MGR Online - อัยการสั่งฟ้อง แกนนำราษฎรรวม 18 คน คดีชุมนุม "19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร" "รุ้ง -ไมค์ -ไผ่" ผิด ม.112 ส่วนอีก 15 แนวร่วม ผิด ม.116 และอีก 11 ข้อหา นำตัวส่งศาล ค้านประกัน
วันนี้ (8 มี.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 7 มีนัดผู้ต้องหา 18 คนฟังคำสั่งในคดีชุมนุม “19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร” เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. 2563 ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และสนามหลวง ความผิดมาตรา 112 และมาตรา 116 โดยมีแกนนำ 3 คนถูกตั้งข้อหาข้อหามาตรา 112 ได้แก่ 1. น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง 2. นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน 3. นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์
ส่วนอีก 15 คน มาตรา 116 และมาตรา 215 ของประมวลกฎหมายอาญา ประกอบด้วย 1. นายอรรถพล บัวพัฒน์ 2. นายชินวัตร จันทร์กระจ่าง 3. นายชูเกียรติ แสงวงศ์ 4. นายณวรรษ เลี้ยงวัฒนา 5. นายณัทพัช อัคฮาด 6. นายธนชัย เอื้อฤาชา 7. นายธนพ อัมพะวัต 8. นายธานี สะสม 9. ภัทรพงศ์ น้อยผาง 10. นายสิทธิ์ทัศน์ จินดารัตน์ 11. นายสุวรรณา ตาลเหล็ก 12. นายอดิศักดิ์ สมบัติคำ 13. นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ 14. นายณัฐชนน ไพโรจน์ และ 15. นายไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ หรือแอมมี่ ซึ่งขณะนี้ถูกฝากขังระหว่างสอบสวนในคดีวางเพลิงหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงคำสั่งฟ้อง แกนนำและแนวร่วมกลุ่มคณะราษฎร 18 ราย ว่าสำนักงานอัยการคดีอาญา 7 ได้นัดผู้ต้องหาที่เหลือ18 คน ซึ่งก่อนหน้านี้มีฟ้องไปแล้วบางส่วน เช่น นายอานนท์ นำภา, นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน โดยผู้ต้องหาทั้ง 18 คน จะถูกฟ้องข้อหา ร่วมกันกระทำผิดฐานยุยงปลุกปั่นฯ ป.อาญา ม.116, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ ป.อาญา ม.215, ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, กีดขวางทางสาธารณะฯ, ร่วมกันกีดขวางการจราจรฯ, ตั้งวางวัตถุบนถนนอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายฯ, ทำลายโบราณสถานฯ, ทำให้เสียทรัพย์ฯ และร่วมกันโฆษณาเครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ รวม 11 ข้อหา แต่ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง, นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ และนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน เฉพาะ 3 คนนี้จะมีข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ป.อาญา ม.112 เพิ่มเติมวด้วย
นายประยุทธ กล่าวว่า คดีนี้สั่งฟ้องไว้แล้วและนัดผู้ต้องหาทั้งหมดมาในวันนี้ ส่วนกรณีของนายไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธ์ หรือแอมมี่ (อยู่ในเรือนจำหลังถูกฝากขังไม่ได้ประกันตัว คดีเผาพระบรมฉายาลักษณ์) ก็คงต้องส่งฟ้องโดยวิธีการเบิกตัว เพราะอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ผู้ต้องหาไม่มีการร้องขอความเป็นธรรมผ่านทางอัยการ สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ การประกันตัวขึ้นอยู่กับความจำนงค์ของผู้ต้องหา และการพิจารณาของศาล
เมื่อถามว่ากลุ่มม็อบมองว่ากระบวนการยุติธรรมฟ้องเกินกว่าเหตุหรือไม่ นายชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า เราใช้มาตรฐานเดียวกับกับคดีอาญาอื่นๆ โดยมีการพิจารณาไปตามพยานหลักฐาน จากข้อเท็จจริง จากการสอบสวน ความจริงจะเป็นเช่นไรก็ขึ้นกับการซักค้านในชั้นศาล สำนวนในวันนี้จะนำไปรวมกับสำนวนแรกที่มีการฟ้องไปก่อนหน้านี้ ส่วนเรื่องการประกันตัว พนักงานสอบสวนได้คัดค้านการปล่อยชั่วคราวและให้เหตุผลว่ามีอัตราโทษสูง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล ผู้ต้องหาบางคนอาจจะได้ประกันตัวก็เป็นไปได้
นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงคำสั่งฟ้อง แกนนำและแนวร่วมกลุ่มคณะราษฎร 18 ราย ว่า
สำนักงานอัยการคดีอาญา 7 ได้นัดผู้ต้องหาที่เหลือ18 คน ซึ่งก่อนหน้านี้มีฟ้องไปแล้วบางส่วน เช่น นายอานนท์ นำภา, นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน โดยผู้ต้องหาทั้ง 18 คน จะถูกฟ้องข้อหา ร่วมกันกระทำผิดฐานยุยงปลุกปั่นฯ ป.อาญา ม.116, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ ป.อาญา ม.215, ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, กีดขวางทางสาธารณะฯ, ร่วมกันกีดขวางการจราจรฯ, ตั้งวางวัตถุบนถนนอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายฯ, ทำลายโบราณสถานฯ, ทำให้เสียทรัพย์ฯ และร่วมกันโฆษณาเครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ รวม 11 ข้อหา แต่ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง, นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ และนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน เฉพาะ 3 คนนี้จะมีข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ป.อาญา ม.112 เพิ่มเติมวด้วย
นายประยุทธ กล่าวว่า คดีนี้สั่งฟ้องไว้แล้วและนัดผู้ต้องหาทั้งหมดมาในวันนี้ ส่วนกรณีของนายไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธ์ หรือแอมมี่ (อยู่ในเรือนจำหลังถูกฝากขังไม่ได้ประกันตัว คดีเผาพระบรมฉายาลักษณ์) ก็คงต้องส่งฟ้องโดยวิธีการเบิกตัว เพราะอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ผู้ต้องหาไม่มีการร้องขอความเป็นธรรมผ่านทางอัยการ สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ การประกันตัวขึ้นอยู่กับความจำนงค์ของผู้ต้องหา และการพิจารณาของศาล
เมื่อถามว่ากลุ่มม็อบมองว่ากระบวนการยุติธรรมฟ้องเกินกว่าเหตุหรือไม่ นายชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า เราใช้มาตรฐานเดียวกับกับคดีอาญาอื่นๆ โดยมีการพิจารณาไปตามพยานหลักฐาน จากข้อเท็จจริง จากการสอบสวน ความจริงจะเป็นเช่นไรก็ขึ้นกับการซักค้านในชั้นศาล สำนวนในวันนี้จะนำไปรวมกับสำนวนแรกที่มีการฟ้องไปก่อนหน้านี้ ส่วนเรื่องการประกันตัว ทางพนักงานสอบสวนได้คัดค้านการปล่อยชั่วคราวและให้เหตุผลว่ามีอัตราโทษสูง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล ผู้ต้องหาบางคนอาจจะได้ประกันตัวก็เป็นไปได้
ด้านนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า มี่เดินทางมาให้กำลังใจ 18 ผู้ต้องหา แกนนำและแนวร่วมกลุ่มราษฎร กล่าวว่า อยากฝากถึงบุคคลผู้มีอำนาจกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด คนเหล่านี้ไม่ใช่อาชญากร เป็นคนหวังดีต่อชาติบ้านเมือง อยากให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ใช้เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ การใช้กฎหมายตีความต่างๆ ควรคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพเป็นหลัก เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง นอกจากนั้นแล้ว ตามรัฐธรรมนูญสันนิษฐานไว้ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ สิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวเป็นสิทธิพื้นฐาน คนฆ่าคนตายยังได้รับการปล่อยชั่วคราว แต่คนเหล่านี้ถูกกล่าวหาเป็นคดีการเมือง
นายปิยบุตร กล่าวว่า การใช้ ป.อาญา มาตรา 112 ไม่เป็นประโยชน์ต่อใครเลย หากคิดว่าจะต้องจัดการเอากฎหมายปิดปาก ตนเห็นว่าวิธีการนี้ปิดปากไม่ได้ ถ้าเห็นว่าพวกเขามองสถาบันไม่เหมือนคนรุ่นก่อน การเอาไปขังคุกไม่ช่วยอะไร ไม่มีทางเปลี่ยนวิธีคิดแน่นอน ยิ่งจับยิ่งบานปลาย ยิ่งยัดข้อหายิ่งบานปลาย อยากฝากผู้มีอำนาจทั้งหลายคิดทบทวนให้ดี