xs
xsm
sm
md
lg

เอชพีระบุถึงเวลาลงทุนโซลูชันสื่อสารใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอชพี ระบุถึงเวลาองค์กรไทยต้องลงทุนโซลูชันสื่อสารใหม่ หรือเพิ่มประสิทธิภาพระบบสื่อสารที่มีอยู่ รองรับรูปแบบการสื่อสารแบบเรียลไทม์ เพิ่มสองโซลูชันกับหนึ่งเซอร์วิสใหม่เติมเต็มโซลูชันยูนิฟาย คอมมิวนิเคชัน เชื่อตลาดยังเริ่มต้นลงทุนในระดับร้อยล้านขณะที่มูลค่าตลาดสูงถึงพันล้าน แนวโน้มการตลาดยังมีสูง

นางสาววราภรณ์ ปิ่นโฑละ ผู้จัดการทั่วไปหน่วยธุรกิจเทคโนโลยี เซอร์วิส กลุ่มธุรกิจเอนเตอร์ไพรซ์ บิสิเนส บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หากดูจากแนวโน้มความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีจะพบว่า เมื่อ 6 ปีที่แล้วในตอนนั้นมีคนทั่วโลกมีการสร้างข้อมูลดิจิตอลรวมกัน 150 เอ็กซาไบต์ พอผ่านมา 5 ปี ข้อมูลดิจิตอลถูกสร้างขึ้นมาเป็น 8 เท่า โดยมีการประเมินว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้าจะมีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบนมือถือมากกว่า 21.6 พันล้านดาวน์โหลด ขณะที่ ในปี 2557 พนักงานในองค์กรขนาดใหญ่จะมีการใช้งานคลาวด์บนมือถือถึง 130 ล้านราย

จากการคาดการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้องค์กรธุรกิจต่างในปัจจุบัน ต่างเผชิญความท้าทายในการบริหารจัดการระบบการสื่อสารที่มีอยู่ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเน้นของเสียงและข้อมูลที่อยู่ในภายในเครือข่ายซึ่งเป็นเครืองข่ายพื้นฐานแบบเก่า ที่ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่นมากนักว่า ทำอย่างไรให้รองรับกับรูปแบบการใช้งานของพนักงานต่างๆ ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะข้อมูลในส่วนภาพเคลื่อนไหว แม้กระทั่งดีไวซ์ใหม่ๆ ที่จะทยอยมีการใช้งานมากขึ้น เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน

“หากดูจากการให้ความสำคัญในการลงทุนนวัตกรรมขององค์กรธุรกิจพบว่า มีการใช้งบ 30% สำหรับลงทุนระบบไอทีใหม่ๆ อีก 70% ที่เหลือเป็นเรื่องของการดูแลระบบ ซึ่งทางเอชพีจึงได้นำเสนอสองโซลูชันหนึ่งเซอร์วิสเพื่อมาเสริมโซลูชันที่เรียกว่า การสื่อสารแบบผสมผสาน (Unified Communication) หรือ ยูซี ให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น”

สองโซลูชันที่เอชพีนำเข้ามาทำตลาดประกอบไปด้วย หนึ่ง โซลูชัน เอชพี วอยซ์ ทรานฟอร์เมชัน เป็นโซลูชันที่เข้ามาช่วยวางรากฐานสำหรับสร้างระบบการทำงานให้คล่องตัวและมีประสิทธิผล รวมถึงการสื่อสารแบบเรียลไทม์ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอง โซลูชันที่เรียกว่า เอชพี เวอร์ชัวร์ เวิร์กเพลส เป็นโซลูชันที่ช่วยทำให้ระบบการสื่อสารของข้อมูลคล่องตัวทั้งภายและภายนอกองค์กร ที่รวมระบบสื่อสารไม่ว่าจะเป็นข้อความ เว็บ วิดีโอและข้อมูลเข้าไว้เป็นแพลตฟอร์มเดียวกัน ในรูปแบบของเวอร์ชวลหรือการทำงานแบบเสมือน และหนึ่งบริการที่เรียกว่า HP Network Readiness สำหรับระบบยูซีโดยเฉพาะ เป็นบริการที่สามารถประสานการทำงานเตรียมความพร้อมของเครือข่ายให้เหมาะสมกับแผนการพัฒนาการสื่อสารแบบยูซีได้

นางสาววราภรณ์ กล่าวอีกว่า รูปแบบการให้บริการของเอชพีในโซลูชัน ยูซีนั้น จะเป็นลักษณะของการผสมผสานโซลูชันหรือระบบสื่อสารขององค์กรทีมีอยู่เดิมหรือยังไม่มีก็ตาม ตามความต้องการขององค์กรธุรกิจนั้น โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบสื่อสารให้รองรับกับพฤติกรรมการทำงานที่เปลี่ยนไป สามารถรองรับการทำงานในลักษณะของโมบิลตี้ได้ดีขึ้น ทำให้พนักงานในองค์กรสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้จากทุกที่ ทุกดีไวซ์ และทุกรูปแบบได้ จากเดิมมักจะเข้ามาใช้งานศักยภาพบนเครือข่ายภายในองค์กรเป็นหลัก

“โซลูชันและบริการที่นำเสนอในครั้งนี้ เหมาะกับองค์กรธุรกิจที่มีสาขาเยอะๆ เช่น ธุรกิจรถยนตร์ โทรคมนาคม ธนาคาร เป็นการยากที่จะระบุว่า จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปเท่าไร แต่พอจะระบุได้ว่า ระยะคืนทุนของการนำระบบยูซีมาใช้จะตกประมาณ 3 ปี”

นางสาววราภรณ์ ยังกล่าวอีกว่า เวลานี้ ในประเทศไทยยังไม่มีองค์กรที่ใช้ระบบยูซีเต็มรูปแบบมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีระบบเก่าอยู่แล้วบางส่วน ซึ่งสามารถที่จะค่อยๆ ลงทุนระบบจากเล็กๆ แล้วค่อยขยายออกไปได้ โดยมีการมองว่า มูลค่าตลาดของระบบยูซีอยู่ในระดับพันล้านบาท แต่สำหรับการลงทุนจริงๆ มีเพียงแค่ร้อยกว่าล้านบาทเท่านั้น จึงทำให้ตลาดนี้ยังเปิดกว้างอีกมาก ซึ่งเอชพีเองก็ถือว่า มีความพร้อมในเรื่องยูซีค่อนข้างมาก

Company Relate Link :
HP
กำลังโหลดความคิดเห็น