โพลระบุคำเตือนข้างซองบุหรี่ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ สิงห์อมควันอ้างคลายเครียดได้จึงไม่ยอมเลิก ด้าน สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจพบกลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มสูบบุหรี่เพิ่ม แถมหญิงไทยยังมีพฤติกรรม สูบบุหรี่เร็วกว่าเดิม เตรียมรณรงค์เพิ่ม พร้อมเข้มงวดด้าน กม. เพิ่มเขตปลอดบุหรี่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องในวันที่ 31 พ.ค.ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก สวนดุสิตโพล สถาบันราชภัฏสวนดุสิต เผยผลการสำรวจความคิดเห็นหัวข้อ “ประชาชนรู้ถึงโทษของบุหรี่ 100 % แต่ก็ยังสูบอยู่” จากประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,148 คน ระหว่างวันที่ 27-30 พ.ค. โดยเหตุผลอันดับ 1 ที่ผู้สูบบุหรี่ใช้อ้างเมื่อเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้คือความเคยชินและบุหรี่ดับความเครียดได้ รองลงมาคือใจไม่แข็งพอและไม่คิดจะเลิกแบบจริงจัง หาซื้อง่าย และเป็นแฟชั่นคิดว่า สูบแล้วมีเสน่ห์กับเพศตรงข้าม
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.41 เห็นว่าการรณรงค์การงดสูบบุหรี่ในไทยยังน้อยไป ขณะที่ร้อยละ 24.59 เห็นว่ามากพอแล้วส่วนความเห็นที่ว่าคำเตือนที่อยู่ข้างซองบุหรี่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่หรือไม่ ร้อยละ 59.13 ระบุว่าไม่มีผล ร้อยละ 20.46 เห็นว่ามีผลทำให้สูบน้อยลง และร้อยละ 20.41 ไม่แน่ใจ สำหรับคำเตือนข้างซองที่คิดว่าจะทำให้สูบบุหรี่น้อยลง อันดับ 1 คือ การสูบบุหรี่จะทำให้คุณตายเร็วขึ้น/การสูบบุหรี่คือวิธีการฆ่าตัวตายที่ง่ายที่สุด รองลงมาคือการสูบบุหรี่ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง เปลี่ยนข้อความแบบใหม่ ที่อ่านแล้วสะเทือนใจหรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว และควรมีรูปภาพประกอบความเพิ่มความสนใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำบทความสรุปสถานการณ์ การสูบุบหรี่ เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก (31 พ.ค. 47) โดยเฉพาะตามคำจำกัดความ ขององค์การอนามัยโลกที่รณรงค์ในประเด็น บุหรี่ : ยิ่งสูบ ยิ่งจน (Tobacco and
Poverty)โดยจากการสำรวจเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของประชากร ตั้งแต่ปี 2519 -2544 แสดงให้เห็นว่าอัตราการสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลงในปี 2519 มีผู้สูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 30.1 และลดลงเหลือร้อยละ 20.6 ในปี 2544 โดยอัตราการสูบบุหรี่ ลดลงทั้งชายและหญิง
รายงานยังระบุว่า จากปี 2544 ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มี 12 ล้านคน หรือร้อยละ 25.5 ที่สูบบุหรี่ และจำนวน 10.6 ล้านคนหรือร้อยละ 22.5 ที่สูบประจำทุกวัน และ 1.4 ล้านคนหรือร้อยละ 3 ที่สูบบุหรี่นาน ๆครั้ง
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพฤติกรรมเชิงลึก ทำให้ในปี 2546 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สัมภาษณ์ด้วยตัวเองกับ ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 33.9 ล้านคน พบว่ามีผู้สูบบุหรี่ประมาณ 7.7 ล้านคนหรือร้อยละ 22.8 สูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน 6.4 ล้านคน หรือ ร้อยละ 18.8 และสูบบุหรี่นานๆครั้ง 1.3 ล้านคน หรือร้อยละ 4
ขณะที่กลุ่มวัยทำงานอายุ 25-59 มีสัดส่วนการสูบุหรี่เป็นประจำสูงกว่ากลุ่ม อายุอื่น คือ มีร้อยละ 21.3 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 18.2 และกลุ่มเยาวชน อายุ 15-24 ปี มีร้อยละ 10.9
นอกจากนี้ยังพบผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา มีสัดส่วนการสูบบุหรี่เป็นประจำสูงสุด คือ ประมาณร้อยละ 20 และเป็นผู้ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 19.7 และพบว่าผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับเครื่องจักรและงานด้านการประกอบ มีสัดส่วนมากกว่าอาชีพอื่น คือ ร้อยละ 28.2 และผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน เช่น ขายของข้างถนน ยาม คนรับจ้าง ร้อยละ 27.1
รายงาน ระบุอีกว่าผู้ที่สุบบุหรี่ประจำเริ่มสูบเมื่ออายุเฉลี่ย 18.2 ปี และชายเริ่มสูบ เร็วกว่าหญิง โดยชายเริ่มอายุ 18 ปีหญิงเริ่มสูบอายุ 21 ปี และจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่วันต่อวันเฉลี่ย 10.8 มวน เป็นชายสูบวันละ 10.9 มวน และหญิง 8.6 มวน ซึ่งพฤติกรรมนี้ผู้ที่มีอายุ 15-24 ปีเป็นกลุ่มที่น่าห่วงเนื่องจากมีแนวโน้ม สูบเพิ่มขึ้น กลุ่มอายุ 25-59 สูบเป็นประจำมากว่ากลุ่มอื่น และพบหญิงสูบบุหรี่เร็วกว่าแต่ก่อน ซึ่งปี 2547 จึงจะต้องรณรงค์เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการเข้มงวดทางกฎหมายและเพิ่มเขตปลอดบุหรี่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องในวันที่ 31 พ.ค.ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก สวนดุสิตโพล สถาบันราชภัฏสวนดุสิต เผยผลการสำรวจความคิดเห็นหัวข้อ “ประชาชนรู้ถึงโทษของบุหรี่ 100 % แต่ก็ยังสูบอยู่” จากประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,148 คน ระหว่างวันที่ 27-30 พ.ค. โดยเหตุผลอันดับ 1 ที่ผู้สูบบุหรี่ใช้อ้างเมื่อเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้คือความเคยชินและบุหรี่ดับความเครียดได้ รองลงมาคือใจไม่แข็งพอและไม่คิดจะเลิกแบบจริงจัง หาซื้อง่าย และเป็นแฟชั่นคิดว่า สูบแล้วมีเสน่ห์กับเพศตรงข้าม
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.41 เห็นว่าการรณรงค์การงดสูบบุหรี่ในไทยยังน้อยไป ขณะที่ร้อยละ 24.59 เห็นว่ามากพอแล้วส่วนความเห็นที่ว่าคำเตือนที่อยู่ข้างซองบุหรี่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่หรือไม่ ร้อยละ 59.13 ระบุว่าไม่มีผล ร้อยละ 20.46 เห็นว่ามีผลทำให้สูบน้อยลง และร้อยละ 20.41 ไม่แน่ใจ สำหรับคำเตือนข้างซองที่คิดว่าจะทำให้สูบบุหรี่น้อยลง อันดับ 1 คือ การสูบบุหรี่จะทำให้คุณตายเร็วขึ้น/การสูบบุหรี่คือวิธีการฆ่าตัวตายที่ง่ายที่สุด รองลงมาคือการสูบบุหรี่ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง เปลี่ยนข้อความแบบใหม่ ที่อ่านแล้วสะเทือนใจหรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว และควรมีรูปภาพประกอบความเพิ่มความสนใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำบทความสรุปสถานการณ์ การสูบุบหรี่ เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก (31 พ.ค. 47) โดยเฉพาะตามคำจำกัดความ ขององค์การอนามัยโลกที่รณรงค์ในประเด็น บุหรี่ : ยิ่งสูบ ยิ่งจน (Tobacco and
Poverty)โดยจากการสำรวจเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของประชากร ตั้งแต่ปี 2519 -2544 แสดงให้เห็นว่าอัตราการสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลงในปี 2519 มีผู้สูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 30.1 และลดลงเหลือร้อยละ 20.6 ในปี 2544 โดยอัตราการสูบบุหรี่ ลดลงทั้งชายและหญิง
รายงานยังระบุว่า จากปี 2544 ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มี 12 ล้านคน หรือร้อยละ 25.5 ที่สูบบุหรี่ และจำนวน 10.6 ล้านคนหรือร้อยละ 22.5 ที่สูบประจำทุกวัน และ 1.4 ล้านคนหรือร้อยละ 3 ที่สูบบุหรี่นาน ๆครั้ง
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพฤติกรรมเชิงลึก ทำให้ในปี 2546 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สัมภาษณ์ด้วยตัวเองกับ ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 33.9 ล้านคน พบว่ามีผู้สูบบุหรี่ประมาณ 7.7 ล้านคนหรือร้อยละ 22.8 สูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน 6.4 ล้านคน หรือ ร้อยละ 18.8 และสูบบุหรี่นานๆครั้ง 1.3 ล้านคน หรือร้อยละ 4
ขณะที่กลุ่มวัยทำงานอายุ 25-59 มีสัดส่วนการสูบุหรี่เป็นประจำสูงกว่ากลุ่ม อายุอื่น คือ มีร้อยละ 21.3 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 18.2 และกลุ่มเยาวชน อายุ 15-24 ปี มีร้อยละ 10.9
นอกจากนี้ยังพบผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา มีสัดส่วนการสูบบุหรี่เป็นประจำสูงสุด คือ ประมาณร้อยละ 20 และเป็นผู้ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 19.7 และพบว่าผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับเครื่องจักรและงานด้านการประกอบ มีสัดส่วนมากกว่าอาชีพอื่น คือ ร้อยละ 28.2 และผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน เช่น ขายของข้างถนน ยาม คนรับจ้าง ร้อยละ 27.1
รายงาน ระบุอีกว่าผู้ที่สุบบุหรี่ประจำเริ่มสูบเมื่ออายุเฉลี่ย 18.2 ปี และชายเริ่มสูบ เร็วกว่าหญิง โดยชายเริ่มอายุ 18 ปีหญิงเริ่มสูบอายุ 21 ปี และจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่วันต่อวันเฉลี่ย 10.8 มวน เป็นชายสูบวันละ 10.9 มวน และหญิง 8.6 มวน ซึ่งพฤติกรรมนี้ผู้ที่มีอายุ 15-24 ปีเป็นกลุ่มที่น่าห่วงเนื่องจากมีแนวโน้ม สูบเพิ่มขึ้น กลุ่มอายุ 25-59 สูบเป็นประจำมากว่ากลุ่มอื่น และพบหญิงสูบบุหรี่เร็วกว่าแต่ก่อน ซึ่งปี 2547 จึงจะต้องรณรงค์เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการเข้มงวดทางกฎหมายและเพิ่มเขตปลอดบุหรี่