ผอ.ใหม่ซิป้า โชว์วิสัยทัศน์ ประกาศปั้นภูเก็ตเป็น “ซิลิคอน วัลเลย์” ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจระดับภาค พร้อมสร้างงานให้คนไทยเพิ่มมากขึ้น เล็งแย่งงานเอาต์ซอร์สจากเวียดนาม ด้วยการเสนอตัวขอทดลองทำก่อน พร้อมเดินหน้าเจรจา ทีโอที และ กสท พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอกับความต้องการผู้ประกอบการไอทีต่างชาติ
นายรุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือชิป้า ถึงแนวทางการดำเนินการปี 2551 ว่า ซิป้าจะจัดตั้งโครงการระดับชาติขึ้นมาเป็นธงรบในการพัฒนาตลาดซอฟต์แวร์ไทยให้มีมูลค่า 1 แสนล้านบาท ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยการดึงบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุนธุรกิจซอฟต์แวร์ในเมืองไทยให้มากขึ้น เริ่มที่จังหวัดภูเก็ตก่อน โดยมีเป้าหมายผลักดันให้เป็นศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมไอซีทีแห่งชาติ หรือชิลิคอน วัลเลย์ ภูเก็ต เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และขยายงานสร้างโอกาสให้กับนักพัฒนาคนไทย
“ผมเคยมีโอกาสได้พูดคุยกับนักธุรกิจไอทีต่างชาติ และถามเขาว่าระหว่างเมืองนิวยอร์กกับภูเก็ตเมืองไทยที่ไหนน่าสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจมากกว่า นักลงทุนต่างชาติจำนวนมากตอบผมว่าเลือกภูเก็ต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองไทยเป็นน่าสนใจว่าสำหรับอุตสาหกรรมไอทีของต่างชาติ เราน่าจะใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์”
นอกจากนี้ ยังจะสานงานต่อโครงการพัฒนาเนื้อหาข้อมูล หรือบางกอก ดิจิตอล คอนเทนต์ เซ็นเตอร์ ที่ถนนคอกวัว กรุงเทพฯ จัดทำโครงการรับจ้างพัฒนาชอฟต์แวร์สำหรับตลาดโลก หรือโกลบอล เอาต์ซอร์สซิ่ง ที่จังหวัดเชียงใหม่ และพัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีขนาดพอเพียงสำหรับการวิจัย การพัฒนาระบบบริการและการรับงานเอาต์ซอร์ส ของประเทศไทยออกสู่ต่างประเทศ โดยการจัดตั้งศูนย์รวบรวมทรัพยากรด้านซอฟต์แวร์ไทยเข้าด้วยกัน ที่จัดหวัดขอนแก่น
ทั้งนี้ การพัฒนาผู้ประกอบการไทยแต่ละรายให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ใน 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ เจ้าของโซูลชั่น นักพัฒนา ผู้ให้บริการวางและติดตั้งระบบไอทีและผู้ให้บริการเอาต์ซอร์ส ไปพร้อมกับวางแผนปรับปรุงระบบการศึกษาไอซีทีให้คุณภาพสูง สามารถสนองกับชนิดงานและความต้องการของตลาดโลก
“ผมจะเสนอต่อนักลงทุนไอทีว่าหากจะส่งงานเอาต์ซอร์สให้กับประเทศเวียดนาม ส่งมาให้เราลองทำหรือพิจารณาก่อน เพราเรามั่นใจว่าเรื่องเอาต์ซอร์ส คนไทยสามารถทำได้ดีไม่แพ้เวียดนาม”
ทั้งนี้ ยังสร้างระบบนิเวศน์ของการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยแบบครบวงจร ตั้งแต่การร่วมทุน การช่วยเหลือการตลาด การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เร่งรัดการวิจัยโดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาระบบปฏิบัติการแบบเปิด (โอเพ่น ซอร์ส) สู่มาตรฐานสากล เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทย
ร่วมมือกับส่วนราชการต่างๆ ที่มีภารกิจใกล้เคียงกัน เช่น เนคเทค ซอฟต์แวร์ พาร์ค สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการช่วยเหลือและส่งเสริมแก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย
นายรุ่งเรืองกล่าวว่า การดำเนินการของซิป้าหลังจากนี้จะเน้นการพัฒนากิจการไอทีของประเทศให้เดินหน้าโดยไม่ต้องใช้งบประมาณมากนัก โดยได้ว่างบประมาณไว้ 400 ล้านบาทสำหรับปีนี้ ซึ่งงบประมาณปีนี้ตั้งไว้ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งตั้งงบประมาณไว้ 500 ล้านบาท
นอกจากนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมไอที จะต้องดำเนินการบนโครงข่ายหลักที่มีมาตรฐานและทันสมัย โดยซิป้าจะประสานงานหารือ กับบริษัท กสท โทรคมนาคม และบริษัท ทีโอที ดำเนินการพัฒนาระบบโคตรงสร้างพื้นฐานให้สามารถรองรับความต้องการใช้งานของผู้ประกอบการไอทีที่จะเข้ามาลงทุน
Company Related Links :
SIPA