xs
xsm
sm
md
lg

ปปป.ประชุมต้านทุจริตปราบฮั้วประมูล ดำเนินดคี 21 อปท.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


MGR Online - บก.ปปป. ประชุมเครือข่ายองค์กรต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบปราบฮั้วประมูล โดยดำเนินการในส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไปแล้ว 2 ล็อต ดำเนินดคีไป 21 อปท.

วันนี้ (2 เม.ย.) เวลา 13.30 น. กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) ศูนย์ราชการอาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ พล.ต.ต.กมล เหรียญราชา ผบก.ปปป. เป็นประธานการประชุม “โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ” หรือทุจริตฮั้วประมูล โดยมี พ.ต.อ.จักร เพ็งสาธร และ พ.ต.อ.วรายุทธ สุขวัฒน์ รอง ผบก.ปปป. พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.), กองทัพภาคที่ 1, สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.), กรมสรรพากร, กรมบัญชีกลาง, กองบังคับการปราบปราม (บก.ป), กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) และ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.)

พล.ต.ต.กมล เปิดเผยว่า บก.ปปป. พร้อมด้วย คณะเครือข่ายองค์กรต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ดำเนินการตรวจสอบการฮั้วประมูลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไปแล้ว 2 ล็อต โดยล็อตที่ 1 ขายรถดูดโคลน และรถขยะอัดท้ายให้รัฐ ลักษณะเป็นการล็อคสเปก บก.ปปป. ดำเนินคดีไป 21 อปท. ส่งสำนวนให้ ป.ป.ช.ไ ปแล้ว 20 อปท. เหลืออีก 1 อปท. และ ล็อตที่ 2 ขายรถดูดโคลนให้รัฐ เป็นลักษณะบริษัทไม่ผ่านคุณสมบัติตามที่กำหนด และรถไม่ได้มาตฐานอุตสหากรรม บก.ปปป. ดำเนินคดีไปแล้ว 12 อปท.

ด้าน พ.ต.อ.จักร กล่าวว่า ในล็อตที่ 2 มี 11 อปท. ใน 10 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรสาคร พิษณุโลก ระยอง ศรีสะเกษ เพชรบูรณ์ สิงห์บุรี สมุทรปราการ และ นนทบุรี หลังจากนี้ จะรอประสานผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีรายชื่อพบทุจริตฮั้วประมูล มาร้องทุกข์กล่าวโทษกับ บก.ปปป. ในฐานะผู้เสียหาย หลังจากนั้น ทางคณะทำงานจะเรียกข้าราชการที่พบว่าเกี่ยวข้องมาทำการแจ้งข้อกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 ในส่วนบริษัทเอกชนที่ร่วมทุจริต จะแจ้งขอกล่าวหา ร่วมกันสนับสนุนการฮั้วประมูล พ.ร.บ. ฮั้วประมูล

“ทั้งนี้ ในการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน ให้เจ้าหน้าที่ ปปง. ตรวจสอบเพื่อเอาผิดระดับ หัวหน้าหน่วยราชการมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป เบื้องต้นรถดูดโคลนและรถขยะอัดท้าย ตรวจสอบจากกรมการค้าภายในพบข้อมูลว่า ราคาต้นทุนรถดังกล่าวจากโรงงานราคาประมาณคันละ 7 ล้านบาท บวกกำไรและภาษีที่ตัวแทน หรือบริษัทจะนำมาขายประมาณคันละ 11 - 12 ล้านบาท แต่กลับมีการตั้งราคาขายให้กับ อปท. คันละ 18 - 19 ล้านบาท ปกติการจับฮั้วประมูลทำการตรวจสอบได้ยากมาก แต่รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญในการปราบปรามทุจริต เลยกระทำสำเร็จได้” พ.ต.อ.จักร กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น