xs
xsm
sm
md
lg

ไอบีเอ็มเปิดโครงสร้างพื้นฐานไอทีไดนามิก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ไอบีเอ็มเปิดตัวโครงสร้างไอทีแห่งศตวรรษที่ 21 ภายใต้แนวคิด “ไดนามิก อินฟราสตรักเจอร์” ที่หลอมรวมโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพกับดิจิตอลเข้าด้วยกัน รองรับการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ ยุคที่โลกเชื่อมต่อไร้พรมแดน

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า ไอบีเอ็มได้เปิดตัวบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อช่วยให้ลูกค้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการและการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ ครอบคลุมตั้งแต่ระบบอัตโนมัติ การควบรวมระบบ ไปจนถึงโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางดิจิตอลและทางกายภาพ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแบบก้าวกระโดด ช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถตอบสนองและจัดการกับความท้าทายที่มาพร้อมกับโลกที่เชื่อมต่อกันอย่างไร้พรมแดน

ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ของไอบีเอ็มเป็นการพัฒนานวัตกรรมโครงสร้างไอทีแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งถูกออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้ลูกค้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีความซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามด้านไอทีรูปแบบใหม่ๆ ระบบซัปพลายเชนที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา กฎเกณฑ์หรือระเบียบใหม่ๆ ที่มีผลต่อการจัดการระบบไอที หรือความท้าทายในยุคที่โลกฉลาดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการที่ประชากร 1 ใน 3 ของโลกจะอยู่บนอินเทอร์เน็ตภายในปี 2554 จำนวนผู้ที่เข้าเว็บผ่านมือถือกว่า 4 พันล้านคนในปัจจุบัน หรือปริมาณข้อมูลเชิงลึกที่เพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล ซึ่งมีผลมาจากเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ใช้ในโลกสารพัดแบบ เช่น สมาร์ทเซ็นเตอร์ที่ใช้งานอยู่ตามจุดต่างๆ รอบตัวเรา อาร์เอฟไอดีแทกซ์ ระบบสาธารณูปโภคที่ใช้ระบบกริดอัจฉริยะ

“เรื่องต่างๆ เหล่านี้เป็นโจทย์ที่สำคัญต่อการสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีสำหรับองค์กรในยุคปัจจุบัน และเป็นอะไรที่ใกล้ตัวเรา เพราะทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก”

จากการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายที่ผู้บริหารไอบีเอ็มเห็น จึงได้เปิดแนวคิดไดนามิก อินฟราสตรักเจอร์ หรือการพัฒนาแนวทางโครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบไดนามิก ซึ่งมีการเปิดตัวแนวคิดนี้ในระดับโลกไปเมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อรองรับความท้าทายต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย

1.การผนวกรวมโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและดิจิตอลเข้าด้วยกัน เพื่อให้องค์กรสามารถใช้ไอทีในการบริหารจัดการระบบงานธุรกิจ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างฉลาดมากขึ้น และยังสามารถรองรับบริการในรูปแบบใหม่ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ความสามารถในการบริหาร จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลใหม่ที่เพิ่มขึ้นถึง 15 เพทาไบต์ในแต่ละวัน 3.ความจำเป็นที่ต้องบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับระบบไอทีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ไอบีเอ็มคิดค้น เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรที่ต้องการระบบที่มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ ประกอบด้วย 1.เซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ และซอฟต์แวร์เพื่อจัดการปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อน ซึ่งถูกออกแบบขึ้นเพื่อจัดการปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อน และช่วยให้ลูกค้าสามารถเก็บรักษาข้อมูลได้นานขึ้น รวมถึงการปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กร 2.ระบบสตอเรจไอบีเอ็ม เอ็กซ์ไอวี ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็ว

3.เซิร์ฟเวอร์ซิสเต็ม ซี10 หรือเมนเฟรม สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก 4.ซอฟต์แวร์และบริการใหม่ภายใต้โซลูชันไอบีเอ็ม เซอร์วิส แมเนจเมนต์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์และบริการที่ถูกออกแบบเพื่อธุรกิจ 7 ประเภทคือ กลุ่มสาธารณูปโภค เคมีและปิโตเลียม โทรคมนาคม ค้าปลีก ธนาคาร อิเล็กทรอนิกส์ และการผลิต 5.บริการด้านการรักษาความปลอดภัยจากแผนกไอเอสเอสของไอบีเอ็ม ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าองค์กรปกป้องข้อมูลสำคัญๆ

6.ซอฟต์แวร์อินโฟสเฟียร์ แวร์เฮาส์ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้องค์กรตัดสินใจได้ในแบบเรียลไทม์ โดยอ้างอิงจากข้อมูลธุรกิจสำคัญๆ เพื่อปรับปรุงบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า 7.ซอฟต์แวร์ไอบีเอ็ม ซิสเต็มส์ ไดเร็กเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการบริหารจัดการใช้ทรัพยากรทั้งแบบกายภาพและเสมือนในระบบดาต้าเซ็นเตอร์ในปัจจุบัน

Company Related Links :
IBM
กำลังโหลดความคิดเห็น