xs
xsm
sm
md
lg

AIS 5G ประเดิมรถไฟฟ้าไร้คนขับ รับส่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



AIS 5G สานต่อความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อยอดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ด้วยการนำระบบขนส่งต้นแบบอัจฉริยะ “รถไฟฟ้าไร้คนขับ” ขับเคลื่อนบนโครงข่าย AIS 5G ให้บริการทดลองรับ-ส่งในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า ที่ผ่านมา AIS ได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยธรรมศตร์เปิดตัวศูนย์ปฏิบัติการความยั่งยืนแห่งแรกในเอเชีย (SDG Lab by Thammasat & AIS) เพื่อให้เป็นต้นแบบของการนำเทโนโลยี 5G มาใช้งาน โดยเฉพาะการพัฒนาสู่สังคมเมืองแบบยั่งยืน

หนึ่งในความสำเร็จที่เกิดขึ้นคือการพัฒนา รถไฟฟ้าไร้คนขับ (Autonomous EV Car) ที่สามารถนำมาให้บริการรับ-ส่งนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย โดยเริ่มเปิดทดสอบให้บริการแล้ววันนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนในช่วงเดือนมกราคม

“การให้บริการทดลองรถยนต์ไร้คนขับในครั้งนี้ เปรียบเหมือนการก้าวออกนอกคอมฟอร์ทโซน เพราะถือเป็นเทคโนโลยีที่มีความท้าทายมาก โดยในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปรียบเสมือนแล็บทดลองขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถนำดิจิทัลมาใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และสิ่งแวดล้อม”

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ประธานคณะกรรมการบริหารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า วัตถุประสงค์หลักของการทดลองใช้รถไฟฟ้าไร้คนขับมาให้บริการในมหาวิทยาลัย คือการแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างยั่งยืน

โดยเฉพาะในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้หันมาใช้รถพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว การเลือกนำรถไฟฟ้าแบบอัตโนมัติมาใช้ถือเป็นระบบการขนส่งต้นแบบอัจฉริยะที่ทำงานบนเครือข่าย 5G ที่ใช้นวัตกรรมไฟฟ้ามาเสริมประสบการณ์ของเทคโนโลยีด้วย


เบื้องต้น รถไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติจะให้บริการในลกษณะของการขับเคลื่อนตามเส้นทางที่กำหนด โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณ SDG Lab แล้วใช้เส้นทางหลักถนนปรีดี พนมยงค์ ก่อนวนกลับไปที่ SDG Lab ระยะทางประมาณ 770 เมตร

ทั้งนี้ การพัฒนา Autonomous EV Car เป็นการนำรถพลังงานไฟฟ้า 100% ขนาด 7 ที่นั่ง มาติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดระยะรอบคัน พร้อมเลเซอร์ LiDAR ในการตรวจจับวัตถุ เพื่อความปลอดภัยเพิ่มเติม ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติเชื่อมต่อกับคลาวด์ผ่าน AIS 5G ทำให้สามารถกำหนดเส้นทางในการวิ่ง และจุดจอดได้ หรือจะใช้งานในลักษณะของการควบคุมระยะไกลก็ได้เช่นเดียวกัน

นายวสิษฐ์ กล่าวต่อว่า การทดลองในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนำรถไฟฟ้าอัตโนมัติมาให้บริการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนนำไปใช้งานในพื้นที่อื่นๆ ต่อไปในอนาคต เพราะจะได้ข้อมูลโดยเฉพาะในแง่ของความปลอดภัยมาวิเคราะห์ และพัฒนาเพิ่มเติมด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น