เนคเทคจัดประชันไอเดียเพื่อค้นหาเด็กไทย ไฮ-เทคโนโลยี ด้าน “ระบบสมองกลฝังตัว” “เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี” หวังสร้างคนรุ่นใหม่ใน “ภาคอุตสาหกรรมการผลิต” ตอบโจทย์ “ภาคธุรกิจ บริการ” ตั้งเป้าเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางการเกษตร และระบบลอจิสติกส์ คาดลดการสูญเสียรายได้จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ ไฮ-เทคโนโลยี ปีละกว่า 100 ล้านบาท
นางกอบแก้ว อัครคุปต์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ความสำคัญของงานด้านการวิจัยและพัฒนา โดยได้กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ในการที่จะนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และสนองตอบต่อภาคธุรกิจบริการ
ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมการผลิตในสาขาต่างๆ ได้นำเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) และเทคโนโลยีระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID: Radio Frequency Identification) มาใส่ในสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคุณสมบัติ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้สามารถแข่งขันในประเทศและตลาดโลกได้ พร้อมการตอบสนองต่อภาคธุรกิจ บริการ รวมไปถึงประชาชนทั่วไป ทั้งในด้านช่วยลดต้นทุนรายจ่าย เพิ่มรายได้ และช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
แต่ขณะนี้ประเทศไทยยังขาดบุคลากรโดยเฉพาะเยาวชนที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว และ RFID ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ หาก สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ได้ก็จะทำให้ประเทศไทยมีฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่มั่นคง มีทรัพยากรบุคคลคุณภาพสูงในด้านไฮ-เทคโนโลยี
กระทรวงวิทยาศาสตร์โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค/สวทช.) จึงได้จัดโครงการ “แข่งขันสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยระบบสมองกลฝังตัวและอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย” จะกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาเกิดทักษะ ความรู้ด้านไฮ-เทคโนโลยี ทั้งระบบสมองกลฝังตัว และ RFID รวมถึงการเป็นมืออาชีพด้านการตลาดและการดีไซน์
โครงการนี้อาจสร้างผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าสู่ตลาด และจุดประกายให้คนรุ่นใหม่มองเห็นโอกาส ช่องทางการเติบโตของวิชาชีพในตลาดแรงงาน รวมถึงนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การทำงานเป็นทีม ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาก่อนที่จะจบออกจากรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อก้าวสู่การทำงานในชีวิตจริงอย่างมั่นใจ
การจัดโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายคือ 1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา และสร้างบุคลากรในระดับอุดมศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถ และมีศักยภาพในการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว และเทคโนโลยี RFID เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมในอนาคต 2.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถด้านระบบสมองกลฝังตัว และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีให้มีทักษะหรือความคิดริเริ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) การวางแผนการตลาด (Marketing Plan) สำหรับการวางแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ 3.เพื่อสร้างเครือข่ายการศึกษาและการวิจัยในด้านเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการวางแผนธุรกิจเพื่อเป็นแบบอย่างในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับอุตสาหกรรมไทยให้ได้มาตรฐานโลก
ทั้งนี้ ไทยมีมูลค่าการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปีละประมาณแสนล้านบาท แต่การวิจัยและพัฒนายังต้องพึ่งพิงต่างประเทศ ยิ่งเศรษฐกิจอย่างปัจจุบันรวมถึงการเปิดเขตการค้าเสรี และมีประเทศเปิดใหม่อย่างเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิก ยิ่งทำให้การแข่งขันด้านอิเล็กทรอนิกส์ของไทยลำบากขึ้น
“การแข่งขันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะจะทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการในการใช้งาน และเป็นการสร้างบุคลากรด้วย” นางกอบแก้วกล่าวและว่า โครงการแข่งขันสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยระบบสองกลฝัง จะช่วยสร้างให้เกิดทรัพยากรมนุษย์ด้านไฮ-เทคโนโลยี ทั้งระบบสมองกลฝังตัว และ RFID ในตลาดแรงงานไทย และจะช่วยลดการสูญเสียรายได้จากการนำเข้าไฮ-เทคโนโลยีปีละกว่า 100 ล้านบาท
Company Related Links :
Nectec
นางกอบแก้ว อัครคุปต์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ความสำคัญของงานด้านการวิจัยและพัฒนา โดยได้กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ในการที่จะนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และสนองตอบต่อภาคธุรกิจบริการ
ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมการผลิตในสาขาต่างๆ ได้นำเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) และเทคโนโลยีระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID: Radio Frequency Identification) มาใส่ในสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคุณสมบัติ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้สามารถแข่งขันในประเทศและตลาดโลกได้ พร้อมการตอบสนองต่อภาคธุรกิจ บริการ รวมไปถึงประชาชนทั่วไป ทั้งในด้านช่วยลดต้นทุนรายจ่าย เพิ่มรายได้ และช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
แต่ขณะนี้ประเทศไทยยังขาดบุคลากรโดยเฉพาะเยาวชนที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว และ RFID ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ หาก สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ได้ก็จะทำให้ประเทศไทยมีฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่มั่นคง มีทรัพยากรบุคคลคุณภาพสูงในด้านไฮ-เทคโนโลยี
กระทรวงวิทยาศาสตร์โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค/สวทช.) จึงได้จัดโครงการ “แข่งขันสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยระบบสมองกลฝังตัวและอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย” จะกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาเกิดทักษะ ความรู้ด้านไฮ-เทคโนโลยี ทั้งระบบสมองกลฝังตัว และ RFID รวมถึงการเป็นมืออาชีพด้านการตลาดและการดีไซน์
โครงการนี้อาจสร้างผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าสู่ตลาด และจุดประกายให้คนรุ่นใหม่มองเห็นโอกาส ช่องทางการเติบโตของวิชาชีพในตลาดแรงงาน รวมถึงนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การทำงานเป็นทีม ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาก่อนที่จะจบออกจากรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อก้าวสู่การทำงานในชีวิตจริงอย่างมั่นใจ
การจัดโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายคือ 1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา และสร้างบุคลากรในระดับอุดมศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถ และมีศักยภาพในการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว และเทคโนโลยี RFID เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมในอนาคต 2.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถด้านระบบสมองกลฝังตัว และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีให้มีทักษะหรือความคิดริเริ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) การวางแผนการตลาด (Marketing Plan) สำหรับการวางแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ 3.เพื่อสร้างเครือข่ายการศึกษาและการวิจัยในด้านเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการวางแผนธุรกิจเพื่อเป็นแบบอย่างในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับอุตสาหกรรมไทยให้ได้มาตรฐานโลก
ทั้งนี้ ไทยมีมูลค่าการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปีละประมาณแสนล้านบาท แต่การวิจัยและพัฒนายังต้องพึ่งพิงต่างประเทศ ยิ่งเศรษฐกิจอย่างปัจจุบันรวมถึงการเปิดเขตการค้าเสรี และมีประเทศเปิดใหม่อย่างเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิก ยิ่งทำให้การแข่งขันด้านอิเล็กทรอนิกส์ของไทยลำบากขึ้น
“การแข่งขันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะจะทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการในการใช้งาน และเป็นการสร้างบุคลากรด้วย” นางกอบแก้วกล่าวและว่า โครงการแข่งขันสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยระบบสองกลฝัง จะช่วยสร้างให้เกิดทรัพยากรมนุษย์ด้านไฮ-เทคโนโลยี ทั้งระบบสมองกลฝังตัว และ RFID ในตลาดแรงงานไทย และจะช่วยลดการสูญเสียรายได้จากการนำเข้าไฮ-เทคโนโลยีปีละกว่า 100 ล้านบาท
Company Related Links :
Nectec