xs
xsm
sm
md
lg

เปิดทางรอด 4 ความท้าทาย Big Data ไทย "Blendata" แนะวิธีพ้นอุปสรรค-เพิ่มศักยภาพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์
เบลนเดต้า (Blendata) บริษัทผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ เผยจากประสบการณ์ด้านการเป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Data และการทำงานร่วมกับธุรกิจมากมายในประเทศไทยมากกว่า 7 ปี พบองค์กรในประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาในการบริหารจัดการข้อมูล และการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เผย 4 ความท้าทายในการทำ Big Data ที่องค์กรไทยต้องเผชิญ พร้อมแนะแนวทางแก้ไข ช่วยธุรกิจก้าวข้ามอุปสรรคการบริหารจัดการข้อมูลมหาศาลที่ซับซ้อนยุ่งยากให้ง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

นายณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เบลนเดต้า จำกัด บริษัทผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Data เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ทำงานด้าน Big Data มากกว่า 7 ปี พบว่าบริษัทจำนวนมากในประเทศไทยให้ความสำคัญและต้องการที่จะนำ Big Data มาใช้ แต่ยังคงเผชิญกับปัญหาด้านการบริหารจัดการ Big Data เพื่อให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่าต่อการลงทุน นับเป็นความท้าทายของภาคธุรกิจที่ต้องพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ Big Data ให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูง โดย 1 ใน 4 ความท้าทายด้านการบริหารจัดการ Big Data ที่องค์กรไทยกำลังเผชิญคือการรู้ว่า Big Data มีประโยชน์และควรเร่งทำ แต่ยังไม่มีแนวทางในการเริ่มต้น

"หลายองค์กรเจอกับคำถามที่ว่า “จะเริ่มทำอะไรดี” และเลือกที่จะลงทุนซื้อเครื่องมือต่างๆ มาไว้ก่อน แล้วหาทางใช้ภายหลัง ทำให้การวัดผลความสำเร็จโครงการหรือผลตอบแทนนั้นทำได้ยากหรืออาจไม่คุ้มกับการลงทุน เนื่องจาก Big Data ไม่ใช่เครื่องมือที่ซื้อมาแล้วจะสามารถให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจได้ทันที แต่ต้องอาศัยความร่วมมือหลายด้าน ทั้งด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ ด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านข้อมูลที่มีในมือ หรือด้านกระบวนการทำงานที่เอื้อต่อการทำโครงการ จากความท้าทายในข้อนี้องค์กรควรเริ่มต้นจาก 3 ขั้นตอน"


ขั้นตอนแรกคือการระบุปัญหาหรือความต้องการขององค์กรในภาพรวมทั้งหมด ขั้นตอนที่ 2 คือการจัดลำดับความสำคัญบน 2 ปัจจัยคือ ผลกระทบ และความยากในการทำ ซึ่งจะเลือกหัวข้อที่ได้รับผลกระทบมาก และมีความซับซ้อนในการดำเนินการน้อยกว่า

ขณะที่ขั้นตอนที่ 3 คือการลงรายละเอียดด้านข้อมูลในแต่ละหัวข้อที่คัดเลือกอาศัยความร่วมมือจากทั้งฝ่ายธุรกิจ ผู้ใช้งาน และไอที เพื่อกำหนดถึงรายละเอียดปลีกย่อย ตั้งแต่ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง วิธีการใช้ หลักการวิเคราะห์ที่ใช้งาน จนถึงผลลัพธ์ที่คาดหวัง ซึ่งหลังจากทำเสร็จแล้วจะสามารถตอบคำถามของธุรกิจได้ว่า ทำ Big Data เพื่อจุดประสงค์อะไร


สำหรับความท้าทายที่ 2 คือปัญหาด้านความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานและความไม่พร้อมของข้อมูล ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับองค์กรที่ก่อตั้งมายาวนาน มีช่วงเปลี่ยนผ่านของระบบไอที หรือมีการสร้างระบบใหม่ขึ้นมามากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ซี่งมักทำให้เกิดหนี้ทางเทคนิค (Technical debt) ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความซับซ้อนเชิงโครงสร้าง

3 วิธีที่จะก้าวข้ามความท้าทายนี้คือ 1.สร้างและแก้ไขไปพร้อมกัน โดยเลือกในส่วนที่ต้องแก้ไขระบบหลังบ้านแบบน้อยที่สุดและพร้อมที่สุด เพื่อให้ได้เห็นผลลัพธ์เร็วที่สุด 2.ใช้ระบบ Big Data ที่สามารถรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลในองค์กรได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างแหล่งข้อมูลจริงเพียงแห่งเดียว (Single source of truth) ที่ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในทันทีลดความซับซ้อนของข้อมูลและการทำงานที่ไม่จำเป็น และ 3.ดีไซน์ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบเปิด (Open-platform) เพื่อรองรับการเติบโตของข้อมูลในอนาคต สิ่งสำคัญคือระบบใหม่ที่ต้องยืดหยุ่นมากพอที่จะรองรับการใช้งานจากผู้ใช้งานหลายรูปแบบ

ความท้าทายที่ 3 คือปัญหาด้านการควบคุมค่าใช้จ่ายจากปริมาณข้อมูลที่เติบโตขึ้น เป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำคัญขององค์กรไทย ด้วยปริมาณข้อมูลที่เติบโตในยุคดิจิทัลซึ่งแปรผันโดยตรงกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น การเลือกใช้เทคโนโลยีทันสมัยที่เหมาะสมอย่าง Big Data technology มารองรับการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่นับเป็นทางเลือกสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพราะสามารถรองรับการขยายตัวของข้อมูลบนต้นทุนที่ต่ำ พร้อมทั้งสามารถบีบอัดข้อมูลให้เล็กลงได้หลายเท่าแต่ยังคงประสิทธิภาพเท่าเดิม ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมถึงการประมวลผลของ Big data technology ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่โดยเฉพาะ จึงทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลที่ใช้อยู่เป็นประจำ จากประสบการณ์ของบริษัทฯ พบว่าลูกค้าหลายองค์กรที่สามารถลดระยะเวลาประมวลผลจากหลักหลายชั่วโมง เหลือเพียงหลักนาทีหรือวินาทีเท่านั้น


ความท้าทายที่ 4 คือปัญหาด้านวัฒนธรรมองค์กรและบุคลากร วัฒนธรรมองค์กรแบบเดิมๆ เช่น การที่แผนกไอทีเป็นเจ้าของโครงการ Big Data เพียงแผนกเดียว โดยไม่ได้มีแผนกอื่น เช่น ภาคธุรกิจ การตลาด หรือฝ่ายดำเนินการเข้ามาร่วมออกแบบหรือใช้งานข้อมูล รวมถึงไม่ได้มีการส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรมีการใช้ข้อมูลในการทำงาน หรือผลักดันธุรกิจให้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven organization) รวมทั้งองค์กรยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้าน Big Data หรือ Data Analytics ซึ่งทำให้ยึดติดกับแนวคิดแบบเดิม

ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการใช้ข้อมูลในการทำงานและการตัดสินใจ (Data-driven) จึงเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการทำ Big Data ควรผลักดันและส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการทำโครงการ รวมทั้งการลงทุนกับเทคโนโลยีด้าน Big Data ที่สามารถใช้งานได้ง่ายและทำได้รวดเร็ว เพื่อลดระยะเวลาการเรียนรู้ (Learning curve) ของบุคลากร ทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงและใช้งาน Data ที่จำเป็นต่อการทำงานด้วยตนเองได้อย่างรวดเร็ว เป็นการวางรากฐานที่ดีตั้งแต่ระบบการทำงานและบุคลากรภายในองค์กร นำไปสู่วัฒนธรรมองค์กรที่ใช้ข้อมูลเป็นเข็มทิศในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจก้าวข้ามความท้าทายในการใช้ Big Data บริษัทฯ ได้พัฒนา Blendata Enterprise - Simplify Big Data Platform ระบบที่ตอบโจทย์ทุกขั้นตอนการจัดการ Big Data ตั้งแต่รวบรวมข้อมูล จนถึงการนำข้อมูลไปใช้ในแบบ Code-freeพร้อมจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่แบบ Real-time ช่วยเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจพร้อมสำหรับทุกการแข่งขันด้วยเวลาที่รวดเร็ว ลดเวลาและลดความซับซ้อนในการเข้าถึงข้อมูล แม้ผู้ใช้งานไม่มีความรู้ด้าน IT หรือ Big Data ให้ทุกคนในองค์กรสามารถใช้งานข้อมูลได้อย่างง่ายดายผ่านหน้าเว็บ Browser ด้วยราคาที่สามารถจับต้องได้ ลดการลงทุนทางด้านบุคลากรเทคนิคเฉพาะด้าน ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ไลเซนส์ และการบำรุงรักษา ช่วยให้องค์กรปรับเปลี่ยนสู่การเป็น Data-Driven Organization ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการรวบรวมทุกฟังก์ชันในการจัดการ Big Data ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว แบบ All-in-one อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูล Big Data ที่มีอยู่ในมือไปต่อยอดเพื่อยกระดับธุรกิจในด้านอื่นๆ ได้อย่างอิสระ


กำลังโหลดความคิดเห็น