ในวัยเด็ก ... เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงเคยมีความฝันว่าโตขึ้นอยากจะเป็นตำรวจเช่นหนุ่มน้อยที่อยู่ข้างบ้านของลุง ซึ่งวันหนึ่งได้ถามลุงว่า “ถ้าในอนาคตผมอยากเป็นตำรวจ ผมต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างครับ ?”
คำตอบของลุงก็คือ ... นอกจากจะต้องตั้งใจเรียนเพื่อให้สอบผ่านข้อเขียนและสัมภาษณ์ รวมทั้งรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงแล้ว การรักษาความประพฤติให้เรียบร้อยไม่ทำผิดกฎหมาย ก็สำคัญไม่แพ้กัน !
ทั้งนี้ เพราะผู้ที่จะสมัครเข้ารับราชการตำรวจได้จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ และกฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนดไว้ ซึ่งมีหลายข้อทีเดียว โดยลุงจะยกตัวอย่างข้อห้ามข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ กรณีเป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี อันเป็นถ้อยคำที่มีความหมายกว้างและต้องตีความในการใช้บังคับ
วันนี้ ... ลุงมีคดีอุทาหรณ์เกี่ยวกับความผิดพลาดในวัยเยาว์ที่จะมาเล่าให้ลูก ๆ หลาน ๆ ที่มีความฝันอยากจะเป็นตำรวจฟัง เพื่อให้ระมัดระวังในการรักษาความประพฤติของตน ซึ่งแม้ว่าศาลจะพิพากษาให้รอการลงโทษ แต่ก็อาจเข้าข่ายเป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี อันเป็นลักษณะต้องห้ามของการเป็นตำรวจได้
ที่มาของคดีสืบเนื่องมาจาก ... เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลได้มีประกาศ
รับสมัครและคัดเลือกบุคคลภายนอกผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่า เพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ ผู้ฟ้องคดีจึงได้สมัครเข้าสอบคัดเลือกโดยสามารถสอบผ่านทั้งข้อเขียน สัมภาษณ์ และการตรวจร่างกาย แต่พอมาถึงในขั้นตอนของการตรวจสอบคุณสมบัติ ประวัติและความประพฤติ กลับพบว่า ผู้ฟ้องคดีเคยมีประวัติถูกดำเนินคดีอาญา กรณีถูกจับกุมและให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกันผลิตพืชกระท่อมโดยการต้มและนำเข้าสู่ร่างกายโดยการดื่ม ซึ่งศาลจังหวัด (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ผู้ฟ้องคดีกับพวกกระทำความผิดข้อหาร่วมกันผลิต ร่วมกันครอบครองและร่วมกันเสพยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ พืชกระท่อม โดยผิดกฎหมาย ให้จำคุกคนละ ๗ เดือน ๕ วัน และปรับคนละ ๖,๕๐๐ บาท โดยให้รอการลงโทษจำคุกมีกำหนด ๒ ปี และให้คุมประพฤติไว้มีกำหนด ๑ ปี
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑) จึงได้ประกาศรายชื่อให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒) ได้พิจารณาแล้วยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ขณะที่กระทำความผิดมีอายุเพียง ๑๗ ปี ยังเป็นเยาวชน และไม่เคยมีประวัติถูกดำเนินคดีมาก่อน ศาลจึงพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุก โดยคดีถึงที่สุดแล้ว หลังจากนั้นสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้มีหนังสือแจ้งมายังผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากรว่าผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว ขอให้ลบข้อมูลประวัติออกจากฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากร ประกอบกับมีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดหลักเกณฑ์ให้โอกาสแก่ผู้ติดยาเสพติด ซึ่งพ้นจากสภาพการใช้ยาเสพติดเข้าทำงาน หรือรับการศึกษาต่อในหน่วยงานภาครัฐ เมื่อผู้ฟ้องคดีกลับตนเป็นคนดีแล้ว
ย่อมได้รับสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนประกาศรายชื่อ
ผู้ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะส่วนของผู้ฟ้องคดี และผลการพิจารณายกอุทธรณ์ โดยให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ
คดีมีประเด็นพิจารณาว่า ผู้ฟ้องคดีขาดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์หรือข้าราชการตำรวจ อันเนื่องจากเหตุเป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีในวัยเยาว์หรือไม่ ?
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่า “การเป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี” ตามกฎ ก.ตร. ดังกล่าว ซึ่งเป็นถ้อยคำทางกฎหมายที่มิได้บัญญัติความหมายไว้ชัดเจน โดยการจะพิจารณาว่าผู้สมัครสอบเป็นข้าราชการตำรวจผู้ใดเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีหรือไม่ ย่อมเป็นดุลพินิจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการสอบคัดเลือกหรือสอบแข่งขัน หรือของผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยโดยคำนึงถึงภารกิจของข้าราชการตำรวจ พฤติกรรมของบุคคลดังกล่าว ประกอบกับความรู้สึกนึกคิดของวิญญูชนที่ประสบพบเห็นพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวเป็นสำคัญ เมื่อข้าราชการตำรวจเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน และเป็นเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมชั้นต้น จึงมีความจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีประวัติซึ่งแสดงถึงการเป็นผู้ประพฤติตนอยู่ภายใต้กฎหมายและศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาแก่ประชาชนว่าข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะสามารถพิทักษ์กฎหมายที่ตนมีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้ไว้ได้
กรณีพฤติกรรมของผู้ฟ้องคดี แม้ในขณะกระทำความผิดมีอายุ ๑๗ ปีเศษ แต่ก็เป็นวัยที่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรดีอะไรชั่ว อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ โดยเฉพาะการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญานั้นไม่สมควรทำอย่างยิ่ง ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงภารกิจของข้าราชการตำรวจแล้ว ประวัติของผู้ฟ้องคดีที่เคยกระทำความผิดอาญาจนศาลมีคำพิพากษาลงโทษ และความรู้สึกนึกคิดของวิญญูชน ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะพิจารณาได้ว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี อันเป็นเหตุให้เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ
ทั้งนี้ แม้ว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุดจะได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยให้ยกเลิกพืชกระท่อมไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ ทำให้การผลิต การครอบครอง และการเสพพืชกระท่อม ไม่เป็นการกระทำความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอีกต่อไป แต่การที่จะพิจารณาว่าผู้ใดกระทำความผิดอาญามีหลักเกณฑ์แตกต่างจากหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการตำรวจเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีหรือไม่ ประกอบกับผู้ฟ้องคดีได้กระทำความผิดก่อนที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ที่ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ให้โอกาสแก่ผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดซึ่งพ้นสภาพจากการใช้ยาเสพติดแล้ว มีสิทธิที่จะสมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการ หมายถึงเฉพาะผู้ที่เคยมีประวัติเสพยาเสพติด มิได้รวมถึงผู้ที่เคยมีประวัติผลิตและครอบครองยาเสพติดให้โทษโดยผิดกฎหมาย ดังนั้น การที่ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี และคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว พิพากษายกฟ้อง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อบ. ๑๒๖/๒๕๖๕)
คดีดังกล่าว ... ศาลปกครองได้วินิจฉัยวางหลักในการพิจารณาการเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีของผู้สมัครสอบเป็นข้าราชการตำรวจ ซึ่งเป็นดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะต้องคำนึงถึงภารกิจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ พฤติกรรมของผู้สมัคร ประกอบกับความรู้สึกนึกคิดของวิญญูชนที่ประสบพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสำคัญ อันจะเห็นได้ว่าอาชีพตำรวจนั้น มีความเข้มข้นในเรื่องคุณสมบัติมากกว่าหลาย ๆ อาชีพ เนื่องจากตำรวจเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา โดยเป็นเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมชั้นต้น จึงต้องการบุคลากรที่มีประวัติขาวสะอาด หรือไม่มีประวัติด่างพร้อย เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นว่าจะสามารถพิทักษ์กฎหมายที่ตนมีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้ไว้ได้ ซึ่งกรณีเคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดประเภทพืชกระท่อมในฐานผลิต ครอบครองและเสพ จนถูกศาลตัดสินลงโทษ ย่อมถือว่าเป็นผู้มีความพฤติกรรมเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี แม้ว่าต่อมาพืชกระท่อมดังกล่าวจะมิใช่ยาเสพติดอีกต่อไป ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดก่อนมีการแก้ไขกฎหมาย ฉะนั้น ผู้ที่มีความฝันต้องการรับราชการตำรวจจะต้องเตรียมความพร้อมให้กับตนเองทั้งความรู้ความสามารถ สุขภาพร่างกาย รวมไปถึงความประพฤติด้วยนะครับ
นอกจากคดีดังกล่าว เคยมีคดีตามคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อบ. ๑๙๓/๒๕๖๓ กรณีผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นข้าราชการตำรวจ ในสมัยเป็นนักศึกษาเคยถูกดําเนินคดีอาญาเนื่องจากเป็นแกนนําในการชุมนุมปราศรัยเพื่อเรียกร้องเกี่ยวกับราคารับซื้อข้าวเปลือกให้กับครอบครัวที่ประกอบอาชีพทํานาและให้กับคนในพื้นที่ซึ่งประกอบอาชีพเดียวกัน ซึ่งศาลจังหวัดได้พิพากษาให้รอการกําหนดโทษไว้ ๓ ปี
โดยศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทําที่สังคมไม่อาจยอมรับได้หรือขัดต่อธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคม เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธไว้จึงยังไม่อาจถือเป็นผู้มีความพฤติกรรมเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติการเป็นตำรวจ ก็ยังมีหลายอาชีพที่พร้อมจะร่วมงานกับผู้ที่ปรับปรุงตนเองให้เป็นผู้มีความประพฤติที่ดีแล้ว และทุกอาชีพก็มีความสำคัญที่ต่างช่วยกันเติมเต็มและสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไม่แพ้กันนะครับ ...
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕ และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
คำตอบของลุงก็คือ ... นอกจากจะต้องตั้งใจเรียนเพื่อให้สอบผ่านข้อเขียนและสัมภาษณ์ รวมทั้งรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงแล้ว การรักษาความประพฤติให้เรียบร้อยไม่ทำผิดกฎหมาย ก็สำคัญไม่แพ้กัน !
ทั้งนี้ เพราะผู้ที่จะสมัครเข้ารับราชการตำรวจได้จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ และกฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนดไว้ ซึ่งมีหลายข้อทีเดียว โดยลุงจะยกตัวอย่างข้อห้ามข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ กรณีเป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี อันเป็นถ้อยคำที่มีความหมายกว้างและต้องตีความในการใช้บังคับ
วันนี้ ... ลุงมีคดีอุทาหรณ์เกี่ยวกับความผิดพลาดในวัยเยาว์ที่จะมาเล่าให้ลูก ๆ หลาน ๆ ที่มีความฝันอยากจะเป็นตำรวจฟัง เพื่อให้ระมัดระวังในการรักษาความประพฤติของตน ซึ่งแม้ว่าศาลจะพิพากษาให้รอการลงโทษ แต่ก็อาจเข้าข่ายเป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี อันเป็นลักษณะต้องห้ามของการเป็นตำรวจได้
ที่มาของคดีสืบเนื่องมาจาก ... เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลได้มีประกาศ
รับสมัครและคัดเลือกบุคคลภายนอกผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่า เพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ ผู้ฟ้องคดีจึงได้สมัครเข้าสอบคัดเลือกโดยสามารถสอบผ่านทั้งข้อเขียน สัมภาษณ์ และการตรวจร่างกาย แต่พอมาถึงในขั้นตอนของการตรวจสอบคุณสมบัติ ประวัติและความประพฤติ กลับพบว่า ผู้ฟ้องคดีเคยมีประวัติถูกดำเนินคดีอาญา กรณีถูกจับกุมและให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกันผลิตพืชกระท่อมโดยการต้มและนำเข้าสู่ร่างกายโดยการดื่ม ซึ่งศาลจังหวัด (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ผู้ฟ้องคดีกับพวกกระทำความผิดข้อหาร่วมกันผลิต ร่วมกันครอบครองและร่วมกันเสพยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ พืชกระท่อม โดยผิดกฎหมาย ให้จำคุกคนละ ๗ เดือน ๕ วัน และปรับคนละ ๖,๕๐๐ บาท โดยให้รอการลงโทษจำคุกมีกำหนด ๒ ปี และให้คุมประพฤติไว้มีกำหนด ๑ ปี
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑) จึงได้ประกาศรายชื่อให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒) ได้พิจารณาแล้วยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ขณะที่กระทำความผิดมีอายุเพียง ๑๗ ปี ยังเป็นเยาวชน และไม่เคยมีประวัติถูกดำเนินคดีมาก่อน ศาลจึงพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุก โดยคดีถึงที่สุดแล้ว หลังจากนั้นสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้มีหนังสือแจ้งมายังผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากรว่าผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว ขอให้ลบข้อมูลประวัติออกจากฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากร ประกอบกับมีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดหลักเกณฑ์ให้โอกาสแก่ผู้ติดยาเสพติด ซึ่งพ้นจากสภาพการใช้ยาเสพติดเข้าทำงาน หรือรับการศึกษาต่อในหน่วยงานภาครัฐ เมื่อผู้ฟ้องคดีกลับตนเป็นคนดีแล้ว
ย่อมได้รับสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนประกาศรายชื่อ
ผู้ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะส่วนของผู้ฟ้องคดี และผลการพิจารณายกอุทธรณ์ โดยให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ
คดีมีประเด็นพิจารณาว่า ผู้ฟ้องคดีขาดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์หรือข้าราชการตำรวจ อันเนื่องจากเหตุเป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีในวัยเยาว์หรือไม่ ?
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่า “การเป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี” ตามกฎ ก.ตร. ดังกล่าว ซึ่งเป็นถ้อยคำทางกฎหมายที่มิได้บัญญัติความหมายไว้ชัดเจน โดยการจะพิจารณาว่าผู้สมัครสอบเป็นข้าราชการตำรวจผู้ใดเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีหรือไม่ ย่อมเป็นดุลพินิจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการสอบคัดเลือกหรือสอบแข่งขัน หรือของผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยโดยคำนึงถึงภารกิจของข้าราชการตำรวจ พฤติกรรมของบุคคลดังกล่าว ประกอบกับความรู้สึกนึกคิดของวิญญูชนที่ประสบพบเห็นพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวเป็นสำคัญ เมื่อข้าราชการตำรวจเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน และเป็นเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมชั้นต้น จึงมีความจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีประวัติซึ่งแสดงถึงการเป็นผู้ประพฤติตนอยู่ภายใต้กฎหมายและศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาแก่ประชาชนว่าข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะสามารถพิทักษ์กฎหมายที่ตนมีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้ไว้ได้
กรณีพฤติกรรมของผู้ฟ้องคดี แม้ในขณะกระทำความผิดมีอายุ ๑๗ ปีเศษ แต่ก็เป็นวัยที่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรดีอะไรชั่ว อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ โดยเฉพาะการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญานั้นไม่สมควรทำอย่างยิ่ง ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงภารกิจของข้าราชการตำรวจแล้ว ประวัติของผู้ฟ้องคดีที่เคยกระทำความผิดอาญาจนศาลมีคำพิพากษาลงโทษ และความรู้สึกนึกคิดของวิญญูชน ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะพิจารณาได้ว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี อันเป็นเหตุให้เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ
ทั้งนี้ แม้ว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุดจะได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยให้ยกเลิกพืชกระท่อมไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ ทำให้การผลิต การครอบครอง และการเสพพืชกระท่อม ไม่เป็นการกระทำความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอีกต่อไป แต่การที่จะพิจารณาว่าผู้ใดกระทำความผิดอาญามีหลักเกณฑ์แตกต่างจากหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการตำรวจเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีหรือไม่ ประกอบกับผู้ฟ้องคดีได้กระทำความผิดก่อนที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ที่ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ให้โอกาสแก่ผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดซึ่งพ้นสภาพจากการใช้ยาเสพติดแล้ว มีสิทธิที่จะสมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการ หมายถึงเฉพาะผู้ที่เคยมีประวัติเสพยาเสพติด มิได้รวมถึงผู้ที่เคยมีประวัติผลิตและครอบครองยาเสพติดให้โทษโดยผิดกฎหมาย ดังนั้น การที่ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี และคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว พิพากษายกฟ้อง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อบ. ๑๒๖/๒๕๖๕)
คดีดังกล่าว ... ศาลปกครองได้วินิจฉัยวางหลักในการพิจารณาการเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีของผู้สมัครสอบเป็นข้าราชการตำรวจ ซึ่งเป็นดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะต้องคำนึงถึงภารกิจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ พฤติกรรมของผู้สมัคร ประกอบกับความรู้สึกนึกคิดของวิญญูชนที่ประสบพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสำคัญ อันจะเห็นได้ว่าอาชีพตำรวจนั้น มีความเข้มข้นในเรื่องคุณสมบัติมากกว่าหลาย ๆ อาชีพ เนื่องจากตำรวจเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา โดยเป็นเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมชั้นต้น จึงต้องการบุคลากรที่มีประวัติขาวสะอาด หรือไม่มีประวัติด่างพร้อย เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นว่าจะสามารถพิทักษ์กฎหมายที่ตนมีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้ไว้ได้ ซึ่งกรณีเคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดประเภทพืชกระท่อมในฐานผลิต ครอบครองและเสพ จนถูกศาลตัดสินลงโทษ ย่อมถือว่าเป็นผู้มีความพฤติกรรมเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี แม้ว่าต่อมาพืชกระท่อมดังกล่าวจะมิใช่ยาเสพติดอีกต่อไป ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดก่อนมีการแก้ไขกฎหมาย ฉะนั้น ผู้ที่มีความฝันต้องการรับราชการตำรวจจะต้องเตรียมความพร้อมให้กับตนเองทั้งความรู้ความสามารถ สุขภาพร่างกาย รวมไปถึงความประพฤติด้วยนะครับ
นอกจากคดีดังกล่าว เคยมีคดีตามคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อบ. ๑๙๓/๒๕๖๓ กรณีผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นข้าราชการตำรวจ ในสมัยเป็นนักศึกษาเคยถูกดําเนินคดีอาญาเนื่องจากเป็นแกนนําในการชุมนุมปราศรัยเพื่อเรียกร้องเกี่ยวกับราคารับซื้อข้าวเปลือกให้กับครอบครัวที่ประกอบอาชีพทํานาและให้กับคนในพื้นที่ซึ่งประกอบอาชีพเดียวกัน ซึ่งศาลจังหวัดได้พิพากษาให้รอการกําหนดโทษไว้ ๓ ปี
โดยศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทําที่สังคมไม่อาจยอมรับได้หรือขัดต่อธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคม เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธไว้จึงยังไม่อาจถือเป็นผู้มีความพฤติกรรมเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติการเป็นตำรวจ ก็ยังมีหลายอาชีพที่พร้อมจะร่วมงานกับผู้ที่ปรับปรุงตนเองให้เป็นผู้มีความประพฤติที่ดีแล้ว และทุกอาชีพก็มีความสำคัญที่ต่างช่วยกันเติมเต็มและสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไม่แพ้กันนะครับ ...
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕ และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)