ปัจจุบัน ทุกธุรกิจมีการลงทุนเพื่อปรับปรุงระบบดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา บรรดาองค์กรจึงควรต้องตระหนักว่าโครงการการริเริ่มด้านการพลิกโฉมด้วยดิจิทัลได้ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศหรือไม่
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่แค่คำถามที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนเท่านั้น รายงานของ IDC ระบุว่า บรรดาบริษัทที่เร่งดำเนินการผสานรวมธุรกิจเข้ากับความยั่งยืนได้ก้าวนำหน้าคู่แข่งไปแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริมาณของเสียที่ลดลง การควบคุมต้นทุนให้เหมาะสม ไปจนถึงความคุ้มค่าและประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดีขึ้น ตลอดจนการปลดล็อกแหล่งรายได้ใหม่ เห็นได้ชัดว่าโครงสร้างพื้นฐานเชิงดิจิทัลที่ให้ความสำคัญกับสภาพอากาศจะช่วยให้มีผลลัพธ์เชิงธุรกิจที่ดีขึ้น
เวอร์ทีฟมุ่งพัฒนาการดำเนินงานทั่วโลกให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงจัดหาโซลูชันที่ยั่งยืนเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในโลกดิจิทัล เทคโนโลยีประหยัดพลังงานช่วยให้ดาต้า เซ็นเตอร์มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ตั้งแต่ระบบระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพไปจนถึงหน่วยจ่ายพลังงานอัจฉริยะและซอฟต์แวร์ตรวจสอบขั้นสูง โซลูชันทั้งหมดของเรามีเป้าหมายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยรวม และส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน
อันที่จริงแล้ว ความยั่งยืนถือเป็นศักยภาพในการยกระดับวิธีที่เราใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อและข้อมูลในชีวิตประจำวันของเรา โดยทั้ง 2 เรื่องที่เราต้องจับตามองคือ ความต้องการใช้โครงสร้างพื้นฐานเชิงดิจิทัลที่สำคัญที่เพิ่มขึ้นและความจำเป็นที่ต้องลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากรายงาน Research and Markets ตลาดดาต้า เซ็นเตอร์ในเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตในอัตราการเติบโตต่อปีที่ 12% ในช่วงปีนี้จนถึงปี 2571 โดยมีมูลค่าถึง 53.58 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการยกระดับประสิทธิภาพของดาต้า เซ็นเตอร์ ในขณะเดียวกัน เน้นถึงความสำคัญของการลดการปล่อยมลพิษเพื่อลดต้นทุนอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยมีแผนบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2565 โดยภายใต้แผนงานด้านพลังงานฉบับใหม่นี้ จะมีการใช้พลังงานหมุนเวียนครึ่งหนึ่งของการผลิตไฟฟ้าใหม่ทั้งหมดในประเทศ
นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อยกระดับการกำกับดูแลสภาพอากาศรวมถึงปรับให้สอดคล้องกับลำดับความสำคัญของการพัฒนาประเทศ การดำเนินการยังส่งผลให้เกิดโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น การสนับสนุนที่กำหนดโดยประเทศฉบับปรับปรุง (Updated Nationally Determined Contribution) ครั้งที่ 2 ของประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดเป้าหมายด้านการลดก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศและแบบมีเงื่อนไขในปี 2573 ความพยายามร่วมกันครั้งนี้ทำให้ผู้ประกอบการดาต้า เซ็นเตอร์ต้องรับผิดชอบในการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนในประเทศ
การปรับสมดุลของโหลดไฟฟ้าสูงสุด
แม้ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะผันผวนระหว่างโหลดสูงสุดและโหลดปกติ การตอบสนองความต้องการนี้ขึ้นอยู่กับการผสานรวมทรัพยากรและกลยุทธ์เข้าไว้ด้วยกัน
แนวทางทั่วไปคือการปรับการจ่ายกระแสตามความต้องการผ่านการผสานรวมโรงไฟฟ้าแบบ Non-Variable เข้ากับการผลิตไฟฟ้าแบบ Dispatchable Generation โดยตัวเลือกอื่นๆ มีตั้งแต่การทำสัญญาไฟฟ้าระยะยาวไปจนถึงการซื้อขายไฟฟ้าเสรี หรือ Spot energy market และลดการใช้ไฟฟ้าโดยรวม นอกจากนี้ สามารถลดการใช้พลังงานจากจากนโยบายที่มุ่งเน้นไปที่ความต้องการผ่านการลดโหลดและย้ายไปยังช่วงพีกที่ต่ำกว่า
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เข้าใจถึงกุญแจสำคัญในการลดแรงกดดันต่อการจัดการพลังงานและระบบการจัดการความต้องการ เราอาจมองไปที่ความสามารถในการเปลี่ยนพีกของเครื่องสำรองไฟ (UPS)
นี่ถือเป็นคุณสมบัติอันล้ำค่าที่ช่วยให้จัดการการใช้พลังงานได้ดีขึ้นเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ด้วยการทำหน้าที่กักเก็บชั่วคราวสำหรับพลังงานในช่วงที่ไม่ใช่ช่วงพีก การเลื่อนความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak shifting) สามารถปล่อยพลังงานได้ในช่วงพีกเพื่อแบ่งเบาภาระบนกริดไฟฟ้า และสร้างความสมดุลให้อุปสงค์และอุปทาน เนื่องจากเมื่อไม่ได้ใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน จึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก
การใช้ประโยชน์จาก AI/ML
ในขณะเดียวกัน บรรดาองค์กรสามารถใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่อง (ML) เพื่อลดหรือกำจัดความต้องการใช้งานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
แนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพคือการรวม AI/ML เข้ากับพลังงานแสงอาทิตย์ ตัวอย่างเช่น ระบบจัดเก็บข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถรวมเข้ากับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ในช่วงที่มีแสงแดดน้อยและปล่อยพลังงานในช่วงที่มีความต้องการสูง
วิธีนี้มีประสิทธิภาพมากในการลดพีก และดีกว่าทางเลือกอื่นๆ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล หรือการปิดเครื่องแบบแมนวล ซึ่งนับว่ามีประโยชน์หลายประการ ได้แก่ ไม่มีเสียงรบกวนหรือมลพิษ ไม่ต้องใช้บุคลากรในการดำเนินงาน และส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจน้อยที่สุด นอกจากนี้ ลูกค้ายังเข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น ส่งผลให้ประหยัดมากขึ้นและดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน
วิธีการนี้ช่วยให้เจ้าของดาต้า เซ็นเตอร์สร้างมูลค่าโดยใช้วิธีการที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อลดการใช้พลังงานสูงสุด หรือ Peak Shaving ด้วยการนำเสนอโซลูชันเชิงรุกสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานปริมาณสูงเป็นพิเศษ ซึ่งช่วยปรับบริการการจัดการความต้องการให้เหมาะสมและโอกาสในการประหยัดต้นทุน ธุรกิจจึงจะสามารถเติบโตไปพร้อมกับการ 'เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม'
ขยายขีดความสามารถ ประสิทธิภาพ และความคล่องตัวอย่างยั่งยืน
เพื่อพัฒนาดาต้า เซ็นเตอร์ให้ยั่งยืน เราควรมุ่งเน้นไปที่กระบวนการออกแบบและการสร้างแบบบูรณาการ โดยเฉพาะการใช้ดาต้า เซ็นเตอร์แบบโมดูลาร์สำเร็จรูป
ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่หรือการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ โครงสร้างสำเร็จรูปช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น อีกทั้งทำให้กระบวนการง่ายขึ้นโดยให้ผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม โดยจะช่วยขจัดภาระงานที่ไม่จำเป็น เช่น การจัดหาส่วนประกอบ ประสานงานการจัดส่ง และดำเนินการรวมและทดสอบในสถานที่ ผลที่ได้คือประหยัดเวลาและทรัพยากร และระบบที่ผสานรวมอย่างสมบูรณ์และผ่านการทดสอบก็พร้อมใช้งานเมื่อมาถึงหน้างาน
เมื่อโครงการมีความซับซ้อนมากขึ้น การสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปจะช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้น หากสามารถในการย่อกระบวนการให้อยู่ภายใต้การบริการจัดการจากพาร์ตเนอร์รายเดียวได้ ความเร็วสู่ตลาดที่เร็วขึ้นจะเพิ่มความสามารถในการปรับขนาด เพิ่มความคล่องตัวและการตอบสนองต่อความต้องการในอนาคต นอกจากนี้ ยังช่วยลดต้นทุนอีกด้วย โครงสร้างสำเร็จรูปได้รับการออกแบบให้มีประสิทธิภาพและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การระบายความร้อนด้วยของเหลวและระบบพลังงานอัจฉริยะ ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานและการปล่อยมลพิษลงอย่างมาก ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
เป็นเรื่องน่าขันที่ดาต้า เซ็นเตอร์ซึ่งช่วยขับเคลื่อนโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แท้จริงแล้วมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจัดการกับความขัดแย้งนี้ เราสามารถทำการเปลี่ยนแปลงการออกแบบและการปฏิบัติงานเพื่อลดการปล่อยมลพิษ การใช้น้ำ และของเสีย นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะช่วยลดต้นทุนและมีส่วนร่วมในความพยายามในการป้องกันภัยพิบัติจากสภาพอากาศในระดับโลก