ในมุมของคุณพ่อคุณแม่รวมทั้งเด็ก ๆ เอง ... อาจเคยรู้สึกว่าทุกวันนี้เราเรียนอะไรกันเยอะจัง บางวิชาจบมาก็ไม่เคยได้ใช้ประโยชน์จริงสักที แถมข้อสอบก็มีความซับซ้อนแปลกใหม่กว่าแต่ก่อนมาก เช่น สอบเพื่อวัดสมรรถภาพสมอง วัดความถนัดทางการเรียนหรือความถนัดเฉพาะทาง กระทั่งการสอบวัดบุคลิกภาพ
แน่นอนว่า ... การสอบไม่อาจที่จะสะท้อนความจริงทั้งหมดออกมาได้ และผลการสอบก็ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะชี้วัดคน ๆ นั้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นวิธีง่ายที่สุดในการใช้วัดผลว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่มากน้อยเพียงใด รวมทั้งเป็นกระบวนการคัดเลือกเด็กเพื่อการพัฒนาต่อไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำมาใช้คัดเลือกคนเข้าทำงานในองค์กรต่าง ๆ ด้วย
เมื่อเราวัดความรู้ความสามารถกันที่ “ผลคะแนน” หรือผลสอบ จึงเลี่ยงไม่ได้ที่การสอบในทุกระดับย่อมทำให้ผู้เข้าสอบตกอยู่ในภาวะกดดันและเกิดความเครียด บางคนหาทางออกโดยวิธีทุจริตการสอบ เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีที่จะทำให้ได้ผลคะแนนดีหรือผ่านการทดสอบ
สำหรับวันนี้ ... ลุงมีอุทาหรณ์สอนใจลูกหลานว่า อย่าเผลอขาดสติ ... ทุจริตในการสอบหรือแม้แต่ส่อไปในทางทุจริต เพราะนอกจากจะเป็นการไม่เคารพกติกาแล้ว ยังต้องรับผลที่ตามมาจากการกระทำนั้นอีกด้วย
มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ...โดยคดีนี้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสอบของนักศึกษาปี 2 รายหนึ่ง ที่ได้รับคำสั่งของมหาวิทยาลัยให้ลงโทษฐานทุจริตในการสอบ โดยผู้สอบโต้แย้งว่าข้อความที่จดลงในพจนานุกรม ซึ่งได้นำเข้าห้องสอบไปด้วยนั้น เป็นเพียงสิ่งที่เขียนทบทวนเฉพาะหัวข้อก่อนเข้าห้องสอบ และเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณให้เข้าห้องสอบ ก็ได้ใช้เทปกาวใสปิดหน้าที่มีการเขียนข้อความไว้เพื่อไม่ให้เปิดดูได้ อันมีเจตนาที่บริสุทธิ์ว่าไม่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อความดังกล่าว
บทสรุปของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ลุงจะพามาหาคำตอบจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดกันครับ ...
ข้อเท็จจริงของคดีมีอยู่ว่า ... หนูนิด (ผู้ฟ้องคดี) เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง (หลักสูตรนานาชาติ) ในวันสอบ ... อาจารย์ผู้คุมการสอบได้ตรวจพบว่า หนูนิดได้จดสูตรและข้อความซึ่งอาจมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาที่สอบลงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ที่อนุญาตให้นำเข้าห้องสอบได้เพื่อประกอบการแปลคําเป็นภาษาไทย อธิการบดีได้สั่งลงโทษหนูนิดตามมติของคณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษนักศึกษาที่ทำการทุจริตในการสอบ โดยให้คะแนน F ในรายวิชาที่ทำการทุจริต และไม่พิจารณาผลการศึกษาทุกรายวิชาในภาคการศึกษาที่มีการทุจริตนั้น (ระดับคะแนน W)
หนูนิดไม่เห็นด้วยจึงขอให้ทบทวนคำสั่ง ซึ่งต่อมาคณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษนักศึกษาฯ ได้พิจารณาทบทวน โดยให้หนูนิดเข้าชี้แจงต่อที่ประชุม ซึ่งหลังการพิจารณาคำชี้แจงแล้ว ยังคงมีมติตามเดิม อธิการบดีจึงมีคำสั่งประกาศการลงโทษหนูนิดเช่นเดิม หนูนิดยังคงไม่เห็นด้วยจึงได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าว
ต่อมา คณะกรรมการเพื่อพิจารณาการขออุทธรณ์การถูกลงโทษเรื่องทุจริต ซึ่งพิจารณาอุทธรณ์ของหนูนิดแล้วเห็นว่า แม้พฤติการณ์ของหนูนิดมีเจตนาส่อไปในทางทุจริต แต่เนื่องจากหนูนิดยังไม่ได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น จึงมีมติให้ลดโทษเพียงติด F ในวิชาที่ทุจริต และไม่ต้องติด W ทุกรายวิชาในภาคการศึกษาที่มีการทุจริตนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่ออธิการบดีพิจารณารายงานผลการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว ยังคงเห็นว่าแม้หนูนิดจะไม่ได้นำข้อความที่จดไว้มาคัดลอกลงในสมุดคำตอบหรือไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ก็ตาม ก็ต้องถือว่ามีเจตนากระทำการทุจริตและความผิดสำเร็จแล้ว สุดท้ายจึงมีคำสั่งลงโทษยืนตามเดิมโดยไม่ลดโทษ พร้อมกับแจ้งผลอุทธรณ์ให้หนูนิดทราบ
หนูนิดจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง โดยฟ้องอธิการบดีมหาวิทยาลัย คณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษนักศึกษาฯ และคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการขออุทธรณ์ฯ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 – ที่ 3 ตามลำดับ)
คดีนี้ ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าคำสั่งลงโทษชอบแล้ว ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งลุงจะเล่าตอนจบให้ฟังกันต่อไปครับ ...
โดยคดีมีประเด็นปัญหาว่า การที่อธิการบดีมีคำสั่งลงโทษผู้ฟ้องคดีโดยให้คะแนน F ในวิชาที่มีการทุจริต และไม่พิจารณาผลการศึกษาทุกรายวิชาในภาคการศึกษาที่มีการทุจริตการสอบ (ติด W) นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า ผู้ฟ้องคดีได้มีการจดข้อความลงในพจนานุกรมและได้นำเข้าไปในห้องสอบจริง และเมื่อนำข้อความดังกล่าวไปให้อาจารย์ผู้สอนวิชานี้และอาจารย์ท่านอื่นที่สอนในสาขาวิชาเดียวกันพิจารณา โดยอาจารย์ผู้สอนวิชานี้ได้ให้ความเห็นเพียงว่า ข้อความที่ผู้ฟ้องคดีจดลงในพจนานุกรมไม่มีเนื้อหาที่นำมาออกข้อสอบ แต่อาจารย์ท่านอื่นที่สอนวิชาเดียวกันมีความเห็นว่า ข้อความมีลักษณะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอบ ซึ่งการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมโดยสอบถามจากอาจารย์ท่านอื่น คณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษนักศึกษาฯ ในฐานะผู้พิจารณาทางปกครองสามารถทำได้ อันถือเป็นการขอความเห็นจากพยานผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ศาลจึงเห็นว่า โดยที่เนื้อหาของพจนานุกรมภาษาอังกฤษมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อใช้ค้นหาความหมายของคําศัพท์ที่ต้องการเท่านั้น การที่ผู้ฟ้องคดีจดข้อความซึ่งเป็นเนื้อหาของวิชาที่จะสอบลงในพจนานุกรมและนำติดตัวเข้าไปในห้องสอบ ถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีเจตนาที่จะใช้ข้อความในการค้นหาคําตอบหรือเป็นแนวทางในการเขียนคําตอบในรายวิชาที่จะสอบแล้ว เมื่อการเข้าสอบวิชานี้ เป็นการเข้าทดสอบแบบปิดหนังสือแต่อนุญาตให้นําพจนานุกรมที่ไม่ใช่พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์เข้าห้องสอบได้ ย่อมมีความหมายว่า ไม่อนุญาตให้นําเอกสารหรือจดข้อความใด ๆ ทั้งสิ้นเข้าไปในห้องสอบ เพื่อให้นํามาใช้เปิดค้นหาคําตอบตามข้อความที่จดไว้ การที่ผู้ฟ้องคดีนําพจนานุกรมที่จดข้อความเกี่ยวกับวิชาที่สอบเข้าห้องสอบ จึงย่อมเป็นการกระทําเช่นเดียวกับการนําหนังสือ เอกสาร หรือตําราเรียนเข้าห้องสอบและย่อมเป็นการกระทำที่ส่อไปในทางทุจริต
ทั้งนี้ แม้ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าไม่ได้รับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าว เนื่องจากกรรมการคุมสอบได้ยึดพจนานุกรมไปตั้งแต่ก่อนเริ่มทำการสอบ หรืออ้างว่าข้อความที่จดเข้าไปไม่ตรงกับเนื้อหาในข้อสอบ โดยผู้ฟ้องคดีเขียนสิ่งที่ทบทวนเฉพาะหัวข้อลงไปในพจนานุกรม และเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณให้เข้าห้องสอบ จึงได้ใช้เทปกาวใสปิดหน้าที่มีการเขียนข้อความไว้เพื่อไม่ให้เปิดดูได้ก็ตาม แต่เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ได้ปิดเทปกาวทุกหน้า และการปิดเทปกาวดังกล่าวยังสามารถเปิดดูได้ตลอดเวลา ประกอบกับการใช้เทปกาวปิดทับมิใช่เป็นการลบหรือทำลายข้อความทิ้งเพื่อไม่ให้สื่อความหมายใด ๆ ได้ อีกทั้งไม่อาจกล่าวอ้างถึงเจตนา (การปิดเทปกาวเพราะไม่ประสงค์อ่านข้อความ) ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ภายในใจของผู้ฟ้องคดีมาปฏิเสธความรับผิดต่อการกระทำดังกล่าว กรณีจึงถือว่าเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ส่อเจตนาไปในทางทุจริตในการสอบ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อปฏิบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยแล้ว
สำหรับการพิจารณาโทษของผู้ฟ้องคดี นั้น เมื่อระเบียบมหาวิทยาลัยกําหนดไว้ว่า นักศึกษาซึ่งทุจริตในการสอบให้คณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษมีอํานาจที่จะพิจารณาโทษสถานใดสถานหนึ่ง หรือหลายสถานก็ได้ คือ
(1) ให้คะแนน F ในวิชาที่นักศึกษากระทำการทุจริต
(2) ไม่พิจารณาผลการศึกษาทุกรายวิชาในภาคการศึกษาที่นักศึกษากระทำการทุจริต
(3) ให้ลงโทษตามข้อ (1) หรือข้อ (2) และให้ลงทะเบียนเรียนจำนวนหน่วยกิตขั้นต่ำที่กำหนดไว้ และให้บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 100 ชั่วโมง ในภาคการศึกษาถัดไป
(4) ไม่พิจารณาผลการศึกษาทุกรายวิชา
ในภาคการศึกษาที่นักศึกษากระทำการทุจริตนั้น และให้พักการศึกษาอีก 1 ภาคการศึกษาในภาคการศึกษาถัดไป
และ (5) ให้พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา อันมีลักษณะเป็นการกำหนดโทษสถานเบาไปจนถึงโทษสถานหนักที่สุด
เมื่อคณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษฯ เห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีจดข้อความที่เป็นเนื้อหาของวิชาที่จะสอบลงในพจนานุกรมและนำติดตัวเข้าห้องสอบ ถือว่าผู้ฟ้องคดีมีเจตนากระทำการทุจริตและความผิดนั้นสำเร็จแล้ว จึงให้ลงโทษโดยให้คะแนน F ในวิชาที่ทุจริต และไม่พิจารณาผลการสอบทุกรายวิชาในภาคการศึกษาที่มีการกระทำทุจริต (ติด W) กรณีถือเป็นการลงโทษตามกรอบอำนาจหน้าที่และเป็นการพิจารณาลงโทษที่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดอันเป็นคำสั่งลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ย่อมชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน จึงพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นที่ยกฟ้อง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อร. 147/2564)
คดีดังกล่าว ... สรุปได้ว่าในการพิจารณาลงโทษนักศึกษาผู้กระทำการทุจริตการสอบหรือกระทำการส่อไปในทางทุจริต กรณีการจดข้อความซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับวิชาที่เข้าสอบลงในพจนานุกรมและนำติดตัวเข้าไปในห้องสอบ แม้ไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการสอบ ก็ถือว่ามีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตและความผิดได้สำเร็จแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องได้รับประโยชน์จากข้อความที่จดไปแต่อย่างใด ซึ่งโทษที่ลงนั้น หากผู้มีอำนาจได้พิจารณาภายในกรอบอำนาจหน้าที่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมแล้ว ย่อมถือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้ ศาลได้วินิจฉัยกรณีการขอความเห็นจากพยานผู้เชี่ยวชาญ คือ อาจารย์ท่านอื่นที่สอนวิชาเดียวกันว่า เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสามารถนำมาประกอบการพิจารณาได้โดยชอบ และไม่จำต้องรับฟังแต่เพียงความเห็นของอาจารย์เจ้าของวิชาที่สอบเท่านั้น ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539(มาตรา 28 และมาตรา 29) ที่กำหนดให้ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสมในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคําขอหรือพยานหลักฐานของคู่กรณี โดยต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่ตนเห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และสามารถแสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องได้ สามารถรับฟังพยานหลักฐาน คำชี้แจง หรือความเห็นของคู่กรณี หรือของพยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่คู่กรณีกล่าวอ้าง รวมทั้งขอความเห็นพยานผู้เชี่ยวชาญ ดังเช่นกรณีตามพิพาทนี้นั่นเองครับ
โดย ลุงถูกต้อง
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
แน่นอนว่า ... การสอบไม่อาจที่จะสะท้อนความจริงทั้งหมดออกมาได้ และผลการสอบก็ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะชี้วัดคน ๆ นั้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นวิธีง่ายที่สุดในการใช้วัดผลว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่มากน้อยเพียงใด รวมทั้งเป็นกระบวนการคัดเลือกเด็กเพื่อการพัฒนาต่อไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำมาใช้คัดเลือกคนเข้าทำงานในองค์กรต่าง ๆ ด้วย
เมื่อเราวัดความรู้ความสามารถกันที่ “ผลคะแนน” หรือผลสอบ จึงเลี่ยงไม่ได้ที่การสอบในทุกระดับย่อมทำให้ผู้เข้าสอบตกอยู่ในภาวะกดดันและเกิดความเครียด บางคนหาทางออกโดยวิธีทุจริตการสอบ เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีที่จะทำให้ได้ผลคะแนนดีหรือผ่านการทดสอบ
สำหรับวันนี้ ... ลุงมีอุทาหรณ์สอนใจลูกหลานว่า อย่าเผลอขาดสติ ... ทุจริตในการสอบหรือแม้แต่ส่อไปในทางทุจริต เพราะนอกจากจะเป็นการไม่เคารพกติกาแล้ว ยังต้องรับผลที่ตามมาจากการกระทำนั้นอีกด้วย
มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ...โดยคดีนี้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสอบของนักศึกษาปี 2 รายหนึ่ง ที่ได้รับคำสั่งของมหาวิทยาลัยให้ลงโทษฐานทุจริตในการสอบ โดยผู้สอบโต้แย้งว่าข้อความที่จดลงในพจนานุกรม ซึ่งได้นำเข้าห้องสอบไปด้วยนั้น เป็นเพียงสิ่งที่เขียนทบทวนเฉพาะหัวข้อก่อนเข้าห้องสอบ และเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณให้เข้าห้องสอบ ก็ได้ใช้เทปกาวใสปิดหน้าที่มีการเขียนข้อความไว้เพื่อไม่ให้เปิดดูได้ อันมีเจตนาที่บริสุทธิ์ว่าไม่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อความดังกล่าว
บทสรุปของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ลุงจะพามาหาคำตอบจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดกันครับ ...
ข้อเท็จจริงของคดีมีอยู่ว่า ... หนูนิด (ผู้ฟ้องคดี) เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง (หลักสูตรนานาชาติ) ในวันสอบ ... อาจารย์ผู้คุมการสอบได้ตรวจพบว่า หนูนิดได้จดสูตรและข้อความซึ่งอาจมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาที่สอบลงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ที่อนุญาตให้นำเข้าห้องสอบได้เพื่อประกอบการแปลคําเป็นภาษาไทย อธิการบดีได้สั่งลงโทษหนูนิดตามมติของคณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษนักศึกษาที่ทำการทุจริตในการสอบ โดยให้คะแนน F ในรายวิชาที่ทำการทุจริต และไม่พิจารณาผลการศึกษาทุกรายวิชาในภาคการศึกษาที่มีการทุจริตนั้น (ระดับคะแนน W)
หนูนิดไม่เห็นด้วยจึงขอให้ทบทวนคำสั่ง ซึ่งต่อมาคณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษนักศึกษาฯ ได้พิจารณาทบทวน โดยให้หนูนิดเข้าชี้แจงต่อที่ประชุม ซึ่งหลังการพิจารณาคำชี้แจงแล้ว ยังคงมีมติตามเดิม อธิการบดีจึงมีคำสั่งประกาศการลงโทษหนูนิดเช่นเดิม หนูนิดยังคงไม่เห็นด้วยจึงได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าว
ต่อมา คณะกรรมการเพื่อพิจารณาการขออุทธรณ์การถูกลงโทษเรื่องทุจริต ซึ่งพิจารณาอุทธรณ์ของหนูนิดแล้วเห็นว่า แม้พฤติการณ์ของหนูนิดมีเจตนาส่อไปในทางทุจริต แต่เนื่องจากหนูนิดยังไม่ได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น จึงมีมติให้ลดโทษเพียงติด F ในวิชาที่ทุจริต และไม่ต้องติด W ทุกรายวิชาในภาคการศึกษาที่มีการทุจริตนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่ออธิการบดีพิจารณารายงานผลการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว ยังคงเห็นว่าแม้หนูนิดจะไม่ได้นำข้อความที่จดไว้มาคัดลอกลงในสมุดคำตอบหรือไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ก็ตาม ก็ต้องถือว่ามีเจตนากระทำการทุจริตและความผิดสำเร็จแล้ว สุดท้ายจึงมีคำสั่งลงโทษยืนตามเดิมโดยไม่ลดโทษ พร้อมกับแจ้งผลอุทธรณ์ให้หนูนิดทราบ
หนูนิดจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง โดยฟ้องอธิการบดีมหาวิทยาลัย คณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษนักศึกษาฯ และคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการขออุทธรณ์ฯ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 – ที่ 3 ตามลำดับ)
คดีนี้ ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าคำสั่งลงโทษชอบแล้ว ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งลุงจะเล่าตอนจบให้ฟังกันต่อไปครับ ...
โดยคดีมีประเด็นปัญหาว่า การที่อธิการบดีมีคำสั่งลงโทษผู้ฟ้องคดีโดยให้คะแนน F ในวิชาที่มีการทุจริต และไม่พิจารณาผลการศึกษาทุกรายวิชาในภาคการศึกษาที่มีการทุจริตการสอบ (ติด W) นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า ผู้ฟ้องคดีได้มีการจดข้อความลงในพจนานุกรมและได้นำเข้าไปในห้องสอบจริง และเมื่อนำข้อความดังกล่าวไปให้อาจารย์ผู้สอนวิชานี้และอาจารย์ท่านอื่นที่สอนในสาขาวิชาเดียวกันพิจารณา โดยอาจารย์ผู้สอนวิชานี้ได้ให้ความเห็นเพียงว่า ข้อความที่ผู้ฟ้องคดีจดลงในพจนานุกรมไม่มีเนื้อหาที่นำมาออกข้อสอบ แต่อาจารย์ท่านอื่นที่สอนวิชาเดียวกันมีความเห็นว่า ข้อความมีลักษณะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอบ ซึ่งการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมโดยสอบถามจากอาจารย์ท่านอื่น คณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษนักศึกษาฯ ในฐานะผู้พิจารณาทางปกครองสามารถทำได้ อันถือเป็นการขอความเห็นจากพยานผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ศาลจึงเห็นว่า โดยที่เนื้อหาของพจนานุกรมภาษาอังกฤษมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อใช้ค้นหาความหมายของคําศัพท์ที่ต้องการเท่านั้น การที่ผู้ฟ้องคดีจดข้อความซึ่งเป็นเนื้อหาของวิชาที่จะสอบลงในพจนานุกรมและนำติดตัวเข้าไปในห้องสอบ ถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีเจตนาที่จะใช้ข้อความในการค้นหาคําตอบหรือเป็นแนวทางในการเขียนคําตอบในรายวิชาที่จะสอบแล้ว เมื่อการเข้าสอบวิชานี้ เป็นการเข้าทดสอบแบบปิดหนังสือแต่อนุญาตให้นําพจนานุกรมที่ไม่ใช่พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์เข้าห้องสอบได้ ย่อมมีความหมายว่า ไม่อนุญาตให้นําเอกสารหรือจดข้อความใด ๆ ทั้งสิ้นเข้าไปในห้องสอบ เพื่อให้นํามาใช้เปิดค้นหาคําตอบตามข้อความที่จดไว้ การที่ผู้ฟ้องคดีนําพจนานุกรมที่จดข้อความเกี่ยวกับวิชาที่สอบเข้าห้องสอบ จึงย่อมเป็นการกระทําเช่นเดียวกับการนําหนังสือ เอกสาร หรือตําราเรียนเข้าห้องสอบและย่อมเป็นการกระทำที่ส่อไปในทางทุจริต
ทั้งนี้ แม้ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าไม่ได้รับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าว เนื่องจากกรรมการคุมสอบได้ยึดพจนานุกรมไปตั้งแต่ก่อนเริ่มทำการสอบ หรืออ้างว่าข้อความที่จดเข้าไปไม่ตรงกับเนื้อหาในข้อสอบ โดยผู้ฟ้องคดีเขียนสิ่งที่ทบทวนเฉพาะหัวข้อลงไปในพจนานุกรม และเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณให้เข้าห้องสอบ จึงได้ใช้เทปกาวใสปิดหน้าที่มีการเขียนข้อความไว้เพื่อไม่ให้เปิดดูได้ก็ตาม แต่เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ได้ปิดเทปกาวทุกหน้า และการปิดเทปกาวดังกล่าวยังสามารถเปิดดูได้ตลอดเวลา ประกอบกับการใช้เทปกาวปิดทับมิใช่เป็นการลบหรือทำลายข้อความทิ้งเพื่อไม่ให้สื่อความหมายใด ๆ ได้ อีกทั้งไม่อาจกล่าวอ้างถึงเจตนา (การปิดเทปกาวเพราะไม่ประสงค์อ่านข้อความ) ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ภายในใจของผู้ฟ้องคดีมาปฏิเสธความรับผิดต่อการกระทำดังกล่าว กรณีจึงถือว่าเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ส่อเจตนาไปในทางทุจริตในการสอบ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อปฏิบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยแล้ว
สำหรับการพิจารณาโทษของผู้ฟ้องคดี นั้น เมื่อระเบียบมหาวิทยาลัยกําหนดไว้ว่า นักศึกษาซึ่งทุจริตในการสอบให้คณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษมีอํานาจที่จะพิจารณาโทษสถานใดสถานหนึ่ง หรือหลายสถานก็ได้ คือ
(1) ให้คะแนน F ในวิชาที่นักศึกษากระทำการทุจริต
(2) ไม่พิจารณาผลการศึกษาทุกรายวิชาในภาคการศึกษาที่นักศึกษากระทำการทุจริต
(3) ให้ลงโทษตามข้อ (1) หรือข้อ (2) และให้ลงทะเบียนเรียนจำนวนหน่วยกิตขั้นต่ำที่กำหนดไว้ และให้บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 100 ชั่วโมง ในภาคการศึกษาถัดไป
(4) ไม่พิจารณาผลการศึกษาทุกรายวิชา
ในภาคการศึกษาที่นักศึกษากระทำการทุจริตนั้น และให้พักการศึกษาอีก 1 ภาคการศึกษาในภาคการศึกษาถัดไป
และ (5) ให้พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา อันมีลักษณะเป็นการกำหนดโทษสถานเบาไปจนถึงโทษสถานหนักที่สุด
เมื่อคณะกรรมการกลางพิจารณาลงโทษฯ เห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีจดข้อความที่เป็นเนื้อหาของวิชาที่จะสอบลงในพจนานุกรมและนำติดตัวเข้าห้องสอบ ถือว่าผู้ฟ้องคดีมีเจตนากระทำการทุจริตและความผิดนั้นสำเร็จแล้ว จึงให้ลงโทษโดยให้คะแนน F ในวิชาที่ทุจริต และไม่พิจารณาผลการสอบทุกรายวิชาในภาคการศึกษาที่มีการกระทำทุจริต (ติด W) กรณีถือเป็นการลงโทษตามกรอบอำนาจหน้าที่และเป็นการพิจารณาลงโทษที่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดอันเป็นคำสั่งลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ย่อมชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน จึงพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นที่ยกฟ้อง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อร. 147/2564)
คดีดังกล่าว ... สรุปได้ว่าในการพิจารณาลงโทษนักศึกษาผู้กระทำการทุจริตการสอบหรือกระทำการส่อไปในทางทุจริต กรณีการจดข้อความซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับวิชาที่เข้าสอบลงในพจนานุกรมและนำติดตัวเข้าไปในห้องสอบ แม้ไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการสอบ ก็ถือว่ามีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตและความผิดได้สำเร็จแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องได้รับประโยชน์จากข้อความที่จดไปแต่อย่างใด ซึ่งโทษที่ลงนั้น หากผู้มีอำนาจได้พิจารณาภายในกรอบอำนาจหน้าที่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมแล้ว ย่อมถือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้ ศาลได้วินิจฉัยกรณีการขอความเห็นจากพยานผู้เชี่ยวชาญ คือ อาจารย์ท่านอื่นที่สอนวิชาเดียวกันว่า เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสามารถนำมาประกอบการพิจารณาได้โดยชอบ และไม่จำต้องรับฟังแต่เพียงความเห็นของอาจารย์เจ้าของวิชาที่สอบเท่านั้น ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539(มาตรา 28 และมาตรา 29) ที่กำหนดให้ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสมในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคําขอหรือพยานหลักฐานของคู่กรณี โดยต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่ตนเห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และสามารถแสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องได้ สามารถรับฟังพยานหลักฐาน คำชี้แจง หรือความเห็นของคู่กรณี หรือของพยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่คู่กรณีกล่าวอ้าง รวมทั้งขอความเห็นพยานผู้เชี่ยวชาญ ดังเช่นกรณีตามพิพาทนี้นั่นเองครับ
โดย ลุงถูกต้อง
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)