ความจำเป็นในการสวมหน้ากากหรืออุปกรณ์ป้องกันบนใบหน้ารูป ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในหลายประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา บางทีอาจต้องกลับมาคิดใหม่ว่า สิ่งเหล่านี้ใช่ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีด้านสุขภาพ หรือเป็นนวัตกรรมด้านดิจิทัลหรือไม่ หากไม่นับรวมการพัฒนาต้นแบบของ “หน้ากากอัจฉริยะ” ที่สามารถใช้ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนได้
แน่นอนว่า ก่อนที่จะเกิดวิกฤติการณ์แพร่ระบาดทั่วโลก หลายคนมักคุ้นชินกับการสวมหน้ากากบางรูปแบบ เช่น หมวกกันน็อก หรืออุปกรณ์ป้องกันสวมศีรษะ เสื้อแจ็กเกต ถุงมือ หรือแม้กระทั่งชุดเกราะ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสายงานที่ปฏิบัติ
อุปกรณ์ที่กล่าวมาเกือบทั้งหมดนั้นอาจดูไม่ได้มีเทคนิคการสวมใส่ที่ยุ่งยาก แต่ทว่า ขณะนี้ สิ่งที่เรากลับกังวลมากสุด คือ เรื่องการใช้งานและความจำเป็นในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันแต่ละชิ้นมากยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเกิดคำถามที่ว่าแล้วจะมีเทคโนโลยีอะไรที่จะมาช่วยให้ทุกคนปลอดภัยมากขึ้นเมื่อต้องสวมหน้ากากได้จริงๆ
ประมวลผลภาพอัจฉริยะ Image Intelligence วิธีที่เหนือกว่าการใช้ RFID
ในอดีต เราอาจเคยใช้เทคโนโลยีระบุข้อมูลแบบ RFID เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์และคนที่สวมอุปกรณ์ในที่ทำงาน แม้ว่า RFID จะมีความชาญฉลาดและมีอรรถประโยชน์มากมายก็ตาม แต่ก็มีข้อจำกัดในการใช้งาน เพราะอุปกรณ์ป้องกันบางชนิดก็ใช้แล้วทิ้งจึงไม่จำเป็นต้องใช้ระบบ RFID ซึ่งหลักสำคัญที่ระบบติดตามด้วยสัญญาณ RFID จะมีความแม่นยำสูง แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ปฏิบัติงานกำลังสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันได้อย่างถูกวิธีหรือไม่
ฟังดูแล้วอาจแปลกๆ แต่การใส่เสื้อแจ็กเกตป้องกันผิดวิธีก็อาจเกิดขึ้นได้ เช่น อาจจะลืมรูดซิป หรือลืมสวมเสื้อชูชีพไว้ข้างนอกเมื่ออยู่ที่ทะเล หรือผู้ปฏิบัติงานแขวนหมวกนิรภัยไว้ที่เอวซึ่งก็ยังถือว่าดีที่พวกเขาเอาติดตัวไปด้วย แต่กลับใส่ไม่ถูกวิธี และมาถึงเรื่องที่พวกเราทราบกันดีว่า “การใส่หน้ากากป้องกันโรคโควิดไว้ใต้คาง โดยไม่ปิดปากและจมูกก็นับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเช่นกัน”
ล่าสุด ได้มีการริเริ่มนำร่องการใช้งานต้นระบบซอฟต์แวร์ประมวลผลภาพเพื่อจับภาพพฤติกรรมผู้สวมใส่หน้ากากและเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันในที่ทำงานรวมถึงสถานที่อื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดหนิ่งระหว่างมนุษย์กับระบบดิจิทัล
ในขณะนี้มีการอ้างอิงถึงโครงการนำร่องต่างๆ ที่น่าสนใจซึ่งได้นำไปใช้กันบ้างแล้ว ทำให้สามารถใช้อธิบายกลไกของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งระหว่างมนุษย์กับดิจิทัล ที่เปิดรับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI รวมกับกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาประยุกต์ใช้ จะเห็นได้จากอุตสหากรรมคมนาคมขนส่งกำลังให้ความสนใจถึงความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีและด้านกายภาพมาใช้ติดตามใบหน้าในช่วงที่โลกกำลังฟื้นตัวภายหลังสิ้นสุดการแพร่ระบาดไวรัส โดยได้ทดลองใช้วิธีการสร้างแผนภาพดูพฤติกรรม (Heatmap) ในกลุ่มผู้โดยสาร ด้วยการไม่เปิดเผยตัวตนเพื่อให้เกิดการละเมิดข้อมูล ซึ่งเป็นการติดตามในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นผ่านเทคโนโลยีติดตามใบหน้าเพื่อวิเคราะห์เจาะลึกลงไปถึงพฤติกรรมผู้โดยสารให้เห็นว่ากำลังใส่หน้ากากหรือไม่ และได้ใส่อย่างถูกต้องหรือไม่
ระบบดังกล่าวนี้จะเน้นที่ผู้คนเป็นหลัก ไม่เน้นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล โดยระบบนี้ยังสามารถสร้างชุดข้อมูลมหาศาลที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มผู้โดยสารกำลังทำอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน และทำอะไรภายในสถานีรถไฟ เรือสำราญ หรืออาคารผู้โดยสารในสนามบิน จากนั้นระบบซอฟต์แวร์จะทำการประมวลผลติดตามภาพใบหน้าด้วยวิธีการคำนวณที่มีชุดคำสั่งที่เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างเครากับหน้ากาก หน้ากากกับผ้าพันคอ รวมถึงรู้ถึงการสวมใส่หน้ากากได้ถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง
กระบวนการนี้ยังสามารถป้อนข้อมูลผ่านวิดีโอสตรีมมิ่งแบบเรียลไทม์ได้ด้วย และสามารถใช้ AI มาทำการปรับปรุงพัฒนาอัลกอริธึมได้อย่างต่อเนื่อง แนวคิดนี้เป็นการรับข้อมูลสดจากกล้องหลายตัวที่กำลังทำงานอยู่โดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นกล้องบนเพดาน ผนังตามพื้นที่สาธารณะ ดังนั้น ทีมไอทีจะสามารถประยุกต์ใช้แบบจำลองทางสถิติที่เฉพาะเจาะจงจากระบบ AI ที่สร้างขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ถ่ายโอนมาเก็บไว้ และจำแนกแบ่งกลุ่มคนออกเป็น กลุ่มสวมหน้ากาก กลุ่มไม่สวมหน้ากาก และกลุ่มใส่หน้ากากผิดวิธี
ข้อมูล : กับการเชื่อมต่อ แลกเปลี่ยน ผสานรวมการวิเคราะห์
เพื่อทำให้ระดับผู้ใช้ทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลอัจฉริยะได้จริง ด้วยเทคโนโลยีหลังบ้านที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ได้จริง คือซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มข้อมูลที่สามารถบริการจัดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก การสตรีมมิ่งข้อมูล และการผสานรวมกันในการแลกเปลี่ยนรายละเอียดข้อมูลว่ากลุ่มคนใดกำลังสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเมื่อไหร่และที่ไหน แพลตฟอร์มข้อมูลจึงต้องสามารถรับข้อมูล ถ่ายโอนมาเก็บไว้ และรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งได้
แพลตฟอร์มข้อมูลยังต้องสามารถสื่อสารไปยังภายนอกและรายงานกลับมายังบุคคลได้ (หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของพนักงานในพื้นที่ที่มีกลุ่มคนเดินทางไปมาหรืออยู่อาศัยได้) เพื่อแจ้งว่ากลุ่มคนเหล่านั้นละเมิดกฎข้อบังคับหรือไม่ รวมถึงระบบจัดการข้อมูลขององค์กร (Master Data Management หรือ MDM) ได้รับรู้ถึงกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับ อุปกรณ์ป้องกันทุกประเภทที่ปรากฏขึ้นมา ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการนำเทคโนโลยี Application Programming Interface (API) มาใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบคลาวด์จากภายนอกด้วย โดยเทคโนโลยีที่ได้นำเสนอไปทั้งหมดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความอัจฉริยะด้านข้อมูล การผสานรวม และกระบวนการวิเคราะห์
ตัวอย่างเหล่านี้ไม่ได้ใช้แค่ติดตามผู้โดยสารในสนามบินถึงการใส่หน้ากากป้องกันไวรัสเท่านั้น ยังต่อยอดขยายความปลอดภัยไปสู่พื้นที่ก่อสร้าง แท่นขุดเจาะน้ำมัน งานระบบสาธารณูปโภค และสภาพแวดล้อมทางวิศวกรรมโยธาขนาดใหญ่อื่นๆ ได้ด้วย ข้อดีของการนำระบบอัจฉริยะใช้เพื่อการเฝ้าระวัง การละเมิดกฎระเบียบ เพื่อช่วยลดอัตราการบาดเจ็บให้อยู่ในระดับต่ำ ช่วยลดการจ่ายค่าเบี้ยประกัน พนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างผลกำไรให้แก่ธุรกิจมากขึ้น
วิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลเชิงประวัติและข้อมูลแบบเรียลไทม์
แนวคิดดังกล่าวนี้ รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนสามารถนำไปใช้ทำให้ชีวิตของประชาชนปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยจุดแข็งด้านความสามารถในการติดตามข้อมูลแบบเรียลไทม์นำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีต ทำให้เกิดการเรียนรู้และเกิดความปลอดภัย เชื่อมั่นในการปฏิบัติงาน ซึ่งติดตามข้อมูล ณ เวลาปัจจุบันเทียบกับข้อมูลในอดีต ทำให้สามารถตรวจสอบและมองเห็น ติดตามพัฒนากการใส่หน้ากาก การสวมหมวกนิรภัย หรือสภาพแวดล้อมอื่นๆ ให้เห็นถึงรายละเอียดต่างๆ ว่า โลกกำลังหมุนไปในทิศทางใด เราสามารถเปลี่ยนโลกให้เป็นที่ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นในอนาคตด้วยข้อมูลที่กลายเป็นสิ่งพื้นฐานสำหรับนวัตกรรมทุกๆ อย่างในวันพรุ่งนี้และในอนาคตข้างหน้า