True นำเทคโนโลยีดิจิทัลเสริมแกร่งชุมชนทั่วไทย และภาคใต้ชวนนักท่องเที่ยวร่วมสัมผัสธรรมชาติและวิถีชุมชนดั้งเดิม เพิ่มเสาสัญญาณใช้พลังงานหมุนเวียน ด้วยการติดตั้งและใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทุกภาคทั่วไทยและจังหวัดสุราษฎร์ธานี
นายชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมดิจิทัลให้ทันสมัยและมีคุณภาพสูง รวมถึงการยกระดับประสบการณ์การใช้งาน 5G ด้วยการอัปเกรดเทคโนโลยีเครือข่ายอย่างต่อเนื่องสู่มาตรฐานระดับโลก พร้อมทั้งพัฒนาเครือข่ายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสนับสนุนการท่องเที่ยวไทย
ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย AI อัจฉริยะ BNIC (Business Network Intelligence Center) พบว่าจังหวัดภาคใต้มีการใช้งานเติบโตสูงติดเทรนด์ โดยมีจังหวัดภูเก็ตเป็นอันดับ 1 เติบโตประมาณ 29% อันดับ 2 ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี เติบโตประมาณ 22% และอันดับ 3 คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เติบโตประมาณ 20% ซึ่งรับกับกระแสท่องเที่ยวภาคใต้ที่เติบโตมากขึ้น
ทั้งนี้ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานียังมีเกาะลับที่ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวให้ความนิยมเพิ่มขึ้นคือ “เกาะนกเภา” ซึ่งทรูได้เป็นผู้ให้บริการติดตั้งเสาสัญญาณรายแรก เพิ่มโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้คนในชุมชนและโรงเรียน โดยเสาสัญญาณดังกล่าวเป็นเสาที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ด้วยการติดตั้งและใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทำให้ชุมชนในเกาะใช้งานมือถือและเน็ตได้อย่างมีคุณภาพ
รวมทั้งทรูยังได้ขยายสัญญาณให้ครอบคลุมทั่วทั้งบนฝั่ง บนเกาะ กลางทะเล เติมเต็มไลฟ์สไตล์แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ทรูพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
สุราษฎร์ฯ ใช้เสาโซลาร์เซลล์ 6%
ขณะเดียวกัน ยังเดินหน้าเส้นทางสู่ Net Zero อย่างเข้มข้น ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชันการเชื่อมต่อให้ทันสมัย รวมถึงการอัปเกรดเสาสัญญาณสู่การใช้งาน 5G และ 4G ได้อย่างเต็มที่ เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน
โดยปี 2566 สามารถลดการใช้พลังงานได้กว่า 10,000 เมกะวัตต์ชั่วโมงและลดก๊าซเรือนกระจกได้ 4,400 ตัน การใช้ AI และ Machine Learning เพื่อตรวจจับและแก้ไขปัญหาเครือข่ายอย่างรวดเร็ว นับเป็นกุญแจสำคัญในการลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจก สำหรับปีที่ผ่านมา ทรูได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่เสาสัญญาณกว่า 7,800 แห่งและดาต้าเซ็นเตอร์ 1 แห่ง ทำให้สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 45,000 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี
โดยในปี 2567 มีแผนที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่เสาสัญญาณรวมเป็น 11,200 แห่ง และดาต้า เซ็นเตอร์อีก 6 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 64,000 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี และสามารถหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 28,800 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ทั้งนี้ สุราษฎร์ธานีได้ติดตั้งใช้เสาสัญญาณโซลาร์เซลล์ จำนวน 6% ของเสาทั้งหมด
นอกจากนี้ ทรูยังนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน เช่น ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ผ่านแอปพลิเคชันหมอดี (MorDee) ที่เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ สามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพกับหมอออนไลน์ได้ทุกที่ทั่วไทย ซึ่งมีหมอมากกว่า 500 ท่าน 20 กว่าสาขา ผู้ป่วยสามารถพบแพทย์ผ่านวิดีโอคอล โทร. หรือแชตกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจากสถาบันชั้นนำแบบเป็นส่วนตัว ด้วยการออนไลน์ผ่านแอปจากที่ไหนก็ได้ ในเวลาที่สะดวก ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องไปโรงพยาบาล ไม่ต้องรอนานอีกด้วย
นายประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยีของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับประโยชน์จากโครงข่ายดิจิทัลและการพัฒนา 5G เพื่อที่จะทำให้การท่องเที่ยวมีความสนุกสนาน เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งทรูได้ออกแบบเครือข่ายให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในภาคใต้ ซึ่งเทคโนโลยี 5G จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเปิดประตูสู่การให้บริการใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
“เราวางแผนปรับปรุงเครือข่ายให้ทันสมัย (Network Modernization) ทั่วประเทศและรวมถึงภาคใต้ นอกจากนี้ ทรูยังมีแผนในการรวมโครงข่ายเป็นหนึ่งเดียว (One Integrated Network) และใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ทุกย่านอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานบนเครือข่ายที่ครอบคลุมและเร็วยิ่งขึ้น”
สำหรับการท่องเที่ยวในประเทศ แบรนด์ทรูและดีแทคพร้อมมอบสิทธิพิเศษมากมายสำหรับทุกการเดินทางท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางด้วยเครื่องบินหรือรถยนต์ รวมถึงการพักผ่อนในโรงแรมที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ทั้งยังมั่นใจได้ด้วยประกันอุบัติเหตุและการเดินทางที่ครอบคลุมเพื่อความมั่นใจให้ลูกค้า