xs
xsm
sm
md
lg

ศาลฎีกาไต่สวนกลุ่มแพทย์ใหญ่คดี "ทักษิณ" นอนชั้น 14 หมอผู้รักษายอมรับไม่รู้ขั้นตอนส่งตัวแต่รักษาตามจรรยา นัด "วิษณุ" ไต่สวน 30 ก.ค.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความจำเลย
ศาลฎีกาไต่สวนกลุ่มแพทย์ใหญ่ คดี "ทักษิณ" ออกมานนอนชั้น 14 รพ.ตำรวจไม่เป็นไปตามคำพิพากษา  ด้านแพทย์ผู้รักษาให้การพร้อมน้ำตาซึมเผยไม่รู้เรื่องระเบียบการส่งตัวแต่รักษาตามจรรยาแพทย์ ส่วนแพทย์ผู้ผ่าตัดเผยทักษิณบาดเจ็บระหว่างพักรักษาตัว อมรับเซ็นใบรับรองแพทย์ แต่ไม่ทราบจะเอาลายเซ็นไปทำอะไร ขณะแพทย์อายุรกรรมให้ความเห็นเกี่ยวกับโรคเดิมและความจำเป็นที่ต้องรักษษตัวใน รพ.ตำรวจ ศาลนัดไต่สวนครั้งถัดไป 25 ก.ค.ก่อนนัด "วิษณุ เครืองาม" 30 ก.ค.

เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (18 ก.ค.) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดไต่สวนคดีหมายเลขดำที่ บค.1/2568 กรณีตรวจสอบข้อเท็จจริงการบังคับโทษคดีถึงที่สุด นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 โดยก่อนหน้านี้ศาลได้นัดไต่สวนนายมานพ ชมชื่น ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพ กลุ่มแพทย์ประจำสถานพยาบาลราชทัณฑ์ 5 ปาก และกลุ่มพัศดีเวรประจำวัน เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ผู้บริหารกรมราชทัณฑ์

โดยในวันนี้จะเป็นการไต่สวนกลุ่มแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจจำนวน 6 ปากได้แก่ 
1 พล.ต.ท.โสภณรัชต์ สิงหจารุ ผู้ช่วย ผบ.ตร. อดีตแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ
2. พล.ต.ท.นพ.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ แพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจคนปัจจุบัน (สบ 8)
3. พล.ต.ต.สามารถ ม่วงศิริ รองนายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ และอดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์
4. พล.ต.ต.ศุภฤกษ์ พัฒนปรีชากุล นายแพทย์ (สบ 7) 
5.พ.ต.อ.ชนะ จงโชคดี นายแพทย์ (สบ 5)
6.พล.ต.ท.สุรพล เกษประยูร แพทย์ที่ปรึกษารพ.ตำรวจ


นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความส่วนตัวของนายทักษิณ ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้เป็นการไต่สวนพยานที่ศาลได้นัดมาเป็นกลุ่มแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งตามรายชื่อเท่าที่ตนทราบมีอดีตแพทย์ใหญ่ แพทย์ใหญ่คนปัจจุบัน และทีมแพทย์ผู้ทำการรักษานายทักษิณ รวมทั้งสิ้น 6 ปาก โดยการไต่สวนในวันนี้ตามความเห็นของตนน่าจะมีการใช้ระยะเวลาพอสมควร เพราะมีรายละเอียดที่ศาลน่าจะให้ความสนใจและอยากทราบ ซึ่งจะมีเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เวชระเบียน progess note และยังมีประวัติการรักษาตัวที่ต่างประเทศของนายทักษิณเข้ามาในการไต่สวนด้วย ทั้งหมดเป็นเรื่องที่จะต้องนำข้อเท็จจริงขึ้นสู่ศาล และตนเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และกรณีนี้ตนก็ตั้งคำถามไว้ด้วยล่วงหน้า ซึ่งต้องดูกันอีกครั้งว่าศาลจะอนุญาตให้ถามกี่คำถาม

ผู้สื่อข่าวถามว่าทนายความจำเลยจะซักถามพยานที่เป็นแพทย์ซึ่งมาเบิกความวันนี้ต่อศาลหรือไม่

นายวิญญัติ กล่าวว่า ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่ ตนคิดว่าศาลน่าจะอนุญาตให้ตนตั้งคำถามได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม คำถามที่ตั้งไว้ล่วงหน้า เป็นคำถามที่เราคาดว่าจะต้องถาม แต่เมื่อพยานได้เบิกความหรือให้ข้อเท็จจริงต่อศาลแล้ว ก็อาจจะมีคำถามอื่นเพิ่มเติมก็ได้นอกจากที่ตั้งคำถามล่วงหน้าไว้ ก็ต้องขออนุญาตทางศาลเป็นรายคำถามไป

ทั้งนี้ ช่วงเช้าศาลได้ไต่สวนพยานจำนวน 3 ปาก เป็นอดีตแพทย์ใหญ่ของโรงพยาบาลตำรวจ แพทย์ใหญ่ของโรงพยาบาลตำรวจคนปัจจุบัน และแพทย์ผู้ทำการรักษานายทักษิณที่เข้าเวรช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 23 ส.ค. 2566

ซึ่งพล.ต.ท.โสภณรัชต์ สิงหจารุ ผู้ช่วย ผบ.ตร.อดีตแพทย์ใหญ่และ พล.ต.ท.นพ.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ แพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ (สบ 8) เบิกความว่าห้องพักชั้น 14 มีผู้ป่วยมาพักก่อนหน้าอยู่แล้ว เพราะเป็นช่วงที่โรงพยาบาลทำการกักตัวผู้ป่วยโควิด-19 ทำให้สามารถใช้ห้องพักผู้ป่วยทุกห้อง รวมทั้งห้องพักพิเศษที่มีเครื่องมือแพทย์เช่นเครื่องวัดชีพจร ความดัน และออกซิเจน อยู่ด้วย

พ.ต.อ.ชนะ จงโชคดี นายแพทย์ (สบ 5) และเซียนพระชื่อดัง พยานรายที่ 3 เป็นแพทย์ผู้ทำการรักษาเบิกความถึงอาการในช่วงเข้ารับการรักษาของนายทักษิณ โดยพยานได้มีการโทรปรึกษาเกี่ยวกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคทางหัวใจด้วย โดยระหว่างการรักษาตัว นายทักษิณมีอาการป่วยด้วยโรคอื่น แพทย์แนะนำให้ผ่าตัด แต่อาจจะมีบันทึกการตรวจว่า นายทักษิณปฏิเสธการผ่าตัด ทั้งนี้ แพทย์ยืนยันว่า ให้การรักษาตามจรรยาบรรณของแพทย์ ไม่รู้เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับการส่งตัวหรือการส่งกลับผู้ป่วยที่มาจากเรือนจำ ขณะที่บริเวณห้องพักชั้น 14 ที่ผู้ป่วยรักษาตัวอยู่จะมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เฝ้าอยู่ตลอด ซึ่งการเบิกความใช้เวลานานประมาณ 1 ชั่วโมงทั้งนี้บวงช่วงที่เบิกความตอบคำถามพยานถึงกับมีอาการน้ำตาซึม ที่เป็นแพทย์แต่ต้องมาศาล

ต่อมาเวลา 13.30 น.ศาลเริ่มไต่สวนพยานรายที่ 4 เป็นแพทย์ที่ร่วมผ่าตัดอาการบาดเจ็บของจำเลย และควบคุมดูแลการพักรักษาหลังการผ่าตัด โดยจำเลยได้รับบาดเจ็บระหว่างพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ และสอบถามเกี่ยวกับประเด็นใบรับรองของแพทย์เนื่องจากตามหลักฐานที่ศาลมี พยานรายดังกล่าวเป็นผู้ลงชื่อกำกับใบรับรองแพทย์ของจำเลย ซึ่งพยานให้การต่อศาลยืนยันในสองส่วนคือ ใบรับรองแพทย์เป็นการใส่รายละเอียดการป่วยโดยทั่วไปของจำเลยตามจริงเท่านั้น รวมทั้งไม่ทราบว่าใบรับรองแพทย์ดังกล่าวที่มีลายเซ็นตนเองนำไปใช้เพื่อการใด

พยานรายที่ 5 นายแพทย์อายุรกรรมเชี่ยวชาญด้านหัวใจ โรงพยาบาลตำรวจ ได้ทำการเบิกความต่อศาลว่าทำการดูแล และ ให้คำปรึกษาจำเลยที่เกี่ยวข้องกับโรคประจำตัวเดิมที่มีประวัติการรักษาจากต่างประเทศ และ ดูแลอาการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุของการส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลตำรวจในวันที่ 23 ส.ค.2566 และให้คำปรึกษาอีกครั้งถึงความเสี่ยงระดับกลางของจำเลยที่อาจส่งผลต่อโรคประจำตัวในตอนที่เข้ารับการผ่าตัดอาการบาดเจ็บ พร้อมทั้งให้ความเห็นถึงความจำเป็นในการพักรักษาตัวที่รพ.ตำรวจซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาอาการป่วยของจำเลยต่อศาล

ทั้งนี้ เมื่อไต่สวนพยานเสร็จแล้ว จึงมีคำสั่งให้ไต่สวนพยานอีกครั้งในวันที่ 25 ก.ค. ตามที่นัดไว้เดิม และอนุญาตให้จำเลยนำศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี เข้าไต่สวนเป็นพยานในวันที่ 30 ก.ค.นี้
กำลังโหลดความคิดเห็น