" ชิดในหน่อยพี่ ... ขึ้นแล้วชิดในหน่อย ตรงกลางช่วยขยับนิด อ้าวพี่เสื้อดำอย่ายืนขวางประตู
สิครับ !"
เชื่อว่าหลายท่านอาจเคยรู้สึกเหมือนผมที่แอบนึกบ่นในใจ ทั้งที่อยากร้องตะโกนออกไปว่า น้องจะให้ขยับไปทางไหนอีกครับเนี่ย ! แน่นเป็นปลากระป๋องแล้ว แต่จะว่าไป ... ก็ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการขึ้นรถเมล์หรือรถประจำทาง จริงไหมครับ ... สำหรับ “พนักงานเก็บค่าโดยสาร” หรือกระเป๋ารถเมล์นั้น ใช่ว่าใคร ๆก็จะเป็นได้นะครับ เพราะจะต้องมีร่างกายและกล้ามขาที่แข็งแกร่ง รวมทั้งต้องมีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงอีกด้วย เพราะไหนจะต้องคอยเก็บค่าโดยสาร ช่วยดูรถ ดูคนขึ้น-คนลง แถมยังเป็นงานที่ต้องทำด้วยใจบริการ หรือมี Service Mind จึงจะทำหน้าที่ดังกล่าวได้ดีอีกด้วย !
ในวันนี้ ... ลุงเป็นธรรมจะขอยกปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสวัสดิการของลูกจ้างองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในตำแหน่งพนักงานเก็บค่าโดยสาร มาพูดคุยเป็นความรู้กัน โดยคดีดังกล่าวพนักงานเก็บค่าโดยสารเห็นว่า ตนไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก ขสมก. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะถูกตัดสิทธิหรือถูกลิดรอนสิทธิเกี่ยวกับสวัสดิการ จึงร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แต่คณะกรรมการสิทธิฯ ได้พิจารณาแล้วมีมติให้ยุติเรื่องทั้ง ๓ กรณี พนักงานเก็บค่าโดยสารจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองในที่สุดครับ !
คดีมีประเด็นพิจารณาว่า การที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีมติให้ยุติการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ฟ้องคดี ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ หากเป็นการกระทำละเมิด ผู้ถูกฟ้องคดี (กระทรวงการคลัง) จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ เพียงใด ?
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาว่า ... ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนถูกละเมิดสิทธิเกี่ยวกับสวัสดิการจาก ขสมก. และได้ร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการสิทธิฯ คณะกรรมการสิทธิฯ จึงมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท) ที่จะต้องตรวจสอบการกระทำดังกล่าวตามที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอ ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงหลังจากที่คณะกรรมการสิทธิฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว ได้มีการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยให้ ขสมก. ชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งตรวจสอบพยานหลักฐานอื่น ๆ และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และได้พิจารณาข้อร้องเรียนในแต่ละกรณีโดยปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานผลการพิจารณาข้อร้องเรียนและแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบ จึงเห็นว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ได้ดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบและวิธีการที่กฎหมายซึ่งให้อำนาจได้บัญญัติไว้แล้ว
โดยเมื่อศาลพิจารณาข้อร้องเรียนของผู้ฟ้องคดีในกรณีที่ ๑ ว่ามารดาได้เข้ารับการตรวจรักษาเอกซเรย์สมอง ซึ่งผู้ฟ้องคดีนำใบเสร็จรับเงินที่ระบุรายงานตรวจ CT Brain จำนวน ๔,๐๐๐ บาท และ Nonionic CM ๕๐ ml. จำนวน ๑,๒๐๐ บาท รวมเป็นเงินจำนวน ๕,๒๐๐ บาท ไปยื่นเพื่อขอเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลต่อขสมก. ซึ่งข้อ ๒๖ วรรคหนึ่ง ของข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ ๗๙ ว่าด้วยสวัสดิการพนักงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๖) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่ารักษาพยาบาลของพนักงานและบุคคลในครอบครัว โดยให้เบิกได้เต็มตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง และได้มีประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ที่ในข้อ ๔ได้กำหนดให้เบิกค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวงเงินตามรายการอัตราค่าบริการสาธารณสุขที่แนบท้ายนี้ ซึ่งเอกสารแนบท้ายรายการลำดับที่ ๘.๔.๙
ค่า CT Brain NC กำหนดให้เบิกจ่ายได้จำนวน ๓,๑๐๐ บาท ต่อครั้ง และรายการลำดับที่ ๘.๔.๕๕ ค่า Using Nonionic CM add ๕๐ ml. กำหนดให้เบิกจ่ายได้ ๗๕๐ บาท ต่อครั้ง รวมทั้งสองรายการเบิกได้เป็นเงินจำนวน ๓,๘๕๐ บาท ดังนั้น ขสมก. จึงสามารถเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ฟ้องคดีไม่เกินสิทธิตามประกาศดังกล่าว การที่ ขสมก.
เบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้จำนวน ๓,๘๕๐ บาท จึงชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับข้อร้องเรียนกรณีที่ ๒ ว่า ขสมก. ไม่ดำเนินการตามมติคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ให้เพิ่มเงินสวัสดิการค่าช่วยเหลือบุตร จากเดิมเดือนละจำนวน ๕๐ บาท ต่อคน เป็นเดือนละจำนวน ๓๐๐ บาท ต่อคน โดยกระทรวงแรงงานได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบนั้น แต่ด้วยเหตุที่คณะรัฐมนตรีให้นำมติดังกล่าวกลับมาแก้ไขเพื่อเสนอใหม่อีกครั้ง และมติของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การที่ผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องดังกล่าวในขณะที่
มติดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ ขสมก. จึงไม่อาจดำเนินการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรตามอัตราใหม่ให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้
ส่วนข้อร้องเรียนกรณีที่ ๓ ว่า ขสมก. ไม่ปรับปรุงอัตราค่าจ้างลูกจ้างรายวัน และไม่ส่งบัญชีโครงสร้างอัตราลูกจ้างให้คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ทราบ ซึ่งกรณีดังกล่าวลูกจ้างรายวันของ ขสมก.
ได้เคยยื่นฟ้องเรื่องเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลาง และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๑๘๔ – ๑๑๓๙๑/๒๕๕๑ โดยวินิจฉัยว่า ลูกจ้างหรือพนักงาน ขสมก. ที่รับค่าจ้างรายวัน ไม่ได้รับเงินเดือนตามบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจ จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงอัตราค่าจ้างตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าว
ดังนั้น การที่คณะกรรมการสิทธิฯ พิจารณาแล้วมีมติให้ยุติเรื่องร้องเรียนของผู้ฟ้องคดีทั้ง ๓ กรณีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี (กระทรวงการคลัง)จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นที่ยกฟ้อง(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๗๗/256๕)
คดีดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การทำหน้าที่พิจารณาข้อร้องเรียนที่มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยคณะกรรมการสิทธิฯ จะตรวจสอบข้อเท็จจริงรวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ให้ทราบถึงสาเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาและการป้องกันและจะแจ้งหน่วยงานของรัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาภายในเวลาที่กำหนด ส่วนในกรณีใด
ที่ตรวจสอบแล้วไม่มีมูลหรือไม่มีการละเมิดสิทธิก็จะสั่งยุติเรื่อง ซึ่งการทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่ในอำนาจตรวจสอบของศาลปกครอง ดังเช่นในคดีพิพาทนี้ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการยุติเรื่องไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย โดยศาลปกครองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ปฏิบัติหน้าที่
โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ถึงตรงนี้ ... เชื่อว่าผู้ฟ้องคดีคงคลายความคับข้องใจเพราะได้รับการยืนยันจากศาลแล้วว่าตนมิได้ถูกละเมิดสิทธิแต่อย่างใด เพราะการจะได้รับสิทธิต่าง ๆ จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้และใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นด้วย นั่นเองครับ ...
โดย ลุงเป็นธรรม
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355)
สิครับ !"
เชื่อว่าหลายท่านอาจเคยรู้สึกเหมือนผมที่แอบนึกบ่นในใจ ทั้งที่อยากร้องตะโกนออกไปว่า น้องจะให้ขยับไปทางไหนอีกครับเนี่ย ! แน่นเป็นปลากระป๋องแล้ว แต่จะว่าไป ... ก็ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการขึ้นรถเมล์หรือรถประจำทาง จริงไหมครับ ... สำหรับ “พนักงานเก็บค่าโดยสาร” หรือกระเป๋ารถเมล์นั้น ใช่ว่าใคร ๆก็จะเป็นได้นะครับ เพราะจะต้องมีร่างกายและกล้ามขาที่แข็งแกร่ง รวมทั้งต้องมีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงอีกด้วย เพราะไหนจะต้องคอยเก็บค่าโดยสาร ช่วยดูรถ ดูคนขึ้น-คนลง แถมยังเป็นงานที่ต้องทำด้วยใจบริการ หรือมี Service Mind จึงจะทำหน้าที่ดังกล่าวได้ดีอีกด้วย !
ในวันนี้ ... ลุงเป็นธรรมจะขอยกปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสวัสดิการของลูกจ้างองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในตำแหน่งพนักงานเก็บค่าโดยสาร มาพูดคุยเป็นความรู้กัน โดยคดีดังกล่าวพนักงานเก็บค่าโดยสารเห็นว่า ตนไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก ขสมก. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะถูกตัดสิทธิหรือถูกลิดรอนสิทธิเกี่ยวกับสวัสดิการ จึงร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แต่คณะกรรมการสิทธิฯ ได้พิจารณาแล้วมีมติให้ยุติเรื่องทั้ง ๓ กรณี พนักงานเก็บค่าโดยสารจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองในที่สุดครับ !
คดีมีประเด็นพิจารณาว่า การที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีมติให้ยุติการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ฟ้องคดี ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ หากเป็นการกระทำละเมิด ผู้ถูกฟ้องคดี (กระทรวงการคลัง) จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ เพียงใด ?
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาว่า ... ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนถูกละเมิดสิทธิเกี่ยวกับสวัสดิการจาก ขสมก. และได้ร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการสิทธิฯ คณะกรรมการสิทธิฯ จึงมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท) ที่จะต้องตรวจสอบการกระทำดังกล่าวตามที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอ ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงหลังจากที่คณะกรรมการสิทธิฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว ได้มีการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยให้ ขสมก. ชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งตรวจสอบพยานหลักฐานอื่น ๆ และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และได้พิจารณาข้อร้องเรียนในแต่ละกรณีโดยปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานผลการพิจารณาข้อร้องเรียนและแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบ จึงเห็นว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ได้ดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบและวิธีการที่กฎหมายซึ่งให้อำนาจได้บัญญัติไว้แล้ว
โดยเมื่อศาลพิจารณาข้อร้องเรียนของผู้ฟ้องคดีในกรณีที่ ๑ ว่ามารดาได้เข้ารับการตรวจรักษาเอกซเรย์สมอง ซึ่งผู้ฟ้องคดีนำใบเสร็จรับเงินที่ระบุรายงานตรวจ CT Brain จำนวน ๔,๐๐๐ บาท และ Nonionic CM ๕๐ ml. จำนวน ๑,๒๐๐ บาท รวมเป็นเงินจำนวน ๕,๒๐๐ บาท ไปยื่นเพื่อขอเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลต่อขสมก. ซึ่งข้อ ๒๖ วรรคหนึ่ง ของข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ ๗๙ ว่าด้วยสวัสดิการพนักงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๖) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่ารักษาพยาบาลของพนักงานและบุคคลในครอบครัว โดยให้เบิกได้เต็มตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง และได้มีประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ที่ในข้อ ๔ได้กำหนดให้เบิกค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวงเงินตามรายการอัตราค่าบริการสาธารณสุขที่แนบท้ายนี้ ซึ่งเอกสารแนบท้ายรายการลำดับที่ ๘.๔.๙
ค่า CT Brain NC กำหนดให้เบิกจ่ายได้จำนวน ๓,๑๐๐ บาท ต่อครั้ง และรายการลำดับที่ ๘.๔.๕๕ ค่า Using Nonionic CM add ๕๐ ml. กำหนดให้เบิกจ่ายได้ ๗๕๐ บาท ต่อครั้ง รวมทั้งสองรายการเบิกได้เป็นเงินจำนวน ๓,๘๕๐ บาท ดังนั้น ขสมก. จึงสามารถเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ฟ้องคดีไม่เกินสิทธิตามประกาศดังกล่าว การที่ ขสมก.
เบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้จำนวน ๓,๘๕๐ บาท จึงชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับข้อร้องเรียนกรณีที่ ๒ ว่า ขสมก. ไม่ดำเนินการตามมติคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ให้เพิ่มเงินสวัสดิการค่าช่วยเหลือบุตร จากเดิมเดือนละจำนวน ๕๐ บาท ต่อคน เป็นเดือนละจำนวน ๓๐๐ บาท ต่อคน โดยกระทรวงแรงงานได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบนั้น แต่ด้วยเหตุที่คณะรัฐมนตรีให้นำมติดังกล่าวกลับมาแก้ไขเพื่อเสนอใหม่อีกครั้ง และมติของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การที่ผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องดังกล่าวในขณะที่
มติดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ ขสมก. จึงไม่อาจดำเนินการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรตามอัตราใหม่ให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้
ส่วนข้อร้องเรียนกรณีที่ ๓ ว่า ขสมก. ไม่ปรับปรุงอัตราค่าจ้างลูกจ้างรายวัน และไม่ส่งบัญชีโครงสร้างอัตราลูกจ้างให้คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ทราบ ซึ่งกรณีดังกล่าวลูกจ้างรายวันของ ขสมก.
ได้เคยยื่นฟ้องเรื่องเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลาง และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๑๘๔ – ๑๑๓๙๑/๒๕๕๑ โดยวินิจฉัยว่า ลูกจ้างหรือพนักงาน ขสมก. ที่รับค่าจ้างรายวัน ไม่ได้รับเงินเดือนตามบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจ จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงอัตราค่าจ้างตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าว
ดังนั้น การที่คณะกรรมการสิทธิฯ พิจารณาแล้วมีมติให้ยุติเรื่องร้องเรียนของผู้ฟ้องคดีทั้ง ๓ กรณีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี (กระทรวงการคลัง)จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นที่ยกฟ้อง(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๗๗/256๕)
คดีดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การทำหน้าที่พิจารณาข้อร้องเรียนที่มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยคณะกรรมการสิทธิฯ จะตรวจสอบข้อเท็จจริงรวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ให้ทราบถึงสาเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาและการป้องกันและจะแจ้งหน่วยงานของรัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาภายในเวลาที่กำหนด ส่วนในกรณีใด
ที่ตรวจสอบแล้วไม่มีมูลหรือไม่มีการละเมิดสิทธิก็จะสั่งยุติเรื่อง ซึ่งการทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่ในอำนาจตรวจสอบของศาลปกครอง ดังเช่นในคดีพิพาทนี้ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการยุติเรื่องไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย โดยศาลปกครองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ปฏิบัติหน้าที่
โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ถึงตรงนี้ ... เชื่อว่าผู้ฟ้องคดีคงคลายความคับข้องใจเพราะได้รับการยืนยันจากศาลแล้วว่าตนมิได้ถูกละเมิดสิทธิแต่อย่างใด เพราะการจะได้รับสิทธิต่าง ๆ จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้และใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นด้วย นั่นเองครับ ...
โดย ลุงเป็นธรรม
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355)