TCCtech เผยแผนรุกพร้อมสร้างและพัฒนากำลังคนสายดิจิทัลเต็มพิกัด เล็งเปิดกว้างให้นักศึกษาจบใหม่ และผู้ที่มีประสบการณ์ได้เพิ่มขีดความสามารถด้วยหลายโครงการ วางเป้าหมายให้ลูกค้าองค์กรใช้เทคโนโลยีได้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิผล และได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น
นายธีรพันธุ์ เหลืองนฤมิตชัย Managing Director บริษัท ที.ซี.ซี.เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) ได้กล่าวถึงมุมมองในฐานะบริษัทชั้นนำด้านดิจิทัลโซลูชันของคนไทยว่ามีความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างและพัฒนาคนเพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจ โดยมีการเปิดกว้างให้ workforce ทั้งนักศึกษาที่จบใหม่ และผู้ที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ upstream จนถึง downstream ได้แก่ กลุ่ม upstream หรือกลุ่มต้นน้ำที่เป็นผู้สร้าง ออกแบบ พัฒนาและดูแลระบบ เช่น ERP, software development, data platform, cyber security, IOT, cloud, connectivity กลุ่ม midstream workforce หรือกลุ่มกลางน้ำที่เป็นผู้ที่นำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ (data analytics)ใช้ในด้านต่างๆ เช่น MarTech, PropTech, OpTech และ downstream workforce หรือกลุ่มปลายน้ำที่เป็นผู้ใช้ระบบหลักของธุรกิจ เช่น ERP, e-procurement, e-tracking, e-commerce, utility toolsต่างๆ
"นอกจากนี้ สำหรับกลุ่มที่เป็นพนักงานหรือลูกค้าในปัจจุบันเรายังคงเน้นการ upskill/reskill เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของคนในองค์กร ด้วยโครงการต่างๆ ที่เน้นสร้าง digital mindset และเน้นการเพิ่ม digital user adoption ปรับฐานจาก general users สู่downstream workers, midstream, upstream ตามลำดับ ขณะที่เน้นให้ลูกค้าสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิผล และได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น"
ที่มาของความเคลื่อนไหวนี้เกิดจากการที่ TCCtech มองว่าเทคโนโลยีหลายแขนงขับเคลื่อนด้วยคน ซึ่งเมื่อเทคโนโลยีหลายแขนงยังต้องขับเคลื่อนด้วยคน สิ่งท้าทายระดับประเทศในวันนี้คือเรื่องของทั้งปริมาณและคุณภาพของกำลังคนที่มีทักษะสูง โดยข้อมูลจาก สอวช.ได้กล่าวถึงผลสำรวจความต้องการภาคเอกชนใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) พบว่ามีความต้องการบุคลากรทักษะสูงในช่วงปี 2563-2567 ถึง 177,606 คน โดยเฉลี่ย 35,521 คนต่อปี
แม้ข้อมูลจาก TDRI จะพบว่าหากรวมผู้จบการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่จบปริญญาตรีจะมีถึง 19,781คน ในตลาดแรงงานพบว่าจำนวนเด็กจบใหม่สายตรงที่เข้าสู่ตลาดเพื่อทำงานไอทีมีไม่ถึง 3,500 คนต่อปี ภาคการศึกษาซึ่งผลิตนักศึกษามาไม่เพียงพอหรือไม่ตรงกับความต้องการของตลาด อีกทั้งส่วนใหญ่ที่เรียนจบไปแล้วไม่ได้ทำงานตรงสายงาน ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดเป็นช่องว่างระหว่าง Demand และ Supply ที่มีอย่างมหาศาลในวันนี้
และหากเปรียบเทียบโครงสร้างของบุคลากรด้านนี้ของไทยกับต่างประเทศ จะพบความจำเป็นของการพัฒนากำลังคนด้านนี้อย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน โดยที่ผ่านมาโครงสร้างของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงทางด้านดิจิทัลในประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศชั้นนำด้านดิจิทัลมีความแตกต่างในด้านโครงสร้าง ตามนิยามระดับทักษะดิจิทัลโดย International Telecom Union (ITU) แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 0 คือ ผู้ที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์ด้านดิจิทัล ระดับ 1 คือผู้มีความรู้ขั้นพื้นฐานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ระดับ 2 คือผู้มีความรู้ทักษะดิจิทัลในเบื้องต้น ระดับ 3 คือ ผู้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ระดับ 4 คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล โดยข้อมูลจาก International Institute for Management Development (IMD)
การจัดลำดับพบว่าประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล (ระดับ 4) เพียง 0.58 ล้านคน (1%) เมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ 8% ขณะที่ฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย 3% และถ้ารวมระดับ 1-4 ประเทศไทยมีเพียง 28% เมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ 74% ขณะที่ฮ่องกง 80% เกาหลีใต้ 80% มาเลเซีย 71% ซึ่งแสดงถึงว่า กลุ่มผู้ที่มีความรู้ขั้นพื้นฐานไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญมีสัดส่วนที่ต่ำมากเทียบกับประเทศที่กล่าวข้างต้น
ทั้งนี้ ข้อมูลจากสภาดิจิทัลได้มีแผนผลักดันเพื่อเพิ่มอัตราส่วนผู้มีทักษะด้านดิจิทัลในระดับต่างๆ โดยมีเป้าในการเพิ่มสัดส่วนผู้มีทักษะดิจิทัลระดับ 1-4 จาก 28% ในปี 2563 เป็น 70% ในปี2568 เพื่อให้สามารถเทียบเคียงกับประเทศชั้นนำด้านดิจิทัลของโลก
นายพิพิธ จริยวัฒนวิจิตร Deputy Managing Director บริษัท ที.ซี.ซี.เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) กล่าวว่า บริษัทจะเดินหน้าให้ความสำคัญเรื่องคนเป็นอันดับต้นๆ พลิกจากการตั้งรับปรับเป็นเกมรุกจัดเต็มสู่รั้วมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ และพร้อมเปิดให้ทั้งน้องใหม่และผู้มีประสบการณ์ด้านดิจิทัลเข้ามาร่วมงานกับทีมงานมืออาชีพของ TCC Technology Group เพื่อร่วมฝึกฝน ทดสอบ และทำโปรเจกต์จริง
"ทีซีซีเทคมีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์ในการดูแลและสร้างรากฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งให้ธุรกิจในกลุ่ม TCC ตลอดจนธุรกิจลูกค้าชั้นนำจากทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ตัวอย่างโปรแกรมที่อยู่ภายใต้แผน เช่น Accessibility & Inclusivity ที่เน้นเปิดกว้างให้คนที่มีพื้นฐานและทักษะด้านต่างๆ อย่างหลากหลายเข้าร่วม Creating disruptive & groundbreaking solutions ที่เกิดจากการรวมกลุ่มต่างๆ เช่น เหล่า developers, designers และผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ เข้าร่วมโปรแกรม เช่น Hackathons และ Growing professional value โปรเกรมที่ผู้ถูกคัดเลือกจะได้ทำโปรเจกต์ที่ท้าทายและมีโอกาสได้เรียนรู้ ตลอดจนสร้างผลงานใหม่ๆและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว
น.ส.วลีพร สายะสิต GM บริษัท ที.ซี.ซี.เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) กล่าวทิ้งท้ายว่า ทีซีซีเทคยังมีความมุ่งมั่นในการร่วมผสานขุมพลังภายในระบบนิเวศเทคโนโลยี (Tech Ecosystem) จากผู้นำทางความคิด ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งทางด้านเทคโนโลยีและผู้นำในหลากหลายสาขา พาร์ตเนอร์ทั้งในและต่างประเทศให้พร้อมปลดปล่อยศักยภาพ เพื่อนำมาสนับสนุนและพัฒนายกระดับดิจิทัลในสังคมไทย ผ่าน OPEN-TEC platform