xs
xsm
sm
md
lg

“โชติวัฒน์” ปธ.ศาลฎีกา มอบรางวัลศาลดีเด่น เชื่อพัฒนาให้บุคลากรมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ ตามนโยบาย “รักศาล ร่วมใจ รับใช้ประชาชน”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา
“โชติวัฒน์” ประธานศาลฎีกา มอบรางวัลศาลดีเด่น เชื่อพัฒนาขีดความสามารถ และเป็นแรงผลักดันให้บุคลากรมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ ตามนโยบาย “รักศาล ร่วมใจ รับใช้ประชาชน”

ที่สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (23 มี.ค.) นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล โครงการจัดประกวดคัดเลือกศาลดีเด่นเพื่อประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1 โดยมี นายธีรศักดิ์ เงยวิจิตร เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีผู้บริหารและผู้พิพากษาตัวแทนจากศาลต่างๆ ทั่วประเทศ มาร่วมพิธีมอบรางวัลศาลดีเด่น

นายโชติวัฒน์ ประธานศาลฎีกา กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับศาลที่ได้รับรางวัล และขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานจนเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม เชื่อว่า ผลงานจากความทุ่มเทในครั้งนี้ จะนำพาให้องค์กรศาลยุติธรรมได้พัฒนาต่อยอดเพิ่มขีดความสามารถและเป็นแรงผลักดันให้บุคลากรทุกคน มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติอย่างเต็มกำลัง สำหรับโครงการจัดประกวดคัดเลือกศาลดีเด่นเพื่อประชาชนนี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนศาลยุติธรรมทั่วประเทศ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการคดีอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในมาตรฐานระยะเวลาที่กำหนด พัฒนาระบบงานให้ประชาชนเข้าถึงบริการของศาลยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัดในทุกมิติภายในความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ยึดถือความต้องการของประชาชนศูนย์กลาง

นายโชติวัฒน์ กล่าวอีกว่า หลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 ที่ผ่านมา ได้กำหนดนโยบาย “รักศาล ร่วมใจ รับใช้ประชาชน” มาใช้ในการบริหารราชการศาลยุติธรรม โดยประชุมผู้บริหารศาลยุติธรรมทั่วประเทศมาประชุมเพื่อได้รู้และเข้าใจนโยบาย เพื่อนำไปถ่ายทอดให้บุคลากรของศาลแต่ละแห่ง แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราทำ แต่เห็นว่ายังไม่สามารถไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้ จึงต้องออกตรวจราชการศาลต่างๆ ทั่วประเทศ ในทุกเดือน ให้เป็นไปตามเป้าหมายและนโยบายที่ให้ไว้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้กับประชาชน


อย่างไรตาม สำหรับการจัดประกวดในครั้งนี้ได้ก็พิจารณาจากผลการดำเนินงานของศาลต่างๆ ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2565 - มี.ค. 2566 ปรากฏว่า ศาลที่ได้รับรางวัลและปรากาศเกียรติคุณ ทั้ง 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. กลุ่มศาลจังหวัดในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1-9 รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ศาลจังหวัดตาก รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ศาลจังหวัดหนองคาย รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ศาลจังหวัดเดชอุดม และรางวัลชมเชย ได้แก่ ศาลจังหวัดพัทลุง
2. กลุ่มศาลแขวงในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1-9 รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ศาลแขวงลพบุรี รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ศาลแขวงทุ่งสง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ศาลแขวงเชียงราย และรางวัลชมเชย ได้แก่ ศาลแขวงสุพรรณบุรี
3. กลุ่มศาลเยาวชนและครอบครัวในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาศาล ภาค 1-9
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมหาสารคาม รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปัตตานี และรางวัลชมเชย ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอ่างทอง
4. กลุ่มศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ศาลอาญาพระโขนง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ศาลอาญาธนบุรี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ศาลแพ่งตลิ่งชนะ และรางวัลชมเชย ได้แก่ ศาลาอาญาตลิ่งชัน
5. กลุ่มศาลพิเศษและศาลชำนัญพิเศษ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ศาลล้มละลายกลาง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ศาลแรงงาน ภาค 4 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 7 และรางวัลชมเชย ได้แก่ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ


ด้าน นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า การมอบรางวัลศาลดีเด่นในวันนี้ผ่านไปด้วยดี เพราะว่าเราให้ศาลแต่ละแห่งได้คิดนวัตกรรมแบบใหม่และหาวิธีการและแนวทางบริการประชาชน ให้มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงการเร่งรัดบริหารจัดการคดี ที่ผ่านมา ทำให้เกิดแรงกระตุ้นให้ศาลต่างปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ศาลที่ได้รับรางวัลทั้ง 5 กลุ่มนั้น การจัดกลุ่มก็มีความแตกต่างกันตามประเภทของศาล เพราะลักษณะของคดีจะต่างกัน เช่น ศาลชำนัญพิเศษ ศาลอาญาคดีทุจริต ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการตัดสินศาลดีเด่น แต่ก็จะให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการคดีมากกว่า ส่วนที่ประธานศาลฎีกาได้ลงพื้นที่ไปตรวจราชการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและการบริหารจัดการคดียังศาลต่างๆ ช่วยให้เกิดแรงกระตุ้นได้มาก เพราะก่อนที่ท่านจะลงพื้นที่ก็จะมีทีมงานไปศึกษาข้อมูลก่อน แล้วจะให้คำแนะนำว่าควรจะปรับปรุงอะไรบ้าง ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลง เช่น การบริหารจัดการคดีเสร็จเร็วขึ้น ซึ่งมีสถิติตัวเลขที่ได้รวบรวมข้อมูลไว้อย่างชัดเจน
กำลังโหลดความคิดเห็น