ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ณ ปัจจุบัน “โทรศัพท์เคลื่อนที่” หรือ “มือถือ” เสมือนเป็นปัจจัยที่ห้า ที่ทุกคนจำเป็นต้องมีไปเสียแล้ว … เพราะแม้กระทั่งโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นโครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน เราชนะ ไทยชนะ หมอชนะ ฯลฯ ก็ล้วนแต่ต้องรับสิทธิและใช้บริการผ่านทางมือถือแทบทั้งสิ้น !
ในส่วนของเครือข่ายสัญญาณมือถือซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้บริการหลากหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น AIS, Dtac, True, My by CAT หรือ TOT ที่แล้วแต่ท่านเจ้าของมือถือจะชื่นชอบในบริการของเจ้าใด ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะพิจารณากันที่คุณภาพของสัญญาณมือถือประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย
และแน่นอนว่า ... การดำเนินกิจการโทรคมนาคมดังกล่าวย่อมต้องมีองค์กรของรัฐกำกับดูแล ความเป็นธรรมในการบริการรวมทั้งการคิดค่าบริการที่มิใช่จะคิดอย่างไรก็ได้ ซึ่งก็คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือชื่อคุ้นหูที่เรียกกันโดยย่อว่า “กสทช.” นั่นเองครับ
“กสทช.” เป็นองค์กรที่ก่อตั้งโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาต ตลอดจนคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการ คุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกัน ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการดังกล่าว
สำหรับคดีน่าสนใจที่จะพูดคุยกันในวันนี้ … เป็นเรื่องการร้องเรียนการเรียกเก็บค่าบริการโทรศัพท์มือถือที่สูงผิดปกติ โดยผู้ใช้บริการรายนี้เป็นผู้สูงอายุในต่างจังหวัดเปิดใช้บริการมาหลายปีและชำระค่าบริการแบบรายเดือนตามรายการส่งเสริมการขาย (โปรโมชั่นหรือแพ็กเกจ) ซึ่งมีค่าบริการขั้นต่ำ ๒๐๐ บาท โทรฟรีทุกเครือข่าย ๒๐๐ นาที ส่วนเกินนาทีละ ๑.๕๐ บาท ซึ่งเดิมเคยจ่ายค่าบริการเฉลี่ยรอบบิลละประมาณ ๓๐๐ – ๕๐๐ บาท เท่านั้น แต่ต่อมาได้พบความผิดปกติเกิดขึ้นจากการเรียกเก็บค่าใช้บริการที่สูงขึ้นมากจำนวน ๓ รอบบิล รวมเป็นเงิน ๑๒,๒๙๐.๕๖ บาท ผู้ใช้บริการรายนี้เห็นว่ามีการคิดค่าใช้บริการไม่ถูกต้องจึงโต้แย้งต่อค่ายสัญญาณมือถือผู้ให้บริการ เมื่อไม่ได้ข้อยุติจึงไม่ชำระค่าบริการ ซึ่งต่อมาค่ายสัญญาณมือถือดังกล่าวได้ระงับการให้บริการไป
หลังจากนั้น ... ผู้ใช้บริการก็ได้ร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และต่อมาได้ร้องเรียนต่อสำนักงาน กสทช. โดยสำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งให้ค่ายสัญญาณมือถือ (บริษัท เอ) ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการโดยเร็ว พร้อมทั้งให้แจ้งผลการดำเนินการและพยานหลักฐานให้สำนักงาน กสทช. ทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
บริษัท เอ มีหนังสือตอบกลับมาว่า … จากการตรวจสอบไม่พบข้อผิดพลาดในการเรียกเก็บค่าบริการและมีการใช้งานเกิดขึ้นจริงตามรายการที่แสดงบนใบแจ้งค่าใช้บริการ โดยสาเหตุที่มีค่าบริการสูงเนื่องจากมีปริมาณการโทรออกสูงขึ้นจากเดิม ซึ่งข้อร้องเรียนเกี่ยวกับยอดค่าบริการสูงผิดปกติจำนวน ๓ รอบบิลนั้นได้ล่วงเลยเวลามานานปีเศษแล้ว จึงไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลการใช้บริการของลูกค้า บริษัท เอ ในฐานะผู้ให้บริการได้ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ข้อ ๘ ที่กำหนดให้ต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการในช่วงเวลา ๓ เดือนสุดท้ายของการใช้บริการนับถัดจากวันที่ใช้บริการในปัจจุบัน
ต่อมา กสทช. ได้ประชุมพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าว ... โดยมีมติเห็นชอบให้ บริษัท เอ สิ้นสิทธิในการเรียกเก็บค่าบริการในส่วนที่เกินจากรายการส่งเสริมการขาย เนื่องจากไม่ได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าว ภายในระยะเวลา ๖๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ใช้บริการ
มีคำขอ ตามข้อ ๒๒ วรรคสอง ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยให้มีสิทธิเพียงเรียกเก็บเฉพาะค่าบริการจำนวน ๒๐๐ บาท/รอบบิล เท่านั้น !
บริษัท เอ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง
คดีนี้ ... ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๙ กำหนดว่า ผู้รับใบอนุญาตต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการในช่วงเวลา ๓ เดือนสุดท้ายของการใช้บริการนับถัดจากวันที่ใช้บริการในปัจจุบัน วรรคสอง กำหนดว่า กรณีการให้บริการโทรคมนาคมสิ้นสุดลง ให้เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่งไว้เป็นเวลา ๓ เดือน นับถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาการให้บริการ เว้นแต่ (๑) กรณีมีความจำเป็นผู้รับใบอนุญาตต้องเก็บรักษาไว้ได้เมื่อพ้นกำหนด ๓ เดือน แต่ต้องไม่เกิน ๒ ปี นับถัดจากวันที่การให้บริการโทรคมนาคมสิ้นสุดลง (๒) กรณีจำเป็นต้องเก็บรักษาภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายอื่นกำหนด
ในกรณีผู้ร้องเรียนปฏิเสธการจ่ายค่าบริการตามที่ผู้ฟ้องคดีเรียกเก็บ ถือได้ว่าการเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นและเมื่อยังไม่มีข้อยุติชัดเจน จึงถือได้ว่ามีความจำเป็นที่ผู้ฟ้องคดีต้องเก็บรักษาข้อมูลการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้เพื่อดำเนินการตรวจสอบก่อนจนกว่าจะมีข้อยุติ โดยผู้ฟ้องคดีสามารถจัดเก็บข้อมูลการใช้บริการไว้ได้ภายในกำหนดไม่เกิน ๒ ปี นับถัดจากวันที่การให้บริการโทรคมนาคมสิ้นสุดลง
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ร้องเรียนมีหนังสือร้องเรียนผู้ฟ้องคดีและสำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน ซึ่งเป็นกรณียังไม่เกินกำหนด ๒ ปี นับถัดจากวันที่การให้บริการโทรคมนาคมสิ้นสุดลง และผู้ฟ้องคดีไม่ได้แสดงบันทึกรายละเอียดการใช้บริการ Call Detail Record หรือ CDR ของหมายเลขโทรศัพท์ที่พิพาทภายในระยะเวลา ๖๐ วัน เพื่อยืนยันความถูกต้องนับแต่วันที่ผู้ใช้บริการมีคำขอ จึงสิ้นสิทธิการเรียกเก็บค่าบริการในส่วนที่โต้แย้ง ตามที่กำหนดในข้อ ๒๒ วรรคสอง ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
มติของ กสทช. ที่เห็นชอบให้ บริษัท เอ สิ้นสิทธิในการเรียกเก็บค่าบริการในส่วนที่เกินจากรายการส่งเสริมการขาย โดยให้มีสิทธิเพียงเรียกเก็บเฉพาะค่าบริการตามรายการส่งเสริมการขายจำนวน ๒๐๐ บาท/รอบบิล จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว พิพากษายกฟ้อง ! (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อร. ๑๒/๒๕๖๔)
คดีข้างต้น ... ถือเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในกรณีที่เห็นว่ามีการคิดค่าบริการไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้ใช้บริการมีสิทธิขอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการได้ โดยผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องในการคิดค่าบริการและต้องแจ้งข้อมูลให้ผู้รับบริการทราบโดยเร็วและไม่เกิน ๖๐ วันนับแต่มีการร้องขอ ซึ่งหากผู้ให้บริการไม่ยอมชี้แจงข้อมูลรายละเอียด ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการสามารถร้องเรียนต่อสำนักงาน กสทช. ได้ จึงนับว่า ... กฎหมายในเรื่องดังกล่าวมีเจตนารมณ์คุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ให้บริการและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง
โดย ลุงถูกต้อง
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕)
ในส่วนของเครือข่ายสัญญาณมือถือซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้บริการหลากหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น AIS, Dtac, True, My by CAT หรือ TOT ที่แล้วแต่ท่านเจ้าของมือถือจะชื่นชอบในบริการของเจ้าใด ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะพิจารณากันที่คุณภาพของสัญญาณมือถือประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย
และแน่นอนว่า ... การดำเนินกิจการโทรคมนาคมดังกล่าวย่อมต้องมีองค์กรของรัฐกำกับดูแล ความเป็นธรรมในการบริการรวมทั้งการคิดค่าบริการที่มิใช่จะคิดอย่างไรก็ได้ ซึ่งก็คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือชื่อคุ้นหูที่เรียกกันโดยย่อว่า “กสทช.” นั่นเองครับ
“กสทช.” เป็นองค์กรที่ก่อตั้งโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาต ตลอดจนคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการ คุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกัน ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการดังกล่าว
สำหรับคดีน่าสนใจที่จะพูดคุยกันในวันนี้ … เป็นเรื่องการร้องเรียนการเรียกเก็บค่าบริการโทรศัพท์มือถือที่สูงผิดปกติ โดยผู้ใช้บริการรายนี้เป็นผู้สูงอายุในต่างจังหวัดเปิดใช้บริการมาหลายปีและชำระค่าบริการแบบรายเดือนตามรายการส่งเสริมการขาย (โปรโมชั่นหรือแพ็กเกจ) ซึ่งมีค่าบริการขั้นต่ำ ๒๐๐ บาท โทรฟรีทุกเครือข่าย ๒๐๐ นาที ส่วนเกินนาทีละ ๑.๕๐ บาท ซึ่งเดิมเคยจ่ายค่าบริการเฉลี่ยรอบบิลละประมาณ ๓๐๐ – ๕๐๐ บาท เท่านั้น แต่ต่อมาได้พบความผิดปกติเกิดขึ้นจากการเรียกเก็บค่าใช้บริการที่สูงขึ้นมากจำนวน ๓ รอบบิล รวมเป็นเงิน ๑๒,๒๙๐.๕๖ บาท ผู้ใช้บริการรายนี้เห็นว่ามีการคิดค่าใช้บริการไม่ถูกต้องจึงโต้แย้งต่อค่ายสัญญาณมือถือผู้ให้บริการ เมื่อไม่ได้ข้อยุติจึงไม่ชำระค่าบริการ ซึ่งต่อมาค่ายสัญญาณมือถือดังกล่าวได้ระงับการให้บริการไป
หลังจากนั้น ... ผู้ใช้บริการก็ได้ร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และต่อมาได้ร้องเรียนต่อสำนักงาน กสทช. โดยสำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งให้ค่ายสัญญาณมือถือ (บริษัท เอ) ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการโดยเร็ว พร้อมทั้งให้แจ้งผลการดำเนินการและพยานหลักฐานให้สำนักงาน กสทช. ทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
บริษัท เอ มีหนังสือตอบกลับมาว่า … จากการตรวจสอบไม่พบข้อผิดพลาดในการเรียกเก็บค่าบริการและมีการใช้งานเกิดขึ้นจริงตามรายการที่แสดงบนใบแจ้งค่าใช้บริการ โดยสาเหตุที่มีค่าบริการสูงเนื่องจากมีปริมาณการโทรออกสูงขึ้นจากเดิม ซึ่งข้อร้องเรียนเกี่ยวกับยอดค่าบริการสูงผิดปกติจำนวน ๓ รอบบิลนั้นได้ล่วงเลยเวลามานานปีเศษแล้ว จึงไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลการใช้บริการของลูกค้า บริษัท เอ ในฐานะผู้ให้บริการได้ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ข้อ ๘ ที่กำหนดให้ต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการในช่วงเวลา ๓ เดือนสุดท้ายของการใช้บริการนับถัดจากวันที่ใช้บริการในปัจจุบัน
ต่อมา กสทช. ได้ประชุมพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าว ... โดยมีมติเห็นชอบให้ บริษัท เอ สิ้นสิทธิในการเรียกเก็บค่าบริการในส่วนที่เกินจากรายการส่งเสริมการขาย เนื่องจากไม่ได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าว ภายในระยะเวลา ๖๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ใช้บริการ
มีคำขอ ตามข้อ ๒๒ วรรคสอง ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยให้มีสิทธิเพียงเรียกเก็บเฉพาะค่าบริการจำนวน ๒๐๐ บาท/รอบบิล เท่านั้น !
บริษัท เอ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง
คดีนี้ ... ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๙ กำหนดว่า ผู้รับใบอนุญาตต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการในช่วงเวลา ๓ เดือนสุดท้ายของการใช้บริการนับถัดจากวันที่ใช้บริการในปัจจุบัน วรรคสอง กำหนดว่า กรณีการให้บริการโทรคมนาคมสิ้นสุดลง ให้เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่งไว้เป็นเวลา ๓ เดือน นับถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาการให้บริการ เว้นแต่ (๑) กรณีมีความจำเป็นผู้รับใบอนุญาตต้องเก็บรักษาไว้ได้เมื่อพ้นกำหนด ๓ เดือน แต่ต้องไม่เกิน ๒ ปี นับถัดจากวันที่การให้บริการโทรคมนาคมสิ้นสุดลง (๒) กรณีจำเป็นต้องเก็บรักษาภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายอื่นกำหนด
ในกรณีผู้ร้องเรียนปฏิเสธการจ่ายค่าบริการตามที่ผู้ฟ้องคดีเรียกเก็บ ถือได้ว่าการเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นและเมื่อยังไม่มีข้อยุติชัดเจน จึงถือได้ว่ามีความจำเป็นที่ผู้ฟ้องคดีต้องเก็บรักษาข้อมูลการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้เพื่อดำเนินการตรวจสอบก่อนจนกว่าจะมีข้อยุติ โดยผู้ฟ้องคดีสามารถจัดเก็บข้อมูลการใช้บริการไว้ได้ภายในกำหนดไม่เกิน ๒ ปี นับถัดจากวันที่การให้บริการโทรคมนาคมสิ้นสุดลง
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ร้องเรียนมีหนังสือร้องเรียนผู้ฟ้องคดีและสำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน ซึ่งเป็นกรณียังไม่เกินกำหนด ๒ ปี นับถัดจากวันที่การให้บริการโทรคมนาคมสิ้นสุดลง และผู้ฟ้องคดีไม่ได้แสดงบันทึกรายละเอียดการใช้บริการ Call Detail Record หรือ CDR ของหมายเลขโทรศัพท์ที่พิพาทภายในระยะเวลา ๖๐ วัน เพื่อยืนยันความถูกต้องนับแต่วันที่ผู้ใช้บริการมีคำขอ จึงสิ้นสิทธิการเรียกเก็บค่าบริการในส่วนที่โต้แย้ง ตามที่กำหนดในข้อ ๒๒ วรรคสอง ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
มติของ กสทช. ที่เห็นชอบให้ บริษัท เอ สิ้นสิทธิในการเรียกเก็บค่าบริการในส่วนที่เกินจากรายการส่งเสริมการขาย โดยให้มีสิทธิเพียงเรียกเก็บเฉพาะค่าบริการตามรายการส่งเสริมการขายจำนวน ๒๐๐ บาท/รอบบิล จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว พิพากษายกฟ้อง ! (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อร. ๑๒/๒๕๖๔)
คดีข้างต้น ... ถือเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในกรณีที่เห็นว่ามีการคิดค่าบริการไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้ใช้บริการมีสิทธิขอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการได้ โดยผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องในการคิดค่าบริการและต้องแจ้งข้อมูลให้ผู้รับบริการทราบโดยเร็วและไม่เกิน ๖๐ วันนับแต่มีการร้องขอ ซึ่งหากผู้ให้บริการไม่ยอมชี้แจงข้อมูลรายละเอียด ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการสามารถร้องเรียนต่อสำนักงาน กสทช. ได้ จึงนับว่า ... กฎหมายในเรื่องดังกล่าวมีเจตนารมณ์คุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ให้บริการและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง
โดย ลุงถูกต้อง
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕)