กล่าวกันว่า... “ไม่มีอะไรสำคัญเท่าคนในครอบครัว” นับว่าเป็นเรื่องจริงแท้แน่นอน เพราะไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทุกข์หรือสุข ก็จะมีคนในครอบครัวที่อยู่เคียงข้างกันเสมอ ฉะนั้นความเดือดร้อนของสมาชิกในครอบครัวอาจถือได้ว่าเป็นความเดือดร้อนของครอบครัวด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เรื่องของสิทธิในการฟ้องคดีนั้น ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เดือดร้อนเสียหายที่คนในครอบครัวก็ไม่อาจใช้สิทธิแทนกันได้ แม้ความเดือดร้อนเสียหายดังกล่าวจะมีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกัน โดย ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองกรณีผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี พ่อแม่หรือผู้แทนโดยชอบธรรมสามารถฟ้องคดีแทนบุตรได้ แต่หากอายุเกิน 15 ปีแล้ว ศาลปกครองมีอำนาจที่จะพิจารณาอนุญาตให้ผู้เยาว์เป็นผู้ฟ้องคดีได้ด้วยตนเอง (ข้อ 27 ของระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543) ซึ่งหากผู้เยาว์ที่ศาลอนุญาตไม่ต้องการจะดำเนินคดีด้วยตนเอง ก็สามารถมีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งส่วนใหญ่ก็คือบิดาหรือมารดาเป็นผู้ฟ้องคดีแทนได้
กรณีนอกจากนี้ บุคคลอื่น เช่น พี่น้อง เพื่อนหรือคนใกล้ชิด หากต้องการจะฟ้องคดีแทนเพราะอยากช่วยเหลือ เช่น ผู้เสียหายเป็นผู้ไม่มีความรู้ทางกฎหมายหรือไม่สะดวกที่จะฟ้องคดีด้วยตนเอง ผู้ที่ประสงค์จะช่วยเหลือจะต้องได้รับการมอบอำนาจจากผู้เสียหายให้ดำเนินคดีแทนเท่านั้น ไม่อาจเจตนาดีฟ้องคดีแทนกันโดยที่ไม่ได้รับมอบอำนาจได้นะคะ
มาถึงเรื่องที่จะคุยกันในวันนี้... ผู้ฟ้องคดีเข้าใจว่าตนเองเป็นผู้เดือดร้อนเสียหาย เพราะเป็นผู้ค้ำประกันการซื้อรถให้กับลูกชายซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ซึ่งในความเป็นจริงก็ถือว่าได้รับความเดือดร้อนเสียหาย หากแต่มิใช่ผู้เดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้
เพราะอะไร... มารดาซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดี จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ?
จุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดจากนายพศินได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัท ก โดยมารดาเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาได้ขายดาวน์ให้แก่นายรวีคนรู้จัก โดยมีข้อตกลงว่าให้นายรวีชำระค่าเช่าซื้อต่อจนครบจำนวนตามสัญญา หากนายรวีไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะยอมคืนรถให้แก่นายพศิน
เวลาผ่านไป... นายพศินก็ได้รับจดหมายจากบริษัท ก เมื่อเปิดมาก็ถึงกับต้องตกใจทั้งแม่และลูก เพราะในจดหมายมีข้อความว่า “ท่านได้ค้างค่าผ่อนชำระเป็นเวลา 4 งวด” แล้ว นายพศินและมารดาจึงไปที่สถานีตำรวจและได้นำหมายเรียกตามตัวนายรวีมาพบพนักงานสอบสวน จนมีการบันทึกรายงานประจำวันแจ้งเป็นหลักฐาน ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2552 ว่า นายรวียอมรับว่าค้างค่างวดจริงและจะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง รวมทั้งดำเนินการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าซื้อจากนายพศินมาเป็นนายรวีภายในวันที่ 31 มกราคม 2553
โล่งใจไปได้ไม่ทันไร... ก็ได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัท ก อีกว่ายังคงค้างค่างวดเช่นเดิม มิหนำซ้ำนายรวียังนำรถยนต์คันพิพาทไปจำนำอีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้นายพศินและมารดาจึงเข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 โดยครั้งนี้พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ออกหมายจับนายรวีมาดำเนินคดีฐานยักยอกทรัพย์ แต่ศาลแขวงได้ยกคำร้องด้วยเหตุผลว่าผู้เสียหายทราบการกระทำผิดของนายรวีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 คือวันที่ได้รับแจ้งจากบริษัท ก ว่าค้างชำระค่างวดจำนวน ๔ งวด หรืออย่างช้าที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 แต่ผู้เสียหายมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่
5 กรกฎาคม 2553 อันเป็นเวลาเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันรู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีนี้จึงขาดอายุความ !!
ไอ๊หยา.... แม่และลูกถึงกับอุทานพร้อมกัน “ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอาญา แถมยังถูกบริษัท ก ฟ้องเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายอีกด้วย เก๊กซิมจริง ๆ” จากนั้นในวันที่ 28 มิถุนายน 2554 ศาลจังหวัดก็ได้มีคำพิพากษาให้นายพศินในฐานะผู้เช่าซื้อและมารดาในฐานะผู้ค้ำประกันส่งมอบรถคันที่เช่าซื้อแก่บริษัท ก (โจทก์) หากนำรถมาคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาแทน
มารดาคิดทบทวนไปมาเห็นว่า การที่ตนและลูกชายต้องมาชำระหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุมาจากพนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความดำเนินคดีตั้งแต่แรก ซึ่งนายพศินประสงค์จะร้องทุกข์ดำเนินคดีกับนายรวีตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2552 แล้ว แต่กลับเป็นการทำบันทึกข้อตกลงกันแทน มารดาจึงนำคดีมาฟ้องต่อ
ศาลปกครองเพื่อขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหาย อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ในสังกัดคือพนักงานสอบสวนละเลยต่อหน้าที่ไม่รับแจ้งความบุตรชายของตนตั้งแต่แรก
คดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อนคือ ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองหรือไม่ ?
เนื่องจากผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง มาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกรณีนี้ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่พนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์กับนายรวี ซึ่งเมื่อพิจารณาจากบันทึกรายงานประจำวัน ฉบับลงวันที่ 22 ธันวาคม 2552 และบันทึกคำให้การของผู้ร้องทุกข์ ฉบับลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 พบว่ามีนายพศินบุตรชายของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ลงชื่อเป็นคู่กรณีและผู้กล่าวหาแต่เพียงผู้เดียว
ฉะนั้น ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความ จึงเป็นนายพศิน มิใช่ผู้ฟ้องคดี แต่นายพศินก็มิได้ยื่นฟ้องคดีนี้ด้วยตนเองรวมทั้งมิได้มีหนังสือมอบอำนาจให้มารดาคือผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ดำเนินคดีแทน ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้เดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ศาลจึงยกฟ้อง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 90/2560)
คดีนี้ แม้ว่าคู่กรณีจะมิได้โต้แย้งว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีหรือไม่ แต่ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีเป็นเรื่องที่ศาลปกครองมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เรื่องนี้จึงน่าเรียนรู้และเป็นประโยชน์ในการป้องกันการเสียสิทธิเพราะความไม่รู้ ! เพื่อไม่ให้เกิดเหตุฟ้องคดีโดยไม่มีสิทธิ หรือไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีที่แท้จริง
วันนี้คงต้องลากันไปก่อน ไว้พบกันใหม่คราวหน้า... กับสาระน่ารู้ใน “ครบเครื่องคดีปกครอง” กับ ป. ธรรมศลีญ์ นะคะ
ป. ธรรมศลีญ์
อย่างไรก็ตาม เรื่องของสิทธิในการฟ้องคดีนั้น ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เดือดร้อนเสียหายที่คนในครอบครัวก็ไม่อาจใช้สิทธิแทนกันได้ แม้ความเดือดร้อนเสียหายดังกล่าวจะมีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกัน โดย ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองกรณีผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี พ่อแม่หรือผู้แทนโดยชอบธรรมสามารถฟ้องคดีแทนบุตรได้ แต่หากอายุเกิน 15 ปีแล้ว ศาลปกครองมีอำนาจที่จะพิจารณาอนุญาตให้ผู้เยาว์เป็นผู้ฟ้องคดีได้ด้วยตนเอง (ข้อ 27 ของระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543) ซึ่งหากผู้เยาว์ที่ศาลอนุญาตไม่ต้องการจะดำเนินคดีด้วยตนเอง ก็สามารถมีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งส่วนใหญ่ก็คือบิดาหรือมารดาเป็นผู้ฟ้องคดีแทนได้
กรณีนอกจากนี้ บุคคลอื่น เช่น พี่น้อง เพื่อนหรือคนใกล้ชิด หากต้องการจะฟ้องคดีแทนเพราะอยากช่วยเหลือ เช่น ผู้เสียหายเป็นผู้ไม่มีความรู้ทางกฎหมายหรือไม่สะดวกที่จะฟ้องคดีด้วยตนเอง ผู้ที่ประสงค์จะช่วยเหลือจะต้องได้รับการมอบอำนาจจากผู้เสียหายให้ดำเนินคดีแทนเท่านั้น ไม่อาจเจตนาดีฟ้องคดีแทนกันโดยที่ไม่ได้รับมอบอำนาจได้นะคะ
มาถึงเรื่องที่จะคุยกันในวันนี้... ผู้ฟ้องคดีเข้าใจว่าตนเองเป็นผู้เดือดร้อนเสียหาย เพราะเป็นผู้ค้ำประกันการซื้อรถให้กับลูกชายซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ซึ่งในความเป็นจริงก็ถือว่าได้รับความเดือดร้อนเสียหาย หากแต่มิใช่ผู้เดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้
เพราะอะไร... มารดาซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดี จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ?
จุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดจากนายพศินได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัท ก โดยมารดาเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาได้ขายดาวน์ให้แก่นายรวีคนรู้จัก โดยมีข้อตกลงว่าให้นายรวีชำระค่าเช่าซื้อต่อจนครบจำนวนตามสัญญา หากนายรวีไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะยอมคืนรถให้แก่นายพศิน
เวลาผ่านไป... นายพศินก็ได้รับจดหมายจากบริษัท ก เมื่อเปิดมาก็ถึงกับต้องตกใจทั้งแม่และลูก เพราะในจดหมายมีข้อความว่า “ท่านได้ค้างค่าผ่อนชำระเป็นเวลา 4 งวด” แล้ว นายพศินและมารดาจึงไปที่สถานีตำรวจและได้นำหมายเรียกตามตัวนายรวีมาพบพนักงานสอบสวน จนมีการบันทึกรายงานประจำวันแจ้งเป็นหลักฐาน ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2552 ว่า นายรวียอมรับว่าค้างค่างวดจริงและจะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง รวมทั้งดำเนินการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าซื้อจากนายพศินมาเป็นนายรวีภายในวันที่ 31 มกราคม 2553
โล่งใจไปได้ไม่ทันไร... ก็ได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัท ก อีกว่ายังคงค้างค่างวดเช่นเดิม มิหนำซ้ำนายรวียังนำรถยนต์คันพิพาทไปจำนำอีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้นายพศินและมารดาจึงเข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 โดยครั้งนี้พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ออกหมายจับนายรวีมาดำเนินคดีฐานยักยอกทรัพย์ แต่ศาลแขวงได้ยกคำร้องด้วยเหตุผลว่าผู้เสียหายทราบการกระทำผิดของนายรวีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 คือวันที่ได้รับแจ้งจากบริษัท ก ว่าค้างชำระค่างวดจำนวน ๔ งวด หรืออย่างช้าที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 แต่ผู้เสียหายมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่
5 กรกฎาคม 2553 อันเป็นเวลาเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันรู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีนี้จึงขาดอายุความ !!
ไอ๊หยา.... แม่และลูกถึงกับอุทานพร้อมกัน “ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอาญา แถมยังถูกบริษัท ก ฟ้องเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายอีกด้วย เก๊กซิมจริง ๆ” จากนั้นในวันที่ 28 มิถุนายน 2554 ศาลจังหวัดก็ได้มีคำพิพากษาให้นายพศินในฐานะผู้เช่าซื้อและมารดาในฐานะผู้ค้ำประกันส่งมอบรถคันที่เช่าซื้อแก่บริษัท ก (โจทก์) หากนำรถมาคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาแทน
มารดาคิดทบทวนไปมาเห็นว่า การที่ตนและลูกชายต้องมาชำระหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุมาจากพนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความดำเนินคดีตั้งแต่แรก ซึ่งนายพศินประสงค์จะร้องทุกข์ดำเนินคดีกับนายรวีตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2552 แล้ว แต่กลับเป็นการทำบันทึกข้อตกลงกันแทน มารดาจึงนำคดีมาฟ้องต่อ
ศาลปกครองเพื่อขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหาย อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ในสังกัดคือพนักงานสอบสวนละเลยต่อหน้าที่ไม่รับแจ้งความบุตรชายของตนตั้งแต่แรก
คดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อนคือ ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองหรือไม่ ?
เนื่องจากผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง มาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกรณีนี้ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่พนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์กับนายรวี ซึ่งเมื่อพิจารณาจากบันทึกรายงานประจำวัน ฉบับลงวันที่ 22 ธันวาคม 2552 และบันทึกคำให้การของผู้ร้องทุกข์ ฉบับลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 พบว่ามีนายพศินบุตรชายของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ลงชื่อเป็นคู่กรณีและผู้กล่าวหาแต่เพียงผู้เดียว
ฉะนั้น ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความ จึงเป็นนายพศิน มิใช่ผู้ฟ้องคดี แต่นายพศินก็มิได้ยื่นฟ้องคดีนี้ด้วยตนเองรวมทั้งมิได้มีหนังสือมอบอำนาจให้มารดาคือผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ดำเนินคดีแทน ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้เดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ศาลจึงยกฟ้อง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 90/2560)
คดีนี้ แม้ว่าคู่กรณีจะมิได้โต้แย้งว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีหรือไม่ แต่ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีเป็นเรื่องที่ศาลปกครองมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เรื่องนี้จึงน่าเรียนรู้และเป็นประโยชน์ในการป้องกันการเสียสิทธิเพราะความไม่รู้ ! เพื่อไม่ให้เกิดเหตุฟ้องคดีโดยไม่มีสิทธิ หรือไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีที่แท้จริง
วันนี้คงต้องลากันไปก่อน ไว้พบกันใหม่คราวหน้า... กับสาระน่ารู้ใน “ครบเครื่องคดีปกครอง” กับ ป. ธรรมศลีญ์ นะคะ
ป. ธรรมศลีญ์