“นี่คือสถาน แห่งบ้านทรายทอง ที่ฉันปองมาสู่ ...”
เมื่อได้ยินบทเพลงนี้ หลายท่านคงหวนนึกถึงบทประพันธ์สุดคลาสสิกที่กล่าวถึงหญิงสาวชาวบ้านนามว่า “พจมาน สว่างวงศ์” ผู้มาพร้อมกับเรื่องราวการแย่งชิงมรดกบ้านทรายทองที่เข้มข้น ซึ่งสุดท้ายแล้ว ... ความลับได้ถูกเปิดเผยว่า พจมาน คือ ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในคฤหาสน์บ้านทรายทองที่แท้จริง !
วันนี้ ... ลุงถูกต้องก็มีเรื่องวุ่น ๆ เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนที่เป็นบ้าน สมมติว่าชื่อบ้านทรายแดง ซึ่งผู้จัดการมรดกได้นำไปจดทะเบียนโอนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง อันนำมาสู่ประเด็นพิพาทที่ชวนขบคิดว่า ... ผู้จัดการมรดกจะโอนบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นของตนเอง โดยอ้างว่าเพื่อความสะดวกในการแบ่งแก่ทายาททุกคนต่อไปได้หรือไม่ ? และเรื่องราวของบ้านทรายแดงหลังนี้จะลงเอยอย่างไร ? ลุงถูกต้องขอถือโอกาสสวมรอยเป็นทนายความรูปหล่อ อาสาพาไปติดตามเรื่องราวกันเลยครับ !
เรื่องราวของคดีมีอยู่ว่า ... คุณหญิงใหญ่ทายาทโดยธรรมและเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้าคุณพ่อ (ตามคำสั่งศาลแพ่ง) ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนโอนมรดกบ้าน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้ามรดกผู้ถึงแก่ความตายให้แก่ตนเองในฐานะผู้จัดการมรดก โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าบ้านหลังดังกล่าวปลูกอยู่บนที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก (ที่ดินได้มีการแบ่งปันแก่ทายาทโดยธรรมตามส่วนแล้ว) ต้องการที่จะโอนกรรมสิทธิ์บ้านมาเป็นของตน เพื่อทำการรื้อถอนและจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าวตามเสียงของทายาทส่วนมากต่อไป
เจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบและสั่งรับคำขอ พร้อมปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยเป็นเวลา 30 วัน (ณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่) ส่วนบริเวณบ้านพิพาทนี้ คุณหญิงใหญ่เป็นผู้นำประกาศไปปิดไว้ด้วยตนเอง หลังจากครบกำหนด 30 วัน ไม่มีผู้คัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ทำการจดทะเบียนโอนมรดกบ้านพิพาทให้แก่คุณหญิงใหญ่ตามคำขอ
คุณชายน้อย (ผู้ฟ้องคดี) ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้าคุณพ่อเช่นกัน ได้ทราบเรื่องในภายหลังแล้วเห็นว่า การจดทะเบียนโอนมรดกบ้านดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่มีการปิดประกาศ ทำให้ตนไม่มีโอกาสคัดค้าน ซึ่งทางคุณหญิงใหญ่ก็อ้างว่าได้ปิดประกาศไว้ที่บ้านแล้ว แต่คุณหญิงเล็กได้เอาสีมาทาทับ
จนมองไม่เห็นร่องรอยของประกาศ
เพื่อยุติเรื่องราวที่กำลังอลวน คุณชายน้อยจึงยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และคุณหญิงใหญ่ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทและยกเลิกประกาศที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองชั้นต้น คุณหญิงใหญ่และคุณชายกลางได้เป็นโจทก์ฟ้องทายาทโดยธรรมคนอื่นรวมถึงคุณชายน้อยเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ขอให้ไปดำเนินการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมบ้านพิพาทและอาคารที่เป็นส่วนควบ ให้แก่ทายาทโดยธรรมทั้งหมดคนละเท่า ๆ กัน ซึ่งทายาทโดยธรรมทั้งหมดที่เป็นโจทก์-จำเลยในคดีดังกล่าว ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงแบ่งแยกที่ดินเพิ่มเติมให้แก่ทายาทบางคน เมื่อแบ่งแยกที่ดินและทราบแนวเขตที่ดินแล้ว จึงจะไปขออนุญาตรื้อถอนบ้านพิพาทเฉพาะส่วนที่ตกลงไว้ต่อไป ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จากนั้น ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกบ้านพิพาทให้แก่คุณหญิงใหญ่ เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจึงอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุดเป็นคดีนี้ โดยโต้แย้งว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องไปดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทต่อไป ส่วนขั้นตอนการโอนมรดกบ้านที่พิพาทนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่เพียงตรวจสอบว่าผู้ขอรับมรดกเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่เท่านั้น จึงเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบและปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
คดีจึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1)จดทะเบียนโอนมรดกบ้านพิพาทให้แก่ผู้จัดการมรดก (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) แต่เพียงผู้เดียวนั้น เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า หลังจากที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้ที่ศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรม อันได้แก่บุตรทั้งเจ็ดคนโดยเท่าเทียมกันแต่ผู้จัดการมรดกกลับดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนโอนมรดกที่เป็นบ้านพิพาทให้แก่ตนเองแต่เพียงผู้เดียวโดยมิได้ให้ทายาทโดยธรรมคนอื่นที่มีสิทธิรับมรดกยื่นคำขอร่วมกันก่อนดำเนินการประกาศมีกำหนด 30 วันตามข้อ 52/3 ของระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 (ใช้บังคับในขณะนั้น) ซึ่งในคดีนี้ผู้ฟ้องคดีได้อ้างว่าไม่มีการปิดประกาศ ทายาทคนอื่นจึงไม่มีโอกาสโต้แย้งคัดค้าน อันเป็นการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้มาทางมรดกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อีกทั้ง เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้รับคำขอของผู้จัดการมรดกแล้ว มิได้ตรวจสอบเรื่องโดยละเอียดก่อนว่ามีข้อขัดข้องประการใด หรือไม่ กลับดำเนินการจดทะเบียนโอนบ้านให้แก่ผู้จัดการมรดก จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่ผู้จัดการมรดกอ้างว่า มิได้มีเจตนาที่จะเอาบ้านพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนแต่เพียงผู้เดียว แต่เนื่องจากตนเองและทายาทส่วนมากมีความประสงค์ที่ต้องการรื้อบ้านเพื่อจะนำที่ดินซึ่งแบ่งแยกให้ทายาท
ไปแล้ว มาพัฒนาเพื่อทำประโยชน์ และแบ่งปันไม้จากการรื้อถอนให้แก่ทายาทต่อไปนั้น ศาลเห็นว่า ตามมาตรา 1719 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแพ่งมีอำนาจในการจัดการมรดกโดยทั่วไปและสามารถดำเนินการแบ่งปันมรดกบ้านพิพาทได้ตามกฎหมายดังกล่าว โดยไม่จำต้องจดทะเบียน
โอนมรดกบ้านพิพาทมาเป็นของตนก่อนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนบ้านพิพาท
ย่อมทำให้บ้านดังกล่าวพ้นจากการเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของตนเอง จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกบ้านพิพาทให้แก่ผู้จัดการมรดก (เทียบเคียงจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 1093/2565)
สรุปได้ว่า … เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้มาโดยทางมรดกนั้น แม้จะไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการแบ่งปันทรัพย์มรดก แต่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่ระเบียบกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ กำหนดไว้ ซึ่งกรณีการแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นที่ดินนั้น ผู้จัดการมรดกจะต้องขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินให้แก่ทายาทต่อไปตามมาตรา 82 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ส่วนกรณีการขอจดทะเบียนโอนมรดกที่เป็นสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์อื่นไม่รวมกับที่ดิน เช่นในกรณีที่พิพาทนี้ ตามข้อ 52/3 ระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ซึ่งใช้บังคับในขณะพิพาทนั้น กำหนดให้ผู้จัดการมรดกและทายาทที่มีสิทธิรับมรดกจำต้องยื่นคำขอร่วมกันแล้วดำเนินการประกาศ หากไม่มีการโต้แย้งคัดค้าน จึงจะสามารถดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้ การที่ผู้จัดการมรดกยื่นคำขอเพียงผู้เดียวจึงไม่ถูกต้อง และเจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจรับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านที่พิพาทได้ เพราะจะทำให้ทรัพย์นั้นพ้นจากการเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้จัดการมรดก ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีการยกเลิกข้อ 52/3 ข้างต้นแล้ว โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ
กรมที่ดิน ว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557 ซึ่งปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนสิทธิในกรณีดังกล่าว เพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นและมีมาตรฐานการปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 82 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งระเบียบฯ ดังกล่าวมีการแก้ไขเพิ่มเติมในหมวด 3 กรณีการโอนมรดกอสังหาริมทรัพย์อื่นที่ไม่รวมกับที่ดิน ส่งผลให้จากเดิมที่ผู้จัดการมรดกและทายาทต้องยื่นคำขอร่วมกันในการแบ่งมรดกบ้านหรืออาคาร เป็นให้ดำเนินการจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (ท.อ.13) เพื่อดำเนินการจดทะเบียนสิทธิให้แก่ทายาทต่อไป เช่นเดียวกับการแบ่งมรดกที่ดิน ผู้สนใจสามารถศึกษากฎหมายดังกล่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dol.go.th/registry/Documents/5460.pdf
ฉะนั้น โดยหลักการแล้ว หน้าที่ตามกฎหมายของผู้จัดการมรดก คือ การแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิ และดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ โดยไม่อาจโอนทรัพย์มรดกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองก่อนได้ เพราะจะทำให้ทรัพย์นั้นพ้นจากการเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้จัดการมรดก ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ก็จะต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และขั้นตอนตามที่กฎหมายหรือระเบียบที่ใช้บังคับขณะนั้นกำหนดไว้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดก
โชคดีที่คดีนี้ไม่มี “พจมาน” มาแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของบ้านตัวจริงเหมือนดั่งในละคร
เมื่อบ้านทรายแดงมีทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันหลายคน ทายาทโดยธรรมทุกคนย่อมชอบที่จะมีสิทธิ
ในทรัพย์มรดกคนละส่วนเท่า ๆ กัน สำหรับวันนี้ ... ลุงถูกต้องในฐานะทนายความสมมติขอจบการเล่าคดี
บ้านทรายแดง และขอลาท่านผู้อ่านไปตามหาพจมานในคดีอื่น ๆ ก่อนนะครับ ...
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
เมื่อได้ยินบทเพลงนี้ หลายท่านคงหวนนึกถึงบทประพันธ์สุดคลาสสิกที่กล่าวถึงหญิงสาวชาวบ้านนามว่า “พจมาน สว่างวงศ์” ผู้มาพร้อมกับเรื่องราวการแย่งชิงมรดกบ้านทรายทองที่เข้มข้น ซึ่งสุดท้ายแล้ว ... ความลับได้ถูกเปิดเผยว่า พจมาน คือ ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในคฤหาสน์บ้านทรายทองที่แท้จริง !
วันนี้ ... ลุงถูกต้องก็มีเรื่องวุ่น ๆ เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนที่เป็นบ้าน สมมติว่าชื่อบ้านทรายแดง ซึ่งผู้จัดการมรดกได้นำไปจดทะเบียนโอนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง อันนำมาสู่ประเด็นพิพาทที่ชวนขบคิดว่า ... ผู้จัดการมรดกจะโอนบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นของตนเอง โดยอ้างว่าเพื่อความสะดวกในการแบ่งแก่ทายาททุกคนต่อไปได้หรือไม่ ? และเรื่องราวของบ้านทรายแดงหลังนี้จะลงเอยอย่างไร ? ลุงถูกต้องขอถือโอกาสสวมรอยเป็นทนายความรูปหล่อ อาสาพาไปติดตามเรื่องราวกันเลยครับ !
เรื่องราวของคดีมีอยู่ว่า ... คุณหญิงใหญ่ทายาทโดยธรรมและเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้าคุณพ่อ (ตามคำสั่งศาลแพ่ง) ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนโอนมรดกบ้าน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้ามรดกผู้ถึงแก่ความตายให้แก่ตนเองในฐานะผู้จัดการมรดก โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าบ้านหลังดังกล่าวปลูกอยู่บนที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก (ที่ดินได้มีการแบ่งปันแก่ทายาทโดยธรรมตามส่วนแล้ว) ต้องการที่จะโอนกรรมสิทธิ์บ้านมาเป็นของตน เพื่อทำการรื้อถอนและจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าวตามเสียงของทายาทส่วนมากต่อไป
เจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบและสั่งรับคำขอ พร้อมปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยเป็นเวลา 30 วัน (ณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่) ส่วนบริเวณบ้านพิพาทนี้ คุณหญิงใหญ่เป็นผู้นำประกาศไปปิดไว้ด้วยตนเอง หลังจากครบกำหนด 30 วัน ไม่มีผู้คัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ทำการจดทะเบียนโอนมรดกบ้านพิพาทให้แก่คุณหญิงใหญ่ตามคำขอ
คุณชายน้อย (ผู้ฟ้องคดี) ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้าคุณพ่อเช่นกัน ได้ทราบเรื่องในภายหลังแล้วเห็นว่า การจดทะเบียนโอนมรดกบ้านดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่มีการปิดประกาศ ทำให้ตนไม่มีโอกาสคัดค้าน ซึ่งทางคุณหญิงใหญ่ก็อ้างว่าได้ปิดประกาศไว้ที่บ้านแล้ว แต่คุณหญิงเล็กได้เอาสีมาทาทับ
จนมองไม่เห็นร่องรอยของประกาศ
เพื่อยุติเรื่องราวที่กำลังอลวน คุณชายน้อยจึงยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และคุณหญิงใหญ่ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทและยกเลิกประกาศที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองชั้นต้น คุณหญิงใหญ่และคุณชายกลางได้เป็นโจทก์ฟ้องทายาทโดยธรรมคนอื่นรวมถึงคุณชายน้อยเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ขอให้ไปดำเนินการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมบ้านพิพาทและอาคารที่เป็นส่วนควบ ให้แก่ทายาทโดยธรรมทั้งหมดคนละเท่า ๆ กัน ซึ่งทายาทโดยธรรมทั้งหมดที่เป็นโจทก์-จำเลยในคดีดังกล่าว ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงแบ่งแยกที่ดินเพิ่มเติมให้แก่ทายาทบางคน เมื่อแบ่งแยกที่ดินและทราบแนวเขตที่ดินแล้ว จึงจะไปขออนุญาตรื้อถอนบ้านพิพาทเฉพาะส่วนที่ตกลงไว้ต่อไป ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จากนั้น ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกบ้านพิพาทให้แก่คุณหญิงใหญ่ เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจึงอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุดเป็นคดีนี้ โดยโต้แย้งว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องไปดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทต่อไป ส่วนขั้นตอนการโอนมรดกบ้านที่พิพาทนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่เพียงตรวจสอบว่าผู้ขอรับมรดกเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่เท่านั้น จึงเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบและปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
คดีจึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1)จดทะเบียนโอนมรดกบ้านพิพาทให้แก่ผู้จัดการมรดก (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) แต่เพียงผู้เดียวนั้น เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า หลังจากที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้ที่ศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรม อันได้แก่บุตรทั้งเจ็ดคนโดยเท่าเทียมกันแต่ผู้จัดการมรดกกลับดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนโอนมรดกที่เป็นบ้านพิพาทให้แก่ตนเองแต่เพียงผู้เดียวโดยมิได้ให้ทายาทโดยธรรมคนอื่นที่มีสิทธิรับมรดกยื่นคำขอร่วมกันก่อนดำเนินการประกาศมีกำหนด 30 วันตามข้อ 52/3 ของระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 (ใช้บังคับในขณะนั้น) ซึ่งในคดีนี้ผู้ฟ้องคดีได้อ้างว่าไม่มีการปิดประกาศ ทายาทคนอื่นจึงไม่มีโอกาสโต้แย้งคัดค้าน อันเป็นการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้มาทางมรดกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อีกทั้ง เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้รับคำขอของผู้จัดการมรดกแล้ว มิได้ตรวจสอบเรื่องโดยละเอียดก่อนว่ามีข้อขัดข้องประการใด หรือไม่ กลับดำเนินการจดทะเบียนโอนบ้านให้แก่ผู้จัดการมรดก จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่ผู้จัดการมรดกอ้างว่า มิได้มีเจตนาที่จะเอาบ้านพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนแต่เพียงผู้เดียว แต่เนื่องจากตนเองและทายาทส่วนมากมีความประสงค์ที่ต้องการรื้อบ้านเพื่อจะนำที่ดินซึ่งแบ่งแยกให้ทายาท
ไปแล้ว มาพัฒนาเพื่อทำประโยชน์ และแบ่งปันไม้จากการรื้อถอนให้แก่ทายาทต่อไปนั้น ศาลเห็นว่า ตามมาตรา 1719 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแพ่งมีอำนาจในการจัดการมรดกโดยทั่วไปและสามารถดำเนินการแบ่งปันมรดกบ้านพิพาทได้ตามกฎหมายดังกล่าว โดยไม่จำต้องจดทะเบียน
โอนมรดกบ้านพิพาทมาเป็นของตนก่อนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนบ้านพิพาท
ย่อมทำให้บ้านดังกล่าวพ้นจากการเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของตนเอง จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกบ้านพิพาทให้แก่ผู้จัดการมรดก (เทียบเคียงจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 1093/2565)
สรุปได้ว่า … เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้มาโดยทางมรดกนั้น แม้จะไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการแบ่งปันทรัพย์มรดก แต่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่ระเบียบกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ กำหนดไว้ ซึ่งกรณีการแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นที่ดินนั้น ผู้จัดการมรดกจะต้องขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินให้แก่ทายาทต่อไปตามมาตรา 82 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ส่วนกรณีการขอจดทะเบียนโอนมรดกที่เป็นสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์อื่นไม่รวมกับที่ดิน เช่นในกรณีที่พิพาทนี้ ตามข้อ 52/3 ระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ซึ่งใช้บังคับในขณะพิพาทนั้น กำหนดให้ผู้จัดการมรดกและทายาทที่มีสิทธิรับมรดกจำต้องยื่นคำขอร่วมกันแล้วดำเนินการประกาศ หากไม่มีการโต้แย้งคัดค้าน จึงจะสามารถดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้ การที่ผู้จัดการมรดกยื่นคำขอเพียงผู้เดียวจึงไม่ถูกต้อง และเจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจรับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านที่พิพาทได้ เพราะจะทำให้ทรัพย์นั้นพ้นจากการเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้จัดการมรดก ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีการยกเลิกข้อ 52/3 ข้างต้นแล้ว โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ
กรมที่ดิน ว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557 ซึ่งปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนสิทธิในกรณีดังกล่าว เพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นและมีมาตรฐานการปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 82 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งระเบียบฯ ดังกล่าวมีการแก้ไขเพิ่มเติมในหมวด 3 กรณีการโอนมรดกอสังหาริมทรัพย์อื่นที่ไม่รวมกับที่ดิน ส่งผลให้จากเดิมที่ผู้จัดการมรดกและทายาทต้องยื่นคำขอร่วมกันในการแบ่งมรดกบ้านหรืออาคาร เป็นให้ดำเนินการจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (ท.อ.13) เพื่อดำเนินการจดทะเบียนสิทธิให้แก่ทายาทต่อไป เช่นเดียวกับการแบ่งมรดกที่ดิน ผู้สนใจสามารถศึกษากฎหมายดังกล่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dol.go.th/registry/Documents/5460.pdf
ฉะนั้น โดยหลักการแล้ว หน้าที่ตามกฎหมายของผู้จัดการมรดก คือ การแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิ และดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ โดยไม่อาจโอนทรัพย์มรดกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองก่อนได้ เพราะจะทำให้ทรัพย์นั้นพ้นจากการเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้จัดการมรดก ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ก็จะต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และขั้นตอนตามที่กฎหมายหรือระเบียบที่ใช้บังคับขณะนั้นกำหนดไว้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดก
โชคดีที่คดีนี้ไม่มี “พจมาน” มาแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของบ้านตัวจริงเหมือนดั่งในละคร
เมื่อบ้านทรายแดงมีทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันหลายคน ทายาทโดยธรรมทุกคนย่อมชอบที่จะมีสิทธิ
ในทรัพย์มรดกคนละส่วนเท่า ๆ กัน สำหรับวันนี้ ... ลุงถูกต้องในฐานะทนายความสมมติขอจบการเล่าคดี
บ้านทรายแดง และขอลาท่านผู้อ่านไปตามหาพจมานในคดีอื่น ๆ ก่อนนะครับ ...
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)