให้เห็นภาพคนตาย เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นจริงของชีวิตเช่นนั้นแล้ว จึงสลดพระทัยเสด็จออกบรรพชา
เรื่องเช่นนี้ ทำให้เกิดข้อชวนสงสัยว่า เจ้าชายสิทธัตถะเจริญพระชันษาถึง 29 พรรษา ไม่รู้ว่าคนเกิดอย่างไรได้หรือ ! อย่างน้อยก็ต้องรู้ว่าพระราหุลพระราชโอรสประสูติอย่างไร ! ความแก่ก็เหมือนกัน พระพุทธบิดานั้นก็คงเป็นความแก่ที่ทรงพบเห็นเป็นประจำอยู่แล้ว ! แล้วพระญาติวงษ์ไม่มีใครเคยเจ็บเคยตายกันบ้างหรืออย่างไร !
แต่แท้ที่จริงความเกิดแก่เจ็บและตายที่ทรงเคยพบเห็นนั้น เป็นความเกิดแก่เจ็บตายของคนในวรรณะกษัตริย์ ซึ่งห้อมล้อมด้วยความสุขสมบูรณ์ทุกประการ
แต่ภาพที่พระองค์ได้ทรงเห็นเมื่อเสด็จประพาสออกไปนอกพระราชวัง เป็นความเกิดความแก่ความเจ็บและความตายของคนวรรณะต่ำ ที่เกิดแก่เจ็บตายอยู่ข้างทางที่เสด็จผ่านไป จึงเป็นภาพที่แตกต่างกับที่พระองค์ทรงได้เคยเห็นมา จึงสลดพระทัย ลอบเสด็จหนีออกบรรพชา
ตามพุทธประวัติเล่าไว้ว่า เมื่อเสด็จหนีออกมาแล้ว ได้ตัดพระเกศามอบให้นายฉันนะมาถวายพระพุทธบิดา นี่แสดงว่าทรงตัดพระเกศา เป็นการตัดขาดจากวรรณะกษัตริย์โดยเด็ดขาดแล้ว
คนวรรณะขาวซึ่งเป็นวรรณะสูงทั้งกษัตริย์และพราหมณ์ ต่างไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวย การตัดพระเกศาแสดงว่าพระองค์ได้ตัดสินพระทัย ตัดขาดจากวรรณะกษัตริย์โดยสิ้นเชิง !
ต่อมาเมื่อพระพุทธองค์ทรงตั้งคณะสงฆ์เป็นสมณะในศาสนาของพระองค์ ก็ทรงกำหนดให้สมณะในพระศาสนานี้โกนศีรษะให้โล้นเกลี้ยง ผิดกับพวกพราหมณ์ซึ่งไว้ผมยาว
เรื่องนี้พวกพราหมณ์ดูหมิ่นมาก ถึงกับเรียกขาน ปรากฎในพระไตรปิฎกหลายตอนว่า “พวกภิกษุศีรษะโล้น !”
พระพุทธองค์ทรงตั้งพระทัยให้พระภิกษุซึ่งเป็นสมณะในพระศาสนาของพระองค์ แตกต่างกับพวกพราหมณ์อย่างสิ้นเชิง
พวกพราหมณ์แต่งกายด้วยการนุ่งขาวห่มขาว ก็ทรงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุไปเก็บผ้าบังสุกุล คือผ้าห่อศพ เอามาย้อมสีกรักแล้วตัดเย็บเป็นไตรจีวรเพื่อหุ้มห่อร่างกาย
พราหมณ์ถือเพศครองเรือน มีลูกเมีย มีสมบัติพัสถานได้ ก็ทรงกำหนดให้สมณะในศาสนาของพระองค์ถือเพศพรหมจรรย์ ไม่มีลูกไม่มีเมีย ไม่อยู่บ้าน อยู่โคนไม้ ไม่สะสมสมบัติ เป็นพวกภิกขาจาร คือขอเขากิน จึงได้เชื่อว่าเป็นภิกษุ
ครั้งหนึ่งพระเทวทัต ทูลขอให้ทรงมีพระพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุฉันมังสวิรัติ แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเห็นด้วย ทรงอธิบายว่า คนถือเพศภิกขาจาร คือขอเขากิน จะจู้จี้ไม่กินโน้นไม่กินนี้ไม่ได้ ใครเขาให้อะไรก็ต้องกินทั้งนั้น
พระภิกษุซึ่งเป็นสมณะในพุทธศาสนาจึงไม่ต้องฉันมังสะวิรัติด้วยเหตุดังนี้ !
ในพระไตรปิฎกมีหลายตอนที่พวกพราหมณ์เซ้าซี้ถามพระพุทธองค์ เรื่องใครเป็นพระผู้สร้าง คือใครเป็นผู้สร้างโลก สร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย พระพุทธองค์ทรงตอบอย่างเด็ดขาดและเด็ดเดี่ยวว่า “ไม่รู้ ! “ และ “ไม่เคยคิดปัญหานี้ให้เสียเวลา !”
พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่ไม่มีพระผู้สร้าง หรือพระผู้เป็นเจ้า !
พระพุทธองค์ทรงสามารถอธิบายเรื่องราวต่างๆได้ตามสภาพความเป็นจริง ! ไม่เหมือนคนโบราณทั่วๆไปที่มักหลงงมงายเชื่อถือไปตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา
ในอคัญญสูตร เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบจากสามเณรซึ่งเคยอยู่ในวรรณะพราหมณ์ ถูกพวกพราหมาณ์ด่าทอว่า เคยอยู่ในวรรณสูง พวกพรามหรณ์เกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม พรหมเนรมิตขึ้น มาทิ้งวรรณะเดิม ไปเป็นพวก “สมณะศีรษะโล้น”เสียแล้ว !
พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนสามเณรว่า พวกพราหมณ์ไม่ได้เกิดจากอุระหรือจากปากของพรหม ไม่ใช่พรหมเนรมิตขึ้น พวกพราหมณ์ก็เหมือนบุคคลทั้งหลายทั่วไป เกิดจากช่องคลอดของมารดาด้วยกันทั้งนั้น ! (อัคคัญสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกฉบับหลวง พ.ศ.2525 เล่มที่ 11 หน้า 62)
เรามักเอาเรื่องนิทานมาเป็นเรื่องกลบความหมายอันสำคัญที่แท้จริงของเรื่องราวไปก็มี !
ผู้ที่เคยผ่านพิธีหรือได้เห็นพิธีอุปสมบทมาแล้ว จะเห็นได้ว่าพิธีนี้ก็คือการรับสมาชิกใหม่เข้าในประชาคมของสมณะในพระศาสนานั่นเอง
เมื่อพระกรรมวาจาจารย์เอาตัวผู้ขออุปสมบทไปยืนที่ทางเข้าพระอุโบสถ แล้วไต่ถามตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออุปสมบทว่าครบถ้วนหรือไม่ เป็นคนหนีราชการมาบวชหรือเปล่า ? ได้รับอนุญาตจากลูกเมียให้มาบวชแล้วหรือ ? เป็นคนมีโรคติดต่อหรือเปล่า ?
มีคำถามหนึ่งที่ว่า “มนุโสสิ” “เจ้าเป็นมนุษย์หรือเปล่า ?”
เรื่องนี้คนโบราณไม่เข้าใจ ! ก็เห็นอยู่กันต่อหน้าแล้วว่าเป็นมนุษย์ แล้วทำไมจึงต้องมาถามซ้ำกันอีกว่าเป็นมนุษย์หรือเปล่าอีก ?
คนโบราณจึงแต่งเป็นนิทานอธิบายว่า ครั้งหนึ่งมีนาคแปลงร่างเป็นมนุษย์มาบวช ต่อมาจึงจับได้ว่าเป็นสัตว์เดียรัจฉาน แต่ตามนิทานนั้นเล่าว่านาคตนนั้นได้ขอไว้ว่า ขอให้เรียกผู้ขออุปสมบทว่า “นาค”
นิทานเรื่องนี้เป็นคำอธิบายแบบคนโบราณาว่า ทำไมต้องถามคุณสมบัติอีกว่าเป็นมนุษย์หรือเปล่า ทั้งๆที่ก็เห็นเป็นมนุษย์ยืนอยู่ต่อหน้าแล้ว !
แต่คนปัจจุบันต้องมองให้ทะลุแล้วจะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเช่นนี้ ก็เพื่อตอกย้ำว่า สมณะในพระศาสนาของพระองค์ ขอให้เป็นมนุษย์อย่างเดียวก็พอเพียงแล้ว วรรณะชาติตระกูลหามีความสำคัญไม่ !
ในธรรมบท จึงมีพระพุทธวจนะ ว่า
น ชฎาหิ น โคตฺเตน มิใช่เพราะมุนชฎา มิใช่เพราะโคตร
น ชจฺจา โหติ พราหฺมโณมิใช่เพราะกำเนิด (ที่ดี) ที่ทำคนให้เป็นพราหมณ์
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จใครก็ตามมีสัจจะและทรงธรรม
โส สุจี โส จ พราหฺมาโณย่อมจะบริสุทธิ์ล้ำและเป็นพราหมณ์
(เสฐียรพงษ์ วรรณปก พุทธวจนะในธรรมบท 2537 หน้า 447)
แสดงว่าตามพุทธทัศนะนั้น ผู้ที่จะถือเพศสมณะได้นั้น ไม่ใช่เพราะการแต่งกาย ไม่ใช่เพราะชาติตระกูล แต่ต้องเป็นคนดีมีสัจจะและมีความบริสุทธิ์เพียบพร้อม
ฉะนั้นเมื่อผู้ใดจะก้าวเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในประชาคมของสมณะในพระศาสนาของพระองค์ ท่านจึงให้ถามแต่เพียงว่า เป็นมนุษย์หรือเปล่า ไม่ต้องถามชาติถามตระกูลอะไรกันอีก !
พระพุทธองค์ทรงต่อต้านศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นลัทธิที่ทำให้สังคมในชมพูทวีป แม้จนทุกวันนี้ แบ่งแยกชนชั้นกันอย่างขึงตึง โดยถือเอาชาติกำเนิดตามวรรณะของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยอย่างเดียวที่ชี้ขาด
พวกพราหมรณ์จึงถือว่าพระพุทธองค์เป็นศัตรูที่ร้ายที่สุด จะเห็นได้ว่าในพระสูตรต่างๆ เฉพาะอย่างยิ่งในพระสุตตันตปิฎก จึงมักมีต้นเรื่องมาจากการที่พราหมณ์ตามมาท้าทายทูลซักถามพระพุทธองค์ถึงหัวข้อธรรมต่างๆ ซึ่งพระพุทธองค์ต้องทรงเทศนาสั่งสอนตอบโต้กับพราหมณ์ จึงเกิดเป็นพระสูตรต่างๆขึ้นมา
ในสมัยพุทธกาล ศาสนาของพระสมณโคดม ได้เจริญรุ่งเรือง จนพวกพราหมร์เกิดความวิตก เร่งปรับแนวคิดของพวกตนขึ้นใหม่
พระพุทธศาสนามี พระไตรรัตน์ คือแก้ว 3 ประการ คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ พวกพราหมณ์ซึ่งเคยมีพระเจ้าองค์เดียวคือพระพรหม จึงต้องสร้างพระเจ้าขึ้นมาอีกสององค์ เป็นสามพระองค์ เรียกว่าตรีมูรติ คือพระพรหมซึ่งเป็นพระผู้สร้าง พระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นพระผู้รักษา และพระศิวะหรือพระอิศวร เป็นพระผู้ทำลาย
เมื่อลัทธิพราหมณ์ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางคำสั่งสอนของลัทธิดั้งเดิมเช่นนี้ จึงเท่ากับเปลี่ยนโฉมหน้าจากลัทธิพราหมณ์ดั้งเดิม กลายเป็นศาสนาฮินดู ดังปราฎอยู่จนถึงปัจจุบัน
หลังพุทธกาลศาสนาฮินดูก็ยังถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นคู่แข่งสำคัญ ที่ต้องทำลายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งหมายถึงความพยายามกลืนแนวทางของพระพุทธศาสนา ให้กลายเป็นไปตามแนวทางของลัทธิฮินดูไปเสียให้สิ้น
ต่อมาเมื่อฝ่ายพระพุทธศาสนาเองก็แตกแยกเป็นนิกายต่างๆ บางนิกายก็เหลวไหลและเหลวแหลก ดังนั้นเมื่อศาสนาอิสลามแผ่เข้ามาในชมพูทวีป ศาสนาพุทธจึงถูกทำลายอย่างถอนลากถอนโค่น ให้หมดไปจากดินแดนที่เป็นแหล่งกำเนิดที่แท้จริงจนหมดสิ้น
ถึงอย่างไรก็ตามในวาระวันวิสาขะครั้งนี้ เราควรได้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณอันแผ่ไพศาลสุดพรรณาได้
พระพุทธองค์ทรงเป็นพระมหาบุรุษ ผู้ทรงชี้แนวทางโลกุตระ เพื่อความหลุดพ้นอันสูง
สุดแล้ว ทั้งยังทรงเป็นผู้นำในความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยิ่งใหญ่ หามีผู้ใดเสมอเหมือนได้อีกแล้ว !
เป็นที่น่าเสียดายว่าพุทธประวัติที่เราเรียนรู้ถ่ายทอดกันมานั้น ไม่ได้เน้นในพระอัจฉริยะสำคัญด้านหนึ่งของพระพุทธองค์
แท้ที่จริงแล้วส่วนหนึ่งของพุทธประวัติเป็นเรื่องราวของการต่อสู้กับลัทธิพราหมณ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมของสังคมในชมพูทวีปยุคโบราณ
ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่แบ่งแยกชนชั้นในสังคมอย่างแน่นหนาและมั่นคง แบ่งออกเป็นสี่วรรณะ ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร ซึ่งแบ่งแยกอย่างขึงตึง
สี่วรรณะนี้แบ่งออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งเป็นวรรณะขาวคือชนชั้นปกครอง ได้แก่กษัตริย์และพราหมณ์ อีกพวกหนึ่งเป็นวรรณะดำ ซึ่งได้แก่พวกแพศย์ และศูทร
ตามพุทธประวัติที่เราเล่าเรียนกันมา สอนว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ พระชนมายุได้ 29 พรรษา ได้มีพระชายาและมีพระโอรสแล้ว พระราชบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ปลูกปราสาทให้ประทับสามหลังสำหรับสามฤดู เพื่อให้ได้ทรงเพลิดเพลินในกามสุข
ครั้งหนึ่งเสด็จออกนอกพระราชวัง เทวดามาเนรมิตให้เห็นภาพคนเกิด อีกครั้งหนึ่งก็เนรมิตให้เห็นภาพคนแก่ ครั้งที่สามเป็นภาพคนเจ็บ และครั้งสุดท้ายเทวดาเนรมิตให้เห็นภาพคนตาย เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นจริงของชีวิตเช่นนั้นแล้ว จึงสลดพระทัยเสด็จออกบรรพชา
เรื่องเช่นนี้ ทำให้เกิดข้อชวนสงสัยว่า เจ้าชายสิทธัตถะเจริญพระชันษาถึง 29 พรรษา ไม่รู้ว่าคนเกิดอย่างไรได้หรือ ! อย่างน้อยก็ต้องรู้ว่าพระราหุลพระราชโอรสประสูติอย่างไร ! ความแก่ก็เหมือนกัน พระพุทธบิดานั้นก็คงเป็นความแก่ที่ทรงพบเห็นเป็นประจำอยู่แล้ว ! แล้วพระญาติวงษ์ไม่มีใครเคยเจ็บเคยตายกันบ้างหรืออย่างไร !
แต่แท้ที่จริงความเกิดแก่เจ็บและตายที่ทรงเคยพบเห็นนั้น เป็นความเกิดแก่เจ็บตายของคนในวรรณะกษัตริย์ ซึ่งห้อมล้อมด้วยความสุขสมบูรณ์ทุกประการ
แต่ภาพที่พระองค์ได้ทรงเห็นเมื่อเสด็จประพาสออกไปนอกพระราชวัง เป็นความเกิดความแก่ความเจ็บและความตายของคนวรรณะต่ำ ที่เกิดแก่เจ็บตายอยู่ข้างทางที่เสด็จผ่านไป จึงเป็นภาพที่แตกต่างกับที่พระองค์ทรงได้เคยเห็นมา จึงสลดพระทัย ลอบเสด็จหนีออกบรรพชา
ตามพุทธประวัติเล่าไว้ว่า เมื่อเสด็จหนีออกมาแล้ว ได้ตัดพระเกศามอบให้นายฉันนะมาถวายพระพุทธบิดา นี่แสดงว่าทรงตัดพระเกศา เป็นการตัดขาดจากวรรณะกษัตริย์โดยเด็ดขาดแล้ว
คนวรรณะขาวซึ่งเป็นวรรณะสูงทั้งกษัตริย์และพราหมณ์ ต่างไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวย การตัดพระเกศาแสดงว่าพระองค์ได้ตัดสินพระทัย ตัดขาดจากวรรณะกษัตริย์โดยสิ้นเชิง !
ต่อมาเมื่อพระพุทธองค์ทรงตั้งคณะสงฆ์เป็นสมณะในศาสนาของพระองค์ ก็ทรงกำหนดให้สมณะในพระศาสนานี้โกนศีรษะให้โล้นเกลี้ยง ผิดกับพวกพราหมณ์ซึ่งไว้ผมยาว
เรื่องนี้พวกพราหมณ์ดูหมิ่นมาก ถึงกับเรียกขาน ปรากฎในพระไตรปิฎกหลายตอนว่า “พวกภิกษุศีรษะโล้น !”
พระพุทธองค์ทรงตั้งพระทัยให้พระภิกษุซึ่งเป็นสมณะในพระศาสนาของพระองค์ แตกต่างกับพวกพราหมณ์อย่างสิ้นเชิง
พวกพราหมณ์แต่งกายด้วยการนุ่งขาวห่มขาว ก็ทรงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุไปเก็บผ้าบังสุกุล คือผ้าห่อศพ เอามาย้อมสีกรักแล้วตัดเย็บเป็นไตรจีวรเพื่อหุ้มห่อร่างกาย
พราหมณ์ถือเพศครองเรือน มีลูกเมีย มีสมบัติพัสถานได้ ก็ทรงกำหนดให้สมณะในศาสนาของพระองค์ถือเพศพรหมจรรย์ ไม่มีลูกไม่มีเมีย ไม่อยู่บ้าน อยู่โคนไม้ ไม่สะสมสมบัติ เป็นพวกภิกขาจาร คือขอเขากิน จึงได้เชื่อว่าเป็นภิกษุ
ครั้งหนึ่งพระเทวทัต ทูลขอให้ทรงมีพระพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุฉันมังสวิรัติ แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเห็นด้วย ทรงอธิบายว่า คนถือเพศภิกขาจาร คือขอเขากิน จะจู้จี้ไม่กินโน้นไม่กินนี้ไม่ได้ ใครเขาให้อะไรก็ต้องกินทั้งนั้น
พระภิกษุซึ่งเป็นสมณะในพุทธศาสนาจึงไม่ต้องฉันมังสะวิรัติด้วยเหตุดังนี้ !
ในพระไตรปิฎกมีหลายตอนที่พวกพราหมณ์เซ้าซี้ถามพระพุทธองค์ เรื่องใครเป็นพระผู้สร้าง คือใครเป็นผู้สร้างโลก สร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย พระพุทธองค์ทรงตอบอย่างเด็ดขาดและเด็ดเดี่ยวว่า “ไม่รู้ ! “ และ “ไม่เคยคิดปัญหานี้ให้เสียเวลา !”
พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่ไม่มีพระผู้สร้าง หรือพระผู้เป็นเจ้า !
พระพุทธองค์ทรงสามารถอธิบายเรื่องราวต่างๆได้ตามสภาพความเป็นจริง ! ไม่เหมือนคนโบราณทั่วๆไปที่มักหลงงมงายเชื่อถือไปตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา
ในอคัญญสูตร เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบจากสามเณรซึ่งเคยอยู่ในวรรณะพราหมณ์ ถูกพวกพราหมาณ์ด่าทอว่า เคยอยู่ในวรรณสูง พวกพรามหรณ์เกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม พรหมเนรมิตขึ้น มาทิ้งวรรณะเดิม ไปเป็นพวก “สมณะศีรษะโล้น”เสียแล้ว !
พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนสามเณรว่า พวกพราหมณ์ไม่ได้เกิดจากอุระหรือจากปากของพรหม ไม่ใช่พรหมเนรมิตขึ้น พวกพราหมณ์ก็เหมือนบุคคลทั้งหลายทั่วไป เกิดจากช่องคลอดของมารดาด้วยกันทั้งนั้น ! (อัคคัญสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกฉบับหลวง พ.ศ.2525 เล่มที่ 11 หน้า 62)
เรามักเอาเรื่องนิทานมาเป็นเรื่องกลบความหมายอันสำคัญที่แท้จริงของเรื่องราวไปก็มี !
ผู้ที่เคยผ่านพิธีหรือได้เห็นพิธีอุปสมบทมาแล้ว จะเห็นได้ว่าพิธีนี้ก็คือการรับสมาชิกใหม่เข้าในประชาคมของสมณะในพระศาสนานั่นเอง
เมื่อพระกรรมวาจาจารย์เอาตัวผู้ขออุปสมบทไปยืนที่ทางเข้าพระอุโบสถ แล้วไต่ถามตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออุปสมบทว่าครบถ้วนหรือไม่ เป็นคนหนีราชการมาบวชหรือเปล่า ? ได้รับอนุญาตจากลูกเมียให้มาบวชแล้วหรือ ? เป็นคนมีโรคติดต่อหรือเปล่า ?
มีคำถามหนึ่งที่ว่า “มนุโสสิ” “เจ้าเป็นมนุษย์หรือเปล่า ?”
เรื่องนี้คนโบราณไม่เข้าใจ ! ก็เห็นอยู่กันต่อหน้าแล้วว่าเป็นมนุษย์ แล้วทำไมจึงต้องมาถามซ้ำกันอีกว่าเป็นมนุษย์หรือเปล่าอีก ?
คนโบราณจึงแต่งเป็นนิทานอธิบายว่า ครั้งหนึ่งมีนาคแปลงร่างเป็นมนุษย์มาบวช ต่อมาจึงจับได้ว่าเป็นสัตว์เดียรัจฉาน แต่ตามนิทานนั้นเล่าว่านาคตนนั้นได้ขอไว้ว่า ขอให้เรียกผู้ขออุปสมบทว่า “นาค”
นิทานเรื่องนี้เป็นคำอธิบายแบบคนโบราณาว่า ทำไมต้องถามคุณสมบัติอีกว่าเป็นมนุษย์หรือเปล่า ทั้งๆที่ก็เห็นเป็นมนุษย์ยืนอยู่ต่อหน้าแล้ว !
แต่คนปัจจุบันต้องมองให้ทะลุแล้วจะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเช่นนี้ ก็เพื่อตอกย้ำว่า สมณะในพระศาสนาของพระองค์ ขอให้เป็นมนุษย์อย่างเดียวก็พอเพียงแล้ว วรรณะชาติตระกูลหามีความสำคัญไม่ !
ในธรรมบท จึงมีพระพุทธวจนะ ว่า
น ชฎาหิ น โคตฺเตน มิใช่เพราะมุนชฎา มิใช่เพราะโคตร
น ชจฺจา โหติ พราหฺมโณมิใช่เพราะกำเนิด (ที่ดี) ที่ทำคนให้เป็นพราหมณ์
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จใครก็ตามมีสัจจะและทรงธรรม
โส สุจี โส จ พราหฺมาโณย่อมจะบริสุทธิ์ล้ำและเป็นพราหมณ์
(เสฐียรพงษ์ วรรณปก พุทธวจนะในธรรมบท 2537 หน้า 447)
แสดงว่าตามพุทธทัศนะนั้น ผู้ที่จะถือเพศสมณะได้นั้น ไม่ใช่เพราะการแต่งกาย ไม่ใช่เพราะชาติตระกูล แต่ต้องเป็นคนดีมีสัจจะและมีความบริสุทธิ์เพียบพร้อม
ฉะนั้นเมื่อผู้ใดจะก้าวเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในประชาคมของสมณะในพระศาสนาของพระองค์ ท่านจึงให้ถามแต่เพียงว่า เป็นมนุษย์หรือเปล่า ไม่ต้องถามชาติถามตระกูลอะไรกันอีก !
พระพุทธองค์ทรงต่อต้านศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นลัทธิที่ทำให้สังคมในชมพูทวีป แม้จนทุกวันนี้ แบ่งแยกชนชั้นกันอย่างขึงตึง โดยถือเอาชาติกำเนิดตามวรรณะของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยอย่างเดียวที่ชี้ขาด
พวกพราหมรณ์จึงถือว่าพระพุทธองค์เป็นศัตรูที่ร้ายที่สุด จะเห็นได้ว่าในพระสูตรต่างๆ เฉพาะอย่างยิ่งในพระสุตตันตปิฎก จึงมักมีต้นเรื่องมาจากการที่พราหมณ์ตามมาท้าทายทูลซักถามพระพุทธองค์ถึงหัวข้อธรรมต่างๆ ซึ่งพระพุทธองค์ต้องทรงเทศนาสั่งสอนตอบโต้กับพราหมณ์ จึงเกิดเป็นพระสูตรต่างๆขึ้นมา
ในสมัยพุทธกาล ศาสนาของพระสมณโคดม ได้เจริญรุ่งเรือง จนพวกพราหมร์เกิดความวิตก เร่งปรับแนวคิดของพวกตนขึ้นใหม่
พระพุทธศาสนามี พระไตรรัตน์ คือแก้ว 3 ประการ คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ พวกพราหมณ์ซึ่งเคยมีพระเจ้าองค์เดียวคือพระพรหม จึงต้องสร้างพระเจ้าขึ้นมาอีกสององค์ เป็นสามพระองค์ เรียกว่าตรีมูรติ คือพระพรหมซึ่งเป็นพระผู้สร้าง พระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นพระผู้รักษา และพระศิวะหรือพระอิศวร เป็นพระผู้ทำลาย
เมื่อลัทธิพราหมณ์ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางคำสั่งสอนของลัทธิดั้งเดิมเช่นนี้ จึงเท่ากับเปลี่ยนโฉมหน้าจากลัทธิพราหมณ์ดั้งเดิม กลายเป็นศาสนาฮินดู ดังปราฎอยู่จนถึงปัจจุบัน
หลังพุทธกาลศาสนาฮินดูก็ยังถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นคู่แข่งสำคัญ ที่ต้องทำลายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งหมายถึงความพยายามกลืนแนวทางของพระพุทธศาสนา ให้กลายเป็นไปตามแนวทางของลัทธิฮินดูไปเสียให้สิ้น
ต่อมาเมื่อฝ่ายพระพุทธศาสนาเองก็แตกแยกเป็นนิกายต่างๆ บางนิกายก็เหลวไหลและเหลวแหลก ดังนั้นเมื่อศาสนาอิสลามแผ่เข้ามาในชมพูทวีป ศาสนาพุทธจึงถูกทำลายอย่างถอนลากถอนโค่น ให้หมดไปจากดินแดนที่เป็นแหล่งกำเนิดที่แท้จริงจนหมดสิ้น
ถึงอย่างไรก็ตามในวาระวันวิสาขะครั้งนี้ เราควรได้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณอันแผ่ไพศาลสุดพรรณาได้
พระพุทธองค์ทรงเป็นพระมหาบุรุษ ผู้ทรงชี้แนวทางโลกุตระ เพื่อความหลุดพ้นอันสูง
สุดแล้ว ทั้งยังทรงเป็นผู้นำในความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยิ่งใหญ่ หามีผู้ใดเสมอเหมือนได้อีกแล้ว !