ปัจจุบันธุรกิจการขนส่งสินค้านับวันจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยเพราะผู้คนนิยมการ Shopping หรือซื้อสินค้าทางออนไลน์กันมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ลุงถูกต้องที่ก็สั่งซื้อของออนไลน์อยู่บ่อยครั้ง เพราะสะดวกไม่ต้องเดินทางไปซื้อหา แถมมีสินค้ามากมายให้เลือกสรร ธุรกิจการขนส่งสินค้าจึงมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น รวมถึงไปรษณีย์ไทยซึ่งเร่งพัฒนาการให้บริการเช่นกัน
จะว่าไป ... ก็ไม่ใช่แต่เพียงการซื้อสินค้าทางออนไลน์เท่านั้นนะครับที่จะสะดวกรวดเร็วขึ้น การยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองก็เช่นกัน เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 บัญญัติให้คู่กรณีสามารถยื่นคำฟ้องได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ (1) ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง (2) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือ (3) ส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สื่อดิจิทัลอื่นหรือโทรสาร โดยให้ถือว่าวันที่ส่งคำฟ้องต่อเจ้าพนักงานไปรษณีย์ หรือทาง e-mail สื่อดิจิทัลอื่นหรือโทรสาร เป็นวันที่ยื่นคำฟ้อง (รวมถึงคำอุทธรณ์) ต่อศาลปกครอง อันเป็นการอำนวยความสะดวกและเป็นทางเลือกให้กับคู่กรณีหรือประชาชนในการที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ... ตามแต่วิธีการที่ตนสะดวก
ปัญหาชวนคิดในวันนี้จึงมีว่า ... หากคู่กรณีที่ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นโดยเลือกใช้วิธีส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ได้ส่งคำอุทธรณ์เมื่อพ้นเวลาทำการตามปกติของศาลในวันนั้น แต่ยังอยู่ในเวลาทำการที่ไปรษณีย์แห่งนั้นเปิดให้บริการตามปกติ กรณีเช่นนี้จะถือว่าเป็นการยื่นคำอุทธรณ์ในวันใด ? ระหว่างวันที่ยื่นคำอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานไปรษณีย์ หรือในวันถัดไป !?
คดีปกครองที่นำมาฝากวันนี้ ... จะสามารถไขข้อข้องใจให้กับหลาย ๆ ท่านที่กำลังสงสัยในประเด็นที่ลุงเป็นธรรมกำลังชวนคิดอยู่ได้ครับ !
ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ... บริษัท A จำกัด ได้ฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้เมืองพัทยา(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และนายกเมืองพัทยา (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่ารถยนต์โดยสารพร้อมอุปกรณ์และซ่อมแซมบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศเพื่อใช้ในราชการของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าให้บริษัท A จำกัด พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.25 น. แต่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณา เนื่องจากยื่นเกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษา (เวลา 17.25 น. ถือว่าเลยเวลาทำการตามปกติของศาลปกครอง คือ เวลา 08.30 น.-16.30 น.)
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่เห็นด้วย จึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของตนไว้พิจารณาต่อศาลปกครองสูงสุด
ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ ศาลจะรับอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไว้พิจารณาได้หรือไม่ โดยต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าการยื่นอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ จะยึดถือเวลาทำการของไปรษณีย์หรือเวลาทำการ
ของศาลปกครอง ?
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาในวันที่ 24 มิถุนายน 2565 คู่กรณีจึงต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาตามมาตรา 73 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ คือ ภายในวันที่ 24 กรกฎาคม 2565 แต่เนื่องจากวันดังกล่าวตรงกับวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ คู่กรณีจึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการตามมาตรา 193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น (ถือเป็นคำฟ้องตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ) โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่ทำการไปรษณีย์พัทยาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.25 น. อันเป็นเวลาทำการตามปกติของที่ทำการไปรษณีย์พัทยา ซึ่งเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08.30 น.-19.00 น. ดังนั้น จึงต้องถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ส่งคำอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานไปรษณีย์ในวันดังกล่าว อันเป็นการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษา
ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไว้พิจารณา (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 266/2566)
คดีนี้ ... ถือว่าศาลปกครองได้วางบรรทัดฐานเกี่ยวกับการนับเวลายื่นคำฟ้องและคำอุทธรณ์ ตลอดจนเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยให้ยึดถือเวลาทำการของไปรษณีย์แห่งนั้น ๆ เป็นสำคัญ เนื่องจากที่ทำการไปรษณีย์แต่ละแห่งอาจมีช่วงเวลาทำการหรือให้บริการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากมีการฝากส่งภายในเวลาทำการตามปกติของไปรษณีย์ (แม้จะเป็นช่วงนอกเวลาทำการตามปกติของศาลปกครอง คือ เวลา 08.30 น.-16.30 น.) และได้มีการประทับตราลงรับฝากสำเร็จในวันใด ก็ให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่คู่กรณีได้ยื่นคำฟ้อง คำอุทธรณ์ เอกสารหรือพยานหลักฐานต่อศาลแล้ว
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อควรรู้สำคัญเพิ่มเติมอีกว่า การยื่นคำฟ้องหรือคำอุทธรณ์ดังกล่าว มิใช่จะสามารถยื่นผ่านบริษัทเอกชนที่ให้บริการขนส่งหรือให้บริการไปรษณีย์แห่งใดก็ได้ หากแต่กฎหมายกำหนดให้ต้องฝากส่งต่อบริษัท ไปรษณีย์ไทยฯ หรือตัวแทนหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท ไปรษณีย์ไทยฯ ให้เป็นผู้ดำเนินกิจการไปรษณีย์เท่านั้น จึงจะถือเป็นการยื่นโดยชอบและมีผลตามกฎหมาย
นอกจากนี้ ในส่วนของการฝากส่งคำฟ้องหรือคำอุทธรณ์ผ่านบริษัทไปรษณีย์เอกชนที่มิได้เป็นตัวแทนหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท ไปรษณีย์ไทยฯ ผู้ฟ้องคดีหรือผู้อุทธรณ์อาจต้องทำเป็นหนังสือมอบฉันทะให้พนักงานของบริษัทไปรษณีย์เอกชนดังกล่าว เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำฟ้องหรือคำอุทธรณ์ ตลอดจนเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลแทนตน
ดังเช่นในคดีที่มีการยื่นคำฟ้องผ่านบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด โดยศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ถึงแม้ว่าการที่ผู้ฟ้องคดีส่งคำฟ้องให้กับพนักงานของบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรสฯ ซึ่งประกอบกิจการรับขนส่งของเอกชนที่ไม่ได้รับมอบหมายจากบริษัท ไปรษณีย์ไทยฯ อันไม่ถือเป็นการยื่นคำฟ้องต่อเจ้าพนักงานไปรษณีย์ตามกฎหมายก็ตาม แต่ถือเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีประสงค์จะยื่นคำฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองโดยมอบหมายให้ผู้อื่นมายื่นคำฟ้องแทนตน พนักงานของบริษัทดังกล่าวย่อมอยู่ในฐานะของบุคคลที่มีสิทธิรับมอบฉันทะจากผู้ฟ้องคดี ให้มายื่นฟ้องคดีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองแทนผู้ฟ้องคดีได้ (ถือว่าศาลได้รับเรื่องในวันที่เอกสารมาถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล)
ดังนั้น เมื่อคำฟ้องที่ยื่นมาไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้แนบใบมอบฉันทะให้พนักงานของบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ยื่นฟ้องคดีแทนมาด้วย อันถือเป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง (5) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ซึ่งข้อที่ไม่สมบูรณ์ครบถ้วนนี้เป็นกรณีที่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยการส่งใบมอบฉันทะต่อศาลปกครองชั้นต้นในภายหลัง ตุลาการเจ้าของสำนวนในศาลปกครองชั้นต้นจึงต้องมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีแก้ไขข้อที่ไม่สมบูรณ์ครบถ้วนนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดนั่นเองครับ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 336/2566)
(ปรึกษาการฟ้องคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
จะว่าไป ... ก็ไม่ใช่แต่เพียงการซื้อสินค้าทางออนไลน์เท่านั้นนะครับที่จะสะดวกรวดเร็วขึ้น การยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองก็เช่นกัน เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 บัญญัติให้คู่กรณีสามารถยื่นคำฟ้องได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ (1) ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง (2) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือ (3) ส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สื่อดิจิทัลอื่นหรือโทรสาร โดยให้ถือว่าวันที่ส่งคำฟ้องต่อเจ้าพนักงานไปรษณีย์ หรือทาง e-mail สื่อดิจิทัลอื่นหรือโทรสาร เป็นวันที่ยื่นคำฟ้อง (รวมถึงคำอุทธรณ์) ต่อศาลปกครอง อันเป็นการอำนวยความสะดวกและเป็นทางเลือกให้กับคู่กรณีหรือประชาชนในการที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ... ตามแต่วิธีการที่ตนสะดวก
ปัญหาชวนคิดในวันนี้จึงมีว่า ... หากคู่กรณีที่ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นโดยเลือกใช้วิธีส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ได้ส่งคำอุทธรณ์เมื่อพ้นเวลาทำการตามปกติของศาลในวันนั้น แต่ยังอยู่ในเวลาทำการที่ไปรษณีย์แห่งนั้นเปิดให้บริการตามปกติ กรณีเช่นนี้จะถือว่าเป็นการยื่นคำอุทธรณ์ในวันใด ? ระหว่างวันที่ยื่นคำอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานไปรษณีย์ หรือในวันถัดไป !?
คดีปกครองที่นำมาฝากวันนี้ ... จะสามารถไขข้อข้องใจให้กับหลาย ๆ ท่านที่กำลังสงสัยในประเด็นที่ลุงเป็นธรรมกำลังชวนคิดอยู่ได้ครับ !
ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ... บริษัท A จำกัด ได้ฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้เมืองพัทยา(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และนายกเมืองพัทยา (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่ารถยนต์โดยสารพร้อมอุปกรณ์และซ่อมแซมบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศเพื่อใช้ในราชการของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าให้บริษัท A จำกัด พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.25 น. แต่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณา เนื่องจากยื่นเกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษา (เวลา 17.25 น. ถือว่าเลยเวลาทำการตามปกติของศาลปกครอง คือ เวลา 08.30 น.-16.30 น.)
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่เห็นด้วย จึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของตนไว้พิจารณาต่อศาลปกครองสูงสุด
ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ ศาลจะรับอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไว้พิจารณาได้หรือไม่ โดยต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าการยื่นอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ จะยึดถือเวลาทำการของไปรษณีย์หรือเวลาทำการ
ของศาลปกครอง ?
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาในวันที่ 24 มิถุนายน 2565 คู่กรณีจึงต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาตามมาตรา 73 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ คือ ภายในวันที่ 24 กรกฎาคม 2565 แต่เนื่องจากวันดังกล่าวตรงกับวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ คู่กรณีจึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการตามมาตรา 193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น (ถือเป็นคำฟ้องตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ) โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่ทำการไปรษณีย์พัทยาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.25 น. อันเป็นเวลาทำการตามปกติของที่ทำการไปรษณีย์พัทยา ซึ่งเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08.30 น.-19.00 น. ดังนั้น จึงต้องถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ส่งคำอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานไปรษณีย์ในวันดังกล่าว อันเป็นการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษา
ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไว้พิจารณา (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 266/2566)
คดีนี้ ... ถือว่าศาลปกครองได้วางบรรทัดฐานเกี่ยวกับการนับเวลายื่นคำฟ้องและคำอุทธรณ์ ตลอดจนเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยให้ยึดถือเวลาทำการของไปรษณีย์แห่งนั้น ๆ เป็นสำคัญ เนื่องจากที่ทำการไปรษณีย์แต่ละแห่งอาจมีช่วงเวลาทำการหรือให้บริการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากมีการฝากส่งภายในเวลาทำการตามปกติของไปรษณีย์ (แม้จะเป็นช่วงนอกเวลาทำการตามปกติของศาลปกครอง คือ เวลา 08.30 น.-16.30 น.) และได้มีการประทับตราลงรับฝากสำเร็จในวันใด ก็ให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่คู่กรณีได้ยื่นคำฟ้อง คำอุทธรณ์ เอกสารหรือพยานหลักฐานต่อศาลแล้ว
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อควรรู้สำคัญเพิ่มเติมอีกว่า การยื่นคำฟ้องหรือคำอุทธรณ์ดังกล่าว มิใช่จะสามารถยื่นผ่านบริษัทเอกชนที่ให้บริการขนส่งหรือให้บริการไปรษณีย์แห่งใดก็ได้ หากแต่กฎหมายกำหนดให้ต้องฝากส่งต่อบริษัท ไปรษณีย์ไทยฯ หรือตัวแทนหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท ไปรษณีย์ไทยฯ ให้เป็นผู้ดำเนินกิจการไปรษณีย์เท่านั้น จึงจะถือเป็นการยื่นโดยชอบและมีผลตามกฎหมาย
นอกจากนี้ ในส่วนของการฝากส่งคำฟ้องหรือคำอุทธรณ์ผ่านบริษัทไปรษณีย์เอกชนที่มิได้เป็นตัวแทนหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท ไปรษณีย์ไทยฯ ผู้ฟ้องคดีหรือผู้อุทธรณ์อาจต้องทำเป็นหนังสือมอบฉันทะให้พนักงานของบริษัทไปรษณีย์เอกชนดังกล่าว เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำฟ้องหรือคำอุทธรณ์ ตลอดจนเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลแทนตน
ดังเช่นในคดีที่มีการยื่นคำฟ้องผ่านบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด โดยศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ถึงแม้ว่าการที่ผู้ฟ้องคดีส่งคำฟ้องให้กับพนักงานของบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรสฯ ซึ่งประกอบกิจการรับขนส่งของเอกชนที่ไม่ได้รับมอบหมายจากบริษัท ไปรษณีย์ไทยฯ อันไม่ถือเป็นการยื่นคำฟ้องต่อเจ้าพนักงานไปรษณีย์ตามกฎหมายก็ตาม แต่ถือเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีประสงค์จะยื่นคำฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองโดยมอบหมายให้ผู้อื่นมายื่นคำฟ้องแทนตน พนักงานของบริษัทดังกล่าวย่อมอยู่ในฐานะของบุคคลที่มีสิทธิรับมอบฉันทะจากผู้ฟ้องคดี ให้มายื่นฟ้องคดีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองแทนผู้ฟ้องคดีได้ (ถือว่าศาลได้รับเรื่องในวันที่เอกสารมาถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล)
ดังนั้น เมื่อคำฟ้องที่ยื่นมาไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้แนบใบมอบฉันทะให้พนักงานของบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ยื่นฟ้องคดีแทนมาด้วย อันถือเป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง (5) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ซึ่งข้อที่ไม่สมบูรณ์ครบถ้วนนี้เป็นกรณีที่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยการส่งใบมอบฉันทะต่อศาลปกครองชั้นต้นในภายหลัง ตุลาการเจ้าของสำนวนในศาลปกครองชั้นต้นจึงต้องมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีแก้ไขข้อที่ไม่สมบูรณ์ครบถ้วนนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดนั่นเองครับ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 336/2566)
(ปรึกษาการฟ้องคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)