xs
xsm
sm
md
lg

AIS อุ่นใจไซเบอร์ ต่อยอดสร้างองค์ความรู้รับมือภัยไซเบอร์ผ่านแคมเปญ 'มีความรู้ก็อยู่รอด'

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



‘AIS อุ่นใจไซเบอร์’ ต่อยอดแคมเปญสร้างความรู้แก่พลเมืองดิจิทัลให้รู้เท่าทันโลกออนไลน์ ภายใต้หนังโฆษณา ‘มีความรู้ก็อยู่รอด’ พร้อมเดินหน้าทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งกรมสุขภาพจิต และตำรวจไซเบอร์ ให้คนไทยเข้าใจถึงภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายดิจิทัล ทำให้ต้องร่วมสร้างสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัย ด้วยการให้ความรู้ และตระหนักรู้เพื่อที่จะสามารถปกป้องตัวเองให้ปลอดภัย รวมถึงการนำความรู้ไปช่วยคนอื่นให้อยู่ในสังคมร่วมกัน

จากแนวคิดเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของแคมเปญอย่าง AIS อุ่นใจไซเบอร์ ที่เข้ามาส่งเสริมทักษะ และความรู้ทางด้านดิจิทัลแก่ผู้ใช้งาน ทั้งการเปิดหลักสูตร ‘อุ่นใจไซเบอร์’ ที่ร่วมมือกับหน่วยงานการศึกษาทั้งภาครัฐ และเอกชน ยกระดับการเรียนการสอนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลเสริมถึงสภาพของสังคมไทยในเวลานี้ โดยเฉพาะผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ ประกอบกับการพัฒนาของเทคโนโลยี และสุขภาพจากการแพร่ระบาดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจากภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน

กรมสุขภาพจิตมีการสำรวจว่า ประชาชนคนไทยที่มีความเครียดและก้าวไปสู่ขั้นทำร้ายตัวเองนั้นไม่มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตหรือไม่ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความรู้กันอยู่แล้ว แต่ไม่ได้นำมาปรับใช้ ทำให้เชื่อว่าการร่วมกันให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนไทยในวงกว้างจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้


สายชล กล่าวเพิ่มว่า จากการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เห็นเห็นถึงปัญหาที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อสังคม ก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน เลยเป็นที่มาของการเปิดแคมเปญการสื่อสาร ‘มีความรู้ก็อยู่รอด’ เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้คนไทยใช้รับมือกับภัยไซเบอร์

พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้ข้อมูลถึงสถิติการหลอกลวงที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในปัจจุบัน จะอยู่ในกลุ่มของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เข้ามาหลอกให้กลัวเพื่อโอนเงินต่างๆ รวมถึงการหลอกลงทุน และการหลอกให้รักแล้วโอนเงิน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากต่างประเทศ

ในขณะที่ภัยไซเบอร์อื่นๆ อย่างการหลอกซื้อขายสินค้า หรือหลอกให้ทำงานจะมีทั้งมิจฉาชีพที่อยู่ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือไม่หลงเชื่อทั้งโทรศัพท์ และข้อความจากคนที่ไม่รู้จัก และทำการยืนยันตัวตนให้ชัดเจนก่อนโอนเงิน

ทั้งนี้ เนื้อหาภายในหลักสูตรของ AIS อุ่นใจไซเบอร์ ที่เปิดให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ จะเน้นไปที่ 1.การปลูกฝังการใช้งาน 2.ปกป้องความเป็นส่วนตัว 3.ป้องกันภัยออนไลน์ และ 4.สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ที่ https://learndiaunjaicyber.ais.co.th/




กำลังโหลดความคิดเห็น