xs
xsm
sm
md
lg

AIS เสริมการทำงานในภาคอุตสาหกรรมด้วย 5G ร่วมมือ TCS วางระบบ IoT ภาคการผลิตในโรงงาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



AIS จับมือ “ทาทา คอนซัลแตนซี่ เซอร์วิส” (TCS) ที่ปรึกษาและให้บริการไอทีสำหรับภาคธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมชั้นนำ ร่วมกันพัฒนาโซลูชัน IoT บนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ตอบโจทย์ภาคการผลิตและอุตสาหกรรมโรงงาน ทั้งโรงงานอุตสาหกรรมอัจฉริยะ digital twin การจัดการพลังงาน เสริมความปลอดภัยสำหรับพนักงาน หรือแม้แต่บริหารจัดการโลจิสติกส์ เพื่อช่วยทำให้โรงงานและภาคอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างความต่อเนื่องของการผลิต

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า เป้าหมายของ AIS ต่อการนำศักยภาพ 5G เข้าเชื่อมต่อเพื่อยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของการพัฒนาโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพสามารถเชื่อมต่อการทำงานในภาคส่วนต่างๆ ได้ทุกรูปแบบ และที่สำคัญในส่วนของการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์เพื่อใช้ความสามารถร่วมกันในการพัฒนาและส่งต่อบริการดิจิทัล หรือโซลูชันที่สอดคล้องกับความต้องการในโรงงาน รวมทั้งสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

โดยครั้งนี้นับว่าเป็นอีกครั้งสำคัญที่เรามีโอกาสได้ทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ระดับโลกอย่าง ทาทา คอนซัลแตนซี่ เซอร์วิส (TCS) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและ System integrator ร่วมกันสร้างโซลูชันด้านเทคโนโลยี IoT เพื่อหนุนกระบวนการทำงานภาคการผลิตภายในโรงงานให้มีศักยภาพตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่ที่มุ่งเอาเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยเสริมประสิทธิภาพในมิติต่างๆ ของการทำงานที่ครอบคลุมจนสร้างขีดความสามารถที่แข็งแกร่ง ยกระดับความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยที่จะมีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศต่อไปในอนาคต


สำหรับความร่วมมือของ AIS และ TCS ในครั้งนี้เป็นการนำเอา 2 จุดแข็งของแต่ละองค์กรมาหลอมรวมกันเพื่อให้เกิดการบริการที่ตรงกับความต้องการของโรงงานต่างๆ ในประเทศไทย โดยจะใช้ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในด้านความเป็นผู้นำเทคโนโลยี IoT ของ AIS และความเป็นผู้นำด้านที่ปรึกษาและการให้บริการไอทีองค์กรที่หลากหลายของ ทาทา คอนซัลแตนซี่ เซอร์วิส (TCS) เพื่อเสนอบริการโซลูชันด้าน IoT ที่ช่วยตอบโจทย์ในการเสริมประสิทธิภาพด้านการผลิต ทำให้ผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงควบคุมต้นทุนในการผลิตที่ครอบคลุมในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น


· กลุ่ม Smart manufacturing : โซลูชันอัจฉริยะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานต่างๆ ภายในโรงงาน โดยการเชื่อมต่อข้อมูลจากอุปกรณ์ เครื่องจักรด้วย IoT ไปยังดิจิทัลแพลตฟอร์ม เช่น condition based maintenance, predictive maintenance, remote monitoring, remote diagnostics, digital twin เป็นต้น

· กลุ่ม Energy management : โซลูชันการจัดการพลังงานสำหรับอาคาร สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รักษาสิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนของระบบการทำงานต่างๆ รวมถึงสายการผลิตได้เป็นอย่างดี

· กลุ่ม Connected workforce : โซลูชันเพื่อสนับสนุนให้พนักงานสามารถทำงานได้จากนอกสถานที่ โดยใช้เทคโนโลยี เช่น AR/VR เพื่อควบคุมการทำงาน เทรนนิ่งพนักงาน ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการทำงาน หรือแม้แต่การ ควบคุมป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงาน เช่น การใช้ IoT ควบคุมระยะห่างระหว่างบุคคล การสวมชุดทำงานที่ถูกต้อง การปฏิบัติตนที่ถูกต้องในพื้นที่การทำงาน เป็นต้น

· กลุ่ม Logistic optimizer : โซลูชันเพื่อบริหารจัดการการขนส่ง การจัดการด้านคลังสินค้าให้มีความชาญฉลาดตอบโจทย์การใช้งานรูปแบบต่างๆ ภายในโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ทางด้าน วิจายา ปันตยา ผู้จัดการสาขา ทาทา คอนซัลแตนซี่ เซอร์วิส (TCS) ประจำประเทศไทย ประจำประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมา ทาทา คอนซัลแตนซี่ เซอร์วิส (TCS) มีความเชี่ยวชาญในการทำงานกับโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ทำให้เราเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะช่วยทำให้ศักยภาพการทำงานของภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพในทุกมิติ ทั้งเรื่องของการบริหารจัดการ การควบคุมต้นทุน หรือแม้แต่การสร้าง Productivity ให้การทำงาน ซึ่งการได้ร่วมงานกับ AIS ในครั้งนี้จะเป็นการทำให้เรื่องดังกล่าวเป็นรูปธรรมและเกิดการใช้งานได้จริงมากยิ่งขึ้น


โดยเราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมตื่นตัวและเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ที่จะช่วยทำให้เกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้จริง เป้าหมายที่เราและ AIS มองร่วมกันจึงไม่ใช่แค่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่เรายังมองถึงภาพใหญ่ที่ความร่วมมือนี้จะมีส่วนช่วยสำคัญในการสร้างจุดเด่นให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งในท้ายที่สุดจะทำให้ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น