xs
xsm
sm
md
lg

เปิดกลยุทธ์ TrueX กับเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยผ่านเทคโนโลยีที่เข้าถึงง่าย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



IoT Analytics ระบุว่าจำนวนการเชื่อมต่อ IoT ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 18% ในปี 2565 โดยปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ 14.3 พันล้านชิ้น และคาดว่าในปี 2566 จำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 16% เป็น 16.7 พันล้านชิ้น แม้ว่าการเติบโตในปี 2566 นั้นคาดว่าจะต่ำกว่าในปี 2565 เล็กน้อย แต่การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT มีแนวโน้มจะเติบโตต่อไปอย่างมีนัยสำคัญในอีกหลายปีข้างหน้า นอกจากนี้ จากรายงานของ Fortune Business Insights ยังพบว่าตลาด IoT ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลก

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาด IoT นี้ สอดคล้องกับกลยุทธ์ของทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ภายหลังการรวมทรูดีแทค ได้ก้าวสู่การเป็น เทเลคอม เทคคอมปานีเต็มรูปแบบ ผสานพลังกันนำประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสร้างสรรค์สิ่งที่ดียิ่งกว่า นำความฝันในยุคดิจิทัลมาทำให้เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะล่าสุด ที่มีการสร้างสรรค์แอปพลิเคชัน TrueX ด้วยเป้าหมายที่จะนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชันที่ช่วยยกระดับวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วประเทศ สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์แอปพลิเคชัน TrueX ที่มีเป้าหมายในการนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชันที่ช่วยยกระดับวิถีชีวิต และคุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วประเทศ พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม ทีมงานผู้อยู่เบื้องหลัง TrueX จึงมาบอกเล่าแนวคิด โอกาส และความท้าทาย ในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยให้ปลอดภัยและสะดวกสบายยิ่งขึ้น

ตลาด IoT ที่เติบโตไม่หยุด

ยศพล อรรถจริยา TrueX's Channel and Operation ฉายภาพจุดเริ่มต้นของ TrueX ว่ามาจากแอปพลิเคชัน True LivingTECH ที่ให้บริการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ของกลุ่มทรู ซึ่งทำให้เห็นการเติบโตของผู้ใช้งานที่สะท้อนถึงพัฒนาการของตลาด IoT ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยช่วงปี 2562-2565 มีการเติบโตมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

จากการเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่องนี้เอง พร้อมกับความพร้อมของเทคโนโลยี 5G ที่ถือเป็นเทคโนโลยีแวดล้อมที่สำคัญของ IoT กระตุ้นให้ IoT ในประเทศไทยมีการพัฒนาตัวเองไปอย่างก้าวกระโดด ทรูจึงเร่งนำ IoT เข้ามาต่อยอดเป็นบริการและโซลูชันที่หลากหลาย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยผ่าน 6 โซลูชันที่อยู่ในแอป TrueX ได้แก่ X Home, X Health, X Learning, X Utility & Energy, X Shopping และ X Entertainment ซึ่งล้วนตอบโจทย์ Pain point ไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบันทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี ในเวลานี้โซลูชันที่เติบโตโดดเด่นคือ X Home โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย

“คนไทยให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยอยู่มาก สิ่งที่เห็นชัดคือ กล้องวงจรปิดเติบโตรวดเร็ว จากทั้งราคาที่ถูกลงทุกปี และคนไทยมีอัตราการใช้งานสูงขึ้น ยิ่งพออุปกรณ์พัฒนาเป็น IoT ที่ติดตั้งง่าย ทำให้ตลาดยิ่งเติบโต” ยศพล กล่าว

จากซ้าย: ยศพล อรรถจริยา TrueXs Channel and Operation, ภรรททิยา โตธนะเกษม New Business Growth Engine, สุฐิดา วัยวุฒิภิญโญ Head of IoT Consumer Business และ ปวริศา เชิงรู้ Marketing Manager
ภรรททิยา โตธนะเกษม จากทีม New Business Growth Engine อธิบายเพิ่มเติมว่า สภาพสังคมที่เปลี่ยนไปเป็นตัวเร่งให้ตลาด IoT ขยายตัวไปเช่นกัน จากทั้งการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงการแยกตัวออกมาอยู่ลำพังของคนรุ่นใหม่

“ผู้บริโภคจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวประสานในการดูแลความปลอดภัย ที่ไม่ใช่แค่ดูแลบ้าน แต่ดูแลคนในบ้าน รวมถึงทรัพย์สินที่มีค่าภายในบ้านด้วย” เธอให้ข้อสังเกต พร้อมเผยว่า ฟังก์ชันที่เวลานี้ลูกค้าให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือ ในด้านความสะดวกสบาย

“แอปพลิเคชัน TrueX สามารถทำงานอัตโนมัติจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่เปลี่ยนแปลงไป (Ultra-personalization) ได้ถึง 4 รูปแบบ นั่นคือ หนึ่ง โลเกชัน เช่น ถ้ารถเข้ามาใกล้บ้านในรัศมี 300 เมตร ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างเปิดรอต้อนรับได้ทันที สอง สภาพแวดล้อม โดยเราตั้งค่าให้ไฟเปิดตามเวลาพระอาทิตย์ตกในเขตพื้นที่ของบ้านได้ ซึ่งแต่ละบ้านมีเวลาที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ สาม ตารางเวลา โดยปรับให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน เช่น ตั้งเวลาสมาร์ทปลั๊กให้เปิดเครื่องชงกาแฟตอน 8 โมงตรง และสี่ การเปลี่ยนแปลงของอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกัน เช่น ถ้าผู้สูงอายุกดปุ่มกดฉุกเฉินอัจฉริยะ จะมีข้อความแจ้งเตือนไปที่มือถือ พร้อมทั้งเปิดไฟในตำแหน่งนั้นให้สว่าง เพื่อให้คนอื่นเห็นได้จากระยะไกล” ภรรททิยา กล่าว


สร้างความต่างและเพิ่มมูลค่าเพื่อแข่งขันในตลาด

หลังจากเปิดตัว TrueX เมื่อต้นเดือนเมษายน 2566 ยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน (โดยรวมจากฐานลูกค้าโซลูชัน True LivingTECH เดิม) นั้นมีมากกว่า 350,000 ครั้ง และทางทีมตั้งเป้าให้ไปถึง 1 ล้านครั้งในสิ้นปี 2566 รวมถึงการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานต่อวัน (Daily Active Users) ให้ถึง 200,000 ครั้ง

สำหรับข้อได้เปรียบของ TrueX คือ การดึงระบบนิเวศของบริษัทเทคโนโลยี-โทรคมนาคมของทรูมาใช้ในการขยายบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของบ้านอัจฉริยะที่มีมากขึ้น และเน้นให้เห็นถึงความต่างกับคู่แข่ง ผ่านกลยุทธ์ดังต่อไปนี้

•Telecommunications Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมดิจิทับที่ทรูมีอยู่ เป็นรากฐานในการเชื่อมต่อสินค้าและบริการ IoT ให้ฐานลูกค้าเดิมและผู้บริโภคได้ทั่วประเทศ

•Seamless User Experience การรวมบริการทั้งหมดเพื่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมาไว้ด้วยกันในแอปเดียว ช่วยลดความยุ่งยากและให้ใช้งานได้ไร้รอยต่อ

•Cross-selling and Bundle Deal การขยายการเติบโตผ่านการนำเสนอสินค้าที่มีความสอดคล้อง พร้อมไปกับการรวมสินค้าหลากหลายไว้ในแพกเกจที่คุ้มค่า

•After-sale Service Support สินค้าและบริการใน TrueX เชื่อมต่อกับบริการหลังการขายของทรู โดยติดต่อ True Call Center 1242 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมมีการรับประกันสินค้าที่สามารถเปลี่ยนได้ที่ช้อปทรูทั่วประเทศ

•Turnkey Solutions การพัฒนาโซลูชัน IoT แบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การเชื่อมต่อ อุปกรณ์ แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน ไปจนถึงบริการติดตั้ง ทำให้ตอบสนองความต้องการที่ครอบคลุม และนำเสนอโซลูชันในแบบเฉพาะบุคคล

•Privacy อุปกรณ์ IoT ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม การกำหนดค่าทุกอย่างมาจาก End User โดยตรง

•Ecosystem การต่อยอดสิทธิประโยชน์ภายในเครือ และพาร์ตเนอร์ เพื่อให้ลูกค้าได้รับสิทธิพิเศษจากแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง

ภรรททิยา เผยถึงแผนในอนาคตไว้ว่า “TrueX มุ่งสู่การเป็นแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่ทำให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น โดยจะขยายโซลูชันให้มากขึ้น พร้อมทั้งนำเสนอนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง คัดสรรสินค้าใหม่ๆ ที่ยังไม่มีในไทย รวมทั้งนำ AI มาใช้ในการพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการเพื่อให้ก้าวทันความต้องการในอนาคต”

ความแตกต่างหลากหลายกับการเห็นโอกาสรอบตัว

เมื่อถามถึงโอกาสท่ามกลางตลาด IoT ในไทยเติบโตเพิ่มขึ้น สุฐิดา วัยวุฒิภิญโญ Head of IoT Consumer Business เล่าว่า ได้เห็นโอกาสเหล่านั้นจาก use case ที่มีการนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ IoT มาประยุกต์ใช้งานแบบหลากหลายและเฉพาะตัว ซึ่งหลายครั้งมาจากประสบการณ์ของทีมงาน ที่มีความหลากหลายทั้งด้านเพศ วัย ทักษะความถนัด รวมถึงไลฟ์สไตล์ ความแตกต่างนี้กลายเป็นเบื้องหลังความสำเร็จในการออกแบบนวัตกรรมต่างๆ ที่ต้องก้าวให้ทันความต้องการของผู้บริโภคในสังคมปัจจุบัน

“เราได้เห็นโอกาสในตลาดจากมุมมองหรือแม้แต่ use case ของคนในทีม หรือคนใกล้ตัวของเขา อย่างน้องรุ่นใหม่ First Jobber ก็มีไอเดียนำเทคโนโลยีมาใช้งานที่แตกต่างกับคนวัย 40 เช่น มีน้องคนหนึ่งเอาเซ็นเซอร์ประตูและหน้าต่างไปติดที่ตู้เสื้อผ้าที่เก็บของมีค่า เพราะไม่อยากให้ใครมาเปิดตู้นี้ ถ้ามีใครมาเปิดจะแจ้งเตือนมาที่แอป หรือมีเพื่อนใช้กล้องวงจรปิดในการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่บ้าน โดยใช้ส่งเสียงพูดคุยและดูว่าสัตว์เลี้ยงกินอาหารมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นมุมมองที่น่าสนใจที่เราจะนำไปเป็นโอกาสขยายตลาดได้”


เดินหน้าสู่ความเท่าเทียมในการใช้เทคโนโลยี

แม้ปัจจุบันการใช้อุปกรณ์ IoT จะเป็นเรื่องที่ง่ายและใกล้ตัวมากขึ้น แต่ ปวริศา เชิงรู้ Marketing Manager ของ TrueX ระบุว่าความท้าทายสำคัญในประเทศไทยคือ การเปิดรับเทคโนโลยีของผู้บริโภค “ผู้ใช้อาจจะเกิดจากความไม่มั่นใจว่าจะสามารถติดตั้งอุปกรณ์เองได้ไหม หรือจะมีความยากในการควบคุมอุปกรณ์เหล่านี้หรือเปล่า TrueX จึงออกแบบมาให้ทุกอย่างใช้งานได้ง่าย ผู้ใช้งานสามารถ DIY ได้เอง เรายังมีเครื่องมือที่ช่วยอธิบายการติดตั้งหลากหลายรูปแบบ รวมถึงมีการสั่งงานผ่านเสียงภาษาไทย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ทุกเพศทุกวัยให้เข้าถึงการใช้งานได้อย่างง่ายดายด้วย” เธออธิบาย

รายงานของ Economist Intelligence Unit ระบุว่า อุปสรรคอันดับแรกที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล คือความสามารถในการซื้อบริการ (affordability) ดังนั้น TrueX จึงนับเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะขยายการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลไปสู่พื้นที่ทั่วประเทศไทย ในราคาที่คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งความพยายามดังกล่าวดูจะเริ่มเห็นผลชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบัน 30% ของลูกค้าทรูออนไลน์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตบ้านจะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเสริมไปด้วย (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2566)

“พอลูกค้าใช้กล้องวงจรปิดก็ต้องมีแอปพลิเคชัน TrueX ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของการใช้ IoT โดยต่อไปจะมีการต่อยอดใช้เทคโนโลยีในด้านอื่นๆ ได้เช่นกัน นอกจากนี้ TrueX ยังเปิดให้ผู้ใช้งานจากทุกค่ายมาใช้บริการได้ เพราะเราตั้งใจอยากให้คนไทยทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมากที่สุด” สุฐิดา ทิ้งท้าย
กำลังโหลดความคิดเห็น