ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้น... เจ้าหน้าที่ตำรวจถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เจ้าทุกข์มาแจ้งความร้องทุกข์ หรือกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพบเห็นการกระทำความผิด ซึ่งนำไปสู่กระบวนการจับกุม คุมขัง ตลอดจนสืบสวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน จากนั้นพนักงานอัยการซึ่งเรารู้จักกันดีในฐานะทนายของแผ่นดิน ก็จะพิจารณาสำนวนการสอบสวนแล้วส่งฟ้องศาลยุติธรรมเพื่อให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป
จะเห็นได้ว่า... ขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญากว่าจะลงโทษผู้กระทำความผิดมีระยะเวลาพอสมควร ตั้งแต่ขั้นตอนการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยมาตรา 83 ระบุว่า ในการจับกุมต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ เว้นแต่สามารถไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ซึ่งก็คือสถานีตำรวจหรือโรงพักนั่นเอง หรือหากจำเป็นก็สามารถจับตัวผู้ถูกจับไปได้ เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไป จากนั้นมาตรา 84/1 กำหนดว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะปล่อย
ผู้ถูกจับชั่วคราวหรือควบคุมตัวไปศาล ในกรณีที่ต้องส่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไปศาล แต่ไม่อาจส่งไปได้ในขณะนั้นเนื่องจากเป็นเวลาที่ศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ ให้พนักงานสอบสวนที่รับตัวผู้ถูกจับไว้มีอำนาจปล่อยผู้ถูกจับชั่วคราวหรือควบคุมผู้ถูกจับไว้ก็ได้ จนกว่าจะถึงเวลาศาลเปิดทำการ ในการนี้มาตรา 87 กำหนดให้พนักงานสอบสวนสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้เป็นระยะเวลาสูงสุด 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83
ในขั้นตอนดังกล่าว... มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงว่าในระหว่างการควบคุมตัว “ผู้ต้องหา” ไว้ที่ห้องขังในสถานีตำรวจได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไขกุญแจเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาไม่ทัน และสุดท้ายผู้ต้องหาได้เสียชีวิตในห้องขัง หน่วยงานต้นสังกัดคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องรับผิดหรือไม่ และเพียงใด ?
วันนี้ขอนำคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลปกครองมานำเสนอเป็นอุทาหรณ์ในการป้องกันเหตุที่ไม่พึงปรารถนาดังกล่าว
คดีนี้สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนายเอ ผู้กระทำความผิดในข้อหาเมาแล้วขับ โดยควบคุมตัวไว้ที่ห้องขัง ชั้น 2 ของสถานีตำรวจ คืนต่อมาเวลาประมาณ 03.40 นาฬิกา ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้
ที่ห้องเก็บของกลางชั้นที่ 1 ของสถานีตำรวจดังกล่าว จากรายงานการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ พบว่า เพลิงไหม้เสียหายมากที่ห้องเก็บของกลางชั้นที่ 1 โดยเปลวไฟได้ลุกลามไปยังห้องยามและพิมพ์มือ และห้องขังต่างๆ ของสถานี ซึ่งรวมทั้งห้องกักขังเยาวชนและห้องขังหญิงที่อยู่ติดกับห้องยามและพิมพ์มือ ความร้อนและควันไฟได้ลอยขึ้นไปยังชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 เหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวทำให้ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องขังชั้น 2 ทั้งหมดถูกไฟครอกเสียชีวิตจำนวน 4 คน โดยสภาพห้องขังมีกุญแจล็อคอยู่
ผลจากการตรวจสอบเชื่อว่า... เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ห้องเก็บของกลางซึ่งเกิดจากการสะสมความร้อนอาร์คหรือสปาร์คที่ขายึดขั้วหลอดฟลูออเรสเซนซ์ที่ติดอยู่ที่คานคอนกรีตกลางห้อง พลาสติกขายึด
ขั้วหลอดไฟได้รับความร้อนสะสมจนเกิดการลุกไหม้แล้วหยดเป็นลูกไฟตกลงไปถูกกับเบาะรถจักรยานยนต์ หรือสิ่งของอื่นๆ ที่ติดไฟได้ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ขณะเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรประจำสถานีจำนวน 5 นาย แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้ใดรีบไขกุญแจเปิดประตูห้องขังเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหา
ต่อมาบุตรและบิดามารดาของนายเอ ผู้ต้องหาคนหนึ่งที่เสียชีวิตในขณะมีอายุเพียง 21 ปี
ได้นำคดีมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหายแก่ครอบครัวของนายเอ
เรื่องนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชี้แจงว่า เป็นกรณีเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจช่วยเหลือได้ โดยมีนายตำรวจคนหนึ่งพยายามเข้าไปไขกุญแจห้องขังแต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไฟดับและกลุ่มควันหนาแน่นมองไม่เห็น รวมทั้งเปลวไฟไหม้รุนแรง จึงต้องหนีออกมา
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า การควบคุมตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้ในห้องควบคุมผู้ต้องหาหรือห้องขังบนสถานีตำรวจ เป็นการควบคุมตัวผู้ต้องหาตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เวรยาม
แต่ละตำแหน่งและแต่ละนาย มีหน้าที่ความรับผิดชอบหรือมีลักษณะงานและจะต้องอยู่ประจำจุดต่างๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่และรักษาความปลอดภัยบนสถานีตำรวจ รวมทั้งควบคุมดูแลผู้ต้องหา อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการทำแทนหรือทำในนามของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 12 และลักษณะที่ 15
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากสภาพของอาคาร สถานที่เกิดเหตุ จุดที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละนายเข้าเวรยามในขณะนั้น สภาพศพ และพยานหลักฐานต่างๆ ทั้งหมด อันเป็นพยานหลักฐานแวดล้อมกรณีแล้ว ล้วนบ่งชี้หรือแสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าเวรยามอยู่บนชั้นที่ 2 ของอาคารในขณะนั้น รวมทั้งผู้บังคับบัญชา ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องขัง ด้วยการรีบไขกุญแจเปิดประตูห้องขังให้ผู้ต้องหาออกมาอยู่ในจุดที่ปลอดภัย โดยกว่าเปลวไฟจะลุกลามจากชั้น 1 ไปชั้น 2 ย่อมต้องใช้เวลา และเจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมต้องเห็นกลุ่มควันที่ลอยออกมาจากชั้น 1 ให้รู้ล่วงหน้าเป็นเวลาพอสมควร ก่อนที่จะไหม้อย่างรุนแรงในภายหลัง และโดยที่อาคารดังกล่าว เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นที่ 2 ถูกแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ จนแออัดปิดทึบทุกด้าน ไม่มีลักษณะเปิดโล่งให้เปลวไฟสามารถลุกลามผ่านทะลุได้โดยง่าย อีกทั้งชั้นที่ 2 ซึ่งถูกใช้เป็นห้องควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือห้องขังหลายห้อง ทั้งด้านหลังส่วนกลางและด้านข้างทางด้านขวาของอาคาร ไม่มีหน้าต่างหรือช่องเปิดใดๆ คงเป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็กปิดทึบ และมีเพียงช่องระบายอากาศหรือช่องลมเท่านั้น เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ด้านล่างของอาคาร กว่าที่เปลวเพลิงจะลุกไหม้ผ่านทะลุพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่กั้นระหว่างชั้นที่ 1 กับชั้นที่ 2 และผนังคอนกรีตด้านหลังอาคารขึ้นมาได้ ย่อมใช้เวลานานพอสมควร จึงย่อมสามารถให้การช่วยเหลือผู้ต้องหาดังกล่าวได้
ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาไขกุญแจห้องขังแต่ไม่ได้สามารถช่วยได้นั้น เป็นการย้อนกลับเข้ามาช่วยเหลือหลังจากที่เพลิงไฟได้ไหม้อย่างรุนแรงแล้ว ก่อนที่ต่อมาเจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะเข้ามาระงับเพลิง
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าเวรยามล้วนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตร่างกายของผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการถูกควบคุมตัวในห้องควบคุมบนสถานีตำรวจตลอดเวลา การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจดังกล่าวจึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และเมื่อการละเลยล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงทำให้ผู้ต้องหาถูกไฟครอกเสียชีวิต จึงถือเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยหรือล่าช้าต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด จึงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นญาติผู้เสียชีวิต (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 57/2562)
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วางแนวทางการปฏิบัติราชการที่ดี กรณีการปฏิบัติหน้าที่เวรยามประจำสถานีของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวบนสถานีตำรวจ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 12 และลักษณะที่ 15 ที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละตำแหน่งไว้ เมื่อเกิดความเสียหายจากการปฏิบัติหรือละเลยล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เช่น การช่วยเหลือผู้ต้องหาจากเหตุเพลิงไหม้ล่าช้าจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต ถือเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานต้นสังกัดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว
นอกจากนี้ ศาลปกครองยังได้วินิจฉัยวางหลักกรณีบุตรของผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นบุตรนอกสมรส
ที่ต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเอหลังจากที่นายเอเสียชีวิตแล้วนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และ มาตรา 1557 บัญญัติว่า การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด... ฉะนั้น บุตรของผู้เสียชีวิตจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ถูกฟ้องคดีได้
โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะเมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีผลย้อนหลังนับแต่วันที่เกิด
ท้ายนี้...ผู้เขียนขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตทุกท่านด้วยนะคะ
สำหรับความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและร่างกายของผู้อื่นนั้น มีประเด็นที่ต้องตระหนักเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ถือเป็นคำประกาศของนานาประเทศที่สำคัญด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาคมโลก นอกจากนี้สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกตั้งแต่ปี 2539 คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) โดยสนธิสัญญาฉบับนี้ได้เรียกร้องให้รัฐภาคีสมาชิกเคารพต่อสิทธิในการมีชีวิตอยู่ และเสรีภาพจากการถูกทรมาน โดยไม่ว่าจะบุคคลใดก็ตาม ยากดีมีจน หรือแม้กระทั้งนักโทษหรือผู้ต้องหา หากไม่ใช่ผู้ต้องโทษประหารชีวิตแล้ว เขาย่อมมีสิทธิ
ในการมีชีวิตอยู่เสมอและจะต้องไม่ตายอย่างทรมาน ดังนั้น การดูแลความปลอดภัยในชีวิตของผู้ต้องหาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน
โดย ป. ธรรมศลีญ์
จะเห็นได้ว่า... ขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญากว่าจะลงโทษผู้กระทำความผิดมีระยะเวลาพอสมควร ตั้งแต่ขั้นตอนการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยมาตรา 83 ระบุว่า ในการจับกุมต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ เว้นแต่สามารถไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ซึ่งก็คือสถานีตำรวจหรือโรงพักนั่นเอง หรือหากจำเป็นก็สามารถจับตัวผู้ถูกจับไปได้ เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไป จากนั้นมาตรา 84/1 กำหนดว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะปล่อย
ผู้ถูกจับชั่วคราวหรือควบคุมตัวไปศาล ในกรณีที่ต้องส่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไปศาล แต่ไม่อาจส่งไปได้ในขณะนั้นเนื่องจากเป็นเวลาที่ศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ ให้พนักงานสอบสวนที่รับตัวผู้ถูกจับไว้มีอำนาจปล่อยผู้ถูกจับชั่วคราวหรือควบคุมผู้ถูกจับไว้ก็ได้ จนกว่าจะถึงเวลาศาลเปิดทำการ ในการนี้มาตรา 87 กำหนดให้พนักงานสอบสวนสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้เป็นระยะเวลาสูงสุด 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83
ในขั้นตอนดังกล่าว... มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงว่าในระหว่างการควบคุมตัว “ผู้ต้องหา” ไว้ที่ห้องขังในสถานีตำรวจได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไขกุญแจเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาไม่ทัน และสุดท้ายผู้ต้องหาได้เสียชีวิตในห้องขัง หน่วยงานต้นสังกัดคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องรับผิดหรือไม่ และเพียงใด ?
วันนี้ขอนำคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลปกครองมานำเสนอเป็นอุทาหรณ์ในการป้องกันเหตุที่ไม่พึงปรารถนาดังกล่าว
คดีนี้สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนายเอ ผู้กระทำความผิดในข้อหาเมาแล้วขับ โดยควบคุมตัวไว้ที่ห้องขัง ชั้น 2 ของสถานีตำรวจ คืนต่อมาเวลาประมาณ 03.40 นาฬิกา ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้
ที่ห้องเก็บของกลางชั้นที่ 1 ของสถานีตำรวจดังกล่าว จากรายงานการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ พบว่า เพลิงไหม้เสียหายมากที่ห้องเก็บของกลางชั้นที่ 1 โดยเปลวไฟได้ลุกลามไปยังห้องยามและพิมพ์มือ และห้องขังต่างๆ ของสถานี ซึ่งรวมทั้งห้องกักขังเยาวชนและห้องขังหญิงที่อยู่ติดกับห้องยามและพิมพ์มือ ความร้อนและควันไฟได้ลอยขึ้นไปยังชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 เหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวทำให้ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องขังชั้น 2 ทั้งหมดถูกไฟครอกเสียชีวิตจำนวน 4 คน โดยสภาพห้องขังมีกุญแจล็อคอยู่
ผลจากการตรวจสอบเชื่อว่า... เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ห้องเก็บของกลางซึ่งเกิดจากการสะสมความร้อนอาร์คหรือสปาร์คที่ขายึดขั้วหลอดฟลูออเรสเซนซ์ที่ติดอยู่ที่คานคอนกรีตกลางห้อง พลาสติกขายึด
ขั้วหลอดไฟได้รับความร้อนสะสมจนเกิดการลุกไหม้แล้วหยดเป็นลูกไฟตกลงไปถูกกับเบาะรถจักรยานยนต์ หรือสิ่งของอื่นๆ ที่ติดไฟได้ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ขณะเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรประจำสถานีจำนวน 5 นาย แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้ใดรีบไขกุญแจเปิดประตูห้องขังเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหา
ต่อมาบุตรและบิดามารดาของนายเอ ผู้ต้องหาคนหนึ่งที่เสียชีวิตในขณะมีอายุเพียง 21 ปี
ได้นำคดีมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหายแก่ครอบครัวของนายเอ
เรื่องนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชี้แจงว่า เป็นกรณีเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจช่วยเหลือได้ โดยมีนายตำรวจคนหนึ่งพยายามเข้าไปไขกุญแจห้องขังแต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไฟดับและกลุ่มควันหนาแน่นมองไม่เห็น รวมทั้งเปลวไฟไหม้รุนแรง จึงต้องหนีออกมา
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า การควบคุมตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้ในห้องควบคุมผู้ต้องหาหรือห้องขังบนสถานีตำรวจ เป็นการควบคุมตัวผู้ต้องหาตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เวรยาม
แต่ละตำแหน่งและแต่ละนาย มีหน้าที่ความรับผิดชอบหรือมีลักษณะงานและจะต้องอยู่ประจำจุดต่างๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่และรักษาความปลอดภัยบนสถานีตำรวจ รวมทั้งควบคุมดูแลผู้ต้องหา อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการทำแทนหรือทำในนามของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 12 และลักษณะที่ 15
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากสภาพของอาคาร สถานที่เกิดเหตุ จุดที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละนายเข้าเวรยามในขณะนั้น สภาพศพ และพยานหลักฐานต่างๆ ทั้งหมด อันเป็นพยานหลักฐานแวดล้อมกรณีแล้ว ล้วนบ่งชี้หรือแสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าเวรยามอยู่บนชั้นที่ 2 ของอาคารในขณะนั้น รวมทั้งผู้บังคับบัญชา ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องขัง ด้วยการรีบไขกุญแจเปิดประตูห้องขังให้ผู้ต้องหาออกมาอยู่ในจุดที่ปลอดภัย โดยกว่าเปลวไฟจะลุกลามจากชั้น 1 ไปชั้น 2 ย่อมต้องใช้เวลา และเจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมต้องเห็นกลุ่มควันที่ลอยออกมาจากชั้น 1 ให้รู้ล่วงหน้าเป็นเวลาพอสมควร ก่อนที่จะไหม้อย่างรุนแรงในภายหลัง และโดยที่อาคารดังกล่าว เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นที่ 2 ถูกแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ จนแออัดปิดทึบทุกด้าน ไม่มีลักษณะเปิดโล่งให้เปลวไฟสามารถลุกลามผ่านทะลุได้โดยง่าย อีกทั้งชั้นที่ 2 ซึ่งถูกใช้เป็นห้องควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือห้องขังหลายห้อง ทั้งด้านหลังส่วนกลางและด้านข้างทางด้านขวาของอาคาร ไม่มีหน้าต่างหรือช่องเปิดใดๆ คงเป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็กปิดทึบ และมีเพียงช่องระบายอากาศหรือช่องลมเท่านั้น เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ด้านล่างของอาคาร กว่าที่เปลวเพลิงจะลุกไหม้ผ่านทะลุพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่กั้นระหว่างชั้นที่ 1 กับชั้นที่ 2 และผนังคอนกรีตด้านหลังอาคารขึ้นมาได้ ย่อมใช้เวลานานพอสมควร จึงย่อมสามารถให้การช่วยเหลือผู้ต้องหาดังกล่าวได้
ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาไขกุญแจห้องขังแต่ไม่ได้สามารถช่วยได้นั้น เป็นการย้อนกลับเข้ามาช่วยเหลือหลังจากที่เพลิงไฟได้ไหม้อย่างรุนแรงแล้ว ก่อนที่ต่อมาเจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะเข้ามาระงับเพลิง
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าเวรยามล้วนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตร่างกายของผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการถูกควบคุมตัวในห้องควบคุมบนสถานีตำรวจตลอดเวลา การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจดังกล่าวจึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และเมื่อการละเลยล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงทำให้ผู้ต้องหาถูกไฟครอกเสียชีวิต จึงถือเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยหรือล่าช้าต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด จึงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นญาติผู้เสียชีวิต (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 57/2562)
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วางแนวทางการปฏิบัติราชการที่ดี กรณีการปฏิบัติหน้าที่เวรยามประจำสถานีของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวบนสถานีตำรวจ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 12 และลักษณะที่ 15 ที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละตำแหน่งไว้ เมื่อเกิดความเสียหายจากการปฏิบัติหรือละเลยล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เช่น การช่วยเหลือผู้ต้องหาจากเหตุเพลิงไหม้ล่าช้าจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต ถือเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานต้นสังกัดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว
นอกจากนี้ ศาลปกครองยังได้วินิจฉัยวางหลักกรณีบุตรของผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นบุตรนอกสมรส
ที่ต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเอหลังจากที่นายเอเสียชีวิตแล้วนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และ มาตรา 1557 บัญญัติว่า การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด... ฉะนั้น บุตรของผู้เสียชีวิตจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ถูกฟ้องคดีได้
โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะเมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีผลย้อนหลังนับแต่วันที่เกิด
ท้ายนี้...ผู้เขียนขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตทุกท่านด้วยนะคะ
สำหรับความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและร่างกายของผู้อื่นนั้น มีประเด็นที่ต้องตระหนักเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ถือเป็นคำประกาศของนานาประเทศที่สำคัญด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาคมโลก นอกจากนี้สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกตั้งแต่ปี 2539 คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) โดยสนธิสัญญาฉบับนี้ได้เรียกร้องให้รัฐภาคีสมาชิกเคารพต่อสิทธิในการมีชีวิตอยู่ และเสรีภาพจากการถูกทรมาน โดยไม่ว่าจะบุคคลใดก็ตาม ยากดีมีจน หรือแม้กระทั้งนักโทษหรือผู้ต้องหา หากไม่ใช่ผู้ต้องโทษประหารชีวิตแล้ว เขาย่อมมีสิทธิ
ในการมีชีวิตอยู่เสมอและจะต้องไม่ตายอย่างทรมาน ดังนั้น การดูแลความปลอดภัยในชีวิตของผู้ต้องหาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน
โดย ป. ธรรมศลีญ์