xs
xsm
sm
md
lg

พนักงานการท่าเรือฯ 37 คน ผู้ต้องหาคดีโกงเงินค่าล่วงเวลา มอบตัวอัยการ ร้องสอบพยานอีก 2 ปาก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



ทนายกฤษฎา” นำพนักงานการท่าเรือฯ 37 คน เป็นผู้ต้องหาคดีโกงเงินโอที การท่าเรือฯ ส่งให้อัยการสูงสุด พร้อมยื่นสอบพยานเพิ่ม 2 ปาก

วันนี้ (29 มี.ค.) ทนายกฤษฎา อินทามระ นําผู้ต้องหาซึ่งเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เข้ามอบตัวในคดีพิเศษ ของดีเอสไอ กรณีทุจริตเบิกจ่ายค่าล่วงเวลา หรือ โอที ในห้วงปี 2545-2555 ทำให้รัฐเสียหายเป็นจำนวนเงินกว่า 3 พันล้านบาท

ทนายกฤษฎา กล่าวว่า คดีดีนี้สืบเนื่องจากปี 2557 ที่ผู้บริหารการท่าเรือได้เข้าร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในขณะนั้น เรื่อง การฟ้องพนักงานที่เบิกค่าบ่วงเวลาทั้งที่ไม่ทำงานจริง จนทำให้รัฐเสียหายเป็นจำนวนเงิน 3,300 ล้านบาท เพื่อขอให้ดีเอสไอช่วยตรงจสอบการทุจริตดังกล่าว ต่อมาในต้นปี 2557 ดีเอสไอรับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ พร้อมกับส่งให้ ป.ป.ช. พิจารณา และส่งกลับมาให้ทางดีเอสไอดำเนินคดีต่อไป

ต่อมาในปี 2560 ดีเอสไอ แจ้งให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย เข้ามาเป็นผู้กล่าวหา โดยมีผู้ถูกกล่าวหา คือ พนักงานการท่าเรือฯ จำนวน 560 คน โดยใช้เวลาสรุปสํานวนกระมาณ 6 ปี ก่อนจะสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสิ้น 37 คน จาก 560 คน ส่งตัวพนักงานอัยการคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด

โดย ทนายกฤษฎา กล่าวเพิ่มว่า ผู้ต้องหาทั้ง 37 คน มอบหมายให้ตนทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ เพื่อให้มีการสอบพยานเพิ่มรวม 2 ปาก ซึ่งคนแรกคือ พนักงานการท่าเรือฯ คนที่สอบ คือ รักษาการแทน ผอ.การท่าเรือฯ เนื่องจาก พยานที่ 1 มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ 8 วัน แต่ไม่ได้ขอลา และเมื่อกลับมาได้ขอเบิกค่าล่วงเวลา ทั้งที่ไม่ได้ทำงานจริง โดยมีพยานที่ 2 รับทราบ และไล่ออก แต่ไม่มีการดำเนินคดีใดๆ อีกทั้งยังใส่ชื่อพยานที่ 1 เพื่อให้มาปรักปรำใส่ร้ายผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 560 คน จนสุดท้ายตกเป็นผู้ต้องจำนวนทั้งสิ้น 37 คน จึงร้องให้ตรวจสอบว่าพฤติกรรมดังกล่าวบ่งชี้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งหรือไม่

ทั้งนี้ ทนายกฤษฎา เผยอีกว่า พนักงานทั้ง 560 คน ที่ถูกกล่าวหานั้น ต้องถูกสังคมประณามว่าเป็นคนโกงและทุจริตเงินหลวง และยังทำให้การฟ้องคดีที่ศาลแรงงานเพื่อเรียกค่าล่วงเวลารายชั่วโมงต้องแพ้คดีไปทั้งหมด








กำลังโหลดความคิดเห็น