Facebook ประกาศรายชื่อชุมชนกลุ่มแรกที่ผ่านการอบรมโครงการ Community Accelerator โดยมี Local Alike/Local Aroi และ Ooca 2 ชุมชนจากไทยที่ได้รับเงินทุน 7.75 แสนบาท
เกรซ แคลปแฮม หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรและโครงการเพื่อชุมชนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Facebook กล่าวว่า ภารกิจของ Facebook คือการเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ร่วมสร้างชุมชนเพื่อเชื่อมโลกเข้าด้วยกัน
“เราริเริ่มโครงการ Facebook Community Accelerator เพื่อช่วยให้หัวหน้ากลุ่มชุมชนบน Facebook สามารถขยายการเติบโตเพื่อสร้างชุมชนที่มีความหมายและสร้างความแตกต่างให้แก่โลกใบนี้ได้ แม้ว่าจะเผชิญกับความท้าทายจากโควิด-19”
เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการนี้มาสานความสำเร็จที่เกินเป้าหมายที่เคยตั้งเอาไว้ พร้อมแสดงความยินดีกับผู้เข้าร่วมโครงการ และหวังที่จะได้เห็นความสำเร็จต่อไป
สเตฟานี แอโรว์สมิธ ผู้ร่วมก่อตั้ง Impact Hub กรุงจาการ์ตา และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของ Facebook Community Accelerator กล่าวว่า การที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ผู้นำเหล่านี้ได้สร้างขึ้นในชุมชน ในหลากหลายมิติของปัญหาสังคมทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นอย่างมาก
แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายจากโควิด-19 พวกเขาก็ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของพวกเขา และยังเป็นการตอกย้ำว่าบทบาทของพวกเขานั้นสำคัญเพียงใด ดิฉันจะติดตามการเติบโตของพวกเขาจากการสร้างชุมชนที่ใหญ่ขึ้นซึ่งจะสะท้อนไปเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคนี้ต่อไป”
สำหรับโครงการ Facebook Community Accelerator 2020 มีผู้เข้ารอบ จำนวน 77 ชุมชน จาก 6 ทวีปทั่วโลก ซึ่งมี 13 ชุมชนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ผ่านการคัดเลือก
ชุมชน Local Alike/Local Aroi แพลตฟอร์ม Ooca จากประเทศไทย ทีม BEAGIVER และทีม ARK - Advancement for Rural Kids จากประเทศฟิลิปปินส์ เป็นชุมชน 4 อันดับแรกจากเอเชียแปซิฟิกที่จะได้รับเงินทุนเพิ่มเติมจำนวน 25,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 775,000 บาทต่อชุมชน เพื่อสนับสนุนการเติบโตของแผนงานและเป็นการแสดงการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากเครือข่ายและทีมงานจากโครงการนี้ของ Facebook
ชุมชน Local Alike/Local Aroi ก่อตั้งโดยสมศักดิ์ บุญคำ ในปี พ.ศ.2554 เพื่อพัฒนา ยกระดับศักยภาพ และเชื่อมชุมชนการท่องเที่ยวของไทยไปทั่วโลก และจากสถานการณ์โควิค-19 ที่ระบาดในประเทศไทย Local Alike จึงทำการเปิดตัว Local Aroi เพื่อนำเสนออาหารจานเด็ดให้แก่ผู้ใช้งานชาวไทย
ปัจจุบัน หมู่บ้านกว่า 300 แห่งในประเทศไทยสามารถดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวเชิงท้องถิ่นได้อย่างประสบความสำเร็จและยั่งยืนด้วยตนเอง ชุมชนแห่งนี้ยังได้ทำงานร่วมกับหมู่บ้านอีก 150 แห่ง และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่าราวกว่า 62 ล้านบาท (2 ล้านเหรียญสหรัฐ)
ทพญ.กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ เริ่มแพลตฟอร์ม Ooca ในปี พ.ศ.2559 เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและเป็นสื่อกลางที่เชื่อมระหว่างจิตแพทย์ นักจิตวิทยาและผู้ที่ต้องการรับคำแนะนำ โดยไม่เปิดเผยตัวตนผ่านทางวิดีโอคอล นับตั้งแต่เริ่มเปิดตัว Ooca ได้กลายเป็นผู้นำแพลตฟอร์มสำหรับให้คำปรึกษา โดยมีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนราว 86,000 คน และมีผู้ที่เข้ารับคำแนะนำออนไลน์กว่า 8,000 คน
“ทีมของเราเข้าร่วมโครงการ Facebook Community Accelerator เพื่อที่จะเรียนรู้ว่าเราจะสามารถเปลี่ยนไอเดียที่เรามีให้กลายเป็นจริงเพื่อสร้างความแตกต่างให้แก่สังคมได้อย่างไร แต่สิ่งที่เราได้รับกลับมากกว่านั้น เพราะเรายังได้เงินทุน ความรู้ และการสนับสนุนจากเครือข่ายอีกด้วย”