ภายในปี 2561 จะมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เกือบ 5 พันล้านคน และอุปกรณ์พกพากว่า 1 หมื่นล้านเครื่อง พร้อมการเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่เร็วขึ้น และอุปกรณ์อัจฉริยะที่ฉลาดมากขึ้น ขณะที่ปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 11 เท่าใน 4 ปีข้างหน้า และแตะระดับ 190 เอ็กซาไบต์ต่อปี ภายในปี 2561 โดยคาดว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะสร้างปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายมากที่สุด 6.72 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน โดยวิดีโอครองสัดส่วนปริมาณข้อมูลโมบายมากสุด 69%
นายดั๊ก เว็บสเตอร์ รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และโซลูชันของซิสโก้ เปิดเผยว่า “ปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายทั่วโลกจะเติบโตอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง โดยจะเพิ่มขึ้นเกือบ 11 เท่าใน 4 ปีข้างหน้า จนกระทั่งในปี 2561 ปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลจะสูงกว่า 57 เท่า เมื่อเทียบกับปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายในปี 2553 การเติบโตดังกล่าวจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า โมบิลิตี จะเป็นส่วนสำคัญในเครือข่าย รวมถึงคุณประโยชน์ที่ผู้บริโภค และองค์กรที่จะได้รับ นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงโอกาสสำคัญสำหรับผู้ให้บริการในการใช้ Internet of Everything ให้เป็นประโยชน์ต่อไป”
ข้อมูลจากรายงานคาดการณ์ปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายทั่วโลก Cisco® Visual Networking Index™ สำหรับปี 2556 ถึง 2561 ระบุว่า ปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 11 เท่าใน 4 ปีข้างหน้า และแตะระดับ 190 เอ็กซาไบต์ต่อปีภายในปี 2561 (เอ็กซาไบต์เป็นหน่วยของข้อมูล หรือที่เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งเท่ากับหนึ่งล้านล้านล้านกิกาไบต์) ปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายที่คาดว่า จะเพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจำนวนการเชื่อมต่อโมบายอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเชื่อมต่ออุปกรณ์ส่วนบุคคล และการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (Machine-to-Machine หรือ M2M) ซึ่งจะเกิน 10,000 ล้านการเชื่อมต่อภายในปี 2561 และมากกว่าจำนวนประชากรโลกถึง 1.4 เท่า (สหประชาชาติประเมินว่า ประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 7.6 พันล้านคนภายในปี 2561)
โดยหากเทียบปริมาณดังกล่าวกับการใช้งานจริงจะได้เท่ากับ 190 เท่าของปริมาณความหนาแน่นของอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (ไอพี) ทั้งหมด ทั้งบนเครือข่ายพื้นฐาน และโมบายที่สร้างขึ้นในปี 2543 หรือเท่ากับรูปภาพ 42 ล้านล้านรูป (เช่น รูปภาพที่ส่งผ่าน MMS หรือ Instagram) ซึ่งเท่ากับประชากรโลกทั้งหมดส่งรูปภาพ 15 รูปต่อคนเป็นประจำทุกวันตลอดหนึ่งปีเต็ม หรือคลิปวิดีโอ 4 ล้านล้านคลิป (เช่น YouTube) ซึ่งเท่ากับประชากรโลกแต่ละคนส่งคลิปวิดีโอ 1 คลิปเป็นประจำทุกวันตลอดหนึ่งปีเต็ม
ทั้งนี้ ปริมาณความหนาแน่นบนโมบายอินเทอร์เน็ตเฉพาะในปี 2560 ถึง 2561 คาดว่าจะเพิ่มที่อัตรา 5.1 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน ซึ่งมากกว่าถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับปริมาณความหนาแน่นของโมบายอินเทอร์เน็ตทั้งหมดในปี 2556 (1.5 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน)
***ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายทั่วโลก
สำหรับปี 2556 ถึง 2561 ซิสโก้ คาดการณ์ว่า การเติบโตของปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายทั่วโลกจะแซงหน้าปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลบนเครือข่ายพื้นฐานถึง 3 เท่า แนวโน้มต่อไปนี้เป็นปัจจัยที่ผลักดันการเติบโตของปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบาย มีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มมากขึ้น โดยภายในปี 2561 จะมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ 4.9 พันล้านคน (เพิ่มขึ้นจาก 4.1 พันล้านคนในปี 2556) มีการเชื่อมต่อโมบายเพิ่มมากขึ้น และภายในปี 2561 จะมีอุปกรณ์/จุดเชื่อมต่อโมบายกว่า 10,000 ล้านแห่ง รวมถึงอุปกรณ์พกพาส่วนบุคคล 8 พันล้านเครื่อง และการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (M2M) กว่า 2 พันล้านจุด โดยเพิ่มขึ้นจากอุปกรณ์ที่พร้อมรองรับระบบโมบาย และการเชื่อมต่อ M2M ราว 7 พันล้านจุด
ในปี 2556 จะมีการเชื่อมต่อโมบายที่รวดเร็วมากขึ้น โดยความเร็วเฉลี่ยของเครือข่ายโมบายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จาก 1.4 Mbps ในปี 2556 เป็น 2.5 Mbps ในปี 2561 ขณะที่วิดีโอโมบายที่เพิ่มขึ้นภายในปี 2560 จะคิดเป็นสัดส่วน 66% ของปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายทั่วโลก (เพิ่มขึ้นจาก 5% ในปี 2555)
โดยการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะเข้าสู่อุปกรณ์ที่ฉลาดขึ้น (Smarter Devices) ภายในปี 2561 กว่า 54% ของการเชื่อมต่อโมบายทั่วโลกจะเป็นการเชื่อมต่อ “อัจฉริยะ” เพิ่มขึ้นจาก 21% จากปี 2556 อุปกรณ์ และการเชื่อมต่ออัจฉริยะมีความสามารถขั้นสูงในด้านการประมวลผล/มัลติมีเดีย และมีการเชื่อมต่อ 3G เป็นอย่างน้อย ภายในปี 2561 สมาร์ทโฟน, แล็ปท็อป และแท็บเล็ต จะมีสัดส่วนถึง 94% ของปริมาณข้อมูลโมบายทั่วโลก ขณะที่ปริมาณความหนาแน่น M2M จะคิดเป็นสัดส่วน 5% ของปริมาณข้อมูลทั่วโลกในปี 2561 ขณะที่โทรศัพท์มือถือระดับพื้นฐาน จะคิดเป็นสัดส่วนที่เหลือ 1% ของปริมาณข้อมูลโมบายทั่วโลกภายในปี 2561 และอุปกรณ์พกพาอื่นๆ จะคิดเป็นสัดส่วน 0.1% สวนทางกับโมบายคลาวด์ที่จะเติบโต 12 เท่านับจากปี 2556 ถึง 2561 หรือคิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ย 6% ต่อปี
***ผลกระทบของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (และอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้)
M2M หมายถึงแอปพลิเคชันที่ทำให้ระบบไร้สายและระบบที่เชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ที่คล้ายคลึงกัน เพื่อรองรับระบบนำทางด้วยดาวเทียม (GPS), การติดตามอุปกรณ์, มิเตอร์สาธารณูปโภค, ระบบรักษาความปลอดภัย และระบบวิดีโอวงจรปิด “อุปกรณ์ที่สวมใส่ได้” คือเซ็กเมนต์ใหม่ที่เพิ่มเติมไว้ในหมวดหมู่การเชื่อมต่อ M2M เพื่อแสดงเส้นทางการเติบโตของ Internet of Everything (IoE) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงทุกสิ่งเข้าด้วยกัน หรือ อุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ครอบคลุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ผู้ใช้สวมใส่ เช่น นาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ แว่นตาอัจฉริยะ อุปกรณ์ตรวจสอบติดตามด้านสุขภาพและฟิตเนส สแกนเนอร์แบบสวมใส่ได้ที่สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกับเครือข่ายโดยตรงด้วยการเชื่อมต่อเซลลูลาร์ในอุปกรณ์ หรือผ่านทางอุปกรณ์อื่น เช่น สมาร์ทโฟนที่มี Wi-Fi และ Bluetooth
ในปี 2556 การเชื่อมต่อ M2M คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 5% ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่านระบบโมบาย และสร้างปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายมากกว่า 1% ของทั้งหมด และภายในปี 2561 การเชื่อมต่อ M2M จะคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 20% ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่านระบบโมบาย และสร้างปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายเกือบ 6% ของทั้งหมด ขณะที่ในปี 2556 มีอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ 21.7 ล้านเครื่อง และภายในปี 2561 จะมีอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ทั่วโลก 176.9 ล้านเครื่อง หรือเติบโตที่อัตราเฉลี่ย 52 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
การเชื่อมต่อโมบายโดยเฉลี่ยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จากปี 2556 ถึง 2561 ความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายโมบายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการรองรับการเติบโตของปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบาย
ด้านผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายรายทั่วโลกกำลังติดตั้งเทคโนโลยี 4G เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและผู้ใช้ในองค์กรสำหรับบริการไร้สายในตลาดใหม่หลายๆแห่ง ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกำลังสร้างเครือข่ายโมบายใหม่ๆ โดยใช้โซลูชัน 4G ในตลาดที่พัฒนาแล้ว ผู้ให้บริการกำลังเสริมสร้างหรือทดแทนโซลูชัน 2G หรือ 3G ด้วยการติดตั้งเทคโนโลยี 4G โดยภายในปี 2018 การเชื่อมต่อ 4G จะรองรับ 15% ของการเชื่อมต่อทั้งหมด เพิ่มขึ้นจาก 2.9% ในปี 2556 และภายในปี 2561 การเชื่อมต่อ 4G จะคิดเป็นสัดส่วน 51% หรือ 8 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน ของปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายเพิ่มขึ้นจาก 30% หรือ 448 เพทาไบต์ต่อเดือนในปี 2556 ซึ่งปริมาณความหนาแน่นของ 4G จะเติบโต 18 เท่าจากปี 2056 ถึง 2061 หรือเท่ากับอัตราเติบโตเฉลี่ย 78% ต่อปี
การคาดการณ์ที่สำคัญสำหรับการเติบโตในระดับภูมิภาคในแง่ของอัตราการเติบโตของปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายภายในปี 2561 คาดว่า ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาจะมีอัตราการเติบโตในระดับภูมิภาคสูงสุด มีอัตราการเติบโต 70% ต่อปี เพิ่มขึ้น 14 เท่า ที่ 2 ยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกจะมีอัตราการเติบโต 68% ต่อปี เพิ่มขึ้น 13 เท่า ที่ 3 เอเชีย-แปซิฟิกจะมีอัตราการเติบโต 67% ต่อปี เพิ่มขึ้น 13 เท่า ที่ 4 ละตินอเมริกาจะมีอัตราการเติบโต 50% ต่อปี เพิ่มขึ้น 13 เท่า ที่ 5 อเมริกาเหนือจะมีอัตราการเติบโต 50% ต่อปี เพิ่มขึ้น 8 เท่า และสุดท้ายยุโรปตะวันตกจะมีอัตราการเติบโต 50% ต่อปี เพิ่มขึ้น 7 เท่า
ในแง่ของความหนาแน่นข้อมูลโมบายในปี 2561 คาดว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะสร้างปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายมากที่สุดกว่า 6.72 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน อันดับ 2 อเมริกาเหนือ: 2.95 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน อันดับ 3 ยุโรปตะวันตก 1.9 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน อันดับ 4 ยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก 1.64 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน อันดับ 5 ตะวันออกกลางและแอฟริกา 1.49 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน และสุดท้ายอันดับ 6 ละตินอเมริกา 1.16 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน
นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และอินโดจีนของซิสโก้ กล่าวว่า “ความต้องการเชื่อมต่อทุกที่ทุกเวลาทำให้ปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเชื่อมต่อโมบายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เผยว่า จำนวนผู้ใช้มือถือในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นถึง 93.7 ล้านคน (มีนาคม, 2557) ในขณะที่ BMI (Business Monitor International) คาดการณ์ว่า จำนวนผู้ใช้มือถือจะเพิ่มขึ้นถึง 95.48 ล้านคน ภายในปี 2557 โดยอัตราการเข้าถึงจะอยู่ที่ 142% (Thailand Telecommunications Report, ไตรมาส 2, 2557, BMI)”
“3G ยังคงเป็นตัวผลักดันและเร่งตลาดมือถือในประเทศไทยให้เติบโต รวมถึงรายได้จากการให้บริการด้านข้อมูลก็ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางยุคของ Internet of Everything (IOE) ยังมีโอกาสทางธุรกิจมากมายให้กับของผู้ให้บริการ องค์กรธุรกิจ หรือแม้กระทั่งเอสเอ็มอีในการลงทุนและได้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อ การเพิกเฉยในการลงทุนด้านเครือข่ายอาจทำให้องค์กรธุรกิจไม่เห็นคุณค่า (value) ที่มากับ Internet of Everything ดังนั้น การทำความเข้าใจเรื่อง Internet of Everything จะทำให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และลดความเสี่ยงในการแข่งขันทางธุรกิจได้”
Company Related Link :
ซิสโก้
CyberBiz Social