xs
xsm
sm
md
lg

ทำเงินบนโลกไอที (57) : รักน้อย"Niche"มหาศาล

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ทำเงินบนโลกไอทีครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับภาพยนตร์เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาลของเป็นเอก รัตนเรือง แต่เป็นเรื่องของตลาด"นิชมาร์เก็ต (Niche Market)"ตลาดมูลค่ามหาศาลที่จะเกิดขึ้นเพราะความรักชอบสินค้าของกลุ่มคนบางกลุ่ม บทความนี้จะนำทุกคนไปพบกรณีศึกษาที่น่าสนใจในโลกร้านค้าออนไลน์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมของสินค้าไอทีพกพา ทั้งเคสกันรอยโทรศัพท์มือถือ กระเป๋าใส่แท็บเล็ต รวมถึงนานาตัวเลือกที่จะคุ้มครองให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพดีแม้เวลาจะผ่านเลยไป

หลังอ่านจบแล้ว เชื่อขนมกินได้เลยว่าผู้ค้าหลายคนจะย้อนไปมองว่าตัวเองได้ละเลยตลาด Niche จนทำให้ตัวเองพลาดโอกาสงามไปหรือเปล่า
หน้ากากหลากสีสำหรับบีบีที่กำลังเป็นเทรนด์แรงในร้านค้าย่อยมาบุญครองมาระยะหนึ่ง
***"Mobile Accessories" Niche Market ที่ถูกมองข้าม
บทความโดย darkmaster (@darkmasterxxx)

ในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ ตลาดวงการมือถือไม่ได้เป็น Niche Market ที่่น่าสนใจอะไรนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าผู้บริโภคให้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับมือถือขนาดนั้น มือถือยังคงเป็นโทรศัพท์มือถือที่ถูกใช้งานตามสมควร ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างนัก อีกส่วนคืออุปกรณ์เสริมหรือ accessories มีแพร่หลายหาซื้อได้ไม่ยาก โดยเฉพาะเมื่อย้อนไปในยุคที่ Nokia เป็นเจ้าตลาดมือถือ ตลาด accessories ในเมืองไทยจึงถือว่าสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้เกือบสมบูรณ์

"เพราะใคร ๆ ก็ใช้ Nokia ดังนั้น accessories ของ Nokia จึงมีอยู่ได้ทุกที"

แต่ปัจจุบัน อะไรต่อมิอะไรเริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่เมื่อ 4 ปีก่อน การเปิดตัวครั้งแรกของ Apple iPhone เริ่มทำให้ตลาดขยับไปทีละน้อย กระทั่ง iPhone 3gs วางจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในเวลาไล่เลี่ยกับกระแส Blackberry ที่กลายเป็นมือถือสำหรับมหาชน ไม่ใช่สำหรับผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มอีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นคือ Mass Market ของ Mobile accessories นั้นเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

เพราะผู้ซื้อยอมจ่ายเงินให้กับสินค้าที่ตัวเองต้องการ และผู้ขายเองก็เลือกที่จะหาสินค้าที่มีผู้ซื้อเยอะที่สุดมาขายแทน ดังนั้นทุกวันนี้ หากเราไปเดินที่ไหนก็ตาม ก็จะพบแต่ accessories ของ iPhone และ Blackbery เท่านั้น ทำให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้ iPhone และ Blackberry ไม่สามารถหา accessories ตามตลาดทั่วไปได้

หากเรามองในฐานะผู้ขายในตลาดมือถือทั่วไป การนำ accessories ในรุ่นที่ไม่ได้รับความนิยมมาขาย ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดนัก เพราะว่า accessories แต่ละชิ้นไม่ได้ขายกันง่าย ๆ คนที่เลือกซื้อมือถือที่ต่างออกไปจากตลาด ย่อมมีรสนิยมที่เป็นตัวของตัวเองพอสมควร ต่อให้เขาเจอ accessories ที่ตรงกับรุ่นของตัวเอง แต่ถ้าไม่ได้อย่างที่ใจต้องการ ก็ย่อมไม่มีทางเสียเงินยอมซื้อ?

ดังนั้น นอกจากผู้ขายต้องมุ่งหวังลูกค้าที่ถือมือถือตรงรุ่นกับ อุปกรณ์เสริมที่ตัวเองขายแล้ว ยังต้องหวังให้ลูกค้าคนนั้นมีรสนิยมตรงกับสินค้าของตัวเองด้วย แถมสินค้าในกลุ่ม IT มี Product Life ที่ค่อนข้างสั้น ทำให้ผู้ขาย ไม่อยากเสี่ยงที่จะทำให้เงินทุนต้องไปจม แถมดีไม่ดี เป็นงบประมาณที่เสียเปล่าเพราะขายไม่ออกอีกต่างหาก

แต่กระนั้นก็ยังมีผู้ค้าที่มองต่างออกไป นั่นคือการมองวิกฤติให้เป็นโอกาส

ในเมื่อผู้ค้าทั่วไปยอมเสียลูกค้ากลุ่มน้อยไป เพื่อไม่ให้เสิยเงินทุนโดยเปล่าประโยชน์ และเอาเงินทุนก้อนนั้นไปรักษาฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ไว้แทน แต่หากลูกค้ากลุ่มน้อยนั้นไม่มีที่ไป ไม่ใครโอบอุ้ม การยินดีอ้าแขนรับย่อมเป็นโอกาสที่น่าสนใจ

iPhone และ Blackberry แม้ว่าเป็น Smartphone ที่ฮอตฮิตที่สุดในตอนนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็น Smartphone ที่ตอบโจทย์ให้กับผู้ซื้อทุกคน ยิ่งปัจจุบัน Android Mobile OS มีอัตตราการเจริญเติบโตสูงจนน่าตกใจ Brand ชั้นนำหลากหลาย ที่จับมือเป็น Partner เพื่อขายสินค้าภายใต้ Logo Google ที่ Approve ให้อยู่หลังเครื่อง และใช้ระบบปฏิบัตรการ Android

Android Phone ตอนนี้ เป็นเหมือนกลุ่มมือถือที่กำลังมาแรง แต่เป็น Blue Ocean ที่ไม่มีใครนำ accessories มาขายอย่างพอเพียง ผู้ค้าส่วนใหญ่หันไปจับสินค้า accessories ในกลุ่ม iPhone และ Blackberry ที่เป็น Red Ocean มากกว่า

ในกลยุทธ์ทางการตลาด ไม่ว่าตำราไหน คงไม่บอกให้คุณไปจับ Red Ocean แน่นอน ยิ่งเห็น "Blue Ocean" อยู่ตรงหน้าแบบนี้แล้วด้วย

ตลาด accessories ของมือถือ Android ตอนนี้นับว่ายังแคบอยู่ครับ มี device หลายตัวที่ได้รับความนิยม แต่ทว่า ไม่มี accessories ออกมารองรับ และผู้ซื้อทั่วไปยังหาสินค้าได้ยากยิ่ง โดยเฉพาะรุ่นที่พิเศษอย่างเช่น Dell Streak และ Samsung Galaxy Tab

หนึ่งใน Case Study เกี่ยวกับ accessories มือถือที่น่าสนใจคือยุคแรกที่ Samsung Thailand ได้นำ Samsung Galaxy S เขามาจำหน่าย เขาเอามาแค่ตัวเครื่อง ไม่ได้มี accessories ใดมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นกันรอยหรือ Case ในรูปแบบต่างๆ

น่าแปลกใจที่ผู้ที่ซื้อ Samsung Galaxy S ยุคแรกไม่เลือกทางง่าย ๆ ในการแก้ปัญหาเรื่อง Case ด้วยการใช้ถุงผ้าแทน แต่กลับเลือกทางยุ่งยากคือเฟ้นหา Case แบบที่ถูกใจตัวเองจากต่างประเทศแทน
สินค้า  accessories ในกลุ่ม Blackberry ที่เป็น Red Ocean มากกว่า
นี่เป็นข้อบ่งชี้หนึ่งว่าถ้าผู้ซื้อมีกำลังทรัพย์เพียงพอ เขายินดีทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้สินค้าอย่างที่ใจต้องการ เหล่านี้คือวิสัยพื้นฐานอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์

ใน Case Study นี้ผมได้ Monitor case นี้อยู่เนือง ๆ พบว่า กระแสนั้นไปเร็วกว่าที่คิดมากนัก เพราะเมื่อมีคนต้องการจำนวนมากเข้าเรื่อย ๆ ย่อมมีคนตอบสนองด้วยการ "ยินดีเป็น ตัวแทน group buy ให้เสียเลย"

แรกเริ่มก็เกิดจากแค่นั้นแหละครับ คนคนหนึ่งเป็นตัวแทนในการสั่งซื้อให้ โดยรวบรวมเงินก่อน แล้วสั่ง รวดเดียวทุกตัว ส่งมาประเทศไทย แล้วจำหน่ายออกไปยัง เพื่อนคนอื่น ๆ

สัปดาห์แรก ผู้สั่งไม่เยอะครับ แค่ 20 กว่าชิ้นเท่านั้นเองแต่ ทว่า เรื่องนี้มีคลื่นตามหลังมาครับ

เพราะมีผู้ซื้ออีกกลุ่มหนึ่งที่ "ไม่ทราบเรื่อง แต่อยากได้ accessories ด้วย" และ "ผู้ที่ไม่ยอมซื้อมือถือรุ่นนี้ เพราะหา accessories ไม่ได้"

คนสองกลุ่มมาติดต่อสั่งอีกรอบครับ

ครั้งนี้เพราะคนจำนวนมาก เลยใช้เวลานานกว่าเดิม รวม 3 สัปดาห์ กว่าจะสั่งของ

ที่น่าสนใจคือ ยอดสั่งในครั้งนี้ มากกว่าครั้งแรกถึง 5 เท่าตัว

หลังจากนั้น ผมไม่ทราบว่า ตัวแทน groupbuy คนนั้น ได้หันเหไปนำเข้า accessories มือถืออย่างเต็มตัวหรือเปล่า? แต่สำหรับผม เรื่องนี้ก็ได้ให้ความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจมากมาย

อีก case ที่น่าสนใจ จะว่าไกลจากเรื่องมือถือไปนิดก็ว่าได้ แต่มันก็ยังอยู่ใกล้ ๆ กัน เพราะมันยังเป็น Mobile Device เช่นเดียวกันที่ผมจะ พูดนี่คือ Tablet ครับ

Tablet ที่มีอยู่ในตลาดตอนนี้ ใคร ๆ ก็นึกถึงแต่ iPad มาอันดับหนึ่ง แต่ อย่าลืมนะว่า ในเมืองไทยเรามี tablet อีกสามตัวด้วยกันได้แก่ WellcoM A800, Samsung Galaxy Tab, Dell Streak

ใน case นี้ WellcoM A800 คงไม่ต้องยกอะไรมาพูดนัก เพราะ ทาง WellcoM นั้น ได้แถม case ของ A800 มาให้เรียบร้อยแต่อีกสองตัวที่เหลือเนี่ยสิ มันไม่มีมาใน box

กรณี Galaxy Tab บอกได้คำเดียวว่าเป็น"พลังแห่งการบอกต่อ"

ใน Web Board เกี่ยวกับมือถือต่าง ๆ กระแส Tab กับ accessories นั้นแถมจะ Flood Board กันได้เลยทีเดียว ตั้งแต่ "หาซื้อได้ที่ไหน?" "หาแบบนี้ได้ไหม?" "ใช้แบบไหนดี?" รวมถึง "ราคาเท่าไหร่"

ทั้งนี้เพราะส่วนหนึ่งเกิดจาก Tab นั้นเป็น Product ที่ค่อนข้าง Success และทำยอดขายได้สูงไม่น้อย ทำให้มีผู้ที่เกิดคำถามเกี่ยวกับ Tab จำนวนมากใน board ต่าง ๆ

แต่นั่นแหละครับ คนในกลุ่ม Niche Product จะรู้ตัวว่าตัวเองนั้นหา option ได้ยาก พอเจอคนกลุ่มเดียวกันแล้ว ก็จะเริ่มรวมตัวกัน

กรณีนี้ ร้านแรกที่นำ case ของ tab มาขาย มีหลายแบบให้เลือก ได้รับทรัพย์ไปเต็มกระเป๋าเพราะผู้ซื้อบอกต่อกัน ยิ่ง ร้านนั้นชิงการเป็นเจ้าแรกได้เท่าไหร่ ผู้ซื้อก็จะเกิดความเคยชิน และเชื่อมั่นมากกว่าร้านอื่น ต่อให้มีร้านใหม่ที่ขายสินค้าแบบเดียวกัน ราคาถูกกว่ากันเล็กน้อย ผู้ซื้อส่วนใหญ่ก็อาจซื้อร้านแรกด้วยความเคยชินและความเชื่อใจ

อีกกรณีเป็นกรณีของ Dell Streak กรณีนี้พิสูจน์ว่า"ผู้บริโภคย่อมมีพลังในการแสวงหา"

Dell Streak นั้นทำยอดขายได้ตามเป้าของ Dell Thailand แต่ว่ากระแสการหา case หรือ accessories นั้นไม่ค่อยรุนแรงนัก เพราะว่าตัว product แบ่งการจำหน่ายออกเป็นสองช่วง และมีการนำเครื่องเข้ามาน้อยกว่าที่คิด

แต่นั่นแหละครับทำให้ผมได้รู้ว่า คนเราถ้าอยากจะได้ ก็มีความพยายามจริง ๆ

เรื่องมีอยู่ว่า ในตอนนั้นมีคนถามผมถึงเรื่อง case ของ dell steak ซึ่งผมก็ลอง search ดูแบบผ่าน ๆ แล้วก็ยังไม่เห็นว่ามีเจ้าไหนนำเข้ามา

แต่ทว่าคน ๆ นั้น เขาไม่ยอมแพ้ครับ เขาก็พยายามหาต่อด้วยตัวเองจนได้ แล้วก็ส่ง link มาอวดผมว่า "เขาหาได้แล้วนะ"

link นั้นเป็นแค่ post เล็ก ๆ ใน ตลาด online แห่งหนึ่ง เงียบ ๆ ไม่น่าสนใจ

ถามผู้ขายไปก็ได้ความว่า เขาใช้ dell streak เหมือนกัน แล้วก็สั่งมาใช้เอง แต่สั่งชิ้นเดียวไม่คุ้ม เลยสั่งมาเยอะหน่อย แล้วก็มาขาย online หวังว่าจะขายได้บ้าง

ก็ไม่แปลกใจเท่าไหร่ เพราะว่าการตั้งหัวข้อเรื่อง การเขียนเนื้อหา จัดว่าแสนธรรมดาและไม่ค่อยน่าสนใจ ไม่แปลกใจที่ spider ของ search engine จะจับไม่ค่อยได้ แต่ที่ประทับใจคือ คนที่หาเจอจนได้นี่เอง ซึ่งเชื่อว่าไม่ใช่บังเอิญเห็น แต่เป็นการ search หาไปเรื่อยจนได้มาเจอกัน

ผมทึ่งในความตั้้งใจของลูกค้ากลุ่ม niche จริง ๆ

กรณีศึกษาเกี่ยวกับ accessories ของมือถือยังมีอีกมาก แต่ถ้าให้ยกมาทั้งหมดคงยิบย่อยพูดไม่หมด เอาเป็นว่าเรามาสรุปเนื้อหาในตอนนี้กันก่อนดีกว่าว่า เราได้อะไรจากเนื้อหาตอนนี้ไปบ้าง?

1. ผู้ซื้อยอมจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
2. ผู้ซื้อยินดีที่จะบอกต่อกันในกลุ่มเมื่อมีร้านที่ตอบโจทย์เขาได้
3. ผู้ซื้อนั้นมีความตั้งใจในการแสวงหาสิ่งที่เขาต้องการ

โจทย์สำคัญสำหรับเราคือ "เข้าใจในความต้องการของผู้บริโภค"

กลุ่มเป้าหมายของเราไม่ใช่ตลาด ๆ ทั่ว ๆ ไป ที่กินได้นาน ๆ ในฐานะผู้ขาย ต้องมีความสดใหม่ และไล่ตาม ทำความเข้าใจกับผู้ซื้ออยู่เสมอ

"product life นั้นว่าสั้นแล้ว แต่ความนิยมในสิ่งใดสิ่งหนึ่งยิ่งสั้นกว่า"

ความต้องการของผู้ซื้อก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ดีที่ว่าการทำร้านค้า online ไม่ต้องเปลืองค่าทาสีร้านใหม่เมื่อฤดูกาลเปลี่ยน แต่สิ่งที่เราต้องเปลี่ยนให้บ่อยคือสินค้า ที่จะทำเงินได้ต่างหาก

การเจาะช่องให้เห็น blue ocean ก่อนใครนั้น ต้องทำความเข้าใจกับผู้บริโภคให้ได้ หากรู้ตัวช้าไปนั้น เราก็จะเสียเปรียบร้านค้าทั่วไปได้

ผมเชื่อว่าลูกค้าส่วนใหญ่ยังคิดว่า"ทุกวันนี้ หากต้องจ่ายแพงกว่านิดนึง แต่ได้จับต้องของก่อน ก็ยินดีที่จะจ่าย" ดังนั้นถ้าจะให้ผมแนะนำเกี่ยวกับ Niche Market ด้าน Mobile accessories ผมขอบอกให้ผู้ค้าทุกคนติดตามดู product ใหม่ที่กำลังออกสู่ตลาด อย่าไปยึดติดกับยี่ห้อ อย่าไปยึดติดกับ spec เอาเฉพาะ Product ที่คุณเห็นแล้ว รู้สึก "ว้าว" อยู่ลึก ๆ

นั่นแหละคือ Product ที่ใช่เลย!

ขอย้ำว่า "Niche Market มีอยู่ในทุกที่ และเห็นมันได้ไม่ยาก" อยู่ที่ว่าเราสามารถหากลยุทธ์ที่ดีเพียงพอ และกล้าที่จะเสี่ยงกับ Market นี้หรือเปล่าเท่านั้นเอง
กำลังโหลดความคิดเห็น