การพบผู้ต้องขังในเรือนจำติดเชื้อโควิด-19 แล้ว 2 ราย รายแรกคือ ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์จากกรมคุมประพฤติ ซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานรอการตรวจพิสูจน์ ข้างเรือนจำกลางคลองเปรม และรายที่สอง เป็นผู้ต้องขังที่เรือนจำจังหวัดราชบุรี ซึ่งแม้ว่าทางกรมราชทัณฑ์ จะยืนยันว่า มีมาตรการในการกักตัวผู้ต้องขังใหม่ก่อนเข้าเรือนจำ และมีมาตรการการควบคุมโรคเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีความน่าเป็นห่วง เพราะในปัจจุบันมีผู้ต้องขังอยู่ในเรือนจำถึงประมาณ 3.7 แสนคน แต่เรือนจำทั่วประเทศมีศักยภาพรองรับได้เพียงประมาณ 2.5 แสนคน ทำให้ไม่สามารถทำตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ social distancing ภายในเรือนจำได้ เพราะอยู่ในสภาพแออัดมาก

ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ในเรือนจำมาตลอด นำเสนอข้อมูลซึ่งเมื่อพิจารณาลงไปในเชิงลึก จะพบว่า มีผู้ต้องขังจำนวนมากที่อาจไม่จำเป็นต้องมาอยู่ในเรือนจำ คือ ผู้ต้องขังคดีถึงที่สุดแล้ว ซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่ถึง 1 ปี ประมาณ 72,000 คน ผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี คือ กลุ่มที่ต้องจำคุกทั้งที่คดียังไม่ถึงที่สุด และกลุ่มที่ไม่มีหลักทรัพย์มาประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี มีถึง 67,000 คน ผู้ต้องขังอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 5,800 คน และผู้ต้องขังคดีลหุโทษ ซึ่งมีความผิดเพียงเล็กน้อย แต่ถูกตัดสินจำคุกอีกประมาณ 9,000 คน
เมื่อพิจารณาตัวเลขเหล่านี้ ประกอบกับการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาความแออัดในเรือนจำในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาด ทาง TIJ จึงเสนอว่า ควรมีกระบวนการพิจารณาให้ผู้ต้องขังบางส่วนพ้นโทษก่อนกำหนด และพิจารณาให้บางส่วนได้รับการพักโทษปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีมาตรการคุมประพฤติ หรือใช้กำไล EM เป็นเครื่องมือคุมประพฤติคอยติดตามพฤติกรรม เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเรือนจำในภาวะวิกฤต และความปลอดภัยและสุขภาพในเรือนจำและในสังคม
ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ในเรือนจำมาตลอด นำเสนอข้อมูลซึ่งเมื่อพิจารณาลงไปในเชิงลึก จะพบว่า มีผู้ต้องขังจำนวนมากที่อาจไม่จำเป็นต้องมาอยู่ในเรือนจำ คือ ผู้ต้องขังคดีถึงที่สุดแล้ว ซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่ถึง 1 ปี ประมาณ 72,000 คน ผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี คือ กลุ่มที่ต้องจำคุกทั้งที่คดียังไม่ถึงที่สุด และกลุ่มที่ไม่มีหลักทรัพย์มาประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี มีถึง 67,000 คน ผู้ต้องขังอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 5,800 คน และผู้ต้องขังคดีลหุโทษ ซึ่งมีความผิดเพียงเล็กน้อย แต่ถูกตัดสินจำคุกอีกประมาณ 9,000 คน
เมื่อพิจารณาตัวเลขเหล่านี้ ประกอบกับการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาความแออัดในเรือนจำในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาด ทาง TIJ จึงเสนอว่า ควรมีกระบวนการพิจารณาให้ผู้ต้องขังบางส่วนพ้นโทษก่อนกำหนด และพิจารณาให้บางส่วนได้รับการพักโทษปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีมาตรการคุมประพฤติ หรือใช้กำไล EM เป็นเครื่องมือคุมประพฤติคอยติดตามพฤติกรรม เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเรือนจำในภาวะวิกฤต และความปลอดภัยและสุขภาพในเรือนจำและในสังคม