รายการ “ถอนหมุดข่าว” เผยแพร่ทางแอปพลิเคชั่น SONDHI APP สถานีโทรทัศน์ NEWS1 ช่องยูทูป NEWS1 และเฟซบุ๊กแฟนเพจ NEWS1 โดย นพรัฐ พรวนสุข บก.ข่าวการเมืองและกระบวนการยุติธรรม เครือผู้จัดการ วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 นำเสนอรายงานพิเศษ ท่องเว็บโป๊ เสี่ยงโดนดูดเงินหมดบัญชี
ข่าวใช้สายชาร์จมือถือ ดูดเงินหมดบัญชี เป็นเฟคนิวส์ แต่ที่ “เสร็จโจร”นั้น มีข้อมูลว่า ชายมีความเสี่ยงถูกดูดมากกว่าผู้ข เพราะชอบท่องเว็บโป๊ ซึ่งเปึนพื้นที่อันตรายมาก เพราะพบว่า ผู้เสียหายเข้าเว็บโป๊ มีการโหลดติดตั้งแอพเถื่อนชื่อ kakao talk หลังจากนั้นโทรศัพท์มีอาการแปลกๆ แล้วมีเงินไหลออกจากบัญชีไป
กรณีล่าสุด ตำรวจทำการตรวจพิสูจน์โทรศัพท์ต่อหน้าผู้เสียหาย มีผู้เสียหายที่ประสงค์เข้าตรวจ 3 คน ตรวจได้ 2 คน อีก 1 คน ล้างเครื่องไปแล้ว ปรากฏว่า
พบประวัติเข้าเว็บโป๊ทั้ง 2 เครื่อง
ทางศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ ศปอส.ตร. แจ้งเตือนภัยถึงประชาชน รู้ทันมิจฉาชีพดูดเงินผ่านสมาร์ตโฟน โดยไล่เรียงประวัติศาสตร์วิธีการดูดเงินจากบัญชีออกเป็น 3 ยุค
ยุคที่ 1 แก๊งคอลเซ็นเตอร์ จะโทรหาเหยื่อ ทำปฏิบัติการทางจิตวิทยา ที่เรียกว่า Social Engineer ให้เหยื่อหวาดกลัว จากนั้นก็แนะนำให้เหยื่อติดตั้งโปรแกรม TeamViewer เพื่อเข้าควบคุมเครื่องของเหยื่อ
แต่วิธีการนี้ใช้ได้ผลไม่นาน เพราะมีจุดอ่อน ตรงที่เหยื่อเห็นทุกขั้นตอน ว่าคนร้ายกำลังขยับทำอะไรในเครื่องตัวเอง จึงสกัดกั้นคนร้ายทัน อีกทั้งโปรแกรม TeamViewer ปัจจุบัน ก็ถือเป็นโปรแกรมที่มีชื่อเสีย ยากจะหลอกใครได้อีกต่อไป
ยุคที่ 2 คนร้ายพัฒนาโปรแกรมควบคุมทางไกลขึ้นมาเอง แต่ต้องเริ่มด้วยการโทรหาเหยื่อก่อนอยู่ดี อ้างว่ามาจากหน่วยงาน แล้วให้เหยื่อเพิ่มเพื่อนทาง Line สร้างชื่อเป็นหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดีเอสไอ สายการบิน
หน้าตาแอพที่คนร้ายสร้างมา จะหน้าตาคล้ายของจริง ต่างกันแค่รายละเอียด จากนั้น ส่งลิงก์ให้โหลด โดยคนร้ายจะแนะนำไปเรื่อยๆ พอเหยื่อเผลอกดอนุญาต ที่อาจมาในรูปของคำว่า “revenue” หรือ “ตกลง” คนร้ายก็จะเข้าถึงมือถือเหยื่อได้
แต่การจะเข้าถึงแอพธนาคาร ที่มีรหัสป้องกัน คนร้ายก็มีวิธีการแยบยลอีก โดยแอพลวงนี้ จะให้ตั้ง PIN 2 ครั้ง โดยทั่วไปเหยื่อก็ใช้ความเคยชิน ใช้ PIN เดียวกับแอพธนาคารของตน คนร้ายก็จะใช้ PIN นั้น ไปดูดเงินจากบัญชี
หรือคนร้ายอาจให้ทดลองโอนเงินระหว่างบัญชีของเหยื่อ ซึ่งคนร้ายจะเห็นการทำงานตลอด ซึ่งการเห็นการทำงานของเหยื่อที่หน้าจอตลอด สุดท้ายก็ดูดเงินเอาไปจนได้
ยุคที่ 2 นี้ แม้จะดีกว่ายุคที่ 1 แต่ก็ยังมีจุดอ่อน ตรงที่โปรแกรมสามารถถูกตรวจเจอได้ง่าย และก็ลบทิ้งจากเครื่องง่าย
ยุคที่ 3 เรียกว่า ยุคคลาสสิก คนร้ายเลิกใช้เทคนิคข่มขู่ให้กลัวแบบ 2 ยุคแรก แต่จะเข้าหาเหยื่อคล้ายวิธี “ลวงให้รัก” หรือ Romance scam เน้นการทำความรู้จักผ่าน Line
เริ่มจากใช้วิธีสุ่มเบอร์โทรศัพท์ เพื่อหาไอดี LINE จนได้ชื่อเป้าหมายมา พอเห็นเบื้องต้นว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ก็จะปรับตัวเองให้เข้ากัน เช่น ถ้าเหยื่อเป็นชาย คนร้ายก็จะใช้โปรไฟล์สาวน้อย หรือสาวไฮโซ แกล้งไปทักผิดๆ จากนั้นก็สานความสัมพันธ์จนคุ้นเคย
ในที่สุด ก็ถึงขั้นตอนเชือด แนะนำลิงก์ให้เหยื่อโหลด อ้างว่าเป็นรีวิว หรืออะไรต่อมิอะไร แล้วแต่จะอ้าง ถ้าสุดท้ายเหยื่อพลาดกด “ตกลง” ก็เสร็จโจร
แอพวายร้ายพวกนี้ ส่วนใหญ่เป็นสกุล .apk มีความสามารถ 2 อย่าง คือ เข้าควบคุมเครื่องทันที และทำการถอนเงินออก หรืออีกแบบหนึ่งคือ ติดตามการทำการของเครื่อง สามารถเห็นว่าเหยื่อกดถอนเงินบัญชีธนาคารใด เลขที่เท่าใด รหัสผ่านคืออะไร จากนั้นคนร้ายก็จะแอบถอนเงินไปจากบัญชีของเหยื่อ
ปัจจุบัน หรือยุคที่ 3 คนร้ายจะเน้นแนว “มาดี” ไม่ใช่ “มาร้าย” แบบแต่ก่อน แอพของพวกมัน ก็ซ่อนตัวเก่งมาก ยากที่ค้นหาเจอ เมื่อเจอก็ยากจะลบออกได้อีกต่างหาก โดยพุ่งเป้าไปที่มือถือระบบแอนดรอยด์เท่านั้น
ซึ่งแอพยุคที่ 3 นี่แหละ ที่เหยื่อรายล่า เข้าใจว่าตัวเองถูกดูดเงินจากสายชาร์จโทรศัพท์ แต่จริงๆ แล้ว ไม่ใช่
วิธีป้องกัน จริงๆ ก็ง่ายมาก คือ “คิด ก่อน คลิก” ห้ามติดตั้งโปรแกรมที่ผู้อื่นส่งมาให้เด็ดขาด แม้จะเป็นโปรแกรมที่เรารู้จักชื่อดีก็ตาม
หากต้องการใช้งานแอพใดๆ ก็ต้อง ต้องโหลดจาก Play Store เท่านั้น ยอมเสียเวลาเพิ่มสัก 1 นาที ดีกว่าเสียเงินหมดบัญชี
--------------------------------
**หมายเหตุ
ดาวโหลดแอป Sondhi App ได้แล้ว
ระบบ iOS ไปที่ AppStore : https://apps.apple.com/th/app/sondhi-app/id1588046647
ระบบ android ไปที่ Google Play : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.sondhitalk.asia.android
สมัครสมาชิกได้แล้ววันนี้
รายเดือนเพียง เดือนละ 99 บาท
รายปี 990 บาท (10 เดือน แถม 2 เดือน )
ถ้ามีปัญหาการใช้งาน app หรือการสมัครสมาชิกใน app ติดต่อสอบถามได้ที่ Line id : @sondhitalk หรือ https://lin.ee/Skns1k1