xs
xsm
sm
md
lg

ดีแทคเปิดตัว “dtac Parent Guide” คู่มือสอนลูกสำหรับพ่อแม่ยุคดิจิตอล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ดีแทค จับมือยูนิเซฟ เปิดตัวหนังสือ “dtac Parent Guide คู่มือพ่อแม่ยุคดิจิตอล เข้าใจลูก เข้าใจโลกไซเบอร์” หวังสร้างภูมิคุ้มกันเด็กในโลกไซเบอร์ไม่ให้ถูกกลั่นแกล้ง หรือหลอกลวง ชี้เป็นคู่มือประจำบ้านที่พ่อแม่ทุกคนควรอ่าน หวังให้พ่อแม่เป็น “Digitally Savvy” ผู้ที่รู้จัก และเข้าใจการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย และสร้างสรรค์ หลังผลสำรวจพบเด็ก 59% หันหลังให้พ่อแม่ และเลือกที่จะปรึกษาเพื่อน หรือคนที่ไม่รู้จักบนโลกอินเทอร์เน็ตแทน และเด็กกว่า 48% ไม่มีภูมิคุ้มกันตนเองบนโลกออนไลน์

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทค ร่วมกับเทเลนอร์ กรุ๊ป และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย จัดทำหนังสือ “dtac Parent Guide คู่มือพ่อแม่ยุคดิจิตอล เข้าใจลูก เข้าใจโลกไซเบอร์” ภายใต้โครงการ Safe Internet อินเทอร์เน็ตปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยคู่มือนี้จะทำให้พ่อแม่เข้าใจอินเทอร์เน็ต และเข้าใจลูกในยุคดิจิตอลมากขึ้น

โดยนอกเหนือไปจากให้ความสำคัญต่อการบริการที่มีคุณภาพแล้ว ดีแทคยังมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย และสร้างสรรค์ ซึ่งผลสำรวจของเทเลนอร์ กรุ๊ป กลับพบตัวเลขที่น่าตกใจ คือ เด็ก 59% หันหลังให้พ่อแม่ และเลือกที่จะปรึกษาเพื่อน หรือคนที่ไม่รู้จักบนโลกอินเทอร์เน็ตแทน และเด็กกว่า 48% ไม่มีภูมิคุ้มกันตนเอง และเสี่ยงต่อการถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ โดยมีแนวโน้มที่สูงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“เด็ก และเยาวชนเป็นกลุ่มลูกค้าฐานใหญ่ที่มีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 75% และมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดถึง 54.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน) ดังนั้น การสร้างสังคมดิจิตอลที่เข้มแข็ง (Digital resilience) ด้วยการปลูกฝัง และสร้างการรับรู้ให้พวกเขาตระหนักถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัย และสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการใช้งานจึงเป็นสิ่งที่ควรจะส่งเสริมผ่านพ่อและแม่ของเด็กซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญที่จะปลูกฝัง และสร้างการรับรู้เพื่อสร้างเกราะป้องกัน”

นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดีแทค กล่าวว่า dtac Parent Guide มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พ่อแม่เป็น “Digitally Savvy” ผู้ที่รู้จัก และเข้าใจการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย และสร้างสรรค์ ซึ่งจะต้องมีความรู้ และเข้าใจว่า โลกอินเทอร์เน็ตคืออะไร ทำไมต้องสอนลูกให้รู้จักอินเทอร์เน็ต วิธีการสอนลูกอย่างไรให้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างชาญฉลาด ภัยที่พ่อแม่ต้องระวัง พฤติกรรมการกลั่นแกล้งอินเทอร์เน็ตคืออะไร พฤติกรรม Sexting และพฤติกรรมออนไลน์อื่นๆ ที่จะนำพาไปสู่ปัญหาในสังคม รวมถึงการรู้จักแอปพลิเคชันที่เด็ก และเยาวชนใช้กัน

โดยนอกจากจะมีคู่มือแล้ว ดีแทค ยังได้จัดกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น กิจกรรม Parent Workshop กิจกรรม School Visit เพิ่มเติมความรู้ต่อเนื่องให้แก่เด็กและเยาวชนกว่า 50 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งมั่นใจว่า กิจกรรมทั้งหมดนี้จะสามารถทำให้เกิดการสร้างสังคมดิจิตอลที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง ทั้งนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองที่สนใจสามารถติดต่อรับหนังสือคู่มือนี้ได้ฟรีที่ ดีแทค ฮอลล์ ทุกสาขา และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ รวมทั้งสามารถดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ของดีแทค และยูนิเซฟ และแอปพลิเคชันอุ๊กบี ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS

ด้าน นางวาเลรี ตาตอน รองผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า แม้ว่าอินเทอร์เน็ตช่วยให้เด็ก และเยาวชนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่มหาศาล และสร้างพื้นที่ให้พวกเขาสามารถมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ได้ ในขณะเดียวกัน ก็มาพร้อมความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ เข้ามาเช่นกัน ดังนั้น จึงร่วมมือกับดีแทคในการช่วยกันคุ้มครองเด็กบนโลกออนไลน์ ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกออนไลน์ และเห็นความจำเป็นในการดูแล และให้คำแนะนำแก่เด็กๆ ในการใช้โลกออนไลน์ดังกล่าว

ทั้งนี้ จากผลสำรวจครัวเรือนที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติของประเทศไทยในปี 2558 พบว่า การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของเด็กอายุระหว่าง 6-14 ปี เพิ่มขึ้นจาก 38.3% ในปี พ.ศ.2554 เป็น 58% ใน พ.ศ.2558 และอัตรานี้กำลังเพิ่มขึ้นทุกปี
พฤติกรรม “ไลฟ์” ออนไลน์ไร้เซ็นเซอร์ ที่เด็กและเยาวชนต้องระวัง
พฤติกรรม “ไลฟ์” ออนไลน์ไร้เซ็นเซอร์ ที่เด็กและเยาวชนต้องระวัง
ข้อความเชิญชวนยอดฮิตบนโลกโซเชียลมีเดียที่กลายเป็นสื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีราคา ค่างวดในการจองโฆษณา แต่กลับเป็นสื่อที่ทรงพลังสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ตรงที่สุด อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารถึงกลุ่มเพื่อนที่เราอนุญาตให้เข้ามาชมเรื่องราว ชีวิตของเราและสื่อสารโต้ตอบกันได้แบบเรียลไทม์ โดยหนึ่งในโซเชียลมีเดียยอดฮิตอย่างเฟซบุ๊กได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่ายูสเซอร์จะนิยมใช้เวลาในการดูวิดีโอสด (Live) มากกว่า 3 เท่า เมื่อเทียบกับการดูวีดีโอแบบย้อนหลัง จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมพฤติกรรมการรายงานสดถึงได้เป็นที่นิยมมากทั้งผู้โพสต์และผู้ติดตาม
กำลังโหลดความคิดเห็น