ทุกการทำงาน... ที่ต้องเกี่ยวข้องกับการขับขี่ยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก เรือ ตลอดจนเครื่องบิน ผู้ขับขี่จำต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแต่ละครั้ง !! ย่อมมีความสูญเสียหรือมีความเสียหายเกิดขึ้นไม่มาก ก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สิน ทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน โดยเฉพาะความสูญเสียที่เกิดกับชีวิตเป็นเรื่องที่ประมาณค่ามิได้และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น !
เรื่องที่จะพูดคุยกันในวันนี้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ขับรถให้แก่ทางราชการ ว่าท่านจะ “ขับรถอย่างไร ให้ปลอดภัยจากความรับผิด ?” และ “ถ้าต้องรับผิด จะต้องรับผิด เพียงใด ?”
· อุบัติเหตุจากการปฏิบัติหน้าที่ : พนักงานขับรถต้องรับผิดเพียงใด !?
กรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานขับรถราชการ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัด เช่น ขับรถเกิดอุบัติเหตุทำให้รถราชการเสียหาย หรือกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก เช่น ขับรถเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนรถบุคคลภายนอกเสียหาย ซึ่งการกระทำละเมิด อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งมุ่งหมายให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว กล่าวคือ โดยหลักหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสังกัดตน
เว้นแต่ !! หากเจ้าหน้าที่หรือพนักงานขับรถผู้นั้น ได้กระทำไปด้วยความจงใจให้เกิดความเสียหาย
หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเกิดความเสียหาย เช่นนี้พนักงานขับรถอาจต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือรับผิดตามส่วนแห่งความรับผิดของตน ตามระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
อย่างไรก็ตาม... หากหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดมีส่วนบกพร่องอันเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุด้วย เช่น ไม่มีการวางระบบการดำเนินงานที่ดี หรือมีการมอบหมายพนักงานขับรถให้ขับรถต่อเนื่องเกินจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมจนเกิดความเหนื่อยล้า (คดีหมายเลขแดงที่ อ. 4/2557) หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่อื่นซึ่งไม่มีหน้าที่ขับรถให้ขับรถเพราะพนักงานขับรถไม่เพียงพอ (คดีหมายเลขแดงที่ อ. 1232/2559 และ อ. 219/2556) ก็สามารถนำความบกพร่องของหน่วยงานดังกล่าว มาหักออกจากความรับผิดได้ตามส่วนที่เหมาะสม (มาตรา 5 มาตรา 8 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
โดยสรุปก็คือ อุบัติเหตุอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานขับรถต้องรับผิดเฉพาะกระทำไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น โดยรับผิดตามส่วนแห่งความรับผิดของตนและหากหน่วยงานมีส่วนบกพร่องก็สามารถนำมาหักออกจากความรับผิดได้ และหากเป็นการกระทำละเมิดที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อธรรมดา หน่วยงานจะเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
· มาดูตัวอย่างอุบัติเหตุจากการขับรถของพลขับชั่วคราวกันบ้าง ว่าต้องรับผิดเพียงใด ?
คดีนี้เรื่องเกิดจาก...ในระหว่างที่นายเก่งปฏิบัติหน้าที่เป็นทหารกองประจำการ (พลทหาร) ผู้บังคับบัญชาได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นพลขับชั่วคราว โดยนายเก่งได้ขับรถยนต์บรรทุกขนาดเล็กไปรับอาหารกลางวันจากโรงครัว ในระหว่างที่ขับขี่ไปตามถนน...ปรากฏเสียงวิทยุสื่อสารเรียกเข้ามา !! นายเก่ง จึงหันหน้าไปทางวิทยุสื่อสารและเอื้อมมือไปหยิบวิทยุสื่อสารเพื่อจะตอบ ขณะหันกลับรถยนต์ได้พุ่งชน เสาไฟฟ้าบริเวณหน้าแผนกสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ นายเก่งได้รับบาดเจ็บและรถยนต์คันดังกล่าวได้รับความเสียหาย (ประมาณการค่าซ่อมสูงกว่าราคาประเมินรถ)
ภายหลังการสอบข้อเท็จจริง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดมีความเห็นว่า... จากสภาพรถและลักษณะการชนที่ทำให้เครื่องยนต์และเสื้อเกียร์แตก ตัวถังด้านซ้ายคดและขาดออก จากกัน ตัวถังโดยรวมบิดเบี้ยวเสียรูปทรง เป็นกรณีที่รถมีสภาพความเสียหายมาก แสดงให้เห็นว่านายเก่ง ขับรถมาด้วยความเร็วสูง และจากการสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องเชื่อได้ว่า นายเก่งขับรถด้วยความเร็วประมาณ 70 ถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้หันหน้าและเอื้อมมือไปหยิบวิทยุสื่อสารทำให้รถยนต์พุ่งชนเสาไฟฟ้า ถือเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะผู้ขับรถยนต์ควรต้องมี จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เห็นควรให้นายเก่งชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนความเสียหาย กองทัพอากาศซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดจึงมีคำสั่งให้นายเก่งชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว แต่นายเก่งเพิกเฉย ภายหลังนายเก่งปลดประจำการแล้ว หน่วยงานมีข้อขัดข้องในการบังคับทางปกครอง จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย (มูลค่าตามราคาประเมินรถ)
คดีมีประเด็นที่ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาว่า
1. นายเก่งได้ขับรถโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ?
ศาลพิจารณาเห็นว่า... นายเก่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ทำหน้าที่พลขับชั่วคราว เพราะเห็นว่านายเก่งมีใบอนุญาตขับรถยนต์ ตั้งใจปฏิบัติงาน ไม่ติดยาเสพติด ไม่ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ซึ่งเป็นการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่พลขับชั่วคราว โดยชอบ การที่นายเก่งขับรถมาด้วยความเร็วประมาณ 70 ถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ภายในบริเวณกรมทหารมีการจำกัดความเร็วในการขับขี่ไม่เกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยได้หันหน้าและเอื้อมมือไปหยิบวิทยุสื่อสารทำให้รถยนต์พุ่งชนเสาไฟฟ้า เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นผู้ขับรถยนต์โดยทั่วไปจะพึงต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และสามารถใช้ความระมัดระวังนั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ พฤติการณ์ การขับรถยนต์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ที่นายเก่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
2. หน่วยงานมีส่วนบกพร่องทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วยหรือไม่ ?
ศาลพิจารณาเห็นว่า... แม้ว่าใบอนุญาตขับรถของนายเก่งจะได้สิ้นอายุไปตั้งแต่ก่อนเข้ารับราชการ และก่อนมีคำสั่งให้ทำหน้าที่พลขับชั่วคราวแล้วก็ตาม แต่ก็มิใช่ปัจจัยที่ทำให้นายเก่งต้องขาดความระมัดระวังหรือต้องประมาทเลินเล่อในการขับขี่รถยนต์แต่อย่างใด การมอบหมายนายเก่งปฏิบัติหน้าที่ขับรถ โดยที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ จึงไม่ใช่ผลโดยตรงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำละเมิดของนายเก่ง ซึ่งเกิดจากการขับขี่รถยนต์โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเพราะเอื้อมมือไปหยิบวิทยุสื่อสารในขณะที่ตนเองขับรถอยู่ด้วยความเร็วสูง อีกทั้งรถที่พิพาทแม้ว่าจะมีอายุการใช้งานนานถึง 18 ปี แต่ก็ไม่ปรากฏว่าอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ กองทัพอากาศจึงมิได้บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องมีส่วนรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
3. มีปัจจัยอะไรที่จะนำมาหักส่วนความรับผิดของนางเก่ง ตามแนวทางการกำหนดสัดส่วนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 25 กันยายน 2550 หรือไม่ ?
ศาลพิจารณาเห็นว่า ในการจะหักลดความรับผิดของผู้กระทำละเมิดต้องพิจารณา เหตุปัจจัยต่าง ๆ มาประกอบ เช่น การไม่ชำนาญเส้นทาง สภาพถนนหรือทัศนวิสัยไม่ดี สภาพยานพาหนะก่อนนำมาใช้ไม่สมบูรณ์ หรือมีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น พนักงานขับรถพยาบาลต้องรีบนำผู้ได้รับบาดเจ็บไปส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว เป็นต้น ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีไม่ปรากฏว่าขณะขับขี่รถยนต์มีเหตุปัจจัยที่จะสามารถนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อหักลดสัดส่วนความรับผิดออกได้
นายเก่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดตามจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยไม่อาจหักลดความรับผิดส่วนใดได้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 266/2562)
โดยสรุปก็คือ ความรับผิดจากการกระทำละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ขับรถ จะมีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์และข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี โดยจะต้องรับผิดหากได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (ยกเว้นประมาทเลินเล่อธรรมดาที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถไม่ต้องรับผิด) และอาจหักส่วนความบกพร่องของหน่วยงานออกได้ (ถ้ามี) และยังอาจลดสัดส่วนความรับผิดตามที่กระทรวงการคลังกำหนดได้ในกรณีปรากฏเหตุหรือปัจจัยอันควรนำมาพิจารณาหักลดความรับผิด นั่นเองค่ะ
· ขับรถอย่างไร ให้ปลอดภัยจากความรับผิด ?
คดีนี้ ถือเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการที่ดีสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะในหน่วยงานราชการ ซึ่งประการสำคัญที่จะทำให้ปลอดภัยจากความรับผิดได้ ก็คือการรักษาและปฏิบัติตามกฎจราจรหรือข้อบังคับในการขับรถอย่างเคร่งครัด เพราะหากมีการฝ่าฝืนกฎจราจรหรือสัญญาณจราจรใด ๆ หรือขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือดื่มสุราในขณะขับขี่ เช่น คดีหมายเลขแดงที่ อ. 600/2556 และ อ. 1232/2559 จากแนวคำวินิจฉัยของศาลที่ผ่านมา หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามระดับความร้ายแรงของการกระทำ ในขณะที่หากอุบัติเหตุเกิดขึ้นโดยผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจรและปฏิบัติตามกฎหมาย และใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ก็อาจถือเป็นประมาทเลินเล่อธรรมดาซึ่งไม่ต้องรับผิด สำหรับกรณีของนายเก่งได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพลขับชั่วคราว ได้ขับรถด้วยความเร็วเกินกว่า 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นอัตราที่กำหนดให้ขับในเขตกรมทหาร และได้หันหน้าพร้อมทั้งเอื้อมมือไปหยิบโทรศัพท์ที่ดังขึ้น โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามที่ควรจะเป็น จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น จึงถือเป็นการกระทำ โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
อย่างไรก็ตาม... ผู้ขับขี่พึงต้องใช้ความระมัดระวังในการขับรถ มีสติและไม่ประมาทอยู่ตลอดเวลา เพราะผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบทั้งต่อชีวิตผู้โดยสาร ผู้ร่วมเดินทาง ตลอดจนทรัพย์สินของทางราชการหรือของเอกชน อีกทั้งประมาทเลินเล่อธรรมดากับประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงบางกรณีก็เป็นเพียงเส้นแบ่งบาง ๆ เพราะฉะนั้นผู้ขับขี่จึงต้องมีสติทั้งก่อนและหลังสตาร์ทรถ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตลอดเส้นทางจึงจะปลอดภัยที่สุดค่ะ
แล้วพบกันใหม่นะคะ ! (ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสามารถศึกษาอุทาหรณ์เรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ www.admincourt.go.th)
เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแต่ละครั้ง !! ย่อมมีความสูญเสียหรือมีความเสียหายเกิดขึ้นไม่มาก ก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สิน ทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน โดยเฉพาะความสูญเสียที่เกิดกับชีวิตเป็นเรื่องที่ประมาณค่ามิได้และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น !
เรื่องที่จะพูดคุยกันในวันนี้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ขับรถให้แก่ทางราชการ ว่าท่านจะ “ขับรถอย่างไร ให้ปลอดภัยจากความรับผิด ?” และ “ถ้าต้องรับผิด จะต้องรับผิด เพียงใด ?”
· อุบัติเหตุจากการปฏิบัติหน้าที่ : พนักงานขับรถต้องรับผิดเพียงใด !?
กรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานขับรถราชการ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัด เช่น ขับรถเกิดอุบัติเหตุทำให้รถราชการเสียหาย หรือกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก เช่น ขับรถเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนรถบุคคลภายนอกเสียหาย ซึ่งการกระทำละเมิด อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งมุ่งหมายให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว กล่าวคือ โดยหลักหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสังกัดตน
เว้นแต่ !! หากเจ้าหน้าที่หรือพนักงานขับรถผู้นั้น ได้กระทำไปด้วยความจงใจให้เกิดความเสียหาย
หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเกิดความเสียหาย เช่นนี้พนักงานขับรถอาจต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือรับผิดตามส่วนแห่งความรับผิดของตน ตามระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
อย่างไรก็ตาม... หากหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดมีส่วนบกพร่องอันเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุด้วย เช่น ไม่มีการวางระบบการดำเนินงานที่ดี หรือมีการมอบหมายพนักงานขับรถให้ขับรถต่อเนื่องเกินจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมจนเกิดความเหนื่อยล้า (คดีหมายเลขแดงที่ อ. 4/2557) หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่อื่นซึ่งไม่มีหน้าที่ขับรถให้ขับรถเพราะพนักงานขับรถไม่เพียงพอ (คดีหมายเลขแดงที่ อ. 1232/2559 และ อ. 219/2556) ก็สามารถนำความบกพร่องของหน่วยงานดังกล่าว มาหักออกจากความรับผิดได้ตามส่วนที่เหมาะสม (มาตรา 5 มาตรา 8 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
โดยสรุปก็คือ อุบัติเหตุอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานขับรถต้องรับผิดเฉพาะกระทำไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น โดยรับผิดตามส่วนแห่งความรับผิดของตนและหากหน่วยงานมีส่วนบกพร่องก็สามารถนำมาหักออกจากความรับผิดได้ และหากเป็นการกระทำละเมิดที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อธรรมดา หน่วยงานจะเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
· มาดูตัวอย่างอุบัติเหตุจากการขับรถของพลขับชั่วคราวกันบ้าง ว่าต้องรับผิดเพียงใด ?
คดีนี้เรื่องเกิดจาก...ในระหว่างที่นายเก่งปฏิบัติหน้าที่เป็นทหารกองประจำการ (พลทหาร) ผู้บังคับบัญชาได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นพลขับชั่วคราว โดยนายเก่งได้ขับรถยนต์บรรทุกขนาดเล็กไปรับอาหารกลางวันจากโรงครัว ในระหว่างที่ขับขี่ไปตามถนน...ปรากฏเสียงวิทยุสื่อสารเรียกเข้ามา !! นายเก่ง จึงหันหน้าไปทางวิทยุสื่อสารและเอื้อมมือไปหยิบวิทยุสื่อสารเพื่อจะตอบ ขณะหันกลับรถยนต์ได้พุ่งชน เสาไฟฟ้าบริเวณหน้าแผนกสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ นายเก่งได้รับบาดเจ็บและรถยนต์คันดังกล่าวได้รับความเสียหาย (ประมาณการค่าซ่อมสูงกว่าราคาประเมินรถ)
ภายหลังการสอบข้อเท็จจริง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดมีความเห็นว่า... จากสภาพรถและลักษณะการชนที่ทำให้เครื่องยนต์และเสื้อเกียร์แตก ตัวถังด้านซ้ายคดและขาดออก จากกัน ตัวถังโดยรวมบิดเบี้ยวเสียรูปทรง เป็นกรณีที่รถมีสภาพความเสียหายมาก แสดงให้เห็นว่านายเก่ง ขับรถมาด้วยความเร็วสูง และจากการสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องเชื่อได้ว่า นายเก่งขับรถด้วยความเร็วประมาณ 70 ถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้หันหน้าและเอื้อมมือไปหยิบวิทยุสื่อสารทำให้รถยนต์พุ่งชนเสาไฟฟ้า ถือเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะผู้ขับรถยนต์ควรต้องมี จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เห็นควรให้นายเก่งชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนความเสียหาย กองทัพอากาศซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดจึงมีคำสั่งให้นายเก่งชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว แต่นายเก่งเพิกเฉย ภายหลังนายเก่งปลดประจำการแล้ว หน่วยงานมีข้อขัดข้องในการบังคับทางปกครอง จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย (มูลค่าตามราคาประเมินรถ)
คดีมีประเด็นที่ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาว่า
1. นายเก่งได้ขับรถโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ?
ศาลพิจารณาเห็นว่า... นายเก่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ทำหน้าที่พลขับชั่วคราว เพราะเห็นว่านายเก่งมีใบอนุญาตขับรถยนต์ ตั้งใจปฏิบัติงาน ไม่ติดยาเสพติด ไม่ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ซึ่งเป็นการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่พลขับชั่วคราว โดยชอบ การที่นายเก่งขับรถมาด้วยความเร็วประมาณ 70 ถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ภายในบริเวณกรมทหารมีการจำกัดความเร็วในการขับขี่ไม่เกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยได้หันหน้าและเอื้อมมือไปหยิบวิทยุสื่อสารทำให้รถยนต์พุ่งชนเสาไฟฟ้า เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นผู้ขับรถยนต์โดยทั่วไปจะพึงต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และสามารถใช้ความระมัดระวังนั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ พฤติการณ์ การขับรถยนต์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ที่นายเก่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
2. หน่วยงานมีส่วนบกพร่องทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วยหรือไม่ ?
ศาลพิจารณาเห็นว่า... แม้ว่าใบอนุญาตขับรถของนายเก่งจะได้สิ้นอายุไปตั้งแต่ก่อนเข้ารับราชการ และก่อนมีคำสั่งให้ทำหน้าที่พลขับชั่วคราวแล้วก็ตาม แต่ก็มิใช่ปัจจัยที่ทำให้นายเก่งต้องขาดความระมัดระวังหรือต้องประมาทเลินเล่อในการขับขี่รถยนต์แต่อย่างใด การมอบหมายนายเก่งปฏิบัติหน้าที่ขับรถ โดยที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ จึงไม่ใช่ผลโดยตรงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำละเมิดของนายเก่ง ซึ่งเกิดจากการขับขี่รถยนต์โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเพราะเอื้อมมือไปหยิบวิทยุสื่อสารในขณะที่ตนเองขับรถอยู่ด้วยความเร็วสูง อีกทั้งรถที่พิพาทแม้ว่าจะมีอายุการใช้งานนานถึง 18 ปี แต่ก็ไม่ปรากฏว่าอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ กองทัพอากาศจึงมิได้บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องมีส่วนรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
3. มีปัจจัยอะไรที่จะนำมาหักส่วนความรับผิดของนางเก่ง ตามแนวทางการกำหนดสัดส่วนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 25 กันยายน 2550 หรือไม่ ?
ศาลพิจารณาเห็นว่า ในการจะหักลดความรับผิดของผู้กระทำละเมิดต้องพิจารณา เหตุปัจจัยต่าง ๆ มาประกอบ เช่น การไม่ชำนาญเส้นทาง สภาพถนนหรือทัศนวิสัยไม่ดี สภาพยานพาหนะก่อนนำมาใช้ไม่สมบูรณ์ หรือมีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น พนักงานขับรถพยาบาลต้องรีบนำผู้ได้รับบาดเจ็บไปส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว เป็นต้น ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีไม่ปรากฏว่าขณะขับขี่รถยนต์มีเหตุปัจจัยที่จะสามารถนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อหักลดสัดส่วนความรับผิดออกได้
นายเก่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดตามจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยไม่อาจหักลดความรับผิดส่วนใดได้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 266/2562)
โดยสรุปก็คือ ความรับผิดจากการกระทำละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ขับรถ จะมีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์และข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี โดยจะต้องรับผิดหากได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (ยกเว้นประมาทเลินเล่อธรรมดาที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถไม่ต้องรับผิด) และอาจหักส่วนความบกพร่องของหน่วยงานออกได้ (ถ้ามี) และยังอาจลดสัดส่วนความรับผิดตามที่กระทรวงการคลังกำหนดได้ในกรณีปรากฏเหตุหรือปัจจัยอันควรนำมาพิจารณาหักลดความรับผิด นั่นเองค่ะ
· ขับรถอย่างไร ให้ปลอดภัยจากความรับผิด ?
คดีนี้ ถือเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการที่ดีสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะในหน่วยงานราชการ ซึ่งประการสำคัญที่จะทำให้ปลอดภัยจากความรับผิดได้ ก็คือการรักษาและปฏิบัติตามกฎจราจรหรือข้อบังคับในการขับรถอย่างเคร่งครัด เพราะหากมีการฝ่าฝืนกฎจราจรหรือสัญญาณจราจรใด ๆ หรือขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือดื่มสุราในขณะขับขี่ เช่น คดีหมายเลขแดงที่ อ. 600/2556 และ อ. 1232/2559 จากแนวคำวินิจฉัยของศาลที่ผ่านมา หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามระดับความร้ายแรงของการกระทำ ในขณะที่หากอุบัติเหตุเกิดขึ้นโดยผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจรและปฏิบัติตามกฎหมาย และใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ก็อาจถือเป็นประมาทเลินเล่อธรรมดาซึ่งไม่ต้องรับผิด สำหรับกรณีของนายเก่งได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพลขับชั่วคราว ได้ขับรถด้วยความเร็วเกินกว่า 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นอัตราที่กำหนดให้ขับในเขตกรมทหาร และได้หันหน้าพร้อมทั้งเอื้อมมือไปหยิบโทรศัพท์ที่ดังขึ้น โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามที่ควรจะเป็น จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น จึงถือเป็นการกระทำ โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
อย่างไรก็ตาม... ผู้ขับขี่พึงต้องใช้ความระมัดระวังในการขับรถ มีสติและไม่ประมาทอยู่ตลอดเวลา เพราะผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบทั้งต่อชีวิตผู้โดยสาร ผู้ร่วมเดินทาง ตลอดจนทรัพย์สินของทางราชการหรือของเอกชน อีกทั้งประมาทเลินเล่อธรรมดากับประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงบางกรณีก็เป็นเพียงเส้นแบ่งบาง ๆ เพราะฉะนั้นผู้ขับขี่จึงต้องมีสติทั้งก่อนและหลังสตาร์ทรถ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตลอดเส้นทางจึงจะปลอดภัยที่สุดค่ะ
แล้วพบกันใหม่นะคะ ! (ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสามารถศึกษาอุทาหรณ์เรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ www.admincourt.go.th)