xs
xsm
sm
md
lg

Digital Transformation คุณพร้อมไหมที่จะอยู่รอดในยุคดิจิทัล

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นอกเหนือจากการแข่งขันอันดุเดือดทั้งจากคู่แข่งที่มีอยู่เดิมและคู่แข่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการลดต้นทุนในการดำเนินงาน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบไอทีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจทุกระดับ ไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ หากไม่เรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้งาน นั่นหมายถึง พื้นที่ยืนในสมรภูมิเศรษฐกิจดิจิทัลของคุณก็จะยิ่งเหลือน้อยลงทุกที

คำถามก็คือ แล้วคุณพร้อมแค่ไหนที่จะอยู่รอดในยุคดิจิทัล?


ลำพังการจัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้งานอาจไม่ใช่สูตรสำเร็จของการอยู่รอด เพราะธุรกิจยุคดิจิทัลยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภัยไซเบอร์ การจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล การนำเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ มาใช้งาน และการปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ

จะจัดการกับภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ ได้อย่างไร?

โลกดิจิทัลสร้างโอกาสมากมายให้ธุรกิจ แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงจากภัยคุกคาม การไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยในการรับมือกับมัลแวร์ แฮกเกอร์ การจารกรรมข้อมูล แรนซัมแวร์ ข้อมูลรั่วไหล ที่รัดกุมเพียงพอ ก็จะสร้างความเสียหายจนเราคาดไม่ถึง ทั้งเวลา ค่าใช้จ่ายและความเชื่อมั่นของลูกค้า

ระบบอัตโนมัติและ AI ช่วยธุรกิจได้จริงหรือ?

วันนี้หลายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศได้เริ่มนำกระบวนการทำงานอัตโนมัติและ AI (Artificial Intelligence) มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงานกันแล้ว ถ้าเรายังไม่เริ่มตั้งแต่วันนี้ ส่วนแบ่งการตลาดที่มีอยู่ก็จะยิ่งลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุด ธุรกิจก็คงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และถึงกาลล่มสลาย ประเด็นอยู่ที่ว่าจะเริ่มต้นนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในธุรกิจอย่างไรดี

จะนำข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร?

ข้อมูลคือทรัพยากรที่มีค่าสูงสุด และสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจได้อย่างมากมายมหาศาล เช่น ข้อมูลลูกค้านับแสนหรือล้านราย ข้อมูลการขาย ข้อมูลการผลิต การสั่งซื้อวัตถุดิบ หากวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง คุณก็สามารถคาดการณ์แนวโน้มการตลาด และรู้จักลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาคือคุณจะเริ่มต้นจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างไร มีเครื่องมืออะไรช่วยได้บ้าง

จะปฏิบัติตามกฏหมายดิจิทัลอย่างถูกต้องได้อย่างไร?

หนึ่งในประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับองค์กรที่มีการเก็บข้อมูลของลูกค้า พนักงาน หรือบุคคลอื่น เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจ คือการต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับกฎหมายความคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของบุคคล (Privacy Laws) หรือ พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล โดยกฏหมายดังกล่าว จะเป็นการกำหนดกฎข้อบังคับ แนวทางปฏิบัติ และบทลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญาอย่างชัดเจน หากผู้ถือครองข้อมูลไม่ปฏิบัติตาม ทำให้เกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหล นำข้อมูลไปใช้ในทางที่ละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูล

เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

หลายคนอาจมองว่าสิ่งเหล่านี้กำลังเข้ามาคุกคามธุรกิจ แต่ในทางกลับกัน หากเราสามารถนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม นั่นคือจุดเปลี่ยนสำคัญเลยก็ว่าได้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนสู่องค์กรยุคดิจิทัล หรือการทำ Digital Transformation เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลหลากหลายรูปแบบมาประยุกต์ใช้งาน แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะการทำ Digital Transformation เปรียบเสมือนการก้าวสู่เขาวงกตด้านเทคโนโลยี ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จที่ลงตัวสำหรับทุกธุรกิจว่าจะต้องเริ่มจากจุดใดหรือนำเทคโนโลยีใดมาประยุกต์ใช้งานได้บ้าง
ลำพังฝ่ายไอที ซึ่งเปรียบเสมือนฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อน Digital Transformation ขององค์กรเองมีงานล้นมือ จนแทบไม่มีเวลาพัฒนาโซลูชันเพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจเลย

ผู้ช่วยสำหรับธุรกิจยุคดิจิทัล

ในฐานะของบริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีระดับโลก ฟูจิตสึ ไม่เพียงทำหน้าที่จัดหาโซลูชันที่ตรงกับความต้องการมาใช้งานเท่านั้น แต่ยังพร้อมเป็นที่ปรึกษาที่มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ มีความเข้าใจในธุรกิจ และสามารถนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายได้อย่างลงตัว

ด้วยประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา วางแผน ติดตั้งโซลูชัน ให้บริการด้านดิจิทัลโซลูชัน แก่องค์กรต่างๆ มายาวนาน ทำให้ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด มีความเข้าใจความท้าทายต่างๆ เหล่านี้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของ Global Premium Service Integrator (GPSI) ยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจ และ 4 บริการหลัก (Core Solution) ที่ไม่เพียงเป็นรากฐานด้านเทคโนโลยีที่สำคัญขององค์กร แต่ยังเป็นสิ่งช่วยให้การทำ Digital Transformation ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และลงตัวกับทุกความต้องการ

ทั้งนี้ 4 บริการหลัก ที่เป็นเสมือนรากฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรยุคดิจิทัล ประกอบด้วย

Managed Service เพิ่มความคล่องตัวให้ธุรกิจ แบ่งเบาภาระด้านไอที

เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับการทำงาน สร้างความมั่นคงในกระบวนการทำงาน และช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ฟูจิตสึมีทีมงานทั้งในและจากทุกทวีปเข้ามาช่วยงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์แบบครบวงจร บริการระบบคลาวด์ด้านต่างๆ บริการช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ผู้ใช้ อันจะช่วยให้บุคคลากรด้านไอทีมีเวลาทุ่มเทกับการพัฒนาโซลูชันดิจิทัล เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ

Security Solution สร้างเกราะป้องกัน เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างอุ่นใจ

ฟูจิตสึพร้อมให้ระบบรักษาความปลอดภัยด้านไอทีแบบครบวงจรให้แก่ลูกค้า ทั้งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ระบบเครือข่าย เซิร์ฟเวอร์รวมถึงข้อมูล ด้วยการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมให้คำปรึกษาและจัดทำระบบแบบครบวงจร เพื่อให้องค์กรสามารถรับมือกับภัยคุกคามที่มีอยู่ในปัจจุบัน และอันตรายรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน

ERP Solution รวมศูนย์ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ

ไม่ได้เป็นเพียงการนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ซอฟต์แวร์ที่เป็นรากฐานการดำเนินงานการทำงานของหน่วยงานแต่ละแผนกเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ทำงานได้เร็วขึ้น ความผิดพลาดน้อยลงมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการรวมศูนย์ “ข้อมูล” อันจะช่วยให้การนำมาใช้เพื่อวางแผนหรือกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ทำได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว

Digital Innovation ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมสุดล้ำในโลกดิจิทัล


ด้วยประสบการณ์การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลไปติดตั้งและใช้งานจริงในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก ทำให้ฟูจิตสึมีความเข้าใจและมีแนวทางการปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ ที่สามารถนำมาสร้างเป็นโซลูชันด้าน Data Analytics, Smart Workplace, Smart Factory และ Smart Retail รวมถึงการนำโซลูชั่นระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Robotic Process Automation หรือ RPA) มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ให้มีความรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้องค์กรได้รับประโยชน์จากบริการต่างๆ ที่ฟูจิตสึพัฒนาขึ้น เพื่อขับเคลื่อนทุกองค์กรในยุคดิจิทัล


กำลังโหลดความคิดเห็น