จีเอเบิล (G-Able) พร้อมปั้น Smart Hospital เต็มรูปแบบ จับมือพันธมิตรโรงพยาบาลยกระดับการแพทย์ คาดตลาด Health Tech เติบโตเกิน 20%
นายอุกฤษฏ์ วงศราวิทย์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ และประธานบริหารสายงานโซลูชันและเทคโนโลยี บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากความสำเร็จในการเป็นพันธมิตรด้านไอทีกับธุรกิจธนาคารและธุรกิจโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 34 ปี ด้วยจุดแข็งสำคัญที่เป็นพื้นฐานของจีเอเบิล ทั้งโครงสร้างพื้นฐานไอที (IT Infrastructure) ระบบวิเคราะห์และจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Analytics) ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Cybersecurity) ทำให้จีเอเบิลมุ่งมั่นที่จะต่อยอดจุดแข็งเหล่านี้ไปสู่ธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะธุรกิจเฮลท์แคร์ที่กำลังมาแรงและมีความต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาสร้างระบบจัดการข้อมูลที่มีอยู่มากมายให้พร้อมใช้งานได้ทันท่วงที
"หนึ่งในผลงานที่ผ่านมาของจีเอเบิล เราได้ใช้เทคโนโลยีและทีมงานผู้เชี่ยวชาญสนับสนุนงานการแพทย์ระดับประเทศมาแล้ว จึงได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของโซลูชันที่จีเอเบิลมีว่าจะสามารถสร้างการเติบโตในตลาดเฮลท์แคร์ได้เกิน 20% จากข้อมูลที่การ์ทเนอร์ได้คาดการณ์ว่าทิศทางการลงทุนด้านไอทีในธุรกิจเฮลท์แคร์จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยประมาณ 20% ต่อปี โดยมีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 7,000 ล้านบาท"
จีเอเบิลมองตัวเองเป็นผู้ประกอบธุรกิจให้บริการโซลูชันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ในฐานะ “Tech Enabler” ของไทยที่มีความเชี่ยวชาญทั้งบุคลากรด้านไอทีและโซลูชันด้านเทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจรในระดับองค์กร (Enterprise Solution and Services) บริษัทได้เติมเต็มศักยภาพและสนับสนุนธุรกิจมากมายในหลายภาคอุตสาหกรรม ตั้งแต่ระดับ SME ไปจนถึง Top 10 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เพื่อต่อยอดและผลักดันพันธมิตรธุรกิจเฮลท์แคร์สู่ Smart Hospital จีเอเบิลย้ำความพร้อมด้านการมีไอทีโซลูชันที่พร้อมสนับสนุนธุรกิจเฮลท์แคร์สู่ Smart Hospital ที่สอดรับกับทิศทางของการ์ทเนอร์ที่ว่าในการทำ Digital Transformation ผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจเฮลท์แคร์ควรกำหนดกลยุทธ์ “Digital First Strategy” ในทุกกิจกรรมทางธุรกิจและการจัดการทั้งหมด
"จากงานวิจัย Forrester พบว่า Data ที่ถูกสร้างภายในองค์กรและไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์มีจำนวนมากถึง 60-70% ส่งผลให้เกิดแนวคิดการทำ Data Fabric ขึ้นเพื่อเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับข้อมูลที่นับวันจะยิ่งมีจำนวนมากและซับซ้อน ซึ่งสอดคล้องกับแผนการทำงานของจีเอเบิลที่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ และแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อให้ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Informed/Data-driven decision) นำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ (Insights) ช่วยปรับปรุง Core Business Process การบริการ การบริหารจัดการ งบประมาณ"
จีเอเบิลมั่นใจในความพร้อมของการผลักดันธุรกิจเฮลท์แคร์สู่ Smart Hospital อย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบและติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ Data Center ระบบสารสนเทศและการสื่อสารและระบบ Cloud
ในด้านการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) สามารถบริหารจัดการ ผสานรวม วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Informed/Data-driven decision) โดยการนำข้อมูลไปใช้งานครอบคลุมทั้งการบริหารจัดการ การติดตาม KPI ขององค์กร Operation Customer 360 และ Marketing
นอกจากนี้ ยังมีระบบรักษาความปลอดภัย ทั้งการป้องกันภัยทางไซเบอร์ ระบบบริหารจัดการ PDPA ระบบสำรอง มีส่วนจัดการข้อมูลและกู้คืนข้อมูล (Disaster Recovery) รวมถึงการให้บริการ Security Operations Center (SOC) ตลอด 24/7
ในด้านการออกแบบและติดตั้งศูนย์ประมวลผล AI เพื่อช่วยดำเนินงานในด้านงานวิจัยและพัฒนาการให้บริการได้ดียิ่งขึ้น จะมีการวิเคราะห์ข้อมูลภาพ X-Ray ข้อมูล MRI เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และการวิเคราะห์ DNA สำหรับงานวิจัยเพื่อการพัฒนายารักษาโรคและวัคซีน ขณะที่ระบบ Healthcare Operations Center (HOC) จะเป็นระบบวิเคราะห์ข้อมูลและแจ้งเตือนเมื่อการบริหารทรัพยากรในโรงพยาบาลไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทั้งการจัดการทีมงาน การจัดการเตียง การจัดตารางห้องผ่าตัด การจัดการคนไข้ ผ่านจอ Dashboard แบบกึ่งเรียลไทม์
ทั้งนี้ เทคโนโลยีหลากหลายที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือผู้ป่วยรักษาภายนอกโรงพยาบาล ประกอบด้วยระบบศูนย์สั่งการ (Command Center) ที่ทำงานร่วมกับ รถพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Ambulance) เพื่อให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน บริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) การให้คำปรึกษา (Health Teleconsultant) การขอคำปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ต้องพบแพทย์เพื่อติดตามอาการและรับประทานยาต่อเนื่อง การติดตามผู้ป่วยระยะไกล (Remote Patient Monitoring) ผ่านทางอุปกรณ์การแพทย์ส่วนบุคคล (Personal Healthcare Devices)
นอกจากนี้ ยังมี Wearable Devices หรือ Home Devices ต่างๆ การผ่าตัดทางไกล (Telesurgery) คือ การใช้หุ่นยนต์สามารถผ่าตัดผู้ป่วยได้แม้จะอยู่ต่างสถานที่กัน รวมถึงการผสานใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อส่งภาพการผ่าตัดที่มีความละเอียดความคมชัดสูงและแสดงผลตามเวลาจริงและรวมถึงการรับส่งคำสั่งการควบคุมอุปกรณ์การผ่าตัด