xs
xsm
sm
md
lg

“ดิจิทัลโพสต์ไอดี” ทางเลือกของการจ่าหน้ายุคดิจิทัล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การเปลี่ยนรูปแบบการจ่าหน้าซองจดหมาย หรือพัสดุ จากรหัสไปรษณีย์ 5 หลัก ที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี 2525 มาเป็นรูปแบบใหม่ในชื่อ ดิจิทัลโพสต์ไอดี (Digital Post ID) ที่ให้ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวมากขึ้น เนื่องจากใน QR Code ที่ปรากฏขึ้นจะรวบรวมข้อมูลทั้งชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์พร้อมระบุพิกัด ตำแหน่ง สถานที่ และพิกัดแนวดิ่ง ที่แม้จะอยู่บนอาคารชั้นสูงก็สามารถส่งของถึงมือได้

ข้อดีก็คือ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บในรหัสดิจิทัลโพสต์ไอดี และเมื่อจะฝากส่งสิ่งของข้อมูลจะปรินต์ออกมาในรูปแบบ QR Code ติดหน้าซอง หรือกล่องพัสดุแทน และมีเพียงเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทยเท่านั้นที่สามารถสแกนเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเพื่อจัดส่งได้ คลายข้อกังวลหากบุคคลอื่นหรือมิจฉาชีพมาสแกนขโมยข้อมูล

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า รหัสไปรษณีย์ใช้มานานกว่า 40 ปี ซึ่งไปรษณีย์ไทยคุ้นเคยกับการส่งสิ่งของถึงทุกบ้านได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แม้บางฉบับหรือพัสดุบางกล่องอาจมีข้อมูลจ่าหน้าไม่ครบถ้วน ด้วยความชำนาญเส้นทางจึงทำให้จัดส่งพัสดุถึงประชาชนได้ถูกที่

ถ้าจุดแข็งนี้สามารถพัฒนาต่อยอดสู่การขนส่งหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ย่อมเป็นประโยชน์กับคนไทยทุกคน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจึงได้มอบหมายให้ไปรษณีย์ไทยพัฒนาระบบดิจิทัลโพสต์ไอดี  ขึ้นมาควบคู่กับระบบรหัสไปรษณีย์แบบเดิมเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนได้ใช้งาน

“ประโยชน์ของดิจิทัลโพสต์ไอดี คือ ช่วยระบุตำแหน่งชัดเจน เพราะข้อมูลทั้งหมดอยู่ในฐานข้อมูล ผู้ใช้บริการลงทะเบียนกรอกข้อมูลง่าย ผู้ขนส่งได้รับข้อมูลชัดเจน ช่วยให้อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์บริหารการทำงานบริหารง่ายขึ้น และประสิทธิภาพการส่งของเพิ่มขึ้น”


ขณะเดียวกัน ยังตอบโจทย์โลกอนาคตที่อาจมีรูปแบบการขนส่งพัสดุที่หลากหลายมากกว่าในปัจจุบัน เช่น การขนส่งแบบโดรนหรือขนส่งแบบรถยนต์ไร้คนขับ เปลี่ยนที่อยู่ปลายทาง ยกตัวอย่างกรณีจัดทริปเที่ยวภูเก็ต แล้วเพิ่งจะสั่งชุดว่ายน้ำ ก็สามารถเปลี่ยนที่อยู่ในระบบดิจิทัลโพสต์ไอดีให้พัสดุไปส่งที่ภูเก็ตได้

ผู้ขนส่งจะเปลี่ยนเส้นทางตามข้อมูลบน QR Code กระตุ้นรายได้แก่อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเจดีย์หลายแห่งงดงาม มีอายุหลายร้อยปีที่อาจไม่ได้มีการระบุตำแหน่งที่ชัดเจนแต่ระบบดิจิทัลโพสต์ไอดีสามารถตั้งค่าพิกัดได้ ช่วยให้โปรโมตแหล่งท่องเที่ยวในไทยแก่นักท่องเที่ยวได้มากขึ้น และช่วยให้คนจัดรูทเที่ยวเองได้สะดวกขึ้น รองรับการช่วยเหลือประชาชนในยามวิกฤต เช่น เกิดเหตุอุทกภัย หรืออุบัติเหตุบนท้องถนน เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ดร.ปิยะนุช สัมฤทธิ์ นายกสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย ให้ข้อมูลเสริมว่า เศรษฐกิจดิจิทัลจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลให้ประชาชนก่อน

สำหรับระบบดิจิทัลโพสต์ไอดี นับเป็นจุดเริ่มต้นในการเริ่มทำโครงสร้างพื้นฐานที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ให้มีความทันสมัยจากการใช้เทคโนโลยี เพิ่มประสิทธิผล ลดต้นทุน ลดกระบวนการทำงาน คาดว่าจะเป็นกลไกที่ทำให้ผู้ประกอบการขนส่งต่างๆ เข้ามาทำงาน ใช้ข้อมูลร่วมกัน


กำลังโหลดความคิดเห็น