ยุคสมัยนี้ ... ไม่ว่าจะทำอะไรก็ดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์แทบทั้งสิ้น เพราะสะดวกและรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะเป็นซื้อสินค้าทางออนไลน์ อ่านหนังสือทางออนไลน์ เรียกว่าแทบไม่ต้องออกไปไหนก็อยู่ได้ ไปจนถึงกระทั่งการปรึกษาคดีและการฟ้องคดีปกครองทางออนไลน์ด้วย
หลาย ๆ ท่าน คงทราบแล้วว่าปัจจุบันศาลปกครองได้เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถยื่นฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ ผ่านทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ (https://elitigation.admincourt.go.th) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดีในการที่จะไม่ต้องเดินทางมาศาลด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะช่วยลดการติดต่อสัมผัสกันโดยตรงและยังประหยัดเวลาในการเดินทางอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าระบบนี้จะสามารถใช้งานได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก แต่ก็มีข้อที่ต้องพึงระวังเช่นกันนะครับ ซึ่งผู้ที่ประสงค์จะฟ้องคดีในช่องทางนี้ ก็ควรต้องศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ซึ่งแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ต้องเสียสิทธิในการดำเนินคดีไปอย่างน่าเสียดาย
ก็เป็นได้นะครับ !
สำหรับข้อพึงระวังที่จะนำมาคุยกันในวันนี้ ... เป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการแจ้งคำสั่งของ ศาลปกครองไปยังคู่กรณีผ่านทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะใช้เฉพาะคู่กรณีที่ได้มีการลงทะเบียนเข้าใช้งานในระบบและได้มีการยื่นคำฟ้องหรือดำเนินกระบวนพิจารณาต่อศาลผ่านช่องทางดังกล่าวมาแล้วเท่านั้นโดยกระบวนการแจ้งคำสั่งต่าง ๆ ของศาล ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้สิทธิของผู้ฟ้องคดีต่อไป และอาจเกิดปัญหาขึ้นได้จากการที่คู่กรณียังขาดความรู้ความเข้าใจ เนื่องจากยังเป็นช่องทางใหม่ จนบางครั้งอาจทำให้การดำเนินคดีในเรื่องนั้นต้องยุติลงหรือไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายจากศาลปกครองดังที่กล่าวไปในตอนต้น
โดยปัญหาน่าสนใจที่เกิดขึ้นในคดีที่นำมาฝากนี้ ก็คือ เมื่อศาลปกครองชั้นต้นได้ส่งหรือแจ้งคำสั่งศาลที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาไปยังผู้ฟ้องคดีผ่านทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้เปิดอ่าน คำสั่งจนกระทั่งล่วงเลยระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์คำสั่งตามที่กฎหมายกำหนด จึงเพิ่งได้มาเปิดอ่าน !
เช่นนี้ ... หากผู้ฟ้องคดีต้องการที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว
ศาลปกครองสูงสุดจะยังรับคำอุทธรณ์ไว้พิจารณาได้หรือไม่ ?
เรื่องมีอยู่ว่า ... ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นนิสิตที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องอาจารย์
ต่อศาลปกครองชั้นต้นทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนการตรวจข้อสอบและการตัดเกรดในรายวิชากฎหมายปกครอง ซึ่งนิสิตคนดังกล่าวอ้างว่าเป็นการตรวจข้อสอบและกำหนดเกณฑ์
การให้คะแนนที่ไม่ถูกต้อง และเห็นว่าหากตัดเกรดอย่างถูกต้องแล้ว ตนควรได้เกรด C ไม่ใช่เกรด B
แต่ศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา เนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องคดีได้รับประโยชน์จากการตัดเกรดโดยได้รับเกรด B ซึ่งสูงกว่าเกรด C ตามที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าตนเองควรได้รับ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำของอาจารย์ นอกจากนี้ การตรวจข้อสอบและการให้คะแนนย่อมเป็นดุลพินิจโดยแท้ของอาจารย์ผู้สอน ซึ่งศาลไม่อาจเข้าไปใช้ดุลพินิจแทนได้ คำขอของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นกรณีที่ศาลปกครองไม่อาจกำหนดคำบังคับให้ได้ โดยศาลปกครองชั้นต้นได้ส่งหนังสือแจ้งคำสั่งศาลที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาให้ผู้ฟ้องคดีทราบทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564
ต่อมา ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา
ตามกฎหมาย โดยอ้างว่าตนไม่เคยได้รับแจ้งคำสั่งศาลที่แจ้งผ่านทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์มาก่อน
และผู้ฟ้องคดีได้เข้าสู่ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 จึงเพิ่งได้ทราบคำสั่งของ
ศาลปกครองชั้นต้น และยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564
คดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ เมื่อศาลปกครองชั้นต้นแจ้งคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาผ่านทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จะถือว่าผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งคำสั่งศาลวันใด ระหว่างวันที่ศาลแจ้งคำสั่งในระบบ หรือวันที่ผู้ฟ้องคดีเปิดอ่านคำสั่งดังกล่าว ?
โดยที่ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 ข้อ 19 กำหนดว่า “การยื่นคำฟ้องต่อศาลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์ที่ให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในเวลาต่อไปด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลพร้อมแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และศาลอนุญาต” และข้อ 24 กำหนดว่า “การส่งหรือแจ้ง ... คำสั่งศาล หมายเรียก หรือเอกสารอื่นใดแก่คู่กรณีหรือบุคคลที่ลงทะเบียนไว้แล้ว ให้ส่งหรือแจ้งทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ และให้ถือว่าผู้รับได้รับแจ้งเมื่อมีการแจ้งสถานะการส่งหรือแจ้งดังกล่าวเข้าสู่ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ไปยังที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ไว้ในการลงทะเบียน”
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดียื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ผ่านระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์จะให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆในเวลาต่อไปด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 19 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯ ดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลว่าตนไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อไปได้ จึงเป็นที่ยุติว่าคดีนี้เป็นคดีที่ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
การที่สำนักงานศาลปกครองได้ส่งหนังสือแจ้งคำสั่งศาลที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา พร้อมทั้งส่งข้อมูลให้ผู้ฟ้องคดีทราบทางระบบอิเล็กทรอนิกส์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 โดยมีข้อความสั้น (SMS) แจ้งเตือนไปยังหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่และทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ที่ผู้ฟ้องคดีได้ให้ไว้ในการลงทะเบียนแล้ว ประกอบกับได้ตรวจสอบพบว่า ผู้ฟ้องคดีมีการเข้าใช้งานในระบบดังกล่าวในวันที่ 26 เมษายน 2564 จำนวน 2 ครั้งและในวันถัดมาอีก 1 ครั้ง ในกรณีเช่นนี้ แม้ผู้ฟ้องคดีจะเข้าระบบโดยไม่ได้เปิดดูรายการหนังสือแจ้งคำสั่งศาลที่พิพาท ก็ถือได้ว่าศาลปกครองชั้นต้นได้ส่งหรือแจ้งคำสั่งศาลที่พิพาทไปยังผู้ฟ้องคดีทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และถือว่าผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งคำสั่งศาลแล้วตั้งแต่วันที่ได้มีการแจ้งสถานะการส่งหรือแจ้งดังกล่าวเข้าสู่ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ไปยังที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)ที่ผู้ฟ้องคดีให้ไว้ในการลงทะเบียน คือ ถือว่าได้รับแจ้งตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 ทั้งนี้ ตามข้อ 24 แห่งระเบียบเดียวกัน
ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 จึงถือ
เป็นการยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นตามข้อ 49/1
วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
ศาลปกครองสูงสุดจึงไม่อาจรับคำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาได้ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. 397/2564)
คดีดังกล่าว ... นับว่าเป็นตัวอย่างของข้อพึงระวังในการฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีปกครองทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในเรื่องของการนับวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งต่าง ๆ ของศาลปกครองที่แจ้งไปยังคู่กรณี ซึ่งกฎหมาย
ถือว่าการแจ้งสถานะการส่งหรือแจ้งดังกล่าวเข้าสู่ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ไปยัง e-mail ที่ให้ไว้ในการลงทะเบียน ย่อมถือว่าได้รับแจ้งคำสั่งหรือเอกสารจากศาลแล้วตั้งแต่วันนั้น โดยมิได้ถือเอาวันที่ผู้ฟ้องคดีหรือคู่กรณี
ได้เปิดอ่านหรือได้รับทราบข้อความในคำสั่งนั้นตามความเป็นจริง หรือตามความเข้าใจของคนทั่วไป ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีหรือคู่กรณีที่ต้องหมั่นติดตามและตรวจสอบข้อมูลในระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
ทาง e-mail ที่ตนได้นำมาลงทะเบียนไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างรวดเร็วและป้องกันผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการหลงลืม หรือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังเช่นอุทาหรณ์ที่นำมาเล่าให้ทุกท่านฟังในวันนี้นั่นเองครับ ...
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
โดย ลุงเป็นธรรม
หลาย ๆ ท่าน คงทราบแล้วว่าปัจจุบันศาลปกครองได้เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถยื่นฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ ผ่านทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ (https://elitigation.admincourt.go.th) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดีในการที่จะไม่ต้องเดินทางมาศาลด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะช่วยลดการติดต่อสัมผัสกันโดยตรงและยังประหยัดเวลาในการเดินทางอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าระบบนี้จะสามารถใช้งานได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก แต่ก็มีข้อที่ต้องพึงระวังเช่นกันนะครับ ซึ่งผู้ที่ประสงค์จะฟ้องคดีในช่องทางนี้ ก็ควรต้องศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ซึ่งแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ต้องเสียสิทธิในการดำเนินคดีไปอย่างน่าเสียดาย
ก็เป็นได้นะครับ !
สำหรับข้อพึงระวังที่จะนำมาคุยกันในวันนี้ ... เป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการแจ้งคำสั่งของ ศาลปกครองไปยังคู่กรณีผ่านทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะใช้เฉพาะคู่กรณีที่ได้มีการลงทะเบียนเข้าใช้งานในระบบและได้มีการยื่นคำฟ้องหรือดำเนินกระบวนพิจารณาต่อศาลผ่านช่องทางดังกล่าวมาแล้วเท่านั้นโดยกระบวนการแจ้งคำสั่งต่าง ๆ ของศาล ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้สิทธิของผู้ฟ้องคดีต่อไป และอาจเกิดปัญหาขึ้นได้จากการที่คู่กรณียังขาดความรู้ความเข้าใจ เนื่องจากยังเป็นช่องทางใหม่ จนบางครั้งอาจทำให้การดำเนินคดีในเรื่องนั้นต้องยุติลงหรือไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายจากศาลปกครองดังที่กล่าวไปในตอนต้น
โดยปัญหาน่าสนใจที่เกิดขึ้นในคดีที่นำมาฝากนี้ ก็คือ เมื่อศาลปกครองชั้นต้นได้ส่งหรือแจ้งคำสั่งศาลที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาไปยังผู้ฟ้องคดีผ่านทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้เปิดอ่าน คำสั่งจนกระทั่งล่วงเลยระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์คำสั่งตามที่กฎหมายกำหนด จึงเพิ่งได้มาเปิดอ่าน !
เช่นนี้ ... หากผู้ฟ้องคดีต้องการที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว
ศาลปกครองสูงสุดจะยังรับคำอุทธรณ์ไว้พิจารณาได้หรือไม่ ?
เรื่องมีอยู่ว่า ... ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นนิสิตที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องอาจารย์
ต่อศาลปกครองชั้นต้นทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนการตรวจข้อสอบและการตัดเกรดในรายวิชากฎหมายปกครอง ซึ่งนิสิตคนดังกล่าวอ้างว่าเป็นการตรวจข้อสอบและกำหนดเกณฑ์
การให้คะแนนที่ไม่ถูกต้อง และเห็นว่าหากตัดเกรดอย่างถูกต้องแล้ว ตนควรได้เกรด C ไม่ใช่เกรด B
แต่ศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา เนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องคดีได้รับประโยชน์จากการตัดเกรดโดยได้รับเกรด B ซึ่งสูงกว่าเกรด C ตามที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าตนเองควรได้รับ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำของอาจารย์ นอกจากนี้ การตรวจข้อสอบและการให้คะแนนย่อมเป็นดุลพินิจโดยแท้ของอาจารย์ผู้สอน ซึ่งศาลไม่อาจเข้าไปใช้ดุลพินิจแทนได้ คำขอของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นกรณีที่ศาลปกครองไม่อาจกำหนดคำบังคับให้ได้ โดยศาลปกครองชั้นต้นได้ส่งหนังสือแจ้งคำสั่งศาลที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาให้ผู้ฟ้องคดีทราบทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564
ต่อมา ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา
ตามกฎหมาย โดยอ้างว่าตนไม่เคยได้รับแจ้งคำสั่งศาลที่แจ้งผ่านทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์มาก่อน
และผู้ฟ้องคดีได้เข้าสู่ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 จึงเพิ่งได้ทราบคำสั่งของ
ศาลปกครองชั้นต้น และยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564
คดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ เมื่อศาลปกครองชั้นต้นแจ้งคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาผ่านทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จะถือว่าผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งคำสั่งศาลวันใด ระหว่างวันที่ศาลแจ้งคำสั่งในระบบ หรือวันที่ผู้ฟ้องคดีเปิดอ่านคำสั่งดังกล่าว ?
โดยที่ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 ข้อ 19 กำหนดว่า “การยื่นคำฟ้องต่อศาลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์ที่ให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในเวลาต่อไปด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลพร้อมแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และศาลอนุญาต” และข้อ 24 กำหนดว่า “การส่งหรือแจ้ง ... คำสั่งศาล หมายเรียก หรือเอกสารอื่นใดแก่คู่กรณีหรือบุคคลที่ลงทะเบียนไว้แล้ว ให้ส่งหรือแจ้งทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ และให้ถือว่าผู้รับได้รับแจ้งเมื่อมีการแจ้งสถานะการส่งหรือแจ้งดังกล่าวเข้าสู่ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ไปยังที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ไว้ในการลงทะเบียน”
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดียื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ผ่านระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์จะให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆในเวลาต่อไปด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 19 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯ ดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลว่าตนไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อไปได้ จึงเป็นที่ยุติว่าคดีนี้เป็นคดีที่ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
การที่สำนักงานศาลปกครองได้ส่งหนังสือแจ้งคำสั่งศาลที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา พร้อมทั้งส่งข้อมูลให้ผู้ฟ้องคดีทราบทางระบบอิเล็กทรอนิกส์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 โดยมีข้อความสั้น (SMS) แจ้งเตือนไปยังหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่และทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ที่ผู้ฟ้องคดีได้ให้ไว้ในการลงทะเบียนแล้ว ประกอบกับได้ตรวจสอบพบว่า ผู้ฟ้องคดีมีการเข้าใช้งานในระบบดังกล่าวในวันที่ 26 เมษายน 2564 จำนวน 2 ครั้งและในวันถัดมาอีก 1 ครั้ง ในกรณีเช่นนี้ แม้ผู้ฟ้องคดีจะเข้าระบบโดยไม่ได้เปิดดูรายการหนังสือแจ้งคำสั่งศาลที่พิพาท ก็ถือได้ว่าศาลปกครองชั้นต้นได้ส่งหรือแจ้งคำสั่งศาลที่พิพาทไปยังผู้ฟ้องคดีทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และถือว่าผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งคำสั่งศาลแล้วตั้งแต่วันที่ได้มีการแจ้งสถานะการส่งหรือแจ้งดังกล่าวเข้าสู่ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ไปยังที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)ที่ผู้ฟ้องคดีให้ไว้ในการลงทะเบียน คือ ถือว่าได้รับแจ้งตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 ทั้งนี้ ตามข้อ 24 แห่งระเบียบเดียวกัน
ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 จึงถือ
เป็นการยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นตามข้อ 49/1
วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
ศาลปกครองสูงสุดจึงไม่อาจรับคำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาได้ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. 397/2564)
คดีดังกล่าว ... นับว่าเป็นตัวอย่างของข้อพึงระวังในการฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีปกครองทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในเรื่องของการนับวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งต่าง ๆ ของศาลปกครองที่แจ้งไปยังคู่กรณี ซึ่งกฎหมาย
ถือว่าการแจ้งสถานะการส่งหรือแจ้งดังกล่าวเข้าสู่ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ไปยัง e-mail ที่ให้ไว้ในการลงทะเบียน ย่อมถือว่าได้รับแจ้งคำสั่งหรือเอกสารจากศาลแล้วตั้งแต่วันนั้น โดยมิได้ถือเอาวันที่ผู้ฟ้องคดีหรือคู่กรณี
ได้เปิดอ่านหรือได้รับทราบข้อความในคำสั่งนั้นตามความเป็นจริง หรือตามความเข้าใจของคนทั่วไป ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีหรือคู่กรณีที่ต้องหมั่นติดตามและตรวจสอบข้อมูลในระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
ทาง e-mail ที่ตนได้นำมาลงทะเบียนไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างรวดเร็วและป้องกันผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการหลงลืม หรือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังเช่นอุทาหรณ์ที่นำมาเล่าให้ทุกท่านฟังในวันนี้นั่นเองครับ ...
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
โดย ลุงเป็นธรรม